เสริมสร้างวินัยให้ลูกน้อย

5 ก.ค. 2566 เวลา 19:34 | อ่าน 214
แชร์ไปยัง
L
 
เสริมสร้างวินัยให้ลูกน้อย


ความสำคัญของระเบียบวินัย


การที่เราจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง และ “ระเบียบวินัย” เป็นสิ่งหนึ่งที่สําคัญ เพราะถ้าหากเราปลูกฝังให้เด็กมีระเบียบวินัย เด็กยอมเรียนรู้ที่จะเคารพในสิทธิของผู้อื่น ในโลกของความเป็นจริงมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่จําเป็นต้องอธิบาย แต่เด็กก็สามารถเรียนรู้ได้จากการกระทําของผู้ใหญ่และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดที่ทําลงไปแล้วผู้อื่นจะให้การยอมรับ และเข้าใจได้ในทันทีว่าควรจะปฏิบัติตามหรือไม่ เช่น คําว่า "อย่าทําสิ่งนี้ไม่ดี” เราจะเคยได้รับคําห้ามจากผู้ใหญ่เกี่ยวกับอันตรายนั้น ๆ มาก่อน นอกจากนี้ยังเรียนรู้ว่าหากดื้อที่จะทําสิ่งนั้น ๆ ต่อไปก็อาจได้รับผลที่ไม่ดีตอบแทนกลับมา เด็กส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้ใหญ่ควบคุมเขา แต่ไม่ใช่ด้วยการข่มขู่หรือใช้ความรุนแรง เพราะเด็กอาจจะไม่ให้ความร่วมมือและเสียสัมพันธภาพที่ดีต่อกันอีกด้วย


ดังนั้น “ระเบียบวินัย” จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่กำหนดขึ้นเพื่อให้เด็กเรียนรู้ถึงสิ่งที่เขาสามารถทำได้ ซึ่งจะทำให้พวกเขารู้ว่าควรทำอย่างไรกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่พวกเขาเจอในแต่ละวัน โดยจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการควบคุมตนเองของเด็ก ภายใต้เงื่อนไขในการเลือกแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสม และเป็นที่ยอมรับของสังคม ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะเคารพในสิทธิของผู้อื่น รู้จักการควบคุมตัวเองว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ พวกเด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ได้จากการกระทำและคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ จึงเห็นได้ว่าระเบียบวินัยเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม


ระเบียบวินัยช่วยพัฒนาเด็กให้...


1. สามารถควบคุมตนเองในการแสดงออกทางอารมณ์ในทางที่เหมาะสม เช่น หากเด็กมีอารมณ์โกรธ แทนที่จะทุบตีผู้อื่นก็ให้เปลี่ยนมาทุบตีตุ๊กตาหรือหมอนแทน

2. สามารถเรียนรู้เคารพในสิทธิผู้อื่น การรู้จักใช้คำพูด เช่น ขอโทษ ขอบคุณ ขออนุญาตก่อนหยิบของคนอื่นไปใช้ ไม่รบกวนสมาธิของผู้อื่น ฯลฯ

3. สามารถแสดงความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม เมื่อมีการขัดแย้งระหว่างพี่น้อง พ่อแม่ควรเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้เข้าใจกัน ฝึกให้แสดงความรู้สึก รู้จักขอโทษซึ่งกันและกันเพื่อขจัดความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นจากความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม

4. สามารถให้ความนับถือตนเองได้ เด็ก ๆ ย่อมต้องการความสนใจและคำชมจากพ่อแม่ยามที่เขาสามารถประพฤติตนได้ตามที่พ่อแม่คาดหวัง การชมจะเป็นแรงเสริมให้อยากทำดีมากขึ้น และยังเป็นการสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจที่สามารถทำได้

5. สร้างความมั่นใจให้กับตนเอง การฝึกให้รู้จักรับผิดชอบตนเอง เช่น อาบน้ำแต่งตัว ฯลฯ และรับผิดชอบงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการเพิ่มทักษะช่วยให้เด็กได้พัฒนาความมั่นใจในการพึ่งตนเอง

6. สามารถพัฒนาเป็นอุปนิสัยรักงาน การฝึกให้รับผิดชอบเรื่องส่วนตัว และงานบ้านจนเป็นนิสัยจะทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการทำงานทั้งที่บ้านและโรงเรียน ตลอดจนในด้านหน้าที่การงานเมื่อเป็นผู้ใหญ่


วิธีการให้เด็กร่วมมือในการฝึกระเบียบวินัย


1. ควรสื่อสารกับเด็กให้ชัดเจน ด้วยการใช้คำพูดตรงไปตรงมาถึงกฎระเบียบของบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนในบ้านต้องรับรู้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง เช่น “ลูกทุกคนต้องมาพร้อมกันที่โต๊ะอาหารตอน 6 โมงเย็น” “เด็ก ๆ ไม่ควรเข้านอนเกิน 3 ทุ่ม”

2. ฝึกให้เด็กเรียนรู้ขอบเขตของตนเองถึงสิ่งที่สามารถทำได้และสิ่งที่ทำไม่ได้ เช่น “ลูกโกรธได้ แต่ตีน้องไม่ได้ ลูกจะตีหมอนหรือตุ๊กตาแทนได้”

3. ควรให้เด็กเรียนรู้ถึงผลของการทำตามระเบียบวินัยที่ตั้งไว้ เรียนรู้จากประสบการณ์ว่าถ้าเขาทำตามกฎระเบียบที่ตั้งไว้จะได้รับผลที่ดีอย่างไร และพ่อแม่ควรบอกก่อนถึงผลที่จะตามมาหากเขาไม่ปฏิบัติตามกติกาที่ตั้งไว้ เช่น “ถ้าหนูไม่กินข้าว หนูก็จะหิว” “ถ้าหนูไม่ซักผ้า หนูก็จะไม่มีเสื้อผ้าที่สะอาดใส่ไปโรงเรียน”

4. ฝึกให้รู้จักผ่อนคลายความเครียด เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม เช่น หากเด็กรู้สึกโกรธ ให้แยกอยู่สงบลำพัง ฝึกหายใจเข้าลึก ๆ และค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออก

5. ฝึกให้รู้จักควบคุมอารมณ์ ด้วยการแยกอยู่ลำพังโดยให้นั่งอยู่บนเก้าอี้ที่มุมใดมุมหนึ่งของห้อง

6. ฝึกให้รู้จักทบทวนการกระทำของตนเอง โดยเขียนลงในสมุดบันทึกในแต่ละวัน หัดทำสม่ำเสมอจนเกิดเป็นทักษะ

7. ฝึกให้ใช้การกระทำแทนคำพูดอย่างเดียว ด้วยการสัมผัสเพื่อกำหนดพฤติกรรม “ลูกไม่มีสิทธิไปหยิบอาหารจากจานของคนอื่น หยิบได้เฉพาะในจานของลูกเท่านั้น” พร้อมทั้งดึงมือเด็กกลับมายังจานของเด็กเอง

8. ฝึกให้เรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเอง อาจใช้วิธีเล่นสมมติเหตุการณ์นั้น ๆ เป็นการฝึกซ้อม เพื่อให้สามารถแก้ไขได้ทันทีที่ปัญหาเกิดขึ้นจริง

9. ฝึกให้อยากทำดีมากขึ้น ด้วยการให้รางวัลตอบแทนเมื่อเด็กทำดี เช่น แสดงสีหน้าชื่นชม ลูบหัว กอด พูดชม

10. ฝึกให้มีการตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าสามารถทำได้ตามข้อตกลง มีสิทธิเลือกทำในสิ่งที่ชอบ


สิ่งที่ทำให้การเสริมสร้างวินัยได้ผล


1. กฎระเบียบ/ข้อห้ามใด ๆ ที่ตั้งไว้ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ไม่ขึ้นลงตามอารมณ์ของผู้ใหญ่ขณะนั้น

2. ท่าทีของผู้ใหญ่ควรหนักแน่นจริงจังและเด็ดขาด ทั้งสีหน้า น้ำเสียง และท่าทาง เพื่อสื่อว่าการกระทำที่เด็กทำนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ใหญ่

3. ควรใช้การกระทำมากกว่าการใช้คำพูดเพียงอย่างเดียว เมื่อเรียกเด็กไม่มา ควรลุกขึ้นไปจูงมือมาทันทีโดยไม่ต้องเรียกซ้ำแล้วซ้ำอีก

4. ควรพูดสอนในช่วงเวลาที่เด็กอยู่ในอารมณ์ที่สงบมากกว่าที่จะพูดสอนขณะที่เด็กมีอารมณ์โกรธหรือหงุดหงิด

5. ควรพิจารณาพฤติกรรมของเด็กตามความเหมาะสมในแต่ละวัย เช่น เด็กโตสามารถนั่งรับประทานอาหารได้เรียบร้อยโดยไม่ลุกจากโต๊ะ เด็กเล็กยังนั่งติดที่ไม่ได้นานดังนั้นเมื่อเด็กรับประทานอาหารเสร็จอาจอนุญาตให้ลุกจากโต๊ะได้ก่อน

6. ผู้ใหญ่ทุกคนควรต้องร่วมมือกันแก้ไข มีความเห็นตรงกันไม่ขัดแย้งต่อหน้าเด็ก

นอกจากนี้ปัจจัยที่จะทำให้การเสริมสร้างวินัยได้ผลนั้นพ่อแม่ควรแสดงให้เด็กมั่นใจในความรักจากพ่อแม่ด้วยการกอด ยิ้ม และชมเชย หรือให้รางวัลเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดีตามที่พ่อแม่คาดหวัง แสดงความเข้าใจเด็กตามวัยของเขา เช่น เด็กเล็กควรมีพ่อแม่อยู่ใกล้ชิด ในขณะที่เด็กโตต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ให้ความสนใจ รับฟังความคิดเห็น หรือเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึก พูดคุยกับเขาและให้มีช่วงเวลาพิเศษในแต่ละวันเพื่อที่จะได้พูดคุยกัน รวมทั้งสังเกตลูก ๆ เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของลูก ส่งเสริมหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมตามวัย เน้นความตั้งใจทำงานของเด็กมากกว่าคุณภาพของงาน และพ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก


ดังนั้นการวางขอบเขตให้กับเด็กจำเป็นจะต้องใช้ความมั่นคงสม่ำเสมอ และเอาจริงของผู้ใหญ่ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ที่จะเดินตามกฎเกณฑ์ที่พ่อแม่ตั้งไว้ มองพ่อแม่เป็นแบบอย่างในการแสดงพฤติกรรม และรับบทบาทของพ่อแม่มาเป็นของตนเองในเวลาต่อมา ฉะนั้นบทบาทของพ่อแม่จึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการของลูกในการที่จะก้าวไปสู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจ



ข้อมูลจาก คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เสริมสร้างวินัยให้ลูกน้อย
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

5 ก.ค. 2566 เวลา 19:34 | อ่าน 214


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
155 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
295 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
323 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
378 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
388 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
719 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,388 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
75 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
94 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
779 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน