ขับรถระยะสั้นๆ เป็นประจำ แบตเสื่อมไว เสี่ยงรถพังจริงหรือ ?

10 มี.ค. 2567 เวลา 11:07 | อ่าน 912
 
ขับรถระยะสั้นๆ เป็นประจำ แบตเสื่อมไว เสี่ยงรถพังจริงหรือ


เสื่อมสภาพ

การขับรถระยะทางสั้นๆ เป็นประจำเสี่ยงต่อแบตเตอรี่เสื่อมไว ตอบเลยว่าจริงครับ เนื่องด้วยการสตาร์ตรถนั้นต้องใช้กระแสไฟจากแบตเตอรี่เป็นจำนวนมาก หากเดินทางเพียงระยะสั้นๆ แบตเตอรี่ (Battery)
การขับรถระยะทางสั้นๆ เป็นประจำเสี่ยงต่อ แบตเตอรี่เสื่อมไว ตอบเลยว่า “จริงครับ” เนื่องด้วยการสตาร์ตรถนั้นต้องใช้กระแสไฟจากแบตเตอรี่เป็นจำนวนมาก หากเดินทางเพียงระยะสั้นๆ แบตเตอรี่ (Battery) อาจจะไม่ได้รับการชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่ทดแทนที่ใช้ไปกับการสตาร์ตได้เพียงพอ ส่งผลให้แบตเตอรี่ค่อยๆ หมดประจุหรือกระแสไฟในแบตเตอรี่ค่อยๆ ลดลง

เมื่อแบตเตอรี่ไม่ได้รับการประจุไฟไว้เต็มจะเกิดกำมะถันขึ้นในแบตเตอรี่ส่งผลให้ แบตเตอรี่เสื่อมไว ก่อนเวลาอันควร ทำให้แบตเตอรี่ไม่สามารถสตาร์ตเครื่องยนต์ติดได้ จนต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่เร็วขึ้นกว่าปกติทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการที่ขับรถช่วงระยะสั้น ๆ เป็นประจำนี่เอง ครับ


ดังนั้นจึงควรขับรถอย่างน้อย ๆ ประมาณ 30 นาที หรือมากกว่าเพื่อให้มีการชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่เพื่อทดแทนที่ถูกใช้ไปในตอนที่สตาร์ตเครื่องยนต์ หากขับไม่ได้ก็ควรจะติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้เพื่อให้มีการชาร์จไฟ และที่สำคัญการเร่งเครื่องยนต์ประมาณ 1,500 -2,000 รอบ/นาที จะทำให้การชาร์จไฟได้เร็วขึ้น ใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาที หรือซื้อเครื่องชาร์จแบตเตอรี่มาชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่ก็จะช่วยยื้ออายุการใช้งานให้กับแบตเตอรี่ได้นานตามอายุการใช้งานที่ควรเป็นครับ


การดูแลรักษาแบตเตอรี่


1. ทำความสะอาดสายไฟ ทั้งบวกลบ และแบตเตอรี่ด้วยน้ำอุ่น และเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ
2. ตรวจเช็คทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ และทาด้วยวาสลีน เพื่อป้องกับคราบขี้เกลือ
3. ตรวจเช็คน้ำกลั่นสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้น้ำแห้ง
4. ไม่เติมน้ำกลั่นให้เกินกว่าขีดสูงสุด และต่ำกว่าขีดต่ำสุด
5. ตรวจวัดระดับกระแสไฟแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ

วิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้ แบตเตอรี่เสื่อมไว


1. หลีกเลี่ยงการใช้รถสำหรับการเดินทางระยะสั้นบ่อยๆ การขับรถระยะสั้นๆ บ่อยๆ จะทำให้แบตเตอรี่ (Battery) อาจไม่ได้รับการชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่ทดแทนที่ใช้ไปกับการสตาร์ตได้เพียงพอ ส่งผลให้แบตเตอรี่ค่อยๆ หมดประจุหรือกระแสไฟในแบตเตอรี่ค่อยๆ ลดลง

2. ตรวจเช็กจุดยึดแบตเตอรี่ หมั่นตรวจสอบว่าจุดยึดแบตเตอรี่ยังยึดแน่นอยู่ไหม เพราะแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์เวลารถวิ่งอาจทำให้ส่วนประกอบภายในแบตเตอรี่สั่นคลอนและเกิดการกระแทก ทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้

3. รักษาความสะอาดแบตเตอรี่อยู่เสมอ เพราะฝุ่นหรือสิ่งสกปรกต่างๆ อาจทำให้ประสิทธิภาพในการจ่ายไฟของแบตเตอรี่ไม่เต็มที่

4. หลีกเลี่ยงการจอดรถเวลาอากาศร้อนจัด เพราะความร้อนจะส่งผลกระทบกับแบตเตอรี่ทางอ้อม ซึ่งอาจทำให้ของเหลวในแบตเตอรี่ระเหยออกมาได้ เป็นต้น

5. ห้ามปล่อยให้น้ำในแบตเตอรี่แห้ง ถ้าปล่อยให้แบตเตอรี่แห้ง จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้

6. ห้ามจอดรถทิ้งไว้โดยไม่ได้ขับนานๆ ซึ่งนานในที่นี้ คือ ประมาณ 1 อาทิตย์ขึ้นไป เพราะจะทำให้ประจุไฟที่อยู่ในแบตเตอรี่หายไปได้ ฉะนั้นเมื่อได้ขับนานควรหาเวลานำรถออกมาขับเพื่อวอร์มเครื่องยนต์บ้าง


ข้อมูลจาก kmotors.co.th

10 มี.ค. 2567 เวลา 11:07 | อ่าน 912


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
 
มาใหม่
ลงทะเบียนบริการล้างแอร์ฟรี รัฐบาลเชิญชวน ปชช. ลงทะเบียนบริการล้างแอร์ฟรี ผ่านโครงการ อาชีวะล้างแอร์
6 11 พ.ค. 2567
นายกฯ สั่งการก.คลัง ดีเดย์ด่านOne stop service หนองคายทดลอง1ก.ย.นี้ลดขั้นตอนส่งสินค้าไปลาวและจีนพร้อมสั่งกรมโรงงานเร่งพิจารณาออกใบอนุญาต รง.4
29 8 พ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 5 – 11 พฤษภาคม 2567)
168 5 พ.ค. 2567
จอดพักรถ เปิดฝากระโปรงหน้า ไว้ ดีจริงเหรอ?
40 4 พ.ค. 2567
​พรุ่งนี้ดีเดย์!! 1 พฤษภาคม วันขึ้นเงินเดือนข้าราชการและ ขึ้นเงินบำนาญขั้นต่ำ
1,107 30 เม.ย. 2567
นายกฯ ชื่นชมมาตรการสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567
177 27 เม.ย. 2567
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
388 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
1,186 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
1,456 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
856 22 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน