พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

1 ธ.ค. 2559 เวลา 08:12 | อ่าน 6,801
แชร์ไปยัง
L
 
ยาพาราเซตามอล (paracetamol) หรือ อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายหาซื้อได้ง่าย เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้อย่างถูกวิธี
พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

พาราเซตามอลสามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่างๆได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดจากข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ เคล็ด ขัด ยอก หลายท่านจึงมีติดตู้ยาที่บ้านและมักเป็นยาที่นึกถึงเป็นขนานแรกเมื่อมีอาการปวด เมื่อใช้ในรูปแบบยาเดี่ยว พาราเซตามอลมีฤทธิ์ลดอาการปวดจำกัด รักษาได้เพียงอาการปวดขั้นอ่อนถึงปานกลางเท่านั้น

อาการปวดที่ยาพาราเซตามอลใช้ได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผล
แม้พาราเซตามอลจะมีฤทธิ์บรรเทาปวดได้หลายอย่างจนเหมือนจะรักษาปวดได้ครอบจักรวาล แต่อย่างไรก็ตามมีอาการปวดบางชนิดที่พาราเซตามอลไม่มีผลรักษาหรืออาจไม่ใช่ยาที่เหมาะสม เช่น

● อาการปวดขั้นรุนแรง

เช่นปวดจากแผลผ่าตัดใหญ่ หรือจากมะเร็ง วิธีการประเมินความปวดอย่างง่ายวิธีหนึ่งคือการให้คะแนนความปวดจาก 0 ถึง 10 ให้เลข 0 แทนความรู้สึกที่ไม่มีอาการปวดแต่อย่างใดและเลข 10 แทนความรู้สึกปวดมากที่สุดเท่าที่จะจินตนาการได้ หากประเมินแล้วตัวเลขตกอยู่ในช่วง 7-10 นั่นหมายถึงการมีอาการปวดขั้นรุนแรง ยาพาราเซตามอลแต่เพียงขนานเดียวไม่สามารถรักษาได้แม้ว่าจะใช้เกินขนาดไปเท่าใดก็ตาม ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความปวดระดับดังกล่าวห้ามใช้พาราเซตามอลเกินขนาดที่แนะนำเพื่อหวังผลลดปวดและควรพบแพทย์เพื่อรับยาที่เหมาะสมต่อไป

พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

● อาการปวดที่มีลักษณะอาการแบบแปลกๆ

อาการปวดโทยทั่วไปที่พาราเซตามอลมีผลรักษาเช่น ปวดตื้อ หรือ กดเจ็บ จากเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ หรือปวดศีรษะทั่วไป แต่มีอาการบวดบางแบบที่พบได้ในผู้ป่วยเช่น ปวดแสบปวดร้อน เสียวแปลบเป็นพักๆ ปวดเหมือนเข็มเล็กๆทิ่มแทง ปวดเหมือนไฟช๊อต ปวดร้าวไปที่บริเวณอื่นๆ อาการปวดเหล่านี้อาจบ่งถึงอาการปวดจากการที่เส้นประสาททำงานผิดปกติ ปวดร่วมกับอาการชา ยาพาราเซตามอลมีผลน้อยมากในการรักษาอาการดังกล่าว ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเส้นประสาทมักมีอาการเรื้อรังจึงอาจใช้ยาพาราเซตามอลเองเป็นระยะเวลานานซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตับ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

● อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

การใช้ยาพาราเซตามอลรักษาอาการปวดศีรษะบ่อยๆ โดยเฉพาะการใช้ยามากกว่า 15 วันต่อเดือนประมาณ 2-3 เดือนติดต่อกันจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิด “โรคปวดศีรษะเหตุใช้ยาเกิน (medication overuse headache)” ดังนั้นผู้ที่อาการปวดศีรษะบ่อยครั้ง เช่นปวดศีรษะไมเกรนมากกว่าเดือนละ 3-4 ครั้ง หรือปวดศีรษะจากความเครียดที่มีลักษณะอาการปวดเหมือนศีรษะถูกบีบรัดมากกว่า 15 วันต่อเดือน ควรปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนและอาจจำเป็นต้องรับยาอื่นที่ไม่ใช่พาราเซตามองเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะต่อไป

พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ?

คำแนะนำการใช้ยาพาราเซตามอลในการระงับปวดให้ปลอดภัย
● รับประทานยาอย่างเคร่งครัดตามที่ได้รับการแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือห้ามใช้เกินขนาดที่แนะนำ

ขนาดยาพาราเซตามอลโดยทั่วไปเมื่อใช้ในการรักษาความปวดเบื้องต้นในผู้ใหญ่คือ 500 มิลลิกรัมครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ใน 1 วัน (24 ชั่วโมง) ไม่เกิน 8 เม็ด (4,000 มิลลิกรัม) จากขนาดยาดังกล่าวสังเกตว่าหากรับประทานครั้งละ 2 เม็ดทุก 4 ชั่วโมง จะเท่ากับ 6,000 มิลลิกรัมซึ่งเกิน 4,000 มิลลิกรัม ให้ระมัดระวังการใช้ยาในขนาดสูงดังกว่า ขนาดยาที่แนะนำในผู้ใหญ่นี้ ใช้สำหรับรักษาความปวดเบื้องต้น แนะนำให้รับประทานติดต่อกันไม่เกิน 5-7 วัน หากจำเป็นต้องใช้นานกว่านี้ควรปรึกษาแพทย์

● หากใช้ยาบางชนิดร่วมด้วยต้องใช้พาราเซตามอลภายใต้การดูแลของแพทย์

ยาบางชนิดอาจทำให้พิษต่อตับของยาพาราเซตามอลเพิ่มขึ้นเช่น ยารักษาวัณโรค เช่น rifampin หรือยารักษาโรคลมชักเช่น phenytoin, carbamazepine และ phenobarbital หรือการดื่มสุราจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน พาราเซตามอลอาจเพิ่มฤทธิ์ของยาบางชนิด เช่น warfarin ซึ่งเป็นยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด หากได้รับยาดังกล่าวควรใช้ยาพาราเซตามอลหรือยาแก้ปวดทุกชนิดภายใต้การดูแลของแพทย์

● ตรวจสอบชื่อสามัญทางยาของยาที่ใช้อยู่ให้ถี่ถ้วนเพื่อป้องกันการได้รับพาราเซตามอลเกินขนาด

ในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ยาอยู่หลายขนานให้ทำการตจาวลสอบชื่อสามัญทางยาว่ามี พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) อยู่ในยาแต่ละขนานอย่างซ้ำซ้อนหรือไม่ เพราะมียาหลายชื่อการค้าที่มีพาราเซตามอลแฝงอยู่โดยเฉพาะยาสูตรผสมแก้หวัด เช่น Tiffy® Decolgen®, Pharcold® และ Apracur® และยาสูตรผสมแก้ปวด เช่น Norgesic®, Ultracet® และ Tylenol with codeine® การได้รับยาเหล่านี้ซ้ำซ้อนกันหลายชนิดอาจเป็นเหตุให้ได้รับยาพาราเซตามอลเกิดขนาดโดยไม่ตั้งใจได้ หากไม่แน่ใจในขนาดยารวมของพาราเซตามอลที่ใช้ให้ปรึกษาเภสัชกร



บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดย
อาจารย์ ภก. พงศธร มีสวัสดิ์สม
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : http://drlumbago.com/body-aches-pains-hurt-all-over/
ข้อมูลจาก บทความเผยแพร่สู่ประชาชน


1 ธ.ค. 2559 เวลา 08:12 | อ่าน 6,801


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
 
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
71 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
116 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
126 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
321 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
329 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
645 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,358 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
727 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน