การอ่านตัวเลขต่างๆ

15 มี.ค. 2559 เวลา 21:49 | อ่าน 63,525
แชร์ไปยัง
L
 
การอ่านจำนวนเลขตั้งแต่ ๒ หลักขึ้นไป
ตัวเลข

เขียน อ่านว่า
๑๑ สิบ-เอ็ด
๒๑ ยี่-สิบ-เอ็ด
๑๐๑ ร้อย-เอ็ด, ห ฺนึ่ง-ร้อย-เอ็ด
๑๐๐๑ พัน-เอ็ด, ห ฺนึ่ง-พัน-เอ็ด
๒๕๐๑ สอง-พัน-ห้า-ร้อย-เอ็ด



การอ่านตัวเลขบอกเวลา
การอ่านเวลา

- การอ่านชั่วโมงที่ไม่มีจำนวนนาที เช่น

เขียน อ่านว่า
๐๕.๐๐ น. หรือ ๐๕:๐๐ น. ห้า-นา-ลิ-กา
๒๔.๐๐ น. หรือ ๒๔:๐๐ น. ยี่-สิบ-สี่-นา-ลิ-กา
๐๐.๐๐ น. หรือ ๐๐:๐๐ น. สูน-นา-ลิ-กา


- การอ่านชั่วโมงกับนาที เช่น

เขียน อ่านว่า
๑๑.๓๕ น. หรือ ๑๑:๓๕ น. สิบ-เอ็ด-นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-ห้า-นา-ที
๑๖.๓๐ น. หรือ ๑๖:๓๐ น. สิบ-หก-นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-นา-ที


- การอ่าน ชั่วโมง นาที และวินาที เช่น

เขียน อ่านว่า
๗:๓๐:๔๕ เจ็ด-นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-นา-ที-สี่-สิบ-ห้า-วิ-นา-ที
๐๒:๒๘:๑๕ สอง-นา-ลิ-กา-ยี่-สิบ-แปด- นา-ที-สิบ-ห้า-วิ-นา-ที


- การอ่านเวลาที่มีเศษของวินาที ตัวเลขหลังจุดทศนิยมที่เป็นเศษของวินาที ให้อ่านเรียงตัว เช่น

เขียน อ่านว่า
๘:๐๒:๓๗.๘๖ แปด-นา-ลิ-กา-สอง-นา-ที-สาม-สิบ-เจ็ด-จุด-แปด-หก-วิ-นา-ที
๑๐-๑๔-๒๔.๓๗ สิบ-นา-ลิ-กา-สิบ-สี่-นา-ที-ยี่-สิบ-สี่-จุด-สาม-เจ็ด-วิ-นา-ที


หมายเหตุ
การเขียนตัวเลขบอกเวลาโดยใช้เครื่องหมายทวิภาค “:” คั่นระหว่างตัวเลขบอกชั่วโมง นาที วินาที เป็นวิธีการเขียนอย่างทั่วไป ส่วนการใช้เครื่องหมายยัติภังค์ “-” คั่นระหว่างตัวเลขบอกชั่วโมง นาที วินาที เป็นวิธีการเขียนที่ใช้ในการเดินเรือหรือทางดาราศาสตร์

ที่มา หนังสือ อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๑๖,


การอ่านตัวเลขที่แสดงมาตราส่วน หรือ อัตราส่วน
การอ่านมาตราส่วน

เขียน อ่านว่า
๑:๑๐๐,๐๐๐ หฺนึ่ง-ต่อ-แสน หรือ หฺนึ่ง-ต่อ-หฺนึ่ง-แสน
๑:๒:๔ หฺนึ่ง-ต่อ-สอง-ต่อ-สี่


การอ่านตัวเลขที่มีจุดทศนิยม
การอ่านเลขทศนิยม

๑. ตัวเลขหน้าจุดทศนิยม ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยม ให้อ่านแบบเรียงตัว เช่น

เขียน อ่านว่า
๑.๒๓๕ หฺนึ่ง-จุด-สอง-สาม-ห้า
๕๑.๐๘ ห้า-สิบ-เอ็ด-จุด-สูน-แปด

๒. ตัวเลขที่เป็นเงินตรา หรือ หน่วยนับ ให้อ่านตามหน่วยเงินตรา หรือ หน่วยนับนั้น ๆ เช่น

เขียน อ่านว่า
๕.๘๐ บาท ห้า-บาด-แปด-สิบ-สะ-ตาง
๘.๖๕ ดอลลาร์ แปด-ดอน-ล่า-หก-สิบ-ห้า-เซ็น
๓.๕๘ เมตร สาม-เมด-ห้า-สิบ-แปด-เซ็น-ติ-เมด
๒.๒๐๕ กิโลกรัม สอง-กิ-โล-กฺรำ- สอง-ร้อย- ห้า-กฺรำ


การอ่านบ้านเลขที่
การอ่านบ้านเลขที่ี

บ้านเลขที่ที่มีเครื่องหมายทับ “/” และบ้านเลขที่ที่ไม่มีเครื่องหมายทับ “/” มีหลักการอ่านเหมือนกัน คือ บ้านเลขที่ซึ่งมีตัวเลข ๒ หลัก ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ถ้ามีตัวเลข ๓ หลักขึ้นไป ให้อ่านแบบเรียงตัวหรือแบบจำนวนเต็มก็ได้ ส่วนตัวเลขหลังเครื่องหมายทับ “/” ให้อ่านเรียงตัว เช่น

บ้านเลขที่ ๑๐ อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ สิบ

บ้านเลขที่ ๔๑๔ อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ สี่-หฺนึ่ง-สี่
หรือ บ้าน-เลก-ที่ สี่-ร้อย-สิบ-สี่

บ้านเลขที่ ๕๖/๓๔๒ อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ ห้า-สิบ-หก ทับ สาม-สี่-สอง

บ้านเลขที่ ๖๕๗/๒๑ อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ หก-ห้า-เจ็ด ทับ สอง-ห ฺนึ่ง
หรือ บ้าน-เลก-ที่ หก-ร้อย-ห้า-สิบ-เจ็ด ทับ-สอง- ห ฺนึ่ง


กลุ่มตัวเลขที่มีเลข ๐ นำหน้า อ่านเรียงตัวเสมอ เช่น

บ้านเลขที่ ๐๘๖๔/๑๑๐๘ อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ สูน-แปด-หก-สี่-ทับ-หฺนึ่ง-หฺนึ่ง-สูน-แปด


การอ่านรหัสไปรษณีย์
การอ่านรหัสไปรษณีย์

รหัสไปรษณีย์ เป็นกลุ่มตัวเลขที่กำหนดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้ทราบถึงปลายทางของสิ่งที่ส่งทางไปรษณีย์ และใช้แทนรายละเอียดพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้การคัดแยกและส่งต่อสิ่งของทางไปรษณีย์ไปยังปลายทางเป็นไปด้วยความ ถูกต้องและรวดเร็ว

รหัสไปรษณีย์ประกอบด้วยตัวเลข ๕ ตัว ตัวเลข ๒ ตัวแรกหมายถึงจังหวัด ส่วนตัวเลข ๓ ตัวหลัง หมายถึงที่ทำการไปรษณีย์ของจังหวัดนั้น ๆ เช่น รหัสไปรษณีย์ ๓๒๑๙๐ ตัวเลข ๓๒ หมายถึงจังหวัดสุรินทร์ ส่วนเลข ๑๙๐ หมายถึงที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งรับผิดชอบการนำจ่ายสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ในพื้นที่อำเภอชุมพล บุรี จังหวัดสุรินทร์

การอ่านเลขรหัสไปรษณีย์ให้อ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ดังนี้
รหัสไปรษณีย์ ๓๒๑๙๐ อ่านว่า สาม-สอง-ห ฺนึ่ง-เก้า-สูน


การอ่านหมายเลขทางหลวง
แต่ เดิมทางหลวงสายสำคัญ ๆ ปรกติใช้ชื่อสกุลของบุคคลที่มีความสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับทางสายนั้น ๆ เช่น เป็นผู้บุกเบิก ผู้ก่อสร้าง มาตั้งเป็นชื่อถนน แต่เมื่อมีการสร้างทางมากขึ้น การใช้ชื่อสกุลมีความยุ่งยากและสับสน ทั้งไม่สามารถทราบได้ว่าทางสายนั้นอยู่ทางบริเวณภาคใดของประเทศ จึงได้มีการนำระบบหมายเลขมาใช้กำกับทางหลวงต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในการดูแลของกรมทางหลวง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงสัมปทาน และทางหลวงพิเศษ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

๑๑.๑ ทางหลวงที่มีเลขหนึ่งตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงพิเศษที่เป็นถนนสายหลัก เชื่อมการคมนาคมระหว่างภาคต่อภาค ได้แก่
– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ หรือ ถนนพหลโยธิน เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่ภาคเหนือ ตั้งต้นจากกรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย
– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ หรือ ถนนมิตรภาพ เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งต้นที่จังหวัดสระบุรี และไปสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย
– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓หรือ ถนนสุขุมวิท เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่จังหวัดทางภาคกลางรวมถึงชายทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งต้นจากกรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่จังหวัดตราด
– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ หรือ ถนนเพชรเกษม เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่ภาคใต้ ตั้งต้นจากกรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
– ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๕ เป็นถนนเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดเชียงราย
– ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๖ เป็นถนนเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดหนองคาย
– ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ เป็นถนนเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดจันทบุรี
– ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๘ เป็นทางเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
– ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ เป็นถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ

๑๑.๒ ทางหลวงที่มีเลขสองตัว คือ ทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงพิเศษที่เป็นสายประธานตามภาคต่าง ๆ เช่น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายประธานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายอุดรธานี-นครพนม ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๕๑ หมายถึง ทางหลวงซึ่งเชื่อมต่อจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ สุพรรณบุรี

๑๑.๓ ทางหลวงที่มีเลขสามตัว คือ ทางหลวงแผ่นดินสายรอง เช่น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ หมายถึงทางหลวงแผ่นดินสายรองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายชัยภูมิ-เขมราฐ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ หมายถึงทางหลวงแผ่นดินสายรองในภาคกลางสายบางปะกง-ฉะเชิงเทรา

๑๑.๔ ทางหลวงที่มีเลขสี่ตัว คือ ทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัดกับอำเภอ หรือสถานที่สำคัญของจังหวัดนั้น เช่น ทางหลวงหมายเลข ๔๐๐๖ หมายถึงทางหลวงในภาคใต้สายแยกทางหลวงหมายเลข ๔ (ราชกรูด-หลังสวน)

ในการอ่านหมายเลขทางหลวงให้อ่านเรียงตัว ดังนี้
หมายเลขทางหลวง ๒๑ อ่านว่า หฺมาย-เลก-ทาง-หฺลวง สอง-หฺนึ่ง
หมายเลขทางหลวง ๓๑๔ อ่านว่า หฺมาย-เลก-ทาง-หฺลวง สาม-หฺนึ่ง-สี่


การอ่านหมายเลขโทรศัพท์
การอ่านหมายเลขโทรศัพท์

การ อ่านหมายเลขโทรศัพท์ แต่เดิมกำหนดให้อ่านเลข “๒” ว่า “โท” เพื่อให้เสียงอ่านเลข “๒” กับเลข “๓” แตกต่างกัน เนื่องจากหมายเลขโทรศัพท์ประกอบด้วยตัวเลขหลายตัว บางครั้งอาจมีเลข ๒ และ ๓ อยู่เรียงกันหลายตัว เสียงอ่านเลข ๒ กับเลข ๓ มีเสียงใกล้เคียงกัน ปัจจุบันระบบโทรศัพท์พัฒนาเจริญก้าวหน้ามาก จึงให้อ่านหมายเลขโทรศัพท์ “๒” ว่า สอง หรือจะอ่านว่า “โท” ก็ได้

๑. หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศ

องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ทั่วประเทศ ทั้งโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยกำหนดรูปแบบเลขหมายใหม่เพื่อรองรับการใช้งานเบื้องต้น ๙๐ ล้านเลขหมาย รวมหมายเลขรหัสทางไกล หรือรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่เดิมเข้ากับหมายเลขโทรศัพท์ เป็นหมายเลข ๙ หลัก การอ่านหมายเลขโทรศัพท์ซึ่งเดิมจะอ่านหมายเลขรหัสทางไกล หรือรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนแล้วจึงอ่านหมายเลขโทรศัพท์ ปัจจุบันการเขียนและการอ่านหมายเลขโทรศัพท์ตามระบบที่เปลี่ยนใหม่ เป็นดังนี้

ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเดิมมีรหัสทางไกล ๐๒ เขียนดังนี้

หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๕๓๑ ๓๒๓๔*
อ่านว่า หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน-สอง-ห้า-สาม-หฺนึ่ง สาม-สอง-สาม-สี่
หรือ หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน-โท-ห้า-สาม-หฺนึ่ง สาม-โท-สาม-สี่

หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๖๔๓ ๕๑๕๑-๒๒
อ่านว่า หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน-สอง-หก-สี่-สาม ห้า-หฺนึ่ง-ห้า-หฺนึ่ง ถึง สอง-สอง

ในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีรหัสทางไกล (๐๓๒) เขียนดังนี้

หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๓๒๒๑ ๑๒๓๔
อ่านว่า หฺฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน สาม-สอง-สอง-หฺนึ่ง หฺนึ่ง-สอง-สาม-สี่
หรือ หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน สาม-โท-โท-หฺนึ่ง หฺนึ่ง-โท-สาม-สี่

– หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีรหัส ๐๑ ๐๙ ๐๖ เขียนดังนี้
๐ ๑๕๕๓ ๐๗๔๓ ๐ ๙๕๕๓ ๐๗๔๓ ๐ ๖๕๕๓ ๐๗๕๓
การอ่านให้อ่านเช่นเดียวกับโทรศัพท์ภายในประเทศ


๒. หมายเลขโทรศัพท์ระหว่างประเทศ

หมายเลขโทรศัพท์ระหว่างประเทศจะประกอบด้วยเครื่องหมาย “+” ซึ่งเป็นเครื่องหมายรหัสทางไกลต่างประเทศ (International Prefix) เพื่อให้ทราบว่าในการเรียกทางไกลต่างประเทศต้องหมุนหรือกดรหัสทางไกลต่าง ประเทศก่อน ตามด้วยตัวเลขที่เป็นรหัสประเทศ รหัสเมือง และหมายเลขโทรศัพท์ ตามลำดับ แบ่งเป็น ๒ ประเภท

๒.๑ การเรียกออกต่างประเทศ
รหัส เรียกออกทางไกลต่างประเทศสำหรับประเทศไทย คือ ๐๐๑ และ ๐๐๗ ซึ่งเป็นรหัสเรียกออกทางไกลต่างประเทศเฉพาะประเทศมาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา เช่น

๐๐๑ + ๓๓ ๘๘ ๓๗๑-๖๙๑
อ่านว่า ระ-หัด-เรียก-ทาง-ไกฺล-ต่าง-ปฺระ-เทด สูน-สูน-หนึ่ง ระ-หัด-ปฺระ-เทด สาม-สาม ระ-หัด-เมือง แปด-แปด หฺมาย-เลข-โท-ระ-สับ สาม-เจ็ด-หนึ่ง-หก-เก้า-หฺนึ่ง

๐๐๗ + ๙๕-๑ ๒๒๑๘๘๑
อ่านว่า ระ-หัด-เรียก-ทาง-ไกฺล-ต่าง-ปฺระ-เทด สูน-สูน-เจ็ด เก้า-ห้า หฺนึ่ง สอง-สอง-หฺนึ่ง-แปด-แปด-หนึ่ง
หรือ ระ-หัด-เรียก-ทาง-ไกฺล-ต่าง-ปฺระ-เทด สูน-สูน-เจ็ด เก้า-ห้า หฺนึ่ง โท-โท-หฺนึ่ง-แปด-แปด-หฺนึ่ง

๒.๒ การเรียกเข้าจากต่างประเทศ

รหัสเรียกเข้าทางไกลจากต่างประเทศ คือ ๖๖ เช่น

๖๖ ๒๒๘๒ ๒๒๖๙
อ่านว่า ระ-หัด-เรียก-ทาง-ไกฺล-ต่าง-ปฺระ-เทด หก-หก สอง-สอง-แปด-สอง สอง-สอง-หก-เก้า
หรือ ระ-หัด-เรียก-ทาง-ไกฺล-ต่าง-ปฺระ-เทด หก-หก โท-โท-แปด-โท โท-โท-หก-เก้า

โทรศัพท์ระบบบริการข้อมูลด้วยเสียงทางโทรศัพท์ (audiotex) ซึ่งมีเลขจำนวน ๑๐ ตัวประกอบด้วย ตัวเลขกลุ่มแรก ๔ ตัว เป็นรหัสบอกระบบ กลุ่มที่สอง จำนวน ๓ ตัว เป็นรหัสของเจ้าของกิจการนั้น และกลุ่มที่สามมีจำนวน ๓ ตัว เป็นรหัสประเภทการบริการ การเขียนหมายเลขโทรศัพท์ระบบนี้ ให้เขียนแยกเป็น ๓ กลุ่ม การอ่านให้อ่านแบบเรียงตัว เช่น

๑๙๐๐ ๑๑๑ ๐๐๐
อ่านว่า หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ- หฺนึ่ง-เก้า-สูน-สูน หฺนึ่ง-หฺนึ่ง-หฺนึ่ง สูน-สูน-สูน

โทรศัพท์ ระบบบริการข้อมูลด้วยเสียงทางโทรศัพท์โดยใช้พนักงานรับสาย (BUG) จะมีเลขจำนวน ๔ ตัว ซึ่งเจ้าของกิจการเป็นผู้กำหนดขึ้นเองเพื่อให้จดจำง่าย ให้เขียนหมายเลขทั้ง ๔ ตัว เป็นกลุ่มเดียวกัน และอ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ดังนี้

๑๒๑๓ อ่านว่า หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ หฺนึ่ง-สอง-หฺนึ่ง-สาม


การอ่านเลขแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์
การอ่านทะเบียนรถ

๑. แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้อ่านหมายเลขประจำหมวดกับตัวอักษรบอกหมวดก่อน แล้วจึงอ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ตามด้วยชื่อจังหวัดที่จดทะเบียน ดังนี้

เลขทะเบียน ๕ช-๒๔๓๗ กรุงเทพมหานคร
อ่านว่า ห้า-ชอ-ช้าง สอง-สี่-สาม-เจ็ด ก ฺรุง-เทบ-มะ-หา-นะ-คอน

๒. แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ นั้น ให้อ่านตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถยนต์ก่อน แล้วจึงอ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ตามด้วยชื่อและรหัสจังหวัดที่จดทะเบียนดังนี้

เลขทะเบียน ๘๐-๒๔๓๗ กรุงเทพมหานคร ๐๑
อ่านว่า แปด-สูน สอง-สี่-สาม-เจ็ด-ก ฺรุง-เทบ-มะ-หา-นะ-คอน-สูน-ห ฺนึ่ง


การอ่านเลข ร.ศ. ที่มีการเทียบเป็น พ.ศ. กำกับ
การอ่านรัชสมัย

เช่น ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)

อ่านว่า รัด-ตะ-นะ-โก-สิน-สก ร้อย-สิบ-สอง-ต ฺรง-กับ-พุด-ทะ-สัก-กะ- ห ฺราด สอง-
พัน-สี่-ร้อย-สาม-สิบ-หก

หรือ รอ-สอ ร้อย-สิบ-สอง ต ฺรง-กับ พอ-สอ สอง-พัน-สี่-ร้อย-สาม-สิบ-หก
(เพิ่มข้อความ “ตรงกับ” เพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น)

หรือ รัด-ตะ-นะ-โก-สิน-สก ร้อย-สิบ-สอง-ว ง- เล็ บ- เปิด-พุ ด- ท ะ- สั ก- กะ- ห ฺราด-สอง -พัน-สี่-ร้อย-สาม-สิบ-หก-วง-เล็บ-ปิด

หรือ รอ-สอ-ร้อย-สิบ-สอง-วง-เล็บ-เปิด-พอ-สอ-สอง-พัน-สี่-ร้อย-สาม- สิบ-หก-วง-เล็บ-ปิด


การอ่านเลขหนังสือราชการ
หนังสือราชการ

นิยมอ่านเรียงตัว เช่น

หนังสือที่ รถ ๐๐๐๑/๑๐๒ ลว. ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๘
อ่านว่า หฺนัง-สือ-ที่ รอ-ถอ สูน-สูน-สูน-หฺนึ่ง ทับ หฺนึ่ง-สูน-สอง ลง-วัน-ที่ สิบ ตุ-ลา-คม พุด-ทะ-สัก-กะ-หฺราด สอง-พัน-ห้า-ร้อย-สาม-สิบ-แปด

หนังสือที่ ศธ ๐๐๓๐.๐๑/๕๙๗ ลว. ๘ พ.ย. ๒๕๓๔
อ่านว่า ห ฺนัง-สือ-ที่ สอ-ทอ สูน-สูน-สาม-สูน-จุด-สูน- หนึ่ง-ทับ ห้า-เก้า-เจ็ด-ลง-วัน-ที่ แปด พ รึด-สะ-จิ-กา-ยน-พุด-ทะ-สัก-กะ- ห ฺราด สอง-พัน-ห้า-ร้อย-สาม-สิบ-สี่





ที่มาของข้อมูล ราชบัณฑิตยสถาน

15 มี.ค. 2559 เวลา 21:49 | อ่าน 63,525


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
77 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
134 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
151 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
323 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
333 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
646 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,361 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
737 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน