ไฟเขียวบ้านประชารัฐ ! ปล่อยกู้คนรายได้น้อยไม่เกิน 1.5 ล้าน วงเงินรวม70,000 ล้าน

22 มี.ค. 2559 เวลา 21:10 | อ่าน 3,017
แชร์ไปยัง
L
 
ไฟเขียวบ้านประชารัฐ ! ปล่อยกู้คนรายได้น้อยไม่เกิน 1.5 ล้าน วงเงินรวม70,000 ล้าน

ครม.ไฟเขียวบ้านประชารัฐ!แบงก์รัฐจับมือปล่อยกู้คนมีรายได้น้อยให้มีบ้านเป็นหลังแรกมูลค่าไม่เกิน 1.5 ล้านบาท พร้อมให้กู้ต่อเติมได้ 5 แสนบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่วนเอกชนเข้ามาช่วยรับภาระค่าธรรมเนียมโอน จดจำนอง เชื่อมีคนสนใจเข้าร่วมกว่า 6 หมื่นราย แย้มถ้าไม่พออาจขยายเพิ่มอีก แต่ขอดูความต้องการอีกที

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา เห็นชอบกรอบการดำเนินโครงการบ้านประชารัฐ เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีรายได้น้อยทั่วประเทศ ได้มีบ้านเป็นของตัวเองหลังแรกในราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และสามารถขอสินเชื่อไปซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้านได้ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จะเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อลงไปให้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.59 เป็นต้นไป จนสิ้นสุดโครงการภายใน 2 ปี คาดว่า จะมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมาณ 60,000 ราย

สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าว มีวงเงินรวมทั้งโครงการ 70,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย โดยทั้ง 3 ธนาคารจะร่วมกันการปล่อยสินเชื่อแห่งละ 10,000 ล้านบาท รวม 30,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน มีระยะเวลาเงินกู้ไม่เกิน 2 ปี ให้เอกชนผู้ที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และการเคหะแห่งชาติ ที่เข้าร่วมโครงการฯ นำกู้เงินไปก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่สูงมากให้กับผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้ามาซื้อได้

ส่วนที่ 2 เป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดย ธอส. และธนาคารออมสิน จัดทำโครงการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนแห่งละ 20,000 ล้านบาท รวม 40,000 ล้านบาท มีระยะเวลาเงินกู้ไม่เกิน 30 ปี และผ่อนปรนการกำหนดอัตราส่วนรายจ่ายในการชำระหนี้ต่อรายได้ต่อเดือน หรืออัตราส่วนภาระผ่อนชำระหนี้รวมต่อรายได้สุทธิ แบ่งย่อยออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ปล่อยกู้ให้ผู้มีรายได้น้อยในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษสำหรับวงเงินกู้เพื่อซื้อ เช่าซื้อ และก่อสร้างที่อยู่อาศัยไม่เกิน 700,000 บาท และวงเงินสินเชื่อเพื่อซ่อมแซม หรือต่อเติมที่อยู่อาศัยวงเงินไม่เกิน 500,000 บาทต่อหน่วย ส่วนอีกลักษณะเป็นการปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน หากผู้กู้ต้องการในราคามากกว่า 700,000 บาท แต่ไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย

ขณะที่การสนับสนุนของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการนั้น เอกชนจะเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยด้วยการรับภาระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ 2% ของราคาที่อยู่อาศัย และรับภาระค่าธรรมเนียมการจำนอง 1% ของมูลค่าจำนอง เป็นระยะเวลา 2 ปี และรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลางในปีที่ 1 รวมทั้งให้ส่วนลดพิเศษไม่น้อยกว่า 2% จากราคาขายสุทธิหลังหักส่วนลดปกติด้วย

ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้กำหนดประเภทที่อยู่อาศัยทุกประเภทที่มีราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาททั่วประเทศ ทั้งที่สร้างบนที่ดินของตนเอง โครงการของเอกชน หรือโครงการที่สร้างบนที่ดินของรัฐ ครอบคลุมที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และสินทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ รวมทั้งทรัพย์รอการขายของกรมบังคับคดี และให้รวมไปถึงการซ่อมแซมและต่อเติมด้วย ซึ่งคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการนั้น เน้นประชาชนที่มีรายได้น้อย ทั้งผู้มีรายได้ประจำ เช่น ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน หรือประกอบอาชีพอิสระที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของตัวเองมาก่อน

“การดำเนินการครั้งนี้เป็นของภาคเอกชนที่จะเข้ามาร่วมเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ที่มีรายได้น้อยได้มีบ้านเป็นของตัวเอง ลดความเหลื่อมล้ำ และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการอสังหาริมทรัพย์ด้วย ซึ่งรัฐบาลเองไม่ได้เข้าไปช่วยชดเชยดอกเบี้ยอะไรให้กับธนาคาร แต่ทางธนาคารจะรับภาระที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งเป็นการคืนกำไรกลับไปให้กับประชาชน ซึ่งโครงการนี้หากไม่พอก็อาจขยายโครงการต่อแต่ต้องขอดูปริมาณความต้องการก่อนว่าจะมีมากเท่าใด ส่วนการดำเนินโครงการบ้านของกรมธนารักษ์ ตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียด คาดว่าจะเสนอได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้”

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารไม่จำกัดรายได้ผู้กู้ แต่ได้กำหนดสัดส่วนภาระผ่อนชำระหนี้รวมต่อรายได้สุทธิรวมต้องไม่เกิน 50% พร้อมทั้งกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นขั้นบันไดในช่วง 6 ปีแรก ระยะเวลาผ่อนสูงสุด 30 ปี โดยกำหนดมีอัตราดอกเบี้ยไว้ 2 วงเงิน คือ

วงเงินกู้ไม่เกิน 700,000 บาท
ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 0% เงินงวดประมาณ 3,000 บาท

ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ยคงที่ 2% เงินงวด 3,000 บาท

ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ยคงที่ 5% เงินงวด 4,000 บาท

และปีที่ 7 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ลบ 1.475% เงินงวด 7,200 บาท


วงเงินกู้ 700,000 บาทขึ้นไปจนถึง 1.5 ล้านบาท
ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ยคงที่ 3% เงินงวด 7,200 บาท

ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ยคงที่ 5% เงินงวด 8,600 บาท

และปีที่ 7 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ลบ 1.475% ถึงเอ็มอาร์อาร์ลบ 1.725% เงินงวด7,900-9,100 บาท



ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news/79676


22 มี.ค. 2559 เวลา 21:10 | อ่าน 3,017


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
 
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
135 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
208 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
247 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
355 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
370 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
694 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,378 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
74 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
93 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
759 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ

  English

TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน