5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา

12 ก.ย. 2561 เวลา 08:02 | อ่าน 2,119
แชร์ไปยัง
L
 
ในแต่ละปีมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกต้องเสียชีวิตจากการติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ‘แบคทีเรียดื้อยา’ หรือ ‘แบคทีเรียดื้อต่อยาปฏิชีวนะ’ (antibiotic resistance) ที่กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนในทั่วโลกอยู่ขณะนี้

5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา


อธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด เชื้อดื้อยาคือเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ มักทนต่อยาที่เคยยับยั้งหรือฆ่าเชื้อได้ ทำให้ไม่หายจากการติดเชื้อและมีโอกาสแพร่เชื้อดื้อยาไปสู่คนอื่นๆ โดยกลไกที่นำมาสู่การดื้อยานั้นเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะมาก/น้อยเกินไปหรือไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมหรือสังคมที่อาศัย เป็นต้น

และนี่คือ 5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดและน่าจับตามองที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา

+ ซัลโมเนลลา ไทฟิ (Salmonella typhi)
เป็นเชื้อที่พบได้ในไข้ไทรอยด์ (typhoid fever) ในแต่ละปีพบว่า มากกว่า 21 ล้านคนทั่วโรคติดเชื้อดังกล่าวและกลายเป็นสาเหตุของผู้เสียชีวิตราว 223,000 คนหรือหนึ่งเปอร์เซ็นต์จากจำนวนทั้งหมด

พฤศจิกายน 2016 (พ.ศ.2559) เชื้อดังกล่าวได้แพร่ระบาดอย่างหนักในปากีสถาน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 4 คนในจังหวัดเดียวของปากีสถานและมีผู้ติดเชื้อทั่วประเทศมากถึง 858 ราย ที่ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาได้

ความอันตรายของเชื้อซัลโมเนลลา ไทฟิที่กลายเป็นปัญหาน่ากังวลคือการที่เชื้อดังกล่าวพัฒนาตัวเองจาก Multidrug resistance (คือเชื้อที่ดื้อยาตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ได้แก่ aminoglycoside, carbapenem, cephalosporin, beta-lactam plus beta-lactamase inhibitor, quinolone) ขึ้นอีกระดับเป็น Extreme drug resistance (คือเชื้อที่ดื้อต่อยาทุกกลุ่ม ยกเว้นกลุ่ม polymyxin หรือ ยากลุ่ม glycylcycline) ซึ่งนั้นเท่ากับว่าอีกไม่นานเชื้อดังกล่าวอาจสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นสุดท้ายคือ Pandrug resistance (คือเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาทุกกลุ่ม รวมถึงยากลุ่ม polymyxin และ glycylcycline ด้วย) ได้ในอีกไม่ช้านี้[1]

+ ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis)
ได้รับสมญานามว่าเป็นนักฆ่าแห่งเชื้อดื้อยา เมื่อเป็นสาเหตุของผู้เสียชีวิตมากถึง 1.7 ล้านคนในแต่ละปี โดยความสามารถของไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส คือสามารถเข้าไปหลบซ่อนในเซลล์เราได้ ส่งผลให้ผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าวต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาที่แตกต่างกันมาก 4 กลุ่มและต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 4-6 เดือน

โดยข้อมูลจากรายงาน Global tuberculosis report ปี 2017 โดย WHO กล่าวปัญหาดังกล่าวโดยระบุว่ากลุ่มประเทศยุโรป (รวมถึงรัสเซีย) มีผู้ติดเชื้อดังกล่าวในระดับ Multidrug resistance มากถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ผู้ป่วยดังกล่าวต้องเข้าการรักษาและรับยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องมากถึง 18 -24 เดือน ทั้งยังราคาสูงและอาจสุ่มเสี่ยงต่อไตและอวัยวะอื่นๆ ตามมา

ขณะที่อีก 123 ประเทศทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อดังกล่าวในระดับ extensively drug-resistant ถึง 6 เปอร์เซ็นต์และมีอัตราการรักษาสำเร็จเพียง 30 เปอร์เซ็นต์จากในนั้นเท่านั้น

+ เคล็บซีเอลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae)
มักถูกพบในโรงพยาบาลมากที่สุดหรือที่รู้จักกันว่าเป็น ‘โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล’ กล่าวคือเมื่อผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอและพักฟื้นในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลจึงมีโอกาสติดเชื้อเคล็บซีเอลลา นิวโมเนียที่สุด อย่างไรก็ดี ผู้สุขภาพแข็งแรงไม่มีความเสี่ยงกับเชื้อดังกล่าว

เมื่อปี 2013 (พ.ศ.2556) พบว่าในสหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อดังกล่าวทั้งหมด 8,000 คนและมีอัตราผู้เสียชีวิตมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด และจากรายงานปี 2016 (พ.ศ.2559) ผู้ติดเชื้อเคล็บซีเอลลา นิวโมเนียดื้อยาปฏิชีวนะมากถึง 26 ชนิด [2] ส่งผลให้เชื้อดังกล่าวอยู่ในระดับ Pandrug resistance ทันที

+ ซูโดโมนาสแอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa)
เป็นเชื้อที่อยู่ในระดับสุดท้ายคือ Pandrug resistance และเป็นโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเช่นเดียวกับข้างต้นโดยซูโดโมนาสแอรูจิโนซาสามารถนำมาสู่การเปิดโรคโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในปอดและทางเดินอาหารอีกด้วย โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักได้รับยาปฏิชีวนะประเภทโคลิสติน (Colistin) ซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้ายของยาปฏิชีวินะ

ในสหรัฐอเมริกาประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อดังกล่าวมากถึง 51,000 คนและเสียชีวิตอีก 400 คนในแต่ละปีในช่วงระยะเวลาเพียง 5 ปีที่ผ่านมา

+ ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae)
เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหนองในแท้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คาดการณ์ว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อดังกล่าว 78 ล้านคน แม้โรคดังกล่าวอาจไม่ทำให้ถึงเสียชีวิตแต่ผู้ที่ติดเชื้อจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

โดย 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรียจะไม่สามารถรับยาปฏิชีวนะได้ 1 กลุ่มซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหนองในแท้พัฒนาเชื้อกลายมาเป็นซูเปอร์โกโนเรีย (Super Gonorrhea) ซึ่งอาจดื้อยามากกว่าเดิมและเป็นไปได้ว่ายังไม่มียาปฏิชีวนะใดๆ ในปัจจุบันรักษาได้

5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา

ที่มา:

1.Five of the scariest antibiotic-resistantbacteria in the past five years

2.คำนิยามของประเภทเชื้อดื้อยา

3.honestdocs.co


12 ก.ย. 2561 เวลา 08:02 | อ่าน 2,119


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
59 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
108 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
118 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
312 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
322 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
640 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,354 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
727 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน