อยากได้แนวข้อสอบปลัดค่ะ

Untitled Document ใครมีแนวข้อสอบหรือความรู้ดีๆเกี่ยวกับการสอบปลัด บอกกันบ้างนะคะ เพิ่งสมัครสอบเป็นครั้งแรกค่ะ

มนค่ะ



รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : อยากได้แนวข้อสอบปลัดค่ะ

สรุปสาระเกี่ยวกับทะเบียนทั่วไป
***เกี่ยวกับทะเบียนทั่วไป***
ทะเบียนทั่วไป
1. ทะเบียนการสมรส
ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายว่าด้วยการสมรส
ต้องแสดงความยินยอม และได้รับความยินยอมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ต้องได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว
เงื่อนไขแห่งกฎหมาย
1. ชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
2. ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริตฯ
3. ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตฯ จะทำการสมรสกันไม่ได้
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
5. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
6. หญิงที่สามีตาย หรือการสมรสสิ้นสุดลง ด้วยประการอื่น ต้องผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
6.1 คลอดบุตรแล้ว
6.2 สมรสกับคู่สมรสเดิม
6.3 ใบรับรองแพทย์ ว่ามิได้มีครรภ์
6.4 มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
7. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
ความยินยอมทำได้ 3 วิธี คือ
1. ลงลายมือชื่อในขณะจดทะเบียนสมรส
2. ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม
3. ถ้ามีเหตุจำเป็นจะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยาน อย่างน้อย 2 คน
การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
คู่สมรสจะต้องร้องขอจดทะเบียนตามแบบ คร.1 ต่อนายทะเบียน
1) ณ สำนักทะเบียน
2) นอกสำนักทะเบียน
3) ณ สถานที่ที่ รมว.มท.กำหนด (ที่ชุมชุน)
4) ณ ท้องที่ห่างไกล (ผวจ. อนุมัติ)
5) ต่อกำนันท้องที่ห่างไกล (รมว.มท.อนุมัติ ผวจ.ประกาศ)
6) การแสดงวาจา หรือกริยาต่อหน้าพยาน กรณีพิเศษที่ตกอยู่ในภัยอันตรายใกล้ความตาย (โรคภัย, ภาวะสงคราม)
7) ณ สำนักทะเบียนสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย ซึ่งมีหลักเกณ์ดังนี้
(1) ชายและหญิงมีสัญชาติไทยทั้งสองฝ่าย
(2) ชายหรือหญิงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสัญชาติไทย
(3) คู่สมรสประสงค์จะทำการสมรสตามกฎหมายไทย
(4) ต้องจดทะเบียน ณ สถานทูต หรือสถานกงสุลไทยใน ต่างประเทศ
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 13
1) ตรวจสอบคำร้อง (คร.1) และหลักฐานบัตรฯ สำเนาทะเบียนบ้าน
2) ตรวจสอบคุณสมบัติ เงื่อนไขแห่งการสมรส ตาม ป.พ.พ.บรรพ 5
กรณีผู้เยาว์ต้องมีหลักฐานของผู้ให้ความยินยอม
3) ลงรายการในทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3)ให้ครบถ้วน (เรื่องอื่นหากประสงค์จะให้บันทึก เช่น ทรัพย์สิน)
4) ให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) พยาน ลงลายมือชื่อใน คร. 2
5) เมื่อเห็นถูกต้อง นายทะเบียนลงลายมือชื่อใน คร.2 และ คร.3
6)มอบ คร.3 ให้คู่สมรสฝ่ายละฉบับ กล่าวอำนวยพรและแนะนำวิธีปฏิบัติหน้าที่ระหว่างสามีภรรยาพอสมควร
กรณีการสมรสระหว่างผู้มีสัญชาติไทยกับบุคคลต่างด้าว
โดยถือปฏิบัติตามหนังสือ ที่ มท 0310.2/ว 1170 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ดังนี้
1. บุคคลต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมาย
1.1 ตรวจสอบคำร้องขอ
1.2 สอบสวนปากคำผู้ร้อง เมื่อจดทะเบียนแล้วจะไปอยู่ที่ไหน
1.3 ให้ตรวจสอบหนังสือรับรองของสถานเอกอัครราชทูต
ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายไทยหรือไม่
ผู้ร้องประกอบอาชีพ และมีรายได้เท่าใด
ภาวะทางการสมรสของผู้ร้อง เป็นโสด หรือสมรสแล้ว
ระบุชื่อบุคคลที่ทางราชการติดต่อได้ 2 คน
การสิ้นสุดของการสมรสด้วยเหตุ 3 ประการ
1. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
2. ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส
3. ได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว
2. ทะเบียนการหย่า
การหย่ามี 2 วิธี
วิธีที่1
การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย คือการที่สามี ภรรยาตกลงที่จะทำการหย่า
ต้องทำเป็นหนังสือ (สัญญาการหย่า) และมีพยานลงลายมือชื่อ อย่างน้อย 2 คน
และร้องขอต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ถ้าไม่มีหนังสือหย่ามาแสดง นายทะเบียน
จะไม่รับจดทะเบียนหย่าให้
- การหย่าโดยความยินยอมทำได้ 2 แนวทาง คือ
การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
วิธีที่2
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล เป็นกรณีที่สามีภรรยาไม่สามารถ
ตกลงกันได้ จึงต้องฟ้องหย่าต่อศาล โดยมีสาเหตุแห่งการหย่า
ตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 5
พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. ๒๕๓๓

3. ทะเบียนรับรองบุตร
บิดา มารดาของเด็กเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อ
บิดามารดาได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายซึ่งจะมีผลแต่วันที่สมรส
บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่จดทะเบียน
เมื่อศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา ซึ่งจะมีผลนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
การจดทะเบียนรับรองบุตร มี 3 วิธี
วิธีที่ 1 การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน
1) บิดายื่นคำร้อง (คร.1) ต่อนายทะเบียน
2) นำมารดาเด็กและเด็กมาแสดงตนว่ายินยอมหรือไม่
3) หากมารดาเด็กและเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอม ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็ก และมารดาเด็ก
ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่มาให้ความยินยอม ภายใน 60 วัน นับแต่วันแจ้ง ให้สันนิษฐานว่าไม่ยินยอม ถ้าเด็ก
หรือมารดาอยู่ต่างประเทศ ขยายเวลาเป็น 180 วัน
4) กรณีเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่ อาจให้ความยินยอม ต้องมีคำพิพากษาของศาล
วิธีที่ 2 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออก
ตามความใน พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดไว้ว่าในกรณีที่มีผู้ร้องขอนายทะเบียน จะออกไป จดทะเบียน
รับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนก็ได้ โดยเก็บค่าธรรมเนียม รายละ 20 บาท และให้ผู้ขอจดจัดพาหนะให้ ถ้าผู้ขอไม่จัดพาหนะให้ ผู้ขอต้องชดใช้ค่าพาหนะให้แก่นายทะเบียนตามสมควร
วิธีที่ 3 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6
(พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความใน พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดการจดทะเบียนวิธีนี้ไว้ เพื่ออำนวย
ความสะดวกแก่ประชาชนเป็นส่วนรวม ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้ทำได้ให้นายทะเบียนเรียกเก็บค่าธรรมเนียม รายละ 1 บาท
ป.พ.พ มาตรา 1559 บัญญัติว่า “เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้”การพิจารณาการให้ความยินยอมของเด็ก
ผู้เยาว์ หมายถึง ผู้ซึ่งไม่บรรลุนิติภาวะ (พจนานุกรมฯ พ.ศ.2542)
ผู้เยาว์ไร้เดียงสา หมายถึง เด็กซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่รู้ผิด รู้ชอบ ตามปกติสามัญ
ฉะนั้น นายทะเบียนจะต้องพิจารณาถึงความสามารถของเด็กในการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันระหว่างนายทะเบียน
กับเด็กเกี่ยวกับรู้ผิดรู้ชอบตามปกติสามัญ ตามข้อเท็จจริงแต่ละราย มิต้องคำนึงถึงอายุ
ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม
ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นกฎหมายแม่บทที่จะต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ส่วน พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ และ
พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นกฎหมาย ที่กำหนดเงื่อนไข และวิธีการรับเด็กซึ่งเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรบุญธรรม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ และเป็นการป้องกัน การค้าเด็กในรูปการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

4.การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม มีวิธีปฏิบัติ 2 กรณี คือ
1. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ
ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้อง (ค.ร. 13) ต่อนายทะเบียน
นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมาย
ผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ตามแบบ ค.ร. 14 เมื่อผู้ร้องได้ให้ถ้อยคำว่าได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมาย
นายทะเบียนสำเนา ค.ร. 14 โดยใช้แบบ ค.ร. 15 ส่งนายทะเบียนกลาง
2. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ให้ยื่นคำร้องตามแบบ บ.ธ.1 ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
(กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) สำหรับในเขตกทม. ต่างจังหวัดยื่นแบบ น.ธ.1 ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือ ที่ทำการพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการจังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจยินยอม (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ม. 20)
อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี จะพิจารณาสั่งให้ ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
นำเด็กไปทดลองเลี้ยงดู ไม่น้อยกว่า 6 เดือน (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ม.23 โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดู และตรวจเยี่ยม
ผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครอง
ของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญะรรม หรือเป็นบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดู (พ.ร.บ. การ
รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2533 ม.19 วรรค 2)
เมื่อคณะกรรมการทดลองเลี้ยงดูอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่นคำร้อง
(ค.ร. 13) ขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำอนุมัติ มิฉะนันจะถือว่าสละสิทธิ์ นายทะเบียนตรวจสอบ
คุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมาย
ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
เด็๋กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย (ม.1598/20)
นายทะเบียนจดทะเบียนให้ตามแบบ ค.ร.14 และสำเนาโดยใช้แบบ ค.ร.15 ส่งนายทะเบียนกลาง
กรณีเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม ไร้เดียงสา และบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมได้ลงนามแสดงความยินยอมขณะที่ยื่นเรื่องราว
ตามแบบ บ.ธ.5 แล้ว บิดามารดาหรือผู้แทนฯ ไม่ต้องมาแสดงความยินยอมและลงนามในคำร้อง (ค.ร.13) อีก (น.ส.ที่ มท.0402/ว ลว.12 ธค. 29 ข้อ2)
ผลที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
บุตรบุญธรรมมีสิทธ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม
ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจปกครอง ให้ความอุปการะเลี้ยงดูและถือว่าบุตรบุญธรรม เป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรม
เสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันที่จดทะเบียน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองแต่วันจดทะเบียน แต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดา และบุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิ
และหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมาทะเบียนการเลิกรับบุตรบุญธรรม



5.การเลิกรับบุตรบุญธรรม ทำได้ 2 วิธี คือ
1) จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
2) โดยคำพิพากษาของศาล
การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) บุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันระหว่างผู้รับ บุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้
2) บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ของบุตรบุญธรรมก่อนหรือได้รับความยินยอมจาก
บิดามารดาของบุตรบุญธรรมก่อน หรือได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ศาลมีคำสั่งให้เลิกรับบุตรบุญธรรม ม. 1598/31

6.การบันทึกฐานะของภริยา
เป็นผลสืบเนื่องจากกฎหมายสมัยก่อน (กฎหมายลักษณะผัวเมีย) มิได้บังคับให้สามีภรรยาต้องจดทะเบียนสมรสกัน
และชายอาจมีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหลายคน ต่อมามีการใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ ว่าด้วยครอบครัวชายหญิงจะเป็นสามีภรรยากัน โดยชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องจดทะเบียนสมรสกัน ม.๑๔๕๗ และกำหนดให้ชายมีภรรยา หรือหญิงมีสามีได้เพียงคนเดียว ม.๑๔๕๒
หลักเกณฑ์การบันทึกฐานะของภรรยา มีดังนี้
1. ต้องเป็นสามีภรรยา และสมรสก่อนการใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ คือ ก่อน 1 ต.ค. 2478
2. บันทึกได้ 2 ฐานะเท่านั้นคือ เอกภริยา บันทึกได้เพียงคนเดียว และอนุภริยา บันทึกได้หลายคน
3. รับบันทึกเฉพาะสามีภรรยาที่มาร้องขอให้บันทึก ภรรยาอื่นที่ไม่ได้ร้องขอจะไม่บันทึก

7.การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
การใด ๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวที่ได้ทำขึ้นในต่างประเทศ ตามแบบซึ่งกฎหมายแห่งประเทศ
ที่ทำขึ้นนั้นบัญญัติไว้ เพื่อคุ้มครองคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งได้กระทำการใดๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัว
และนำหลักฐาน มาบันทึก ให้ปรากฎในประเทศไทย เพื่อเป็นหลักฐานในการพิสูจน์ เมื่อเกิดมีกรณีพิพาทเกิดขึ้น
หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ ตามกฎหมายไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
เป็นกิจการอันเกี่ยวด้วยฐานะแห่งครอบครัว
กิจการนั้นได้กระทำไว้ในต่างประเทศ ตามแบบกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้น
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี ที่เป็นคนสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคน สัญชาติไทย
ต้องนำเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้น ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง ถูกต้องมาแสดงต่อนายทะเบียน


ทะเบียนพินัยกรรม
“คำสั่งครั้งสุดท้ายซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินหรือกิจการต่าง ๆ ของผู้ทำพินัยกรรม
เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย เมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย” โดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ มี ๕ แบบ คือแบบธรรมดา/ แบบเขียนเองทั้งฉบับ/ แบบเอกสารฝ่ายเมือง/ แบบเอกสารลับ/ และแบบทำด้วยวาจา
ในส่วนของปกครอง ทำ 3 แบบ คือ แบบเอกสารฝ่ายเมือง แบบเอกสารลับ และแบบทำด้วยวาจา
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. ยื่นคำร้อง พ.ก. 1
2. ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 บัตรประจำตัวประชาชน
2.2 หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ
2.3 พยานอย่างน้อย 2 คน
3. ตรวจสอบคุณสมบัติ
3.1อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
3.2ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
ทะเบียนพินัยกรรมเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่สำคัญดังนี้
ป.พ.พ. บรรพ ๖ มรดก
กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในมาตรา ๑๖๗๒ แห่ง ป.พ.พ. และฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๐๓
ระเบียบการทำพินัยกรรม การตัดทายาทโดยธรรมให้รับมรดก การถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก และ
การสละมรดก พ.ศ. ๒๔๘๙
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อสกุล
1. รายนามเมืองในเกณฑ์ห้ามตามประกาศพระบรมราชโองการฯ

2. นามสกุลสำหรับราชตระกูลที่โปรดเกล้าฯ

3. ศัพท์ที่ใช้เป็นพระบรมนามาภิไธย

4. พระปรมาธิไธย

5. พระนามของพระราชินี

6. ตัวอย่างคำพ้องศัพท์

7. ราชทินนาม
8. รายนามราชสกุลวงศ์

9. การแก้ไขพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ที่ มท 0309.3/ 3990 ลว. 2 ธันวาคม 2547)

10.ร่างพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ที่ มท 0309.3/ว 2614 ลว. 22 ธันวาคม 2547)

11. หนังสือสั่งการทางวิทยุ (ที่ มท 0309.3/ว 733 ลว. 19 มกราคม 2548)

12. หนังสือสั่งการทางวิทยุ (ที่ มท 0309.3/ว 66 ลว. 20 มกราคม 2548)

13. แนวทางปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 (ที่ มท 0309.3/ว 141 ลว. 20 มกราคม 2547)

14. แบบรายงานการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลของนายทะเบียนท้องที่

15. การใช้ระบบรับจดทะเบียนชื่อสกุล


ทะเบียนศาลเจ้า
"สถานที่ก่อสร้างขึ้นเป็นทรวดทรงสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ และกระทำตามพิธีกรรมตามลัทธิของคน บางจำพวก
และให้หมายความรวมตลอดถึงสถานที่ถาวรซึ่งสร้างขึ้นประกอบกับศาลเจ้า" งานทะเบียนศาลเจ้า หมายถึง เฉพาะบรรดาศาลเจ้าที่ตั้งขึ้นอยู่ในที่ดิน ซึ่งราชการเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ปกปักรักษาเท่านั้น โดยออกเอกสารสิทธิ หรือหนังสือสำคัญของที่ดินในนามกรมการปกครอง สาเหตุที่ทางราชการต้องเข้าไปควบคุมดูแล นั้นเป็นไปตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๕๔๗ ม.๑๒๓ ที่ให้ กรมการอำเภอ มีหน้าที่ คอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษา อย่าให้ผู้ใดรุกล้ำเบียดที่วัด หรือที่กุศลสถานอย่างอื่น อันเป็นของกลางสำหรับมหาชน นั้น ซึ่งที่ศาลเจ้าเป็นสถานที่เคารพ และกระทำพิธีกรรมตามลัทธิของประชาชนบางจำพวก จึงนับว่าเป็นที่กุศลสถานสำหรับมหาชนประเภทหนึ่ง
กฎหมายและระเบียบ
๏ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ (ม.123)
๏ กฏเสนาบดีที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ.๒๔๖๓
๏ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเงินของศาลเจ้า พ.ศ.๒๕๒๐
แนวทางปฏิบัติหรือการดำเนินงานของทะเบียนศาลเจ้า
การอุทิศที่ดิน
การแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการปกครองศาลเจ้า และผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า
การขอเช่าที่ดินหรือขอต่ออายุสัญญาเช่าที่ดิน
การขอเช่าอาคารหรือขอต่ออายุสัญญาเช่าอาคารในที่ดินของศาลเจ้า
การก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมอาคารในที่ดินของศาลเจ้า
การระวังรักษาแนวเขตที่ดินของศาลเจ้า
การควบคุมตรวจสอบกิจการของศาลเจ้า
การเงินของศาลเจ้า
การขอเช่าอาคาร หรือขอต่ออายุสัญญาเช่าอาคารในที่ดินของศาลเจ้า ต้องพิจารณาอัตราค่าเช่าอาคาร และ
ค่าบำรุงศาลเจ้า ว่าถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพทำเลที่ตั้งและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
การก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมอาคาร แบบแปลนการก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมอาคารแผนที่อาคารของศาลเจ้า
หนังสือรับรองการอนุมัติให้ก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมได้ จากหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นซึ่ง อำเภอหรือเขต จะต้อง
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสภาพอาคารที่จะก่อสร้าง และบูรณะซ่อมแซม
การระวังรักษาแนวเขต

ทะเบียนสัตว์พาหนะ
ทะเบียนสัตว์พาหนะ หมายถึง
สัตว์พาหนะ หมายถึง ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ซึ่งได้ทำ หรือต้องทำตั๋วรูปพรรณ ตาม พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ
พุทธศักราช ๒๔๘๒ สัตว์ที่อยู่ในเกณฑ์ ต้องทำ ตั๋วรูปพรรณมีดังนี้
1. ช้าง มีอายุย่างเข้าปีที่แปด
2. ม้า โคตัวผู้ กระบือ ล่อ ลา มีอายุย่างเข้าปีที่หก
3. ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ที่ใช้ขับขี่ ลากเข็น หรือใช้งานแล้ว
4. ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ที่มีอายุย่างเข้าปีที่สี่ เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักร
5. โคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่หก เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์เว้นแต่ในกรณีรับมรดก
สัตว์ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องทำตั๋วรูปพรรณข้างต้น เจ้าของจะขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณก็ได้ เมื่อเจ้าของสัตว์ มีสัตว์เกิดใหม่
หรือนำมาจากต่างท้องที่ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ หรือได้เป็นเจ้าของสัตว์ โดยประการอื่น ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน เพื่อลง
บัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19) ไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อสัตว์อยู่ในเกณฑ์ทำตั๋วรูปพรรณ ก็ใช้บัญชีสัตว์

ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19) เป็นหลักฐาน ประกอบในการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณต่อไป
พื้นฐานทางกฎหมายและระเบียบ
๏ พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
๏ กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
๏ ระเบียบการสัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒
๏ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลว.๖ มค. ๒๔๘๓ เรื่องแต่งตั้งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
เป็นนายทะเบียนสัตว์พาหนะประจำกิ่งอำเภอ (นายอำเภอเป็นนายทะเบียนตาม ม.๔ แห่ง พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.๒๔๘๒)
การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
* เจ้าของสัตว์ หรือตัวแทน พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน หรือพยานในกรณีที่ไม่มีผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ใหญ่บ้านไปด้วยไม่ได้
นำสัตว์นั้นไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนท้องที่
*นายทะเบียนพร้อมด้วยเจ้าของตัวแทนได้ตรวจสอบตำหนิรูปพรรณเห็นเป็นการถูกต้อง และเจ้าของหรือตัวแทน
ได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้นายทะเบียนจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
การย้ายสัตว์พาหนะ
1. เจ้าของ หรือตัวแทน นำตั๋วรูปพรรณไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สัตว์นั้นไปถึงที่ที่ย้ายไป
2. ให้นายทะเบียนท้องที่ใหม่ เรียกเก็บค่าธรรมเนียม แล้วแจ้งการรับสัตว์ขึ้นทะเบียนไปยังนายทะเบียนท้องที่เดิมทราบ
3. การย้ายสัตว์พาหนะไปยังท้องที่ใหม่เพื่อการเช่า เช่าชื้อ ยืม ฝาก จำนำ รับจ้างเลี้ยง หรือพาไปชั่วคราว
ได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้นายทะเบียนจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
การจดทะเบียนโอนสัตว์พาหนะ
1.ผู้โอนและผู้รับโอนทั้งสองฝ่าย หรือตัวแทน นำสัตว์พาหนะและตั๋วรูปพรรณไปยังนายทะเบียน
2.นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้อง
3.ชำระค่าธรรมเนียม
4.นายทะเบียนจดทะเบียน และสลักหลังตั๋วรูปพรรณโอนกรรมสิทธิให้
5.หากเป็นสัตว์ต่างท้องที่ ให้นายทะเบียนรับสัตว์นั้นขึ้นทะเบียนก่อน

งานทะเบียนนิติกรรม
“การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล
เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”
งานทะเบียนนิติกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้แก่การทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ.ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
สังหาริมทรัพย์บางประเภท คือ
เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่ 6–20 ตัน
เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5–20 ตัน
แพและสัตว์พาหนะ
ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานใดรับผิดชอบ
ดำเนินการโดยเฉพาะ ได้แก่ การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ และจำนอง ให้จดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (อำเภอ)
กฎหมายและระเบียบ
๏ ป.พ.พ. บรรพ ๓ และ บรรพ ๔
๏ พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗
๏ พ.ร.บ. เรือสยาม พ.ศ. ๒๔๘๑ (ม.๑๒๒)
๏ พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำสยาม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๘๑
๏ พ.ร.บ. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมอำเภอ พ.ศ. ๒๕๐๓
๏ ระเบียบการทำและการจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์บางอย่างตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แนวทางในการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน
๏ ตาม พ.ร.บ.เรือสยาม พ.ศ.๒๔๘๑ ได้กำหนดขนาดของเรือที่ต้องจดทะเบียน และทำนิติกรรมต่อกรมเจ้าท่าไว้สูงกว่า
ม.๔๕๖ แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งยังคงต้องจดทะเบียน
การทำนิติกรรมต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง คือ
- เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 20 ตัน
- เรือลำน้ำที่มิใช่เรือกลขนาดตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 50 ตัน
- เรือกลขนาดตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 10 ตัน รวมทั้งเรือกลบางชนิด แม้จะมีขนาดเกินกว่า 10 ตัน แต่มิได้มีไว้
เพื่อการค้าในน่านน้ำหรือการประมง
การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน และให้
เรือและแพ ให้จดข้อความในสัญญาลงทะเบียนนิติกรรม แล้วบันทึกในต้นขั้วสัญญา และตั๋วสัญญา (แบบ ปค.34)
แล้วให้นายอำเภอลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
การจำนอง
เรือและสัตว์พาหนะ หากจดทะเบียนไว้แล้วก็จำนองได้โดยทำตามแบบ ปค.34 และทะเบียนสัตว์พาหนะ
ข้อพึงระมัดระวังในการปฏิบัติงาน
ต้องพิจารณาดูคู่สัญญามีความสามารถที่จะทำสัญญาหรือนิติกรรมได้หรือไม่
ตรวจหลักฐานทางต้นขั้วสัญญาและทะเบียนนิติกรรมว่าไม่มีข้อผูกพันอื่นใด
ต้องมีการประกาศก่อนการจดทะเบียนเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้าน ภายใน ๑๕ วัน
เมื่อครบกำหนดวันประกาศแล้วไม่มีผู้คัดค้านให้ทำสัญญาและจดทะเบียนได้

ทะเบียนเกาะ
“ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบโดยตลอด และมีขนาดเล็กกว่าแผ่นดินที่เป็นทวีป...”
กระทรวงมหาดไทยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาว่าสภาพเกาะมีลักษณะ 3 ประการ
(1) เป็นเกาะตามความเข้าใจของคนทั่วไป
(2) ส่วนมากเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
(3) เป็นเกาะถาวรมีสภาพเป็นเกาะมานาน และจะคงสภาพเป็นเกาะอยู่อีกต่อไปตาม ม.๑๓๐๙ แห่ง ป.พ.พ. บรรพ ๔
ได้บัญญัติไว้ว่า “เกาะที่เกิดในทะเลสาบ หรือในทางน้ำ หรือในเขตน่านน้ำของ ประเทศก็ดี และท้องน้ำที่ตื้นเขินขึ้นก็ดี
เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน” ผลที่ตามมา คือ
1) จะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
2) จะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินไม่ได้ และ
3) จะยึดทรัพย์ของแผ่นดินไม่ได้

กฎหมายและระเบียบ
๏ ป.พ.พ. บรรพ ๑ ทรัพย์สิน
๏ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ (ม.๑ และ ม.๘)
๏ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ (ม.๑๒๒)
๏ พ.ร.บ.ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.๒๔๗๘ (ม.๔ และ ม.๕)
๏ คำสั่งให้ทบวงการเมืองอื่นมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครอง ป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
๏ หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑๗๓๐๗/๒๔๙๘ ลว. ๒๗ ส.ค. ๒๔๙๘ เรื่องการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกัน
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
แนวทางในการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน
การจัดทำทะเบียนเกาะ
การสำรวจเกาะ
งานทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน
พ.ร.บ. สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
หลักการของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินกิจการ สุสานและฌาปนสถานบางแห่งมีลักษณะ
ที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจ ของประเทศ การสาธารณสุขหรืออานามัยของประชาชนเพิ่มขึ้นจึงได้ยกเลิก
พ.ร.บ.ควบคุมสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2481 และประกาศใช้ฉบับนี้มีผลบังใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2528
มีทั้งสิ้น 30 มาตรา
แบ่งสุสานและฌาปนสถานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. สุสานและฌาปนสถานาสาธารณะ เป็นสถานที่สำหรับเก็บ ฝัง เผา สำหรับประชาชนทั่วไป
2. สุสานและฌาปนสถานเอกชน เป็นสถานที่ เก็บ ฝัง หรือเผาศพ สำหรับตระกูลหรือครอบครัวทั้ง 2 ประเภท
ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งหมายถึง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ผอ.เขต หรือผู้ช่วย ผอ.เขต ซึ่งผู้ว่าฯมอบหมาย สำหรับในเขต กทม.
ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ หรือ ปลัดฯประจำกิ่งอ. ซึ่ง ผวจ.มอบหมายสำหรับเขตจังหวัด
ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล
นายกเทศมนตรี หรือพนักงานเทศบาล ซึ่งนายกฯ มอบหมายในเขตเทศบาล
ปลัดเมืองพัทยา หรือพนักงานเมืองพัทยา ซึ่งปลัดเมืองพัทยามอบหมายในเขตเมืองพัทยา
ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๏ พ.ร.บ. สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528
๏ กฎกระทรวง (พ.ศ. 2543) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การขออนุญาต การขอต่ออายุในอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการ
๏ กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
* จัดตั้ง ไม่เกิน 1,000.00 บาท
* ดำเนินการ ไม่เกิน 500 บาท
ขั้นตอนการปฏิบัติ
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต
อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
ไม่มีความประพฤติบกพร่องทางศีลธรรม
ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนคนไร้สามารถ
ไม่เคยจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษที่กระทำโดยประมาท หรือลหุโทษ
แบบพิมพ์ มี 7 แบบ ดังนี้
สฌ 1 คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสุสาน และฌปนสถาน
สฌ 2 ใบอนุญาติจัดตั้งสุสานฯ (สำหรับบุคคล)
สฌ 2/1 ใบอนุญาตจัดตั้งสุสานฯ (สำหรับนิติบุคคล)
สฌ 3 คำขอรับใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
สฌ 4 ใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
สฌ 5 คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสุสานและฌาปนสถาน
สฌ 6 คำขอต่ออายุ ใบอนุญาตดำเนินการสุสานและฌาปนสถาน
การล้างป่าช้า
มีผู้ประสงค์จะทำการล้างป่าช้า ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535
รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งฉบับ 4 พ.ศ. 2545) ข้อ 69 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “หากจะเปลี่ยนแปลงการจัดการศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิม
ถ้าศพนั้นอยู่ในท้องที่ใด ให้แจ้งของอนุญาตต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น โดยให้เรียกมรณบัตรหรือใบรับแจ้งการตายจากผู้แจ้งแล้ว
บันทึกการอนุญาตได้”และเมื่อจะทำการเผาก็ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สุสานฯ
บทลงโทษ
1. ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (ห้ามผู้ใดจัดตั้งสุสานฯ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) มาตรา 7 วรรคหนึ่ง
(เมื่อได้จัดตั้งสุสานฯ แล้วห้ามมิให้ดำเนินการเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) หรือ มาตรา 10 (ห้ามมิให้ผู้ใด เก็บ ฝัง หรือเผาศพ
ในสถานที่อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) หรือผู้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสุสานฯ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ตามมาตรา
16 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษไม่เกิน สองพันบาท
2. ผู้ใดขัดขวาง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เข้าไปในบริเวณสุสานฯ ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก) ต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

Create Date : 29 กรกฎาคม 2551 0 comment


Last Update : 29 กรกฎาคม 2551 10:39:27 น.




หลักปฏิบัติราชการที่ควรรู้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ทรงพระราชทาน ในหนังสือหลักราชการว่า
1.ความสามารถ 2.ความเพียร
2.ความมีไหวพริบปฏิภาณ 4.ความรู้เท่าถึงการณ์
5.ความซื่อตรงต่อหน้าที่ 6.ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป
7.รูจักนิสัยคน 8.ความรู้จักผ่อนผัน
9.ความมีหลักฐาน 10.ความจงรักภักดี

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาของกระทรวงมหาดไทย
1.ต้องมีความซื่อตรงต่อราชการ ต่อหน้าที่ และต่อตำแหน่งที่ตนรับผิดชอบ
2.มีความอุตสาหะในการแสวงหาความรู้ในการทำงาน การระวังตรวจตรา ปรับปรุงงานของตนอยู่เสมอ
3.มีความอารีทั้งผู้ใหญ่ ผู้เสมอกัน และผู้น้อย

พระยาสุนทรพิพิธ
1.เข้าถึงคน คือ เข้าถึงทั้งข้าราชการในหน่วยงานและประชาชน
2.เข้าถึงงาน ทั้งในความรับผิดชอบและที่สัมพันธ์กับภายนอก
3.เข้าถึงท้องที่ การปฏิบัติงาน
คุณลักษณะที่ดีของนักปกครอง
1.จิตใจสูง ได้แก่ การมีศีลธรรมประจำใจ ศรัทธาต่อหน้าที่ และถือหน้าที่เป็นเกียรติ เป็นชีวิต
2.มีศิลปะในการปฏิบัติ มีศิลปะในการนำวิชาความรู้มาใช้ปฏิบัติงาน รู้จักเหตุผล ตัดสินใจดี มีความคิดริเริ่ม รับผิดชอบ

ณัชนาราวดี

8 มิ.ย. 2555 15:45:41

#1
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : อยากได้แนวข้อสอบปลัดค่ะ

ข้อสอบเหตุการณ์ปัจจุบัน 2554 - 2555
1.สส.บัญชีรายชื่อมีจำนวนเท่าไร

ตอบ 125 คน
2.สส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนเท่าไร

ตอบ 175 คน
3.รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่เท่าไร

ตอบ ปี 2550 ฉบับที่ 18 มี 309 มาตรา มีผลบังคับใช้เมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
4.พรรคการเมืองที่สมัครเลือกตั้ง 2554 มีจำนวนกี่พรรค
ตอบ 40 พรรค
5.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางคือแผนฉบับที่เท่าใด
ตอบ ฉบับที่ 8

6.จังหวัดที่ 77 ของไทยคือ
ตอบ จังหวัดบึงกาฬ
7.โครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะเปิดใช้ในอนาคตมีกี่เส้นทาง

ตอบ 5 เส้นทาง
8.รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีพรรคร่วมรัฐบาลกี่พรรค

ตอบ พรรคร่วมรัฐบาลมี 6 พรรคคือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาราช พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา

พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคเพื่อแผ่นดิน

9.พรรคใดไม่ใช่พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ตอบ พรรคเพื่อไทย

10.ประธานศาลฎีกาคนปัจจุบันคือใคร

ตอบ นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา โดยประธานศาลฎีกาคนใหม่ แทนที่นายวิรัชซึ่งจะเกษียณอายุ

ราชการในวันที่ 30 ก.ย.นี้ คือ นายสบโชค สุขารมณ์
11.องค์กรอิสระของไทยมีจำนวนเท่าใด
ตอบ จำนวน 15 องค์กร ได้แก่ 1)ศาลรัฐธรรมนูญ 2)ศาลยุติธรรม 3)ศาลปกครอง 4)ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา

ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5)คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) 6)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 7)คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ค.ต.ง.) 8)คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 9)ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 10)คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) 11)คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) 12)สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 13)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) 14)คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และ15)คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและองค์การอิสระในการคุ้มครองผู้บริโภค

12.นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่เท่าไร

ตอบ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27

13.จังหวัดใดได้ชื่อว่าเป็นสวิสเซอร์แลนด์เมืองไทย

ตอบ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

14.แหล่งที่สำรวจพบน้ำมันล่าสุดของประเทศไทยคือที่ใด

ตอบ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
15.บินลาเดน ถูกสังหารเมื่อใด

ตอบ สหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับปากีสถาน ปฏิบัติการสังหาร ภายในแมนชั่นของปากีสถาน วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2554
16.ซึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดขึ้นวันที่เท่าไร

ตอบ 11มีนาคม2554
17.รางวัลโนเบลแบ่งออกเป็นกี่สาขาอาชีพ
ตอบ รางวัลโนเบลแบ่งออกเป็น 5 สาขาได้แก่ สันติภาพ เคมี ฟิสิกส์ การแพทย์/สรีรวิทยา และรางวัลสาขา

เศรษฐศาสตร์ในชื่อ “รางวัลธนาคารสวีเดน

18.กลุ่มประเทศที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจเสรีอาเซียน: AEC ประกอบด้วยประเทศอะไรบ้าง
ตอบ เขตเศรษฐกิจเสรีอาเซียน มี 10 ประเทศประกอบด้วย เวียตนาม, ลาว, กัมพูชา, ไทย, พม่า, มาเลเซีย,

อินโดนิเซีย, บรูไน, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
19.เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันคือใคร

ตอบ ปัจจุบันอาเซียนมีเลขาธิการมาแล้วรวม 11 คน ซึ่งรวมถึงนายออง เคง ยอง เลขาธิการอาเซียนคนฃ

ปัจจุบันจากประเทศสิงคโปร์
20.แผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองใด
ตอบ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ซึ่งมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ทางตะวันออกของรัฐฉาน

21.โรคท้องร่วงฉับพลับหรืออีคีไลน์เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศใด

ตอบ ประเทศเยอรมัน

22.ประเทศใดได้ชื่อว่าเป็น “เวนิสตะวันออก”

ตอบ ประเทศไทย (กรุงเทพฯ) ได้ชื่อว่าเป็น เวนิสตะวันออก


23.ประเทศที่ส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลก

ตอบ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

24.ประเทศใดเป็นจุดศูนย์กลางการบินหรือ HUP ของเอเชีย

ตอบ ประเทศสิงคโปร์
25.นโยบาย One Children One Family คือนโยบายของประเทศใด

ตอบ ประเทศจีน ที่ส่งเสริมการมีนโยบายมีลูกเพียงครอบครัวละ 1 คน
26.ยานอวกาศของประเทศใดที่ส่งสุนัขขึ้นไปพร้อมการสำรวจอวกาศ

ตอบ ประเทศรัสเซียได้ส่งสุนัขเพศเมียชื่อ ไลก้า ไปกับดาวเทียมสปุตนิก 2

27.วันข้าราชการพลเรือนคือวันที่เท่าไร
ตอบ 1 เมษายนของทุกปี
28.วัน Car Free day คือวันที่เท่าไร

ตอบ 22 กันยายน ของทุกปี ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "วันปลอดรถ"

29.รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภาในวันที่เท่าไร

ตอบ วันที่ 3 พฤษภาคม 2554

30.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกิดขึ้นในครั้งแรกเมื่อใด
ตอบ สมัยรัฐบายจอมพล ป พิบูลสงคราม
31.ใครทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง

ตอบ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.)

32.ผู้ที่ประสงค์จะรับอุปการะลูกบุญธรรม ต้องมีคุณสมบัติใดเป็นสำคัญ
ตอบ ต้องมีอายุห่างจากบุตรบุญธรรมไม่น้อยกว่า 25 ปี

33.ประเทศใดเป็นเจ้าภาพในกีฬาโอลิมปิก (Olympics) 2012
ตอบ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ

34.ประเทศไทยใช้ดุลบัญชีเดินสะพัดแบบใดในการบริหารประเทศ

ตอบ บัญชีเดินสะพัดแบบขาดดุล
35.สินค้าส่งออกของไทยประเภทใดที่ประสบปัญหาคู่แข่งทางการค้ากับประเทศเวียดนามมากที่สุด

ตอบ ข้าว



36.”เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” เกิดขึ้นในสมัยใด

ตอบ รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

37. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันคือฉบับใด และมีระยะเวลาในแผนฯ เท่าไร
ตอบ ฉบับ 10
38.เมื่อมีคนเกิดในบ้าน เจ้าบ้านต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในกี่วัน

ตอบ 15 วัน

39.หน่วยงานใดทำหน้าที่ในการวางแผนและกำหนดกรอบทิศทางในการพัฒนาประเทศ
ตอบ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
40.ในอนาคตประเทศภายในกลุ่มเอเซียนจะมีการรวมตัวกันเป็นเขตการค้าเศรษฐกิจ โดยกำหนดค่าเงินใดเป็นค่ากลางในการแลกเปลี่ยน
ตอบ ค่าเงินเยนต์
41. ประเทศใดที่ได้ส่งดาวเทียมดวงแรกไปสู่อวกาศ
ตอบ สหภาพ โซเวียตได้ส่งดาวเทียมดวงแรก ชื่อ สปุตนิก1 ขึ้นไปโคจรในอวกาศนาน 21 วัน
42. ประเทศใดเป็นเจ้าภาพในกีฬาเฟสปิกเกมส์ครั้งต่อไป

ตอบ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 6
43. ประเทศใดที่มีความเชื่อในเรื่องการกินดินเพื่อสุขภาพ

ตอบ ประเทศอินโดนีเซีย


admin 2011-06-26 22:00
ข้อ 51-100

51. ประสาทเขาพระวิหารมีบริเวณติดต่อกับจังหวัดใดของประเทศไทย
1. สุรินทร์ 2. ศรีสะเกษ
3. สระแก้ว 4. ปราจีนบุรี
- 9 -
52. ภาษาใดมิใช่ภาษาทางการขององค์การสหประชาชาติ
1. จีน 2. ญี่ปุ่น
3. ฝรั่งเศส 4. สเปน
53. ตลาดส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยที่ใหญ่ที่สุดคือ
1. ญี่ปุ่น 2. กลุ่มประเทศอาเซียน
3. ยุโรป 4. สหรัฐอเมริกา
54. บุคคลต่อไปนี้ไม่เคยเป็นนายกรัฐมนตรี
1. พล.อ.สุจินดา คราประยูร 2. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
3. พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ 4. พล.อ.ประพาส จารุเสถียร
55. ประเทศไทยใช้ธงอะไรก่อนที่เปลี่ยนมาใช้ธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติ
1. ธงชัยเฉลิมพล 2. ธงสีแดงบนพื้นขาว
3. ธงช้างเอราวัณ 4. ธงช้าง
56. สถานที่ในกรุงเทพมหานครซึ่งใช้เป็นที่มอบกุญแจเมืองแก่แขกต่างประเทศผู้มาเยือนคือ
1. ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
2. พระบรมมหาราชวัง
3. ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
4. พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
57. สถานที่ท่องเที่ยวใดในประเทศไทยที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก
1. หมู่เกาะสิมิลัน 2. หมู่เกาะพีพี
3. หมู่เกาะลันตา 4. หมู่เกาะตะรุเตา
58. ผู้อำนวยการองค์การค้าโลกคนปัจจุบัน เป็นคนชาติใด
1. สหรัฐอเมริกา 2. ฝรั่งเศส
3. แอฟริกาใต้ 4. กานา
59. เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบัน (2007-2012) เป็นคนชาติใด
1. เกาหลีใต้ 2. อินเดีย
3. ไทย 4. กานา
- 10 -
60. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่สองตั้งอยู่ที่ใด
1. หนองคาย -เวียงจันทน์
2. หนองคาย-สะหวันะเขต
3. มุกดาหาร-เวียงจันทน์
4. มุกดาหาร-สะหวันะเขต
61. ประเทศใดมิได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ
1. มองโกเลีย 2. สวิตเซอร์แลนด์
3. อิสราเอล 4. อิรัก
62. ใครเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
1. พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน
2. พล.อ.สพรั่ง กัลยานมิตร
3. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข
4. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
63. ต้นไม้ประจำประเทศไทย คือต้นอะไร
1. ราชพฤกษ์ 2. ทานตะวัน
3. ชัยพฤกษ์ 4. พิกุล
64. ประเทศใดดังต่อไปนี้ที่มีประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก
1. ซาอุดิอารเบีย 2. อิรัก
3. อิหร่าน 4. อินโดนีเซีย
65. แขวงในกรุงเทพมหานครเทียบได้กับเขตการปกครองใดในจังหวัดอื่น
1. หมู่บ้าน 2. ตำบล
3. เทศบาล 4. อำเภอ
66. ประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศใด
1. เกาหลีเหนือ 2. อิรัก
3. ไต้หวัน 4. มองโกเลีย

- 11 -
67. กระทรวงมหาดไทย มีตราสัญลักษณ์ใด
1. ตราบัวแก้ว 2. ตราคชสีห์
3. ตราดาบเขนและโล่ห์ 4. ตราราชสีห์
68. ประเทศไทยมีชายแดนทางบกติดต่อกับประเทศใดยาวที่สุด
1. เวียดนาม 2. กัมพูชา
3. พม่า 4. มาเลเซีย
69. หลักธรรมใดที่เป็นธรรมของผู้ครองเรือน
1. ทิฐธรรมมิกัตประโยชน์
2. ฆราวาสธรรม
3. ปฏิจจสมุปบาท
4. อิทธบาท 4
70. โอซามา บิน ลาเดน เป็นใคร
1. อิหม่านหรือผู้นำสวดที่มีชื่อเสียงที่สุดประจำมัสยิดหะรอมในนครเมกกะ
2. ชาวอาหรับผู้ต่อต้านสหรัฐฯ และอิสราเอลทุกรูปแบบ
3. เศรษฐีชาวอาหรับผู้เป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าใหญ่โตในกรุงลอนดอน
4. หมอดูผู้โด่งดังชาวอาหรับที่ได้ทำนายว่าโลกใกล้จะถึงวาระสุดท้ายในไม่ช้านี้แล้ว
71. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบันชื่อ
1. นายมีชัย ฤชุพันธ์
2. นายอุระ หวังอ้อมกลาง
3. พล.อ.พิจิตร กุลวานิช
4. นายประสงค์ สุ่นศิริ
72. ทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ
1. หลักการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธารให้ผืนป่ามีความสมบูรณ์ยั่งยืน
2. พระราชดำริในการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครตามโครงการแก้มลิง
3. วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยน้ำจืดชะล้างความเป็นกรดออกจากดิน
4. แนวทางบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- 12 -
73. พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยได้แก่
1. สมเด็จพระมหิดลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
2. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
3. สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกุธภัณฑ์
4. พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
74. สัมมาสังกัปปะในมรรค 8 คือ
1. ความเห็นชอบ
2. ความเพียรพยายามชอบ
3. ความดำริชอบ
4. การกระทำชอบ
75. เขตเศรษฐกิจจำเพาะมีความกว้างไม่เกิน
1. 12 ไมล์ทะเล 2. 24 ไมล์ทะเล
3. 100 ไมล์ทะเล 4. 200 ไมล์ทะเล
76. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของราชอาณาจักรไทย 2550 ประกาศใช้เมื่อใด
1. ส.ค.50 2. ก.ย.50
3. ต.ค.50 4. พ.ย.50
77. ถ้าต้องการติดต่อกับกรุงเทพมหานครทางอินเทอร์เน็ต ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ใด
1. www.bma.go.th 2. www.bma.co.th
3. www.bma.org.th 4. www.bma.gov.th
78. ประธานาธิบดีและเลขาธิการใหญ่ของพรรคอมมิวนิสต์ของจีนคนปัจจุบันคือ
1. จูหรงจี 2. เจียงเจ๋อหมิน
3. เฉินสุยเปี่ยน 4. หูจินเทา
79. เวลาต้องการค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ทเราควรเข้าไปยังเว็บไซต์ที่ให้บริการด้าน search engine คือเว็บไซต์ใด
1. Alta Vista.Com 2. Yahoo.Com
3. google.Com 4. ถูกทุกข้อ
- 13 -
80. ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันมากที่สุดและมีแหล่งน้ำมันสำรองมากที่สุดของโลกคือ
1. ซาอุดิอาระเบีย 2. เวเนซุเอลา
3. อิหร่าน 4. อิรัก
81. การประชุม World Economic Forum ซึ่งมีผู้นำทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของโลกเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จัดกันเป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูหนาวที่
1. ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ 2. เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
3. วอชิงตัน สหรัฐอเมริกา 4. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
82. ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทย กำหนดให้ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
1. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2. ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
3. ประธานองค์มนตรี
4. ราชเลขาธิการ
83. ประเทศใดที่มิได้ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา
1. ซีเรีย 2. ลิเบีย
3. อัลจีเรีย 4. ไลบีเรีย
84. หัวหน้าพรรคการเมืองปัจจุบัน ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. นายจาตุรนต์ ฉายแสง พรรคไทยรักไทย
2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์
3. นายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคชาติไทย
4. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ์ พรรคความหวังใหม่
85. จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาความไม่สงบ นอกจาก ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แล้ว ล่าสุดรัฐบาลได้เพิ่มเข้ามาอีก 2 จังหวัด คือ
1. ตรัง และพังงา 2. กระบี่ และภูเก็ต
3. สตูล และสงขลา 4. ชุมพร และระนอง

- 14 -
86. สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ปัจจุบันมีกี่คน
1. 6 คน 2. 7 คน
3. 8 คน 4. 9 คน
87. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สังกัดส่วนราชการใด
1. กระทรวงมหาดไทย 2. สำนักนายกรัฐมนตรี
3. กระทรวงพัฒนาสังคม 4. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
88. ตำแหน่งทางทหารสุดท้ายก่อนที่จะเกษียณราชการของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ
1. ผู้บัญชาการทหารบก 2. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
3. ปลัดกระทรวงกลาโหม 4. จเรทหาร
89. ในการรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย.49 ฝ่ายทหารได้อ้างถึงสาเหตุสำคัญ 4 ประการ ข้อใดมิใช่เหตุที่กล่าวอ้าง
1. มีการกระทำอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
2. มีการทุจริตคอร์รัปชั่น
3. มีการแทรกแซงกิจการภายในจากต่างประเทศ
4. มีความขัดแย้งระหว่างประชาชนอันอาจเกิดความรุนแรง
90. พรรคการเมืองกี่พรรคถูกพิจารณายุบพรรคโดยตุลาการรัฐธรรมนูญ
1. มี 2 พรรค 2. มี 3 พรรค
3. มี 4 พรรค 4. มี 5 พรรค
91. ใครเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
1. นายนรนิติ เศรษฐบุตร
2. นาวาตรีประสงค์ สุ่นสิริ
3. นายสวัสดิ์ โชติพานิช
4. นายจรัญ ภักดีธนากุล
92. รัฐบาลชุดปัจจุบันมีรัฐมนตรีกี่คน
1. 30 คน 2. 32 คน
3. 35 คน 4. 36 คน
- 15 -
93. ใครเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบัน
1. พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิต 2. พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา
3. นายอารีย์ วงศ์อารยะ 4. นายชวรัตน์ ชาญวีระกุล
94. กรุงเทพมหานครแบ่งเป็นกี่เขตการปกครอง
1. 47 เขต 2. 48 เขต 3. 49 เขต 4. 50 เขต
95. ตราสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร คือ
1. พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
2. พระนารายณ์ทรงช้างเอราวัณ
3. พระนารายณ์ประทับเหนือพระปรางค์สามยอด
4. ยักษ์สองตนหน้าวัดพระแก้ว
96. ใครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนปัจจุบัน
1. นายพระนาย สุวรรณรัตน์ 2. นายชูวิทย์ กมลวิสิษฏ์
3. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 4. มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร์
97. ไข้หวัดนกเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดใด
1. influenza B virus 2. influenza A virus
3. oseltamivir B virus 4. oseltamivir A virus
98. วันที่ท่านสอบนี้ใกล้เคียงกับวันสำคัญใดมากที่สุด (สมมุติว่าสอบวันที่ 8 เมษายน 2552)
1. วันอนามัยโลก 2. วันประมงแห่งชาติ
3. วันผู้สูงอายุ 4. วันครอบครัว
99. นักบินอวกาศคนแรกของโลกเป็นคนชาติใด
1. รัสเซีย 2. สหรัฐอเมริกา
3. อังกฤษ 4. เยอรมนี
100. คณะรัฐบาลชุดปัจจุบันแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อใด
1. 29 ก.ย.51 2. 29 ต.ค.51
3. 2 พ.ย.51 4. 3 ธ.ค.51

51. ตอบ 2 จังหวัดศรีสะเกษ

- 19 -
52. ตอบ 2 ภาษาทางการขององค์การสหประชาชาติมี 6 ภาษาดังนี้ อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน รัสเซีย สเปน และอาหรับ
53. ตอบ 4 สหรัฐเป็นตลาดส่งออกอัญมณีและสินค้าอื่นๆ ที่ใหญ่สุดของไทย
54. ตอบ 3 เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก แต่ไม่เคยเป็นนายกรัฐมนตรี
55. ตอบ 4 ธงช้าง
56. ตอบ 4 พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
57. ตอบ 4 เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล
58. ตอบ 4 นายปาสคัล เลมี ชาวฝรั่งเศส
59. ตอบ 1 นายบันคี มูน ชาวเกาหลีใต้ เป็นชาวเอเชีย คนที่สองที่ได้รับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ชาวเอเชียคนแรก คือนายอู ถั่น ชาวพม่า
60. ตอบ 4 สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่สอง อยู่ระหว่างจังหวัดมุกดาหาร กับ แขวงสะหวันะเขตของลาว เพิ่งทำพิธีเปิดไปเมื่อ ธ.ค.49 โดยสะพานแห่งนี้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาของญี่ปุ่น
61. ตอบ 2 สวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศเป็นกลางในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้หลังสงครามมีการจัดตั้งองค์กรสหประชาชาติขึ้นก็ไม่ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก
62. ตอบ 1 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ปัจจุบันเป็นทั้ง ผู้บัญชาการทหารบก ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และประธาน คมช.
63. ตอบ 1 ต้นราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้ประจำประเทศไทย
64. ตอบ 4 อินโดนีเซียมีคนนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก และมีประชากรเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน อินเดียและสหรัฐ
65. ตอบ 2 แขวงเทียบกับตำบล เขตเทียบกับอำเภอ
66. ตอบ 3 เนื่องจากเคารพในนโยบายจีนเดียว ทั้งนี้ประเทศในโลกส่วนใหญ่ไม่กล้ามีความสัมพันธ์ทางการทูตโดยตรงกับไต้หวันเพราะเกรงอิทธิพลของจีนที่อ้างสิทธิเหนือไต้หวันว่าเป็นจังหวัดหนึ่งของจีน ทำให้ไต้หวันแม้จะมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงแต่สถานะทางการเมืองในเวทีระหว่างประเทศไม่เป็นที่ยอมรับ
- 20 -
67. ตอบ 4 ตราราชสีห์ เป็นตราของกระทรวงมหาดไทย
68. ตอบ 3 พม่า
69. ตอบ 2 ฆราวาสธรรมคือธรรมของผู้ครองเรือน
70. ตอบ 2 โอซามา บินลาเดน คือผู้นำกลุ่มอัลกอร์อิดะห์ ที่ต่อต้านสหรัฐและอิสราเอล
71. ตอบ 2 นายมีชัย ฤชุพันธ์
72. ตอบ 4 แนวทางบริหารจัดการดินและน้ำเพื่อการเกษตร
73. ตอบ 1 สมเด็จพระมหิดลาธิเบศรฯ หรือเจ้าฟ้ามหิดล พระบิดาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
74. ตอบ 3 ดำริชอบคือความคิดที่จะดึงกายและใจออกจากกิเลส
75. ตอบ 4 เขตเศรษฐกิจจำเพาะหรือ exclusive economic zone มีความยาวจากชายฝั่ง (ที่มีระดับน้ำลดต่ำที่สุด) ออกไป 200 ไมล์ทะเล โดยถ้าถัดจากเขตนี้ไปจะเป็นเขตทะเลหลวง
76. ตอบ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 2549 ประกาศและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2549 เป็นต้นมา
77. ตอบ 1 เว็บไซต์ของกรุงเทพมหานคร คือ www.bma.go.th
78. ตอบ 4 ประธานาธิบดีของจีนคนปัจจุบัน คือ นายหูจินเทา
79. ตอบ 4 ทุกข้อเป็น search engine
80. ตอบ 1 ซาอุดิอาระเบีย
81. ตอบ 1 เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
82. ตอบ 2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
83. ตอบ 1 ซีเรียอยู่ในทวีปเอเชีย
84. ตอบ 4 พล.อ.ชวลิต เป็นเพียงอดีตหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ปัจจุบันไม่สังกัดพรรคใด
85. ตอบ 3 ภายหลังมีการยึดอำนาจฯ รัฐบาลใหม่ได้รื้อฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งถูกยุบไปในสมัยรัฐบาลทักษิณ ขึ้นมาใหม่ เพื่อทำหน้าที่อำนวยการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือยะลา นราธิวาส
- 21 -
ปัตตานี และมีการเพิ่มจังหวัดที่อยู่ในความดูแลเข้ามาอีก 2 จังหวัด คือ สตูล และสงขลา รวมเป็น 5 จังหวัด โดยมีนายพระนาย สุวรรณรัตน์ เป็นผู้อำนวยการ ศอ.บต.
86. ตอบ 4 มี 9 คน โดยสมาชิกคนล่าสุดคือ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวช
87. ตอบ 1 สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
88. ตอบ 2 ตำแหน่งสุดท้ายในราชการของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี คือผู้บัญชาการทหารสูงสุด
89. ตอบ 3 เหตุผลที่คณะทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มี 4 ประการ คือ (1) มีการทุจริตคอร์รัปชั่น (2) มีการกระทำอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (3) มีความขัดแย้งระหว่างประชาชนอันอาจเกิดความรุนแรงขึ้นในประเทศ และ (4) มีการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำและเล่นพรรคเล่นพวก ส่วนเรื่องการแทรกแซงจากต่างประเทศไม่มีการกล่าวถึง
90. ตอบ 3 ในการพิจารณา มี 5 พรรคการเมือง คือไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ และพรรคการเมืองขนาดเล็กอีก 3 พรรค ซึ่งในที่สุดเมื่อ 30 พ.ค.50 คณะตุลาการ ได้ตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิด แต่ให้ยุบพรรคไทยรักไทย และพรรคเล็กอีก 3 พรรค
91. ตอบ 1 ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ นายนรนิติ เศรษฐบุตร ส่วนนาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นสิริ เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นายจรัญ ภักดีธนากุล เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
92. ตอบ 3 รัฐบาลชุดปัจจุบันมีรัฐมนตรี 35 คน ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่นอีก 34 คน โดยครั้งล่าสุด 28 เม.ย.50 ปรับ ครม.เพิ่มใหม่ อีก 3 คน คือ นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ รมช.สาธารณสุข นายณัฐ อินทรปาน รมช.ท่องเที่ยวและการกีฬา พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ รมช.มหาดไทย ลาออก 1 คน คือนายประสิทธิ์ โฆวิลัยกุล
93. ตอบ 3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบันคือนายอารีย์ วงศ์อารยะ นายบัญญัติ จันเสนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่วนคนอื่นเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
94. ตอบ 4 กรุงเทพมหานคร แบ่งการปกครองออกเป็น 50 เขตการปกครอง 160 แขวง โดยเขตของกรุงเทพมีฐานะเทียบเท่า อำเภอ ส่วน แขวง มีฐานะเทียบเท่าตำบล
- 22 -
95. ตอบ 1 ตราสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร คือ ตราพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
96. ตอบ 3 ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร คนปัจจุบันคือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เมื่อ ปี 2547 นายอภิรักษ์ ปัจจุบันยังมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อีกด้วย ส่วนปลัดกรุงเทพฯ คนปัจจุบัน คือนายพงษ์ศักติฐ์ เสมสันต์ (ตั้งแต่ 1 ต.ค.49-ปัจจุบัน)
97. ตอบ 2 ไข้หวัดนกเกิดจากเชื้อไวรัส influenza A virus โดยสายพันธุ์ที่ระบาดมากที่สุดในปัจจุบันคือสายพันธุ์ H 5 N1
98. ตอบ 1 วันอนามัยโลกตรงกับวันที่ 7 เมษายน ดังนั้นจึงใกล้เคียงกับวันที่ 8 เมษายน ที่สุด วันประมงแห่งชาติตรงกับวันที่ 13 เมษายน วันผู้สูงอายุตรงกับวันที่ 13 เมษายน วันครอบครัวตรงกับวันที่ 14 เมษายน
99. ตอบ 1 นักบินอวกาศคนแรกของโลกเป็นชาวรัสเซีย ชื่อ ยูริ กาการิน ส่วนยานอวกาศและนักบินอวกาศที่ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ เป็นชาติแรกคือนีล อาร์มสตรอง ชาวสหรัฐอเมริกา และยานอวกาศอพอลโล ของสหรัฐ
100. ตอบ 4 คณะรัฐบาลชุดปัจจุบันแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อ 3 พ.ย.49

ณัชนาราวดี

8 มิ.ย. 2555 15:46:19

#2
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : อยากได้แนวข้อสอบปลัดค่ะ

แนวข้อสอบเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
1. บัตรประจำตัวประชาชนมีกี่ชนิด
2 ชนิด คือบัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และบัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์
2. เมื่ออายุครบกี่ปีจึงสามารถยื่นคำขอมีบัตรได้
อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์
3.จะต้องยื่นคำขอมีบัตรหลังจากเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ภายในกี่วัน
60 วัน
4. ถ้าบัตรหาย บัตรถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ถือบัตรต้องขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร ภายในเวลากี่วัน
60 วัน
5. ผู้ถือบัตรใดเสียสัญชาติไทยจะต้องส่งมอบบัตรให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านภายในระยะเวลากี่วัน
30 วัน
6. ถ้าผู้ใดยินยอมให้ผู้อื่นนำบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับของตนไปใช้ในทางทุจริตจะมีความผิดสถานใด
จำคุกตั้งแต่สามเดือน – 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. บัตรมีอายุใช้ได้กี่ปี
หกปี
8.เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการขอมีบัตร ผู้ใดไม่มีบัตรต้องระวางโทษปรับเท่าไร
ไม่เกินห้าร้อยบาท
9. ผู้ใดปลอมบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ ต้องระวางโทษสถานใด
จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10. ผู้ใดนำบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ ของผู้อื่นไปแสดงตนว่าตนเป็นเจ้าของบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ ต้องระวางโทษสถานใด
หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
11. ผู้ไม่อาจแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับเมื่อพนักงานตรวจบัตรขอตรวจบัตรจะมีโทษสถานใด
โทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
12. ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในท้องที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่จังหวัด สำหรับการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้ยื่นขอมีบัตร การขอมีบัตรใหม่ หรือการขอเปลี่ยนบัตร ณ สถานที่ใด
ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล ศาลาว่าการเมืองพัทยา หรือสำนักทะเบียนสาขา แห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่จังหวัดตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย
13. ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในท้องที่ที่ไม่มีการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องยื่นขอมีบัตร การขอมีบัตรใหม่ หรือการขอเปลี่ยนบัตร ณ สถานที่ใด
ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ สำนักงานเทศบาล หรือสำนักทะเบียนสาขา ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งท้องที่ ซึ่งผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
14. ถ้าผู้ขอมีบัตรใหม่ไม่มีนิ้วหัวแม่มือข้างหนึ่ง การพิมพ์ลายนิ้วมือ ควรทำอย่างไร
ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือเฉพาะข้างที่เหลืออยู่ หากไม่มีนิ้วมืออยู่เลย ให้พิมพ์ฝ่ามือข้างใดข้างหนึ่งแทน หากไม่มีมือทั้งสองข้างเลย ก็ให้ได้รับการยกเว้นการพิมพ์ลายนิ้วมือ
15. การออกบัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องส่งคำขอมีบัตรพร้อมฟิล์มรูปถ่าย ของผู้ขอมีบัตรไปที่ใด
สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
16. ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ในการเปรียบเทียบปรับคดีผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน ประกาศใช้เมื่อใด
วันที่ 22 มกราคม 2528
17. การเปรียบเทียบคดีตามปกติ จะเป็นสถานที่ใด
ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ หรือที่ว่าการเขต
18. การทำลายบันทึกการเปรียบเทียบให้นำระเบียบใดมาปฏิบัติ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526(ต้องเก็บไว้ หกปีถึงจะทำลายได้)
19. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน ประกาศใช้เมื่อใด
วันที่ 18 มกราคม 2534 โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
20. กรณีมีผู้แจ้งความนำจับหลายคน ผู้แจ้งคนใดมีสิทธิรับเงินก่อน
ผู้แจ้งก่อนและมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร
21. ถ้ามีผู้แจ้งความนำจับ ไม่เปิดเผยนาม แต่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร มีสิทธิรับเงินรางวัลหรือไม่
ได้ เมื่อมีความจำเป็นไม่สามารถเปิดเผยนาม ให้ผู้แจ้งพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ โดยไม่ระบุนาม
22. ผู้แจ้งความนำจับ หรือผู้นำจับ จะได้รับเงินรางวัลเมื่อสามารถจับกุม ผู้กระทำความผิดได้ในอัตราคดีละเท่าไร
สองพันบาท จากงบประมาณกรมการปกครอง (ถ้าจับผู้กระทำผิดได้หลายคน ก็ได้รางวัลนำจับคดีละสองพันบาทเท่าเดิม)
23. บุคคลใดมีอำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2534
อธิบดีกรมการปกครอง หรือผู้ที่อธิบดีกรมการปกครองมอบหมาย
24. การปลอมและใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่
ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน แต่เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268
25. ระเบียบกรมการปกครอง ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชน มีผลใช้บังคับเมื่อใด
30 สิงหาคม 2536 โดย อปค.เป็นผู้รักษาการตามระเบียบ
การจัดทำบัตรประชาชน จะต้องแล้วเสร็จภายใน 30 วัน
จะต้องรวบรวมคำขอมีบัตรและฟิล์มรูปถ่ายส่งให้กรมการปกครองภายใน 5 วัน
กรมการปกครองต้องผลิตบัตรให้เสร็จภายในสิบเก้าวัน
26. การยื่นขอมีบัตรที่เป็นกรณีที่ได้รับการยกเว้น สามารถกระทำได้หรือไม่
สามารถกระทำได้ โดยยื่นคำขอมีบัตรพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน โดยแสดงหลักฐานว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น และจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
27. การขอมีบัตร กรณีได้รับการยกเว้น โดยไม่มีหลักฐานแสดงการได้รับยกเว้น สามารถกระทำได้หรือไม่ อย่างไร
สามารถกระทำได้ โดยยื่นคำขอมีบัตรพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน และให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยต้องมีบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่เชื่อถือไปให้การรับรอง
28. การขอมีบัตร กรณีได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 โดยมีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
29. ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2538 มีผลใช้บังคับใช้เมื่อใด
10 ธันวาคม 2538
30. การขอมีบัตร ได้แก่ การจัดทำบัตรกรณีใดบ้าง
การขอมีบัตรเป็นครั้งแรกล
เป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) กรณีตกสำรวจหรือแจ้งเกิดเกินกำหนด
เป็นบุคคลได้รับการยกเว้น หรือบุคคลซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี
เป็นบุคคลซึ่งพ้นจากสภาพการได้รับการยกเว้น
เป็นบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล
31. การขอมีบัตรใหม่ ได้แก่กรณีใดบ้าง
บัตรเดิมหมดอายุ และบัตรเดิมสูญหาย หรือถูกทำลาย

32. ผู้ใดมีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติการขอทำลายเอกสารที่เกี่ยวกับบัตรในเขตสำนักทะเบียนอำเภอ
ผู้ว่าราชการจังหวัด
33. คณะกรรมการทำลายเอกสารเกี่ยวกับบัตรให้แต่งตั้งจากผู้ใด
แต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
ทำลายเอกสาร โดยวิธีการเผา หรือวิธีอื่นที่ทำให้เอกสารนั้นไม่สามารถอ่านเป็นเรื่องได้ หรือสามารถนำกลับมาใช้อีก
34. บัตรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคืน หรือเรียกคืนทุกกรณี จะต้องดำเนินการอย่างไร
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องจำหน่ายโดยการเจาะรูบนตัวบัตร และจัดเก็บรวบรวมไว้
35. วัสดุบัตรที่ใช้ในการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และวัสดุเคลือบบัตรป้องกันการปลอมแปลง ผู้ใดในจังหวัดเป็นผู้มีหน้าที่ในการเก็บรักษาและควบคุมเบิกจ่าย
จ่าจังหวัด
36. พระภิกษุมีความประสงค์จะขอมีบัตร เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถดำเนินการได้หรือไม่
ได้ โดยใช้คำหน้านาม ชื่อ ชื่อสกุล ตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้าน
37. กล้องที่ใช้ในการถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวประชาชน ที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์มีกี่ยี่ห้อ
3 ยี่ห้อ คือ โคนิก้า กล้องแพนเท็กซ์ และกล้องไซแม็กซ์
38. กรณีเคยทำบัตรมาก่อนและบัตรยังไม่หมดอายุ ไปรับราชการเป็นทหารเกณฑ์ ซึ่งในระหว่างรับราชการทหาร บัตรเดิมหมดอายุ อยากทราบว่าต้องไปขอต่ออายุบัตรหรือไม่ ถ้าไม่ไปต่อบัตรจะมีโทษปรับหรือไม่ และเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร
ในระหว่างรับราชการทหารกองประจำการไม่ต้องขอมีบัตร แต่เมื่อพ้นสภาพการเป็นทหาร จะต้องยื่นขอมีบัตรภายใน 60 วัน ถ้าไปขอมีบัตรระหว่างรับราชการทหารกองประจำการ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมสิบบาท
39. การยื่นขอมีบัตรเมื่ออายุ 19 ปี โดยไม่เคยไปยื่นขอทำบัตรที่สำนักทะเบียนใดมาก่อน สามารถขอมีบัตรได้หรือไม่
ทำได้ แต่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยจะต้องนำหลักฐานมาแสดงเช่น สูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิและนำเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการมาให้ถ้อยคำรับรอง
40. ใบแทนใบรับคำขอมีบัตร หรือมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตร ได้แก่
บ.ป. 2 ก.
41. พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 แต่งตั้งโดย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
42. ผู้ที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ต้องยื่นคำขอมีบัตรตามกำหนดเวลาดังนี้
60 วัน
43. ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตร หรือใบรับ หรือใบแทนใบรับ เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกิน 200 บาท
44. ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 คำว่า ขอมีบัตรใหม่ หมายถึง การขอมีบัตรในกรณีใด
บัตรเดิมหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
45. มาตรา 4 ใน พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 คำว่า บัตร หมายถึง
บัตรประจำตัวประชาชน
46. แบบ บ.ป. 4 ที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน หมายถึง
แบบหนังสือนำส่ง บ.ป. 1 และฟิล์มถ่ายรูป
47. ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
48. การออกบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรสำหรับบัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าใด
ฉบับละ 20 บาท
49. การออกใบแทนใบรับ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่
คิดค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท
50. ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอมีบัตรหรือไม่
ได้รับการยกเว้น
51. การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนา หรือคัด และรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร คิดค่าธรรมเนียมเท่าไร
ฉบับละ 20 บาท
52. ฐานข้อมูลทะเบียนบัตร ตามระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2538 หมายความว่าอย่างไร
ข้อมูลรายการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน ภาพถ่ายใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือที่จัดเก็บ และประมวลผลไว้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
53. แบบ บ.ป. 5 ที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน หมายถึง
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ ใช้คุมรายการออกบัตรและจำหน่ายบัตร
54. การขอมีบัตรใหม่ที่เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จะต้องเปรียบเทียบปรับเท่าไร
ปรับไม่เกิน 200 บาท
55. การแจ้งความบัตรหาย หรือบัตรถูกทำลาย เจ้าของบัตรต้องแจ้งต่อผู้มีอำนาจใด ในทุกกรณี
พนักงานเจ้าหน้าที่ (ระเบียบ ปค.ฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541)
56. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติว่าในบัตรอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
ชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน รูปถ่าย และเลขประจำตัวของผู้ถือบัตร และจะมีรายการศาสนา หรือนิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา ซึ่งผู้ถือบัตรนับถืออยู่หรือไม่ก็ได้ (พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 7)
57. ผู้ใดเอาไปเสียหรือยึดไว้ซึ่งบัตร หรือใบรับ บ.ป.2 หรือใบแทนใบรับ บ.ป.2 ก. ของผู้อื่นเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ กฎหมายกำหนดโทษ ไว้ดังนี้
จำคุกไม่เกินหกเดือน และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท (พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 15 ทวิ)
58. กฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้
บัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 20 บาท บัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ฉบับละ 10 บาท การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
59. กรณีใดผู้ถือบัตรจะขอมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรก็ได้ตามความสมัครใจ
ย้ายที่อยู่ใหม่ (พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 6 จัตวา)
60. ผู้ซึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์แล้ว ขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่ หรือขอเปลี่ยนบัตร ได้ ณ สถานที่ใด
ยื่นคำขอ ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล หรือศาลาว่าการเมืองพัทยา แห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่ ตามประกาศกำหนดใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์ก็ได้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542 ) ข้อ 6)
61. การนับอายุความคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ฐานไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย จะต้องนับอายุความอย่างไร
เป็นความผิดต่อเนื่อง (ว 816 ลว. 5 เม.ย. 2536)
62. กรณีข้าราชการประสงค์จะขอมีบัตร ต้องดำเนินการ ดังนี้
เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม และพิมพ์ลายนิ้วมือหัวแม่มือซ้ายและขวาทุกราย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2527) และฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542)
63. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 กำหนดให้ผู้ถือบัตรสามารถขอทำบัตรใหม่ได้ล่วงหน้าในช่วง 60 วัน ในกรณีใด
บัตรเดิมหมดอายุ (พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 6 ตรี)
64. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีบัตร และได้ยกเว้นบุคคลกลุ่มใดไม่ต้องมีบัตร
ผู้ซึ่งมีอายุไม่ถึงสิบห้าปีบริบูรณ์ และผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์

65. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเปรียบเทียบปรับคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 กำหนดให้เจ้าหน้าที่เก็บรักษาบันทึกการเปรียบเทียบไว้กี่ปีจึงจัดการทำลายได้
6 ปี นับแต่วันเปรียบเทียบ
66. ใน พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัตร คือ
ผู้ถือบัตร
67. กฎกระทรวงฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542)กำหนดให้บัตรประชาชนมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
มี 2 ชนิด คือ บัตรที่ไม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และบัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์
68. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2534 กำหนดให้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้แจ้งความนำจับ หรือผู้นำจับอัตราคดีละเท่าไร และเงินจากไหน
อัตราคดีละ 2,000 บาท จากเงินงบประมาณ ของกรมการปกครอง
69. ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติไว้ว่าเมื่อบัตรหมดอายุ ผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ โดยยื่นคำขอต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่
70. เลขคำขอมีบัตรประกอบด้วย รหัสสถานที่จัดทำบัตร รอบการทำบัตร และเลขแสดงลำดับจำนวนผู้ขอมีบัตร ซึ่งมีจำนวนกี่หลัก
11 หลัก เช่น 1201 – 1 – 000001
71. ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2538 ให้ความหมาย “บุคคลน่าเชื่อถือ ไว้อย่างไร
บุคคลใด ๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคง และมีความรู้จักคุ้นเคย กับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้
72. ผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตร แล้วแต่กรณี โดยยื่นคำขอภายในหกสิบวัน นับแต่
วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย
73. การออกบัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะดำเนินการในท้องที่จังหวัดใด ให้เป็นไปตาม
กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด
74. ข้อมูลรายการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน ภาพถ่ายใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือที่จัดเก็บและประมวลผลไว้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คือความหมายของอะไร
ฐานข้อมูลทะเบียนบัตร
75. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ขนาด สี และลักษณะของบัตร ตลอดจนรายการในบัตร และรายการในบัตรเป็นไปตาม
กฎกระทรวง
76. ภายในบัตรต่อไปนี้ รายการใดจะมีหรือไม่ ให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้ถือบัตร
รายการหมู่โลหิต รายการศาสนา
77. การขอมีบัตรใหม่ ได้แก่การจัดทำบัตรกรณีใดต่อไปนี้
บัตรเดิมหมดอายุ
บัตรเดิมสูญหายหรือถูกทำลาย
78. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะขอตรวจหลักฐาน หรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรได้ที่
สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอ
79. รูปถ่ายของผู้ถือบัตร จะต้องเป็นรูปหน้าตรงไม่สวมหมวก หรือแว่นตาสีเข้ม และไม่ใส่ผ้าคลุมใบหน้า เว้นแต่ผู้มีความจำเป็นตามศาสนา แต่อย่างน้อยจะต้องเปิดให้เห็นใบหน้าส่วนต่าง ๆ คือ
หน้าผาก คิ้ว ตา จมูก ปาก และคาง
80. การลงลายมือชื่อของพนักงานเจ้าหน้าที่ ห้ามมิให้ใช้ตรายางลายมือชื่อประทับแทนการลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ในเอกสารแบบพิมพ์เกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน อะไรบ้าง
คำขอมีบัตร บ.ป. 1 ใบรับ บ.ป. 2 และใบแทนใบรับ บ.ป. 2 ก
81. ผู้ใดเสียสัญชาติไทยเมื่อใด ไม่ว่าด้วยเหตุใดผู้นั้นหมดสิทธิใช้บัตรทันที และต้องส่งมอบให้แก่ผู้ใด ภายในเวลาเท่าไร
ส่งมอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ แห่งท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 30 วัน
82. ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดขนาดของบัตร ได้ดังนี้
ขนาดกว้าง 5.4 ซ.ม. ยาว 8.4 ซ.ม.
83. บุคคลสัญชาติไทย มีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) มีแต่ชื่อตัวไม่ปรากฏชื่อสกุล ขอมีบัตร กรมการปกครองได้วางแนวทางปฏิบัติไว้อย่างไร
เจ้าหน้าที่แจ้งต่อบุคคลดังกล่าว ว่าไม่อาจจัดทำบัตรได้ เนื่องจากรายการผู้ขอมีบัตรไม่ครบ จนกว่าจะมีชื่อสกุล และให้บุคคลนั้นยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บ.ป.1 ไว้ก่อน
84. พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้เจ้าพนักงานออกบัตร หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. นี้
85. บัตรประจำตัวประชาชนที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามแบบกฎกระทรวง กำหนดให้ด้านหน้ามีรายการ ดังนี้
รูปถ่าย ที่อยู่ ชื่อ ชื่อสกุล ของผู้ถือบัตร ลายมือชื่อและตราประจำตำแหน่งของเจ้าพนักงานออกบัตร
86. กรณีพระภิกษุขอมีบัตรประจำตัวประชาชน กรมการปกครอง ได้วางแนวทางปฏิบัติไว้อย่างไร
จัดทำบัตรให้ โดยใช้ชื่อ ชื่อสกุล ตามทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) แล้วรายงานให้จังหวัดทราบ และให้จังหวัดแจ้งกรมการศาสนาเพื่อประสานการปฏิบัติ
87. การจัดทำบัตร กรณีบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย หรือถูกทำลาย เมื่อผู้ขอมีบัตรแจ้งการหายของบัตรต่อพนักงานสอบสวน หรือตำรวจแล้ว กรมการปกครองได้วางแนวทางปฏิบัติไว้อย่างไร

พนักงานเจ้าหน้าที่รับแจ้งการหาย หรือถูกทำลายของบัตรตามแบบ บ.ป. 7 ก่อนจัดทำบัตรให้ทุกราย
88. การขอตรวจหลักฐาน หรือคัดสำเนา หรือคัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละเท่าไร
ฉบับละ 20 บาท
89. ข้อใดคือ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจคัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร ตามมาตรา 10 ทั่วราชอาณาจักร คือ
จ่าจังหวัดและ ผู้ช่วยจ่าจังหวัด
90. ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2538 กำหนดว่าในเดือนใดของทุกปี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สำรวจเอกสารเกี่ยวกับบัตรที่ครบอายุการเก็บในปีนั้น เพื่อพิจารณาอนุมัติทำลายเอกสารนั้น
เดือนกุมภาพันธ์
91. ปลัดเทศบาล มีอำนาจตรวจบัตรประชาชนหรือไม่
ตอบ ไม่มีอำนาจ ปลัดเทศบาล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ปลัดอำเภอเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานตรวจบัตร
92. ปลัดเทศบาล หัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดเกี่ยวกับบัตร ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือไม่
ตอบ มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ
93. ผู้ใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.บัตร ปี 2526 ในเขตเมืองพัทยา
ตอบ หัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป หัวหน้างานทะเบียนราษฎร และเจ้าหน้าที่บริหารงานทะเบียนและบัตร
94. นาย จ. เคยทำบัตรไว้ที่เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ และได้รับบัตรแล้วแต่ต่อมาทำบัตรหาย จึงไปติดต่อขอมีบัตรใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร
ตอบ 10 บาท ถ้าเป็นสำนักทะเบียนที่ออกบัตรโดยคอมพิวเตอร์เสีย 20 บาท
95. ผู้ถือบัตร ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน 2526
ตอบ ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัตร
96. ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานออกบัตร
ตอบ ผู้อำนวยการส่วนบัตรประจำตัวประชาชน
97. นายดำเป็นคนด้าวทั้งสองข้าง เดินไม่ได้ ขณะนี้อายุ 16 ปี แต่ยังมิได้ทำบัตรประชาชน กรณีที่นายดำไปยื่นคำขอมีบัตร จะเป็นการยื่นคำขอ กรณี
ตอบ กรณีขอมีบัตรผู้ได้รับการยกเว้น โดยเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
98. หากพระภิกษุมายื่นคำขอมีบัตร ณ ที่ว่าการอำเภอ และได้รับแจ้งให้ทราบถึงประกาศมหาเถรสมาคมแล้ว แต่พระภิกษุยังยืนยันจะขอมีบัตร จะดำเนินการอย่างไรจึงจะถูกต้อง
ตอบ รับคำขอมีบัตรกรณีผู้ได้รับการยกเว้นและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 10 บาท

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551 0 comment


Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 9:52:36 น.




การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
1. อนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ คือ
ตอบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

2. ประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คือ
ตอบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

3. เลขานุการคณะกรรมการอำนวยการโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คือ
ตอบ อธิบดีกรมการปกครอง

4. สำนักงานคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤตมีกี่ฝ่าย
ตอบ 6 ฝ่าย

5. บุคคลใดดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต
ตอบ อธิบดีกรมการปกครอง

6. บุคคลใดดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปของสำนักงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผฃิญปัญหาวิกฤต
ตอบ รองอธิบดีกรมการปกครองฝ่ายบริหารราชการทั่วไป

7. กรมการปกครองได้แต่งตั้งคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานเพิ่มเติม โดยมอบหมายให้ใครเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการโครงการและประธานคณะทำงาน
ตอบ รองอธิบดีกรมการปกครองฝ่ายบริหารราชการทั่วไป

8. กรมการปกครองให้จังหวัดำเนินการจัดตั้งสำนักงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในระดับจังหวัด โดยมอบให้ใครเป็นผู้อำนวยการสำนักงาน
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

9. จากข้อที่ 8 กรมการปกครองมอบให้ใครเป็นเลขานุการสำนักงาน
ตอบ ปลัดจังหวัด



10. กรมการปกครองให้อำเภอดำเนินการจัดตั้งสำนักงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยให้นายอำเภอ / ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นผู้อำนวยการสำนักส่วนเลขานุการสำนักงานคือ
ตอบ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนาหรือเจ้าหน้าที่ที่นายอำเภอ / ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเห็นสมควร

11. กรมการปกครองได้ดำเนินงานตามมาตรการของกรมการปกครองในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วยมาตรการใดบ้าง
ตอบ 1) มาตรการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานของบุคลากรภาครัฐ
2) มาตรการพัฒนาศักยภาพของชุมชน
3) มาตรการปรับปรุงกลไกของรัฐ

12. เลขานุการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ของคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรมการปกครอง คือ
ตอบ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาท้องที่

13. เลขานุการฝ่ายแผนพัฒาอำเภอของคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรมการปกครองคือ
ตอบ ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน

14. เลขานุการฝ่ายประสานงานองค์การบริหารส่วนตำบล ของคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรมการปกครองคือ
ตอบ ผู้อำนวยการกองราชการส่วนตำบล

Create Date : 21 กรกฎาคม 2551 0 comment


Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 23:23:41 น.




แนวข้อสอบแผนพัฒนาอำเภอ
1. กระบวนการวางแผนพัฒนาอำเภอ มีอะไรบ้าง
ตอบ มี 7 ขั้นตอน

2. แผนพัฒนาอำเภอ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ 3 ประเภท คือ แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี แผนพัฒนาอำเภอประจำปี แผนปฏิบัติการอำเภอประจำปี

3. หลักการวางแผน VCAP คืออะไร
ตอบ หลักการวางแผนพัฒนาอำเภอ จะยึดหลักการ V-CAP
V = Vision = วิสัยทัศน์
C = Comprehensive Plan = ความครอบคลุม
A = Analysis = การวิเคราะห์
P = Participation = การมีส่วนร่วม

4. การวางแผนพัฒนาอำเภอครั้งแรกเริ่มเมื่อไร ที่อำเภอใด จังหวัดใด และต่อมาทำที่ใด
ตอบ อ.ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปีที่ อ.เดชอุดม อุบลราชธานี

5. การวางแผนพัฒนาอำเภอ หมายถึงอะไร
ตอบ ความหมายของแผนพัฒนาอำเภอ หมายถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอำเภอ อันมีลักษณะเป็นแนวทาง และรายการประสานงานแผนและโครงการของจังหวัด อำเภอ ตำบล และหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และการดำเนินงานของประชาชนในท้องที่อำเภอได้จัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนแก้ไขปัญหาของประชาชนในอำเภอ

6. ลักษณะของแผนอำเภอ มีอย่างไร
ตอบ เป็นรายการประสานงานแผนและโครงการของจังหวัด อำเภอ ตำบล และหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และการดำเนินงานของประชาชนในท้องที่อำเภอได้จัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนแก้ไขปัญหาของประชาชนในอำเภอ

7. ความสำคัญของแผนอำเภอ มีอย่างไร
ตอบ ความสำคัญของแผนพัฒนาอำเภอ
1.เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาและความต้องการในภาพรวมของอำเภอ
2.เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวทาง/ทิศทางการพัฒนาของอำเภอในอนาคต
3.เป็นสิ่งที่หน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่อำเภอ สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานได้
4.เป็นเครื่องมือการบริหารการพัฒนาอำเภอ

8. วัตถุประสงค์ของการวางแผน อ.มีอย่างไร
ตอบ ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาอำเภอประจำปี



9. องค์กรจัดทำแผน อ.มีโครงสร้างและมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบ กพอ.

10. แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ปัจจุบัน พ.ศ.ใด ถึง พ.ศ.ใด
ตอบ 2545-2549

11. กระบวนการประชาคมหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มาเกี่ยวข้องกับการทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปีอย่างไร
ตอบ ปี 2546 ให้ทบทวนปัญหาความต้องการของประชาคมหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ

12. ประชาคมมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบของประชาคมหมู่บ้าน
1.ตัวแทนฝ่ายบริหาร ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ในหมู่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน 3 คน(อาจเชิญผู้ใหญ่บ้าน เป็นที่ปรึกษาประชาคมก็ได้
2.ตัวแทนฝ่ายกลุ่มประชาชน ผู้แทนกลุ่มอาชีพทุกกลุ่ม ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร/เกษตรก้าวหน้า ปราชญ์หมู่บ้าน ผู้แทนกลุ่มแม่บ้าน พระที่ชาวบ้านศรัทธา ครูโรงเรียนในหมู่บ้าน 1 คน อสม. อาสาพัฒนาชุมชน อาสาสมัครประชาสงเคราะห์ สมาชิก อปพร. สจ.(ที่มีอยู่อาศัยในหมู่บ้าน) ผู้แทนธุรกิจเอกชนที่อยู่ในหมู่บ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ กรณีองค์ประกอบของประชาคมหมู่บ้านมีน้อย ให้เลือกตัวแทนจากกลุ่มบ้านในหมู่บ้านแทน เช่น คัดเลือกตัวแทนคุ้มในหมู่บ้าน ฯลฯ จำนวนสมาชิกประชาคมควรมีร้อยละ 5-10 ของจำนวนประชาชน

13. ประชาคมตำบลมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบประชาคมตำบล
1.ประธาน อบต.
2.ตัวแทนของประชาคมหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 10% แต่ไม่น้อยกว่า 7 คน ได้แก่
ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา อบต.ในหมู่บ้าน 2 คน ตัวแทนฝ่ายกลุ่มประชาชนที่ประชาคมหมู่บ้านคัดเลือก อย่างน้อย 4 คน และอาจเชิญกำนันเป็นที่ปรึกษาประชาคมได้ ฯลฯ
ประธานและเลขานุการ เลือกจากที่ประชุมประชาคม

14. ประชาคมอำเภอมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ ประชาคมอำเภอ
องค์ประกอบประชาคมอำเภอ
1.ประธาน อบต. 2.กำนัน
3.ผู้แทนประชาคมตำบลคัดเลือก ประกอบด้วย ผู้แทนสมาชิก อบต.ตำบลละ 2 คน และผู้แทนกลุ่มประชาคม ตำบลละ 6 คน
4.ตัวแทนของเทศบาลทุกเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอ
5.ผู้ทรงคุณวุฒิในเขตชุมชนเมือง 3 คน
จำนวนสมาชิก อาจปรับให้น้อยลงได้ในกรณีอำเภอที่มีขนาดใหญ่

15.บทบาทหน้าที่ของประชาคมตำบล หมู่บ้าน มีอย่างไร
ตอบ บทบาทประชาคมหมู่บ้าน ตำบล
1.ทำหน้าที่ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในตำบล หมู่บ้าน
2.นำปัญหาในหมู่บ้าน ตำบลไปหารือในที่ประชุม และรายงานให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ตรวจสอบเพื่อให้แก้ไขได้ทันท่วงที
3.เป็นองค์กรตรวจสอบการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ และรายงานอำเภอทราบ
4.เป็นเวทีให้ความเห็น และหาแนวทางแก้ไขกับหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญ
5.ให้ประชาคมมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ในระยะต้นประมาณ 1-2 เดือนต่อครั้ง
6.คัดเลือกผู้แทนประชาคม ไปร่วมเป็นประชาคมในระดับเหนือขึ้นไป

16. ขั้นตอนการทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ( 2545-2549 ) มีกี่ขั้นตอน มีอะไรบ้าง
ตอบ ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การจัดทำ จัดตั้งและประชุมประชาคม หมู่บ้าน ตำบล (มี.ค.-เม.ย. 2543)
ขั้นตอนที่ 2 จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการรายด้าน/สาขาและแนวทางแก้ไข (1-10 พ.ค. 2543)
ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำ วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาอำเภอ 5 ปี (11 –25 พฤษภาคม 2543)
ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดรายละเอียดกิจกรรม แผนงาน/โครงการ ระยะ 5 ปี (26 พ.ค. –10 มิ.ย.)
ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำแผนพั

ณัชนาราวดี

8 มิ.ย. 2555 15:48:07

#3
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : อยากได้แนวข้อสอบปลัดค่ะ

ขอบคุณค่ะ...

มน

20 มิ.ย. 2555 11:01:17

#4
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : อยากได้แนวข้อสอบปลัดค่ะ

อ่านกันตาเเฉะ

มัดมุก

22 มิ.ย. 2555 20:20:36

#5
รูปไม่เข้าระบบ
 
Re : อยากได้แนวข้อสอบปลัดค่ะ

ว่างัยคุณปลัด มน สอบได้ไหม พอดีเพิ่งมาสมัครเป็นน้องใหม่ไม่นาน ไล่ล่าสอบราชการเช่นกัน อยากเปลี่ยนสายงานเบื่องานที่ศาลหละ เป็นนิติกร เพือนคนไหนประสบการณ์สอบมาแชร์คุยกันบ้างนะ....มนต์เมืองเหนือ..

มนต์เมืองเหนือ

7 ส.ค. 2555 21:39:15

#6
1


แสดงความคิดเห็น...