เตือนภัยสแปมบนเฟซบุ๊ก

20 พ.ค. 2556 เวลา 10:56 | อ่าน 8,581
แชร์ไปยัง
L
 
images by free.in.th

ยุคนี้เป็นยุคสังคมออนไลน์อย่างแท้จริง ยิ่งตอนนี้ทุกอย่างถูกจับลงไปในมือถือ เราจึงอยู่กับมันได้ทุกที่ ทุกเวลา ตื่นมาก็ต้องเช็กข่าวสารความเป็นไป ก่อนกินข้าวก็ต้องถ่ายรูปลงเฟซบุ๊ก เม้าท์มอยผ่านแอพแชท แม้แต่จะบ่นอะไรก็ต้องลงเฟซบุ๊ก เผื่อคนที่เราบ่นถึงจะได้ยิน ถ้าขาดไป หลายคนคงขาดใจตาย

เมื่อผู้ใช้งานมารวมกันมากๆ ย่อมมีผู้ไม่ประสงค์ดีใช้เฟซบุ๊ก เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงและขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณ
รูปแบบสแปมบนเฟซบุ๊ก ก็มีมากมาย ตั้งแต่ปลอมเป็นแอพที่เห็นแล้วอยากกด ไม่ว่าจะเป็นแอพตรวจสอบว่าใครมาแอบดูโปรไฟล์คุณบ้าง แอพแต่งหน้าเฟซบุ๊ก รวมไปถึงคลิปโป๊เปลือยต่างๆ

ถ้าเผลอกดเมื่อไหร่ก็จะโดนขโมยข้อมูลแบบไม่รู้ตัว
รูปแบบการทำสแปมนี้ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ โดยจับเอาจุดอ่อนของผู้ใช้เป็นหลัก จนหลายคนตามไม่ทัน

ล่าสุด ที่ ซี เพิ่งเจอก็คือการล่อหลอกคน ที่อยากเพิ่มจำนวนคนกดไลค์บนเฟซบุ๊ก ทั้งแฟนเพจ สเตตัส รูปภาพ หรือคอมเม้นต์ต่างๆ โดยใช้วิธีลัด ด้วยการใช้ลิงค์ Autolike ไปแปะบนหน้าแฟนเพจและไทม์ไลน์ของหลายๆ คน พร้อมบรรยายสรรพคุณว่าเพิ่มยอดไลค์ 300-700 ไลค์ได้ 100% เพียงแค่คลิกเข้าไปยังลิงค์ที่อยู่ด้านล่าง เมื่อกดเข้าไป มันก็จะพาไปยังหน้าเว็บ more-liker-facebook.weebly.com ต่อจากนั้นก็จะมีหลอกให้คุณ Access token ของเฟซบุ๊กคุณ

ถ้าหากคุณกรอกไปก็เหมือนกับการมอบสิทธิ์ให้แฮกเกอร์สามารถโพสต์รูป หรือข้อความบนเฟซบุ๊กของคุณได้ โดยไม่ได้รับอนุญาต

สแปม อีกรูปแบบนึงที่น่ากลัวก็คือ การแกล้งทำเป็นส่วนเสริมการทำงานบนบราวเซอร์ อย่าง Chrome โดยมันจะปลอมตัวเป็น Flash ที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดีจึงไม่เกิดการเอะใจ เมื่อหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งลงในเครื่องได้แล้ว มันก็จะเริ่มแพร่สแปมและแท็กเพื่อนๆ จนคุณตามลบไม่หวาดไม่ไหว

ดังนั้น ขอให้มีสติคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะกดลิงค์ หรือสมัครลงทะเบียนกับแอพใดๆ บนเฟซบุ๊ก เพราะมันอาจจะเป็นแอพปลอมที่สร้างขึ้นมาหลอกลวงคุณ ถึงแม้แอพนั้นจะปรากฏใน Facebook App Center นั่นไม่ได้หมายความว่า แอพนั้นจะเชื่อถือได้ 100% นะ ยิ่งถ้าแอพเหล่านั้นต้องการแชร์ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลบัตรเครดิต ก็ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าเป็นแอพอันตรายที่จ้องจะขโมยข้อมูล ทางออกที่ดีที่สุดคือ มีสติก่อนคลิกอะไรแปลกๆ บนโลกออนไลน์ กันไว้ดีกว่าแก้ คำนี้ยังคงใช้ได้ผลทุกยุคทุกสมัยค่ะ.

ข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์ โดย ซี ฉัตรปวีณ์

20 พ.ค. 2556 เวลา 10:56 | อ่าน 8,581


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
0 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
63 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
65 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
298 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
315 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
633 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,342 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
705 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน