ออมสิน แก้ไขปัญหาหนี้สินครู เพื่อช่วยเหลือครู

21 ก.ค. 2561 เวลา 10:19 | อ่าน 2,239
แชร์ไปยัง
L
 

ออมสิน แก้ไขปัญหาหนี้สินครู เพื่อช่วยเหลือครูอย่างแท้จริง


ธนาคารออมสิน ชี้จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษากว่า 7 แสนราย เข้าโครงการกู้ ช.พ.ค. สะท้อนครูเชื่อมั่นในโครงการได้เป็นอย่างดี ช่วยแก้ไขหนี้สิน สร้างวินัยทางการเงิน หวังให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยืนยันคิดดอกเบี้ยต่ำสุดเพียง 5-6% ต่อปี ทั้งยังมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยืดหยุ่น ช่วยเหลือแก้ไขหนี้มาตลอดกว่า 12 ปี และยินดีช่วยแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใด

ออมสิน แก้ไขปัญหาหนี้สินครู เพื่อช่วยเหลือครูอย่างแท้จริง

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยถึงกรณีเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูรวมตัวกันประมาณ 100 คน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ประกาศเรียกร้องให้รัฐบาลและธนาคารออมสิน พักหนี้โครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ ช.พ.ค. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป พร้อมชักชวนลูกหนี้ ช.พ.ค. ทั่วประเทศ ร่วมกันยุติการชำระหนี้กับธนาคารออมสิน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2561 ว่า โครงการเงินกู้ ช.พ.ค.นี้เกิดขึ้นเพื่อจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก ช.พ.ค. เพื่อชำระหนี้และนำเงินไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและบุคคลในครอบครัว การศึกษา รักษาพยาบาล และใช้จ่ายกรณีจำเป็นอื่นๆ อีกทั้งช่วงปี 2547-2548 มีปัญหาหนี้นอกระบบมาก รัฐบาลได้พยายามแก้ไขทั้งระบบรวมถึงการช่วยเหลือกลุ่มครู ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญของประเทศ ที่เคยกู้หนี้นอกระบบเสียดอกเบี้ยเดือนละ 10-20% ธนาคารออมสินได้ยื่นมือเข้ามาช่วย โดยให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้เลือกผ่อนชำระได้นาน ซึ่งในส่วนของการคิดดอกเบี้ยตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า การให้สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน ทั้งธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ หรือธนาคารออมสินสามารถคิดดอกเบี้ยได้ถึง 15-28% ต่อปี แต่เงินกู้โครงการนี้คิดเพียง 5-6% ต่อปี เท่านั้น และผ่อนชำระนานสูงสุด 30 ปี

ทั้งนี้ การที่ธนาคารฯ คิดดอกเบี้ยได้ถูกเนื่องจากได้ร่วมมือกับ สกสค.ในการหักเงินเดือนชำระหนี้ให้ จึงมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ขณะที่ธนาคารออมสินจัดสรรเงินสนับสนุนให้ สกสค. สำหรับพัฒนาสมาชิกและกิจการ ช.พ.ค. ในอัตรา 0.5-1% ตามแต่ละโครงการ ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2561 ตามข้อตกลงใหม่ ให้นำเงินสนับสนุนดังกล่าวไปดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยให้กับครูที่มีวินัยทางการเงิน ผ่อนชำระปกติ ในอัตรา 0.5-1% ตามแต่ละโครงการ ซึ่งครูได้รับการลดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นดอกเบี้ยที่จ่ายลดลงปีละ 5,000-10,000 บาท ต่อเงินกู้ 1 ล้านบาท ต่อปี ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ดำเนินโครงการมากกว่า 12 ปี มีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมากถึงกว่า 700,000 ราย วงเงินกู้รวมกว่า 700,000 ล้านบาท บ่งชี้ได้เป็นอย่างดีว่าโครงการนี้ดีมาก เพราะมีครูเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันธนาคารออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ยโครงการ ช.พ.ค.ต่ำมากเพียง 5-6% ต่อปี (ตามข้อตกลงใหม่) ในขณะที่สินเชื่อบุคคลทั่วไปในระบบสถาบันการเงินที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คิดอัตราดอกเบี้ย 15% – 28% ต่อปี อีกทั้งระยะเวลาผ่อนชำระนานถึง 30 ปี ซึ่งคิดดอกเบี้ยลดต้นลดดอกเช่นเดียวกับสินเชื่อเคหะที่มีเงินงวดผ่อนชำระต่ำ ทำให้สามารถกู้เงินในจำนวนที่สูงขึ้นได้ แล้วแต่ความจำเป็นของครู แต่ถ้าสามารถผ่อนชำระเงินกู้มากกว่าเงินงวดตามเงื่อนไข หรือนำเงินมาสมทบชำระหนี้ เพื่อให้ชำระหนี้หมดเร็วกว่าที่กำหนดไว้ จะทำให้จ่ายดอกเบี้ยลดลง

นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ ธนาคารออมสินได้มีการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ครูมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการผ่อนชำระหรือชำระไม่ไหวด้วยการส่งหนังสือเชิญชวนให้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ 3 แนวทาง คือ 1.) กรณีรายได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายมากกว่า 30% ของรายได้ สามารถพักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี และชำระดอกเบี้ยปกติ 100% 2.) กรณีรายได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 15-30% ของรายได้ สามารถพักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี และชำระดอกเบี้ยปกติไม่น้อยกว่า 50% 3.) กรณีรายได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 15% ของรายได้ สามารถพักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี และชำระดอกเบี้ยปกติไม่น้อยกว่า 25% เพื่อให้ผู้กู้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขเดิมกลับมาเป็นหนี้ปกติที่ได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำตามเดิมได้ นับว่าเป็นมาตรการที่ยืดหยุ่นอย่างมาก เช่น วงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี ปกติผ่อนชำระต่อเดือน 6,200 บาท (เงินต้น+ดอกเบี้ย) หากผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย 25% - 100% เงินชำระต่อเดือนลดลง ดังนี้ (ปัจจุบันมีผู้กู้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้แล้วกว่า 40,000 ราย)

ชำระเฉพาะดอกเบี้ย ชำระต่อเดือน
(วงเงินกู้ 1 ล้านบาท)
100% 5,000 บาท
50% 2,500 บาท
25% 1,250 บาท

ส่วนกรณีการทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ ซึ่งช่วยเหลือผู้กู้ที่จำเป็นต้องกู้วงเงินสูง แต่ไม่สามารถหาหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือบุคคลค้ำประกันได้ตามเงื่อนไข โดยผู้กู้ต้องสมัครใจโดยที่ธนาคารฯ ไม่ได้บังคับ และปรากฏว่ามีครูผู้กู้เลือกทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ คิดเป็นสัดส่วนถึง 85% ของจำนวนผู้กู้ทั้งหมด โดยในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา มีครูเสียชีวิตประมาณ 15,900 คน มีจำนวนครูที่ทำประกันประมาณ 10,800 คน รวมทุนประกันประมาณ 13,000 ล้านบาท ซึ่งครูจะมีหนี้ประมาณ 1 ล้านบาทต่อราย เมื่อเสียชีวิตจะนำเงิน ช.พ.ค. จำนวน 7 แสน บาทต่อรายมาชำระหนี้ปิดบัญชี และจะมีเงินเหลือคืนทายาทรวมประมาณ 9,000 ล้านบาท และนี่คือประโยชน์ของการทำประกันอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้ทายาทและผู้ค้ำประกันไม่เดือดร้อน

“สำหรับยอดสินเชื่อของโครงการ ช.พ.ค. ล่าสุด มีผู้กู้รวม ประมาณ 433,000 ราย คิดเป็นวงเงินกู้ประมาณ 406,000 ล้านบาท โดยมี NPLs ประมาณ 4,079 ราย คิดเป็น 0.94% ของลูกหนี้ทั้งหมดเท่านั้น

“ธนาคารออมสิน อยากให้ครูที่มีปัญหาการผ่อนชำระ ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใด ขอให้เข้ามาแจ้งความประสงค์ เพราะธนาคารฯ มีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือครูที่ยืดหยุ่นผ่อนคลาย ด้วยอยากให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีวินัยทางการเงิน เพราะครูต้องทำหน้าที่ให้ความรู้ สร้างคนให้เป็นคนดีมีความรู้มีวินัยให้แก่ประเทศชาติต่อไป” นายชาติชาย กล่าวในที่สุด

อนึ่ง โครงการ ช.พ.ค. เกิดจากกระทรวงศึกษาธิการและธนาคารออมสิน ได้ร่วมกันดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการรวมหนี้สินของครูจากหลายแหล่งทั้งในระบบและนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงมากู้ที่ธนาคารออมสินเพียงแห่งเดียว โดยในปี 2548 มีการจัดหาสวัสดิการด้านสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ และทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับธนาคารออมสินเพื่อดำเนินโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. – ช.พ.ส. รวม 7 โครงการ ด้วยการนำเงิน ช.พ.ค. และการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณี คู่สมรสถึงแก่กรรม (ช.พ.ส.) มาค้ำประกัน และ/หรือบุคคลค้ำประกัน หรือทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ


21 ก.ค. 2561 เวลา 10:19 | อ่าน 2,239


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
71 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
116 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
126 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
321 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
329 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
645 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,358 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
727 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน