′ฟองสบู่′ก่อหวอด รัฐบาล-แบงก์ชาติ ศึกนโยบาย′ก่อหวอด′

10 ก.พ. 2556 เวลา 20:04 | อ่าน 5,040
แชร์ไปยัง
L
 
images by free.in.th ดิ อีโคโนมิสต์ นิตยสารด้านเศรษฐกิจ-ธุรกิจชั้นนำระดับโลกฉบับล่าสุด 2 กุมภาพันธ์ 2556 รายงานสถิติเปรียบเทียบเอาไว้ว่า

ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2555 มาถึง 30 มกราคม 2556 ดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ตลาดหุ้นสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ตลาด หุ้นจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ตามค่าเงินหยวนหรือร้อยละ 9.5 หากคิดเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 31.4 (11.1) ตลาดหุ้นอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 (15.3)

ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน ดัชนีตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.4 ตามค่าเงินบาท

หรือหากคิดมูลค่าเป็นดอลลาร์คือเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.2

เพราะค่าเงินบาทไทยแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลสำคัญอย่างสหรัฐ

เปรียบเทียบระหว่างวันที่ 30 มกราคม 2555 กับวันเดียวกันในปี 2556 อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ

แข็งขึ้นจาก 31.2 บาท/ดอลลาร์ เป็น 29.8 บาท/ดอลลาร์



เป็นที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปว่าสหรัฐอัดฉีดเงินจำนวนนับล้านล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจในประเทศเป็นรอบที่ 3 โดยมีรัฐบาลญี่ปุ่นเดินตามรอยเท้าไปติดๆ

ขณะที่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจหมายเลขสองอย่างจีน แม้จะไม่อัดฉีดเงินออกมากระตุ้นการเติบโต แต่ก็พยายามรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ มิให้เงินหยวนแข็งขึ้นมากนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์

เพื่อไม่ให้กระทบรายได้จากการส่งออก

แต่ระหว่างที่ชาติมหาอำนาจแข่งขันกันลดค่าเงินและดอกเบี้ย

ไทยกลับเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลก ที่ตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงจนกระทั่งเกิดภาวะ "เงินไหลเข้า" ล้นทะลัก

และทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับเงินตราสกุลหลักสำคัญอื่นๆ ของโลก

ขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบนโยบาย ด้านเศรษฐกิจการเงินโดยตรงอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มีขีดจำกัดในการดำเนินนโยบายด้วยสาเหตุหลักสองประการ

ด้านหนึ่ง คือกรอบความคิดที่ยึดเอาการป้องกันเงินเฟ้อเป็นหลัก

อันเป็นที่มาของนโยบายดอกเบี้ยสูงและค่าเงินแข็ง

อีกด้านหนึ่ง คือการดำเนินการตามกรอบข้างต้นด้วยการปกป้องค่าเงินโดยวิธีการต่างๆ

จนกระทั่งมีผลขาดทุน 500,000 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555

และคาดว่าจะมากกว่า 700,000 ล้านบาท เมื่อครบรอบบัญชีทั้งปี

แนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหามิให้ลุกลามเป็น "เศรษฐกิจฟองสบู่" และแตกสลายจนล้มละลายกันครึ่งหรือค่อนประเทศ เหมือนที่เคยประสบมาแล้วในปี 2540 แยกออกเป็นสองแนวทางชัดเจน

ด้านหนึ่ง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นว่าวิธีที่เหมาะสมคือการลดดอกเบี้ย

นายกิตติรัตน์ส่งจดหมายถึงกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยทุกคน กระตุ้นให้กรรมการทุกคนร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาเศรษฐกิจ

และรัฐบาลยังแสดงออกถึงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ดังกล่าวในการประชุมเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงมาเป็นประธานการประชุมเอง

ขณะที่อีกซีกหนึ่งนำโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ข้อเสนอให้ลดดอกเบี้ยและออกมาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้านั้น เรื่องดอกเบี้ยเป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือของการดูแลเศรษฐกิจ แต่หลักการคือต้องรักษาสมดุลของเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว

โดยมีกองเชียร์คนสำคัญคือ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ผู้แก้ไขกฎหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอิสระชนิดลอยค้างอยู่กลางอากาศ

ไม่ต้องรับผิดชอบหรือขึ้นตรงต่อหน่วยงานใดเลยในประเทศ


การต่อสู้สองแนวทางซึ่งมีแนวโน้มจะยืดเยื้อในสถานการณ์ที่ยืดเยื้อไม่ได้

จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างใดหรือไม่

ไม่ควรกะพริบตา

ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360210287&grpid=&catid=12&subcatid=1200
′ฟองสบู่′ก่อหวอด รัฐบาล-แบงก์ชาติ ศึกนโยบาย′ก่อหวอด′
วันที่ 07 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เวลา 12:01:14 น.


10 ก.พ. 2556 เวลา 20:04 | อ่าน 5,040


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ชื่นชมมาตรการสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567
24 27 เม.ย. 2567
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
237 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
556 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
597 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
477 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
536 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
819 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,434 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
91 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
116 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน