นอนติดเครื่องยนต์ในรถอาจตายได้ เรื่องจริงที่ควรระวังให้ดี

27 ธ.ค. 2560 เวลา 08:18 | อ่าน 2,713
แชร์ไปยัง
L
 
พบความจริงของการติดเครื่องยนต์นอนในรถที่อาจจะทำคุณเสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว และข้อแนะนำของการนอนในรถระหว่างการเดินทางจากเรา ทีมงาน Autodeft.com
เรื่องโดย ณัฐยศ ชูบรรจง (Bonn)

นอนติดเครื่องยนต์ในรถอาจตายได้

เป็นข่าวคราวกันอีกแล้วสำหรับ กรณีคนติดเครื่องยนต์นอนในรถยนต์และเกิดเสียชีวิต แต่ครั้งนี้หลายคนตั้งขอสังเกตไปตามๆกัน ต่างๆนานา เมื่อความแปลกคือแมวที่อยู่ในรถสองตัวดันไม่ตาย จึงเป็นประเด็นกันอีกครั้ง

จะว่าไปเรื่องของการนอนติดเครื่องยนต์ในรถยนต์นั้น เป็นเรื่องที่หลายคนมักชอบทำ ด้วยเราต่างตระหนักเพียงความสบายที่จะได้รับจากการปรับอากาศให้เหมาะต่อการพักผ่อน แล้วท้ายที่สุดจะได้หลับสบายก่นตื่นมาเดินทางต่อ ทั้งที่การนอนในรถยนต์ขณะที่รถติดเครื่องยนต์อยู่และจอดอยู่นิ่งๆนั้นกลายเป็นอันตรายที่คุณต่างไม่คาดคิดมาก่อน


นอนติดเครื่องยนต์ในรถอาจตายได้

การนอนในรถยนต์และติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้เพื่อความสบายสูงสุดในการพักผ่อนนั้น เป็นความคิดที่ผิดมหันต์ในการผ่อนคลายหลังจากการเดินทางอันเหน็ดเหนื่อย ด้วยความเข้าใจว่าการเปิดแอร์คือการหมุนวนอากาศภายในห้องโดยสารเท่านั้น ทั้งที่ความจริงแล้ว ห้องโดยสายในรถยนต์ของเราไม่ใช่ห้องที่ถูกผนึกแน่นจนอากาศไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ตามช่องประตู หรือุดที่คุณไม่เห็นนั้น ห้องโดยสารรถยนต์ยังมีช่องทางให้อากาศไหลเวียนได้ซ่อนอยู่


แม้ว่าเรื่องนี้หลายคนอาจจะไม่ทราบมาก่อน แต่เมื่อคุณติดเครื่องยนต์นอนในรถ ควันไอเสียจากปลายท่อไอเสียที่เราคิดว่ามันพ่นทิ้งทางด้านท้าย แท้ที่จริงกลับไม่ได้ไปไหน เพราะเมื่อรถไม่ได้วิ่ง ควันไอเสียเหล่านี้ก็จะกระขายตัวอยู่รอบๆ รถของคุณเอง ซึ่งหลายคนมักคิดว่าห้องโดยสารไม่ได้ในปิดผนึก 100 % ไอเสียก็จะเข้าสู่ห้องโดยสารได้ง่ายในปริมาณที่ต่ำมากๆ แต่ในกรณีที่คุณติดเครื่องยนต์นอนเป็นเวลานานๆ ในพื้นที่ซึ่งไม่มีอากาศถ่ายเทเอาไอเสียออกไป ก๊าซอันตรายอย่างคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ ก็จะสะสมตัวเข้มาในห้องโดยสาร และเจ้าก๊าซนี้แหละที่จะเป็นมัจจุราชฆ่าคุณ


ในไอเสียของรถยนต์มีก๊าซอันตรายที่ชื่อว่า คาร์บอน มอนน๊อกไซด์ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงจะเคยได้ยินกันมานาน เจ้าก๊าซนี้แม้รถยนต์ปัจจุบันจะมีความพยายามทำให้ก๊าซนี้ลดลง แต่ก็ไม่ได้หมายความมันหายไปเลยสีทีเดียว
ก๊าซที่ไร้กลิ่น ไร่รู้สึกที่เราสามารถสัมผัสได้ตัวนี้ นับว่าเป็นก๊าซอันตรายอย่างยิ่งหากเราเกิดสูดดมเป็นระยะเวลานานๆ โดยจากการค้นคว้าจาก ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ ได้เผยว่า อันตรายการจากการการสูดดมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นระยะเวลานานๆ ผู้สูดดม จะมีอาการ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ หายใจติดขัด และท้ายสุด อาจจะหมดสติ โดยไม่รู้ตัวมาก่อน
และที่สุดแล้ว ก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ ยังร้ายกว่านั้น ด้วยมันสามารถไปจับตัวกับสารสีแดงในเลือกสารฮีโมโกบิน ซึ่งนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงวัยวะต่างๆในร่างกายของเรา และสกัดกั้นการนำพาออกซิเจน ทำให้มีผลต่อประสาทส่วนกลาง นำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิต

แม้ว่าการนอนในรถยนต์ขณะติดเครื่องยนต์ อาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่แนะนำ และที่สำคัญกว่านั้นมันดูอันตราย กว่าความสบายที่เราเห็น แต่สำหรับคนเดิทางจำนวนมากคงไม่มีทางเลี่ยง หากต้องการพักผ่อนสั้นๆในขณะเดินทาง และเรามีข้อแนะนำ ในการนอนหลับพักผ่อนในการเดินทางมาฝากกันด้วย
1.พิจารณาสถานที่ ก่อนที่คุณจะตัดสินใจ หาที่จอดรถแล้วพักผ่อน ข้อควรคำนึงถึงลำดับแรก คงไม่พ้นในเรื่องของสถานที่ โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อเราถึงจุดที่อ่อนเพลียเมื่อยล้าจตากการเดินทา งเรามักจะไม่คิดถึงเรื่องนี้มากนัก แต่จะคิดถึงความปลอดภยมากกว่า ดีกว่าหลับในล่ะว้า ... แต่ที่จริงการหาที่จอดรถเพื่อการนอนที่ดีนั้นต้อง หาสถานที่ซึ่งปลอดภัย เรามักให้คำแนะนำกับผู้ที่เดินทางเสมอว่า ให้จอดรถนอนในปั้มน้ำมันจะดีที่สุด เนื่องจากปั้มน้ำมันจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และมีคนพลุกพล่านผ่านไปมาบ่อย โดยให้เลือกมุมที่มีแสงสลัวๆ เพื่อการพักผ่อนที่ดีกว่า


แต่ถ้าคุณไปในที่กันดารมากๆ ไม่มีปั้มน้ำมันเลย “ป้อมตำรวจ” ก็เป็นอีกทางออกที่ดีในการจอดรถนอนหลับพักผ่อน เพราะ ป้อมตำรวจ จะมีเจ้าหน้าที่เวรยามตลอดเป็นประจำ หรือหากคุณไม่กลัวผีสาง วัดก็เป็นอีกสถานที่แนะนำของเรา ในการเข้าไปจอดนอนพักผ่อน

2. ดับเครื่องรถแล้วจัดการให้อากาศถ่ายเท เมื่อได้สถานที่เหมาะๆ แล้ว ให้คุณดับเครื่องยนต์รถเสีย ส่วนหนึ่งเพื่อที่ตัวคุณเองจะได้ไม่เป็นเหยื่อของก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ และอีกประการที่สำคัญคือ เสียงเครื่องยนต์จะได้ไม่รบกวนผู้อื่น ในขณะที่คุณพักผ่อน

เมื่อดับเครื่องยนต์แล้ว ประการต่อมาให้คุณขัดการให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกการเปิดหน้าตารถทั้งสี่บานนิดหน่อยจะช่วยให้ลมสามารถผ่านเข้ามา ซึ่งหลายคนมักจะเกิดข้อกังวลเรื่องของยุง และความร้อนจากการไม่เปิดแอร์ แต่สิ่งที่คุณควรรู้คือการพักผ่อนระห่างเดินทาง คือการฟื้นแรงชั่วคราวเท่านั้น

อย่าลืมดับเครื่องยนต์ก่อนการนอนหลับในรถนะครับ
3. งีบหลับพลังแห่งกำลังวังชา หลายคนมักคิดว่าการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอน ซึ่งนั่นก็อาจจะใช่ แต่ความจริงแล้ว การที่เราจอดรถข้างทางแล้วพร้อยหลับไปนั้น คือการงีบหลับ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนชั่วคราวจากการเดินทางติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ

การงีบหลับ อารมณ์เหมือนตัวคุณเสียบปลั้กไฟฟ้าระบบชาร์จเร็วให้กับร่างกาย มันสู่การนอนหลับไม่ได้ก็จริง แต่มีผลดีพอที่ทำให้คุณไม่ขับรถแล้วไปหลับในกลางทาง ซึ่งการงีบหลับที่ดีนั้น ทางมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ที่ออสเตรเลียใต้ กล่าวว่าระยะเวลางับหลับที่ดีที่สุดมีตั้งแต่ 5 นาที ไปจนถึง 30 นาที โดยการงีบหลับในระยะเวลาครึ่งชั่วโมงนั้น สามารถช่วยให้ร่างกลายกระปรี้กระเปร่าได้อีกถึง 155 นาที ส่วนการงีบหลับที่เกิดช่วงเวลาดังกล่าวนั้นจะทำให้ร่างกายตอบสนองตื่นตัวช้า และกว่าจะทำงานได้เต็มที่ต้องใช้เวลานาน

ซึ่งจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยดูเซลดอล์ฟ ที่ประเทศเยอรมัน เปิดเผยว่า การงีบหลับชั่วคราวสั้นๆ มีผลต่อการทำงานของร่างกายโดยตรง เมื่อตื่นขึ้นมาจากการงีบหลับแล้วคนส่วนใหญ่ จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น ความจำดีขึ้น รวมถึง การเรียนรู้ที่ดีขึ้นด้วย

4. ท่านอนที่สบายและเวลาที่สมควร การพักผ่อนให้ได้ผลโดยเฉพาะการงีบหลับที่เราแนะนำสำหรับนักเดินทางนั้น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการหลับในต่างประเทศ กล่าวว่า การงีบหลับก็ยังต้องอาศัยท่าที่สบายในการพักผ่อน ดังนั้นอย่าลืมที่จะจัดท่านั่งให้มีความสมควรในการพักผ่อน และควรใข้หมอนเพื่อทำให้ได้ความสบายมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนเวลาที่เหมาะสมในการงีบกลับคือช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 20-30 นาที เนื่องจากการวิจัยชี้ว่าถ้าคุณงีบนานกว่านั้น ร่างกายจะตอบสนองช้าเทียบเท่ากับการนอน


5. ล้างหน้า-ดื่มน้ำข้อสำคัญที่ห้ามลืม หลังจากที่คุณงีบหลับเอาแรงจนรู้สึกดีขึ้นจนไม่อ่อนเพลียแล้ว ข้อแนะนำที่สำคัญสุดท้ายคือไปล้างหน้าเสีย ...การล้างหน้าทำให้คุณรู้สึกถึงความสดชื่นมากขึ้นหลังจากการพักผ่อน และพร้อมกันนี้ อย่าลืมหาน้ำดื่มสะอาด ทานสักหน่อยเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย และจะดีมากถ้าคุณได้น้ำผลไม้ แต่ให้หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องดื่มชูกำลังหรือกาแฟ

การนอนหลับพักในรถยนต์นั้น อาจจะเป็นเรื่องที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในระหว่างการเดินทาง หากร่างกายเรียกร้องต้องการขอเวลานอกสักพักหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องเข้าใจก่อน่าการพักระหว่างทางเป็นการพักเพื่อให้หายเพลียในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช่ใช้รถที่พำนักพักตลอดไปในระหว่างข้ามคืน

ความเข้าใจผิดหรืออาจจะเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของใครหลายคน เชื่อเลยว่าเราจะยังได้เห็นข่าวคราวของการนอนติดเครื่องเปิดแอร์ในรถเป็นข่าวตายสยองคารถกันอีกนับไม่ถ้วน แต่วันนี้เมื่อคุณๆรู้แล้ว มีญาติบอกญาติ หรือใครที่รู้จักกันเดินทางไกลบ่อยๆ จงบอกเขาถึงอันตรายจากการนอนติดเครื่องเปิดแอร์ในรถ..เพราะรถที่คุณรักไม่ใช่โรงแรมเคลื่อนที่




ภาพประกอบจากเว็บ kapook.com


27 ธ.ค. 2560 เวลา 08:18 | อ่าน 2,713


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
32 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
71 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
74 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
303 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
315 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
634 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,343 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
709 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน