GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย)

 
GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย)

       นับว่าเป็นระบบการศึกษาที่ได้รับความนิยมมาซักพักใหญ่ๆแล้ว สำหรับการสอบเทียบ GED (General Education Development) ซึ่งถ้าใครสอบผ่านก็จะได้วุฒิเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปเลย นึกภาพง่ายๆเหมือนเป็นการเรียน กศน. บ้านเรา ที่ถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มวุฒิเทียบเท่าเหมือนกัน เพียงแต่ GED เป็นระบบการศึกษาของอเมริกา ไม่ใช่ระบบการศึกษาของไทย และมีแนวโน้มว่านักเรียนส่วนใหญ่จะหันมาสอบ GED กันมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าบ้านเราจะมีวุฒิ กศน. ที่ดูเหมือนจะเรียนง่ายกว่าก็ตาม

      ความจริงแล้วหากเราพูดถึงวุฒิต่างประเทศที่เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 เหมือน กศน. นอกจาก GED แล้ว ยังมีอีกหลายตัวไม่ว่าจะเป็น IGCSE, GCE O-Level, A-Level, International Baccalaureate (IB) และวุฒิ High School จากประเทศอื่นๆ แต่วุฒิที่เหมือนจะได้รับความนิยมอย่างไม่ขาดสายก็ต้องยกให้ GED เลยล่ะค่ะ

GED หรือ General Education Development เกิดจากความร่วมมือของ Pearson และ the American Council on Education (ACE) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชากรในประเทศสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หลักๆจะเน้นเป็นการศึกษาของผู้ใหญ่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในประเทศนั้นดีขึ้นนั่นเองค่ะ และก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนหลักสูตรนี้ได้รับความนิยมในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย แต่สำหรับประเทศเรากลับไม่ใช่กลุ่มผู้ใหญ่ที่สอบวุฒินี้กันเนื่องจากข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด กลุ่มที่นิยมสอบจริงๆกลับเป็นเด็กวัยเรียนที่มีเหตุผลต่างๆอันไม่สามารถเรียนในระบบโรงเรียนปกติได้ เช่น อยากเข้ามหาวิทยาลัยเร็วๆ, มีปัญหาสุขภาพ, ต้องเรียนซ้ำชั้นหลังจากกลับมาจากโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน, วุฒิ High school ที่เรียนมาจากต่างประเทศบางประเทศไม่สามารถเทียบวุฒิของประเทศไทยได้ หรือเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ พร้อมทั้งมีเป้าหมายต้องการจะเรียนต่อปริญญาตรี หลักสูตรนานาขาติ ต่อต่างประเทศ หรือมหาวิทยาลัยเอกชน  กลุ่มนี้นี่ล่ะค่ะที่หันมาสอบ GED กันเยอะมากๆ หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จักใช่ไหมคะว่า GED ที่จริงแล้วมันต้องสอบอะไรบ้างแล้วระบบเขาเป็นอย่างไร อย่ารอช้าค่ะ เรื่องแบบนี้มันต้องขยาย!!!

      การสอบ GED ผู้เรียนจะต้องสอบทั้งหมด 5 วิชา ได้แก่ ged math , ged science ,ged reading , ged writing และ ged social ซึ่งเป็น Social ของอเมริกา แต่ละวิชามีคะแนนเต็มทั้งหมด 800 คะแนน คะแนนที่ถือว่าสอบผ่านนั้นจะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 410 คะแนน ถือว่าเกณฑ์นี้ไม่โหดเท่าไหร่นะคะ ก็ครึ่งๆเหมือนข้อสอบอื่นๆทั่วไป ปกติแล้วเราจะทราบผลคะแนนได้ทันทีหลังจากทำข้อสอบเสร็จค่ะ เพราะข้อสอบเป็นแบบตัวเลือก (Multiple Choice) ทั้งหมด ระบบก็จะคิดคะแนนให้อัตโนมัติ ยกเว้นวิชา Writing ที่ต้องรอผลสอบประมาณ 3 – 5 วัน เนื่องจากมีส่วนที่ต้องเขียน essay ด้วย ซึ่งต้องให้คณะกรรมการเป็นผู้ตรวจและให้คะแนนค่ะ  โดยคะแนนสอบ Writing ดังกล่าวจะแจ้งในระบบที่เราใช้สมัครสอบนั่นเอง สำหรับสถานที่สอบนั้น ในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ที่ ได้แก่ อาคารชาญอิสระ 2 กรุงเทพฯ ,  Thabyay Education Foundation อ.แม่สอด จ. ตาก, Phuket Academic Language School  จ.ภูเก็ต, Bangkok Business Building  อโศก กรุงเทพฯ, Movaci Technology จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้เราสามารถเลือกที่เราสะดวกได้เลย อยู่ใกล้ที่ไหน ก็เลือกสอบที่นั่น ข้อสอบเป็นข้อสอบเดียวกันทั้งหมดค่ะ หากถามว่า GED มีการจัดสอบบ่อยหรือไม่ ตอบได้เลยว่าบ่อยมาก บ่อยที่สุดในบรรดาการสอบทั้งหลายเลยจริงๆ โดยมีสอบทุกวันจันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ บางศูนย์สอบอาจจะมีเปิดสอบวันเสาร์บ้างแล้วแต่ความเหมาะสมค่ะ เพราะฉะนั้นหมดห่วงเรื่องวันสอบได้เลย และหลังจากที่เราสอบผ่านหมดทุกรายวิชาแล้ว เราสามารถทำเรื่องขอวุฒิและทรานสคริปได้เป็นขั้นตอนถัดไปค่ะ ที่เหลือก็รอแค่เพียงให้เอกสารวุฒิและทรานสคริปนั้นส่งมาให้เรา สังเกตได้เลยนะคะว่าระบบไม่ซับซ้อน สามารถเข้าใจได้ไม่ยาก


      จากข้อมูลดังกล่าว หลายๆคนคงจะได้คำตอบกันบ้างแล้วนะคะว่าทำไมวุฒิ GED ถึงได้รับความนิยมจากเด็กไทยค่อนข้างเยอะ เพราะวุฒิ GED  สามารถนำไปต่อยอดเรียนในมหาวิทยาลัยได้หลากหลายพอๆกับวุฒิ กศน. บ้านเรา ไม่แน่ว่าจะมีโอกาสมากกว่าด้วยซ้ำเพราะสามารถนำไปยื่นมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้  สำหรับในประเทศไทยแม้ส่วนใหญ่จะใช้ได้ในหลักสูตรอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยรัฐบาล หรือมหาวิทยาลัยเอกชนได้ทุกหลักสูตร แต่หากจะเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลในหลักสูตรภาคปกติ ภาคภาษาไทยจริงๆ บางมหาวิทยาลัยก็สามารถทำได้ เพียงแต่อาจจะต้องสอบข้อสอบอย่างอื่นเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด นอกจากนี้การสอบ GED รวมถึงการเตรียมตัวสอบก็สามารถทำได้อย่างอิสระ พร้อมเมื่อไหร่ก็สมัครสอบ ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องถูกประเมินเวลาเรียน หรือต้องเก็บหน่วยกิต ทั้งนี้จะจบช้าจบเร็วคนที่สอบ GED ก็จะแตกต่างกัน  ใครฟิต ใครขยันเตรียม ขยันสอบก็จบเร็ว ใครไม่รีบมากก็ไปเรื่อยๆ เพราะ GED นั้นมีรอบสอบบ่อยมากๆ ต่างกับ กศน. ที่ต้องมีการลงทะเบียนเรียนตามระยะเวลาให้ครบถ้วน ระบบการเรียนจะค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร และที่สำคัญการสอบ GED เราสามารถสอบใหม่เพื่ออัพคะแนนให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมได้อีกด้วย หรือถ้าสอบไม่ผ่านในรายวิชาใดก็สามารถสอบแก้ตัวได้อีกวิชาละ 2 ครั้ง (ถ้าสอบตกติดกันครบ 3 ครั้งต่อรายวิชาจะต้องรอ 60 วันจึงจะสมัครสอบใหม่ได้อีกครั้ง) การวางแผนการเรียนและการสอบ GED ก็ทำได้ง่าย เนื่องด้วยเราสามารถรู้คะแนนได้เลย เราจึงสามารถจัดการเวลาสำหรับการสอบวิชาถัดไปหรือการสอบแก้ตัวรายวิชาเดิมได้ไม่ยาก ต่างกับการเรียน กศน. บ้านเราที่ต้องมาดำเนินเรื่องในเวลาราชการเท่านั้น และนี่เองจึงอาจจะทำให้น้องๆนักเรียนเทใจมาสอบ GED กันค่อนข้างเยอะ เพราะรู้สึกว่าการสอบ GED นั้นมีระบบที่ง่ายกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า แม้จะมีความยากตรงที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่บ้าง แต่นั่นก็ไม่น่าจะใช่ปัญหาใหญ่โตเกินความสามารถของเด็กไทยเรา เนื่องจากทุกวันนี้มีสถาบันกวดวิชา GED ต่างๆ เช่น สถาบันกวดวิชา จุฬาติวเตอร์ ( chulatutor ) คอยเป็นตัวช่วยให้น้องๆสามารถผ่านได้ง่ายขึ้นอยู่แล้ว สำหรับน้องๆ คนที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาเรื่องระบบสอบเทียบสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chulatutor.com/ged/



Advertisement


Advertisement
 
 10 ลำดับกระทู้ยอดนิยม
บัญชีเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการสภาสามัญ บัญชีเงินเดือ...
1,318,760
รายชื่อ 77 จังหวัดในประเทศไทย แบ่งตามภาค...
1,079,135
ฐานคำนวณเงินเดือนข้าราชการพลเรือน 2561 เป็นต้นไป ถึงปัจจุบัน...
997,819
วิธีเช็คว่ามีใครเข้ามาดู facebook เราบ่อยที่สุด 10 อันดับแรก!!...
995,025
บัญชีเงินเดือนข้าราชการทหารใหม่ 2558 ถึง ปัจจุบัน...
866,667
บัญชีเงินเดือนข้าราชการครู 2558 ถึง ปัจจุบัน ใหม่ล่าสุด...
844,803
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เต็มยศ (บุรุษ, สตรี) เครื่องหมายอินทรธนู...
651,099
ฐานคำนวณเงินเดือนข้าราชการพลเรือน 2560...
612,663
วิธีแทรกเครื่องหมายถูกใน word, excel 2007, 2010...
591,606
แนวข้อสอบ E-learning ก.พ.
499,870
ดูเพิ่มเติม
 10 ลำดับมาใหม่
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุ...
108
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อ...
120
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)...
76
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม...
39
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบข...
131
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน...
346
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้...
420
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำ...
75
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567...
413
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม "ตู้ห่วงใย" บ...
51
ดูเพิ่มเติม

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน
GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย)
แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์
TOEIC
CU-AAT คืออะไร
จุฬาติวเตอร์