5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา

12 ก.ย. 2561 เวลา 08:02 | อ่าน 2,117
แชร์ไปยัง
L
 
ในแต่ละปีมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกต้องเสียชีวิตจากการติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ‘แบคทีเรียดื้อยา’ หรือ ‘แบคทีเรียดื้อต่อยาปฏิชีวนะ’ (antibiotic resistance) ที่กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนในทั่วโลกอยู่ขณะนี้

5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา


อธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด เชื้อดื้อยาคือเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ มักทนต่อยาที่เคยยับยั้งหรือฆ่าเชื้อได้ ทำให้ไม่หายจากการติดเชื้อและมีโอกาสแพร่เชื้อดื้อยาไปสู่คนอื่นๆ โดยกลไกที่นำมาสู่การดื้อยานั้นเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะมาก/น้อยเกินไปหรือไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมหรือสังคมที่อาศัย เป็นต้น

และนี่คือ 5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดและน่าจับตามองที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา

+ ซัลโมเนลลา ไทฟิ (Salmonella typhi)
เป็นเชื้อที่พบได้ในไข้ไทรอยด์ (typhoid fever) ในแต่ละปีพบว่า มากกว่า 21 ล้านคนทั่วโรคติดเชื้อดังกล่าวและกลายเป็นสาเหตุของผู้เสียชีวิตราว 223,000 คนหรือหนึ่งเปอร์เซ็นต์จากจำนวนทั้งหมด

พฤศจิกายน 2016 (พ.ศ.2559) เชื้อดังกล่าวได้แพร่ระบาดอย่างหนักในปากีสถาน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 4 คนในจังหวัดเดียวของปากีสถานและมีผู้ติดเชื้อทั่วประเทศมากถึง 858 ราย ที่ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาได้

ความอันตรายของเชื้อซัลโมเนลลา ไทฟิที่กลายเป็นปัญหาน่ากังวลคือการที่เชื้อดังกล่าวพัฒนาตัวเองจาก Multidrug resistance (คือเชื้อที่ดื้อยาตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ได้แก่ aminoglycoside, carbapenem, cephalosporin, beta-lactam plus beta-lactamase inhibitor, quinolone) ขึ้นอีกระดับเป็น Extreme drug resistance (คือเชื้อที่ดื้อต่อยาทุกกลุ่ม ยกเว้นกลุ่ม polymyxin หรือ ยากลุ่ม glycylcycline) ซึ่งนั้นเท่ากับว่าอีกไม่นานเชื้อดังกล่าวอาจสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นสุดท้ายคือ Pandrug resistance (คือเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาทุกกลุ่ม รวมถึงยากลุ่ม polymyxin และ glycylcycline ด้วย) ได้ในอีกไม่ช้านี้[1]

+ ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis)
ได้รับสมญานามว่าเป็นนักฆ่าแห่งเชื้อดื้อยา เมื่อเป็นสาเหตุของผู้เสียชีวิตมากถึง 1.7 ล้านคนในแต่ละปี โดยความสามารถของไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส คือสามารถเข้าไปหลบซ่อนในเซลล์เราได้ ส่งผลให้ผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าวต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาที่แตกต่างกันมาก 4 กลุ่มและต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 4-6 เดือน

โดยข้อมูลจากรายงาน Global tuberculosis report ปี 2017 โดย WHO กล่าวปัญหาดังกล่าวโดยระบุว่ากลุ่มประเทศยุโรป (รวมถึงรัสเซีย) มีผู้ติดเชื้อดังกล่าวในระดับ Multidrug resistance มากถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ผู้ป่วยดังกล่าวต้องเข้าการรักษาและรับยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องมากถึง 18 -24 เดือน ทั้งยังราคาสูงและอาจสุ่มเสี่ยงต่อไตและอวัยวะอื่นๆ ตามมา

ขณะที่อีก 123 ประเทศทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อดังกล่าวในระดับ extensively drug-resistant ถึง 6 เปอร์เซ็นต์และมีอัตราการรักษาสำเร็จเพียง 30 เปอร์เซ็นต์จากในนั้นเท่านั้น

+ เคล็บซีเอลลา นิวโมเนีย (Klebsiella pneumoniae)
มักถูกพบในโรงพยาบาลมากที่สุดหรือที่รู้จักกันว่าเป็น ‘โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล’ กล่าวคือเมื่อผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอและพักฟื้นในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลจึงมีโอกาสติดเชื้อเคล็บซีเอลลา นิวโมเนียที่สุด อย่างไรก็ดี ผู้สุขภาพแข็งแรงไม่มีความเสี่ยงกับเชื้อดังกล่าว

เมื่อปี 2013 (พ.ศ.2556) พบว่าในสหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อดังกล่าวทั้งหมด 8,000 คนและมีอัตราผู้เสียชีวิตมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด และจากรายงานปี 2016 (พ.ศ.2559) ผู้ติดเชื้อเคล็บซีเอลลา นิวโมเนียดื้อยาปฏิชีวนะมากถึง 26 ชนิด [2] ส่งผลให้เชื้อดังกล่าวอยู่ในระดับ Pandrug resistance ทันที

+ ซูโดโมนาสแอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa)
เป็นเชื้อที่อยู่ในระดับสุดท้ายคือ Pandrug resistance และเป็นโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเช่นเดียวกับข้างต้นโดยซูโดโมนาสแอรูจิโนซาสามารถนำมาสู่การเปิดโรคโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในปอดและทางเดินอาหารอีกด้วย โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักได้รับยาปฏิชีวนะประเภทโคลิสติน (Colistin) ซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้ายของยาปฏิชีวินะ

ในสหรัฐอเมริกาประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อดังกล่าวมากถึง 51,000 คนและเสียชีวิตอีก 400 คนในแต่ละปีในช่วงระยะเวลาเพียง 5 ปีที่ผ่านมา

+ ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae)
เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหนองในแท้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คาดการณ์ว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อดังกล่าว 78 ล้านคน แม้โรคดังกล่าวอาจไม่ทำให้ถึงเสียชีวิตแต่ผู้ที่ติดเชื้อจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

โดย 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรียจะไม่สามารถรับยาปฏิชีวนะได้ 1 กลุ่มซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหนองในแท้พัฒนาเชื้อกลายมาเป็นซูเปอร์โกโนเรีย (Super Gonorrhea) ซึ่งอาจดื้อยามากกว่าเดิมและเป็นไปได้ว่ายังไม่มียาปฏิชีวนะใดๆ ในปัจจุบันรักษาได้

5 เชื้อดื้อยาที่ดื้อที่สุดใน 5 ปีที่ผ่านมา

ที่มา:

1.Five of the scariest antibiotic-resistantbacteria in the past five years

2.คำนิยามของประเภทเชื้อดื้อยา

3.honestdocs.co


12 ก.ย. 2561 เวลา 08:02 | อ่าน 2,117


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
42 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
929 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
57 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
55 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
450 12 เม.ย. 2567
แจ้งข่าวดี กองทุนหมู่บ้าน จับมือ ทิพยประกันภัย แจกประกันภัยอุบัติเหตุฟรีช่วงสงกรานต์ ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท
578 12 เม.ย. 2567
ธอส. ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.105% ต่อปี มอบเป็นของขวัญวันปีใหม่ไทย​ เริ่ม 14 เมษายนนี้
406 12 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 เมษายน 2567
503 8 เม.ย. 2567
สธ.จัดทีม SEhRT เฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพ-คุณภาพ แม่น้ำโขง หลังเกิดเหตุ กรดซัลฟิวริก รั่วไหลที่ลาว
80 6 เม.ย. 2567
​โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ สั่งการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ หลังคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณเที่ยวบินช่วงเทศกาลสงกรานต์ 11 – 17 เมษายน 2567 เพิ่มขึ้น 20%
84 6 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน