รู้จักกับตาเข – ตาเหล่ (Strabismus)

9 พ.ย. 2555 เวลา 08:55 | อ่าน 5,252
 
images by free.in.th

ความหมายของตาเหล่
- ตาเข ตาเหล่ คือ สภาวะที่ลูกตาทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกันและทำงานไม่ประสานกัน เมื่อเวลามองวัตถุเดียวกัน โดยผู้ป่วยจะใช้เพียงตาข้างที่ปกติจ้องวัตถุ ส่วนข้างที่เหล่อาจเบนเข้าด้านในหรือด้านนอก ขึ้นบนหรือลงล่าง

- ตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus) ตาเหล่เทียมมักพบในเด็กที่บริเวณสันจมูกยังโตไม่เต็มที่ และบริเวณหัวตากว้าง (Epicanthus) จึงแลดูคล้ายตาเหล่เข้าใน แต่โดยจริงแล้วไม่ได้ตาเหล่ เมื่อเด็กโตขึ้นดั้งจมูกสูงขึ้น ภาวะตาเหล่นี้จะหายไป


หลายสาเหตุอาการตาเหล่
- เกิดจากพันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวตาเหล่

- กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต เนื่องจากกล้ามเนื้อตาหดตัวผิดปกติ มีการอักเสบ เช่น ผู้ที่ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือประสบอุบัติเหตุ ย่อมสามารถเกิดภาวะเหล่านี้ หรืออาจเกิดจากเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อตาทำงานผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

- สายตาผิดปกติ เช่น สายตายาว เด็กจะแก้ไขให้เห็นภาพชัดขึ้น โดยการเพ่งทำให้เกิดตาเหล่เข้าใน

- มีโรคภายในลูกตา ทำให้ตาข้างนั้นเห็นไม่ชัด เช่น เป็นมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก หรือเป็นต้อกระจก โดยในเด็กมักเกิดตาเหล่เข้าใน แต่ในผู้ใหญ่มักเหล่ออกนอก

พบอาการตาเหล่ในวัยเด็ก

ควรปรึกษาจักษุแพทย์ทันที ความเข้าใจที่ว่าเด็กโตขึ้น ภาวะตาเหล่จะหายเองเป็นการเข้าใจที่ผิด ตาเหล่ในเด็กบางรายอาจซ่อนโรคที่ร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งจอประสาทตา ซึ่งควรได้รับการรักษาทันที นอกจากนั้น ตาเหล่ในเด็กอาจทำให้เกิดตาขี้เกียจ (Amblyopia) ในตาข้างที่เหล่ คือ ตาข้างที่เหล่จะมัวลง ซึ่งใช้แว่นแก้ไขแล้วไม่ดีขึ้น และตรวจไม่พบโรคทางตา เกิดจากสมองที่กำลังพัฒนาไม่ได้รับการกระตุ้นจากภาพที่ชัดในช่วงที่มี พัฒนาการ คือ แรกเกิดถึง 2 ปี ดังนั้น การรักษาตาเหล่ในเด็กในเวลาที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ตาตรงแล้ว ยังทำให้เด็กมีพัฒนาการมองเห็นภาพได้ปกติ

ตาเหล่ในช่วงผู้ใหญ่

- ในกรณีที่เป็นตั้งแต่เด็ก การรักษาผ่าตัดให้ตาตรงจะได้ประโยชน์ในแง่บุคลิกที่ดีขึ้น แต่ถ้ามีตาขี้เกียจร่วมด้วย การผ่าตัดจะไม่ทำให้การมองเห็นชัดขึ้นเนื่องจากต้องรักษามาตั้งแต่เด็กๆ
- โรคตาเหล่ที่เกิดในวัยผู้ใหญ่มักเกิดจากโรคทางสมอง ดังนั้นควรรีบพบแพทย์ทันที เมื่อมีตาเหล่ในผู้ใหญ่เพื่อหาสาเหตุ


ปรับมุมมองให้สายตา แก้ตาเข ตาเหล่
การรักษาตาเหล่มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของโรค ตาเหล่บางชนิดสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด บางชนิดรักษาโดยการผ่าตัดเท่านั้น หรืออาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน


1. การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด

การใช้แว่นสายตา ใช้รักษาในผู้ป่วยตาเหล่ที่มีสาเหตุมาจากสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่เข้า, สายตาสั้นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่ออก ให้แว่น prism ซึ่งช่วยหักเหแสงให้ตกลงพอดีที่จุดรับภาพที่จอตา

การฝึกกล้ามเนื้อตา
การรักษาด้วยยา เช่น การฉีดโบท็อกช์ (Botulinum Toxin) โดยฉีดที่กล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นอ่อนแรง มีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 2-3 เดือน
การรักษาตาขี้เกียจ (Amblyopia) ในเด็กตาเหล่ที่มีภาวะตาขี้เกียจ จำเป็นต้องรีบให้การรักษาทันที และต้องรักษาก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ เด็กอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไป มักรักษาไม่ได้ผลแล้ว ตาข้างนั้นก็จะมัวอย่างถาวร การรักษาตาขี้เกียจทำโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน ควรปิดตาอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติแต่ละรายอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน

2. การรักษาโดยการผ่าตัด

เป็นการรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา ทำให้ตาตรง และให้ผลดีทางด้านการทำงานของตาด้วย การผ่าตัดโรคตาเหล่ในเด็ก หากตรวจเช็กว่ามีภาวะโรคตาเหล่เพียงอย่างเดียว ไม่มีความผิดปกติในส่วนอื่นๆ เช่น ประสาทตาปกติดี ไม่พบภาวะตาขี้เกียจ ก่อนผ่าตัดจักษุแพทย์จะทำการตรวจเช็กมุมเหล่ของสายตา จากนั้นดมยาสลบเพื่อทำการผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ไม่เป็นอันตราย สามารถทำการผ่าตัดได้ในเด็กเล็ก การผ่าตัดรักษาโรคตาเหล่ในเด็ก นอกจากจะช่วยให้ตาตรง กลับมาสวยงาม ยังช่วยทำให้การมองเห็นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในกรณีที่เป็นโรคตาเหล่ตั้งแต่เด็ก และถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจนถึงวัยผู้ใหญ่นั้น การผ่าตัดจะช่วยทำให้ตาตรงกลับเป็นปกติ แต่ไม่ช่วยเรื่องการมองเห็นที่ดีขึ้น

ประโยชน์ที่ได้หลังเข้ารับการรักษา
- รักษาเพื่อทำให้ตาดูตรงเป็นปกติ สวยงาม มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
- รักษาเพื่อการมองเห็นทำให้ประสิทธิภาพการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างดีขึ้น สามารถมองเห็นภาพ 3 มิติ

การดูแลหลังการผ่าตัด
- แพทย์จะปิดตาข้างที่ผ่าไว้ 1 วัน จากนั้นจึงเปิดใช้สายตาได้ตามปกติ สำหรับเด็กเล็กเวลานอนจะใช้ที่ครอบตาปิดเพื่อกันเด็กขยี้ตา ในช่วงสัปดาห์แรกควรหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำเข้าตา อาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้
- การผ่าตัดแทบจะไม่เห็นแผลเป็นหรือร่องรอยเลย
- ควรหมั่นพบแพทย์ตามนัด เพื่อดูอาการว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

หลายคนเข้าใจว่าโรคตาเหล่ในเด็กสามารถหายได้เอง เมื่อเด็กโตขึ้น แต่ความจริงแล้วโรคตาเหล่ไม่สามารถหายได้เอง การที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในระยะเวลาที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เสียประสิทธิภาพในการมองเห็นได้อย่างถาวร ภาวะตาขี้เกียจสามารถรักษาได้หากพบอาการแต่เนิ่นๆ ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมในการมองเห็นของบุตรหลานหรือพาไปตรวจเช็กสายตากับ จักษุแพทย์ก่อนวัยเข้าเรียนก็จะช่วยป้องกันปัญหาได้อีกทางหนึ่ง


ข้อมูล/ภาพ Laser Vision International LASIK Center
www.laservisionthai.com
ข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์ www.thairath.co.th โดย ไทยรัฐออนไลน์
6 พฤศจิกายน 2555, 14:00 น.


9 พ.ย. 2555 เวลา 08:55 | อ่าน 5,252


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
คารม แนะนำประชาชนดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”แอปที่รวบรวมบริการของภาครัฐไว้มากที่สุดกว่า 83 บริการ สะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลา
0 27 ก.ค. 2567
พิเศษ! เฉพาะคนอยากมีคอนโดมิเนียม! ธอส. นำทรัพย์เด่นกว่า 700 รายการ ลดสูงสุด 50% จัดงานประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ประจำเดือนกรกฎาคม วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567
22 24 ก.ค. 2567
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โครงการเพื่อประชาชน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ววันนี้
121 24 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2567
33 22 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 14-20 กรกฎาคม 2567
640 14 ก.ค. 2567
โฆษก มท. เผย มหาดไทยเตรียมออกประกาศยกเว้นวีซ่า 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศเริ่ม 15 ก.ค. 67 พร้อมปรับปรุงแนวทางตรวจลงตราให้ยืดหยุ่น หนุนไทยแข่งดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก
76 12 ก.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถ ปี 2567
747 12 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567
171 7 ก.ค. 2567
โรคที่มากับหน้าฝน
161 4 ก.ค. 2567
การนั่งดูโทรทัศน์นาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
150 4 ก.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน