กฎหมายเลือกตั้ง

9 ต.ค. 2555 เวลา 11:26 | อ่าน 19,827
 
images by free.in.th
กฎหมายเลือกตั้ง

1. ความหมายของการเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง คือ การที่ราษฎรใช้สิทธิของตนเองลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทน เพื่อทำหน้าที่แทนตนในการปกครองแต่ละระดับของประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด เป็นต้นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยนั้นต้องเป็นการเลือกตั้งโดยเสรี กล่าวคือ ต้องเปิดกว้าง
ให้อิสระในการตัดสินใจทั้งในแง่ของผู้สมัครและผู้ออกเสียง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปโดยบริสุทธิ์และยุติธรรม
ไม่มีการชี้นำหรือบังคับให้เลือก

2. ความสำคัญของการเลือกตั้ง
ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศ แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนทุกคนจะทำหน้าที่ปกครองประเทศพร้อม ๆ กัน จึงมีความจำเป็นต้องเลือกผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่แทนตน และประชาชนสามารถเปลี่ยนผู้แทนซึ่งใช้อำนาจแทนตนได้ โดยเลือกผู้ที่ตนเห็นว่าประโยชน์แก่ส่วนรวมตามแนวทางที่ตนต้องการ โดยพิจารณาจากนโยบายของผู้สมัครหรือพรรคของผู้สมัคร

3. การเลือกตั้งผู้แทนในระดับต่าง ๆ
การเลือกตั้งในประเทศไทยมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน กล่าวคือ
3.1 ระดับหมู่บ้าน คือ การเลือกผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้านและสมาชิกสภาท้องถิ่น
3.2 ระดับตำบล คือ กำนัน ผู้บริหารท้องถิ่น
3.3 ระดับอำเภอ คือ สมาชิกสภาเทศบาลและสมาชิกสภาเมืองพัทยา
3.4 ระดับจังหวัด คือ สมาชิกสภาจังหวัด และการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ ซึ่งได้แก่
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การเลือกตั้งสมาชิกสภา กทม. และการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
3.5 ระดับชาติ คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, สมาชิกวุฒิสภา

4. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
4.1 คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สส. สว.
4.1.1 มีสัญชาติไทย แต่บุคคลที่มีสัญชาติไทย โดยการเปลี่ยนแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
4.1.2 มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
4.1.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
4.2 คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
4.2.1 มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.2.2 มีอายุไม่ต่ำสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
4.2.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง
4.2.4 คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองกำหนดในกรณีที่มีการย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่ง ไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกันอันทำให้บุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันเลือกตั้ง ให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
4.3 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สส.
4.3.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
4.3.2 มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
4.3.3 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เว้นแต่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา
4.3.4 เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
4.3.5 ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับสมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
(3) เป็นบุคคลที่เกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา
(5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี
4.4 คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับสมัครเลือกตั้ง สว.
4.4.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
4.4.2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
4.4.3 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4.4.4 มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 107 (5)
4.5 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น
4.5.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
4.5.2 มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้งการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.5.3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
4.5.4 คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
4.6 คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่น
4.6.1 กรณีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการหรือที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสีย
ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
4.6.2 นายกเทศมนตรี
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นรองผู้บริหารท้องถิ่น หรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการของผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
(4) เคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งถูกให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
4.6.3 นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบล สมาชิก
สภาท้องถิ่นคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือเลขานุการ หรือที่ปรึกษาของผู้บริหารท้องถิ่นเพราะเหตุที่มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้งวิธีการเลือกตั้งในระดับหมู่บ้านอาจทำได้ทั้งวิธีลงคะแนนลับและเปิดเผย การเลือกตั้งในระดับอื่น ๆ จะใช้วิธีลับ ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ คือ จะต้องมีการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หากไม่มีชื่อหรือชื่อผิดพลาด หรือมีชื่อบุคคลที่ไม่รู้จักในบ้านของตน ก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้ถูกต้อง ที่สำคัญบัตรประจำตัวประชาชนต้องเก็บไว้กับตัว อย่าให้ใครยืมหรือทำหายเป็นอันขาดการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5. การใช้ดุลพินิจในการเลือกตั้ง

1) ในการเลือกตั้งต้องคอยติดตามประวัติและข่าวคราวเกี่ยวกับผู้สมัครอยู่เสมอ
2) ตรวจดูว่ามีสิทธิ์เลือกผู้แทนได้กี่คน
3) จำหมายเลขผู้สมัครที่ต้องการเลือกให้ได้ เมื่อรับบัตรเลือกตั้งแล้วเดินเข้าคูหา
4) ทำเครื่องหมาย X (กากบาท) ในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งให้ตรงเครื่องหมาย(หมายเลข) ของผู้สมัคร
5) พับบัตรเลือกตั้งให้กรรมการหย่อนลงในหีบบัตรต่อหน้าตนเอง
ข้อสำคัญต้องเลือกคนที่มีความจริงใจและเสียสละเพื่อส่วนร่วมมีความรู้ความสามารถและมีอาชีพสุจริตเป็นหลักเป็นแหล่งแน่นอนไม่ควรเลือกผู้ที่มีเบื้องหลังไม่สุจริต และซื้อขายเสียง
6. ผลเสียของการซื้อขายเสียง
สำหรับการซื้อขายเสียง นับเป็นอันตรายอย่างยิ่งของการเลือกตั้งในทุกระดับ เพราะไม่ได้หวังที่จะเข้ามาเพื่อช่วยสังคมส่วนร่วมอย่างจริงใจ เป็นเพียงทางผ่าน และผลประโยชน์ของตนหรือเข้ามาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ตามวิถีทางของเขา โดยไม่สนใจผลประโยชน์ของชาติและประชาชน คนเหล่านี้จะไม่เห็นใครสำคัญกว่าตนเอง และประโยชน์ของตน ซึ่งไม่ควรจะให้มีโอกาสเข้าจัดการผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างเด็ดขาด

7. การป้องกันการซื้อขายเสียง
หนทางป้องกันการซื้อขายเสียง ก็อยู่ที่ประชาชนที่จะต้องคำนึงอยู่เสมอว่าอำนาจของประชาชนเป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ จะซื้อขายกันไม่ได้และช่วยกันโดย
7.1 ไม่รับเงินหรือสิ่งแลกเปลี่ยน
7.2 ต่อต้านการซื้อเสียงทุกชนิดในการเลือกตั้งทุกระดับ
7.3 ถ้าพบเห็นการซื้อขายเสียงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีและช่วยเป็นพยานให้กับทางเจ้าหน้าที่
7.4 แนะนำคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านให้เห็นภัยของการซื้อขายเสียงและร่วมกันรณรงค์ต่อต้าน
7.5 ชักชวนกันไปใช้สิทธิให้มาก ๆ

8. การรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
การรณรงค์ให้ประชาชนเลือกตั้งให้ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะช่วยสังคม โดยชี้ให้เห็น
ความสำคัญของการเลือกตั้ง แต่การรณรงค์ไม่จำเป็นต้องรณรงค์เฉพาะช่วงที่จะมีการเลือกตั้งเท่านั้น แต่สามารถทำได้ในทุกโอกาส เช่น
1) การติดตามข่าวสารของผู้แทนมาเผยแพร่แก่ประชาชน
2) การติดตามพฤติกรรม แนวความคิด และการตัดสินใจของผู้แทนที่มีต่อนโยบายสาธารณะมาเผยแพร่
3) การจับกลุ่มสนทนาปัญหาของบ้านเมืองการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) ชม/ฟังการถ่ายทอดเสียงการประชุมสภาฯ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเรื่องการเลือกตั้งเป็นสิ่งใกล้ตัว มีผลกระทบกับประชาชนโดยตรง

9. ประชาชนควรทำอย่างไรเมื่อมีการเลือกตั้ง

การใช้ดุลพินิจในการเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งสำคัญเราคงจะเลือกโดยเห็นแก่พรรคพวกหรือเกรงใจเพราะเป็นคนรู้จักกันหรือมีคนมาขอร้องให้เลือกไม่ได้อีกแล้ว และโดยเฉพาะการเลือกตั้งที่เห็นแก่อามิสสินจ้างเป็นการกระทำที่เลวร้าย ประชาชนจึงควรพิจารณาให้ถ่องแท้โดย
9.1 พิจารณานโยบาย/จุดยืนของพรรคว่าเป็นไปตามแนวทางที่เราต้องการหรือไม่
9.2 พิจารณาตัวบุคคลผู้สมัคร โดยดูประวัติความเป็นมาว่า เป็นคนดีมีจุดยืนเคียงข้าง
ประชาชนและสังคมส่วนรวมหรือไม่
9.3 พิจารณาถึงบทบาทในทางสังคมและด้านต่าง ๆ ของผู้สมัครและพรรคที่สังกัดอย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเลือกตั้งทุกคนต้องปฏิบัติในหน้าที่ของพลเมือง 4 ประการ คือ
(1) ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกครั้ง
(2) ชักชวนคนอื่นไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยอิสระ
(3) สอดส่องดูแลไม่ให้มีการโกงเลือกตั้ง
(4) หากรู้เห็นว่ามีการโกงเลือกตั้งหรือซื้อขายเสียงให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

10. หากประชาชนไม่ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจะเสียสิทธิดังต่อไปนี้ในการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 หรือแจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควรให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้ตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญให้ผู้นั้นเสียสิทธิดังต่อไปนี้
10.1 กรณี ส.ส. สว.
10.1.1 สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น
10.1.2 สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
10.1.3 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
10.1.4 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
10.1.5 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
10.1.6 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตาม
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
10.1.7 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคล ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
10.1.8 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น การเสียสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
10.2 กรณีไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นจะเสียสิทธิ ดังนี้
10.2.1 สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
10.2.3 สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะ
ปกครองท้องที่
10.2.3 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
10.2.4 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
10.2.5 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตาม
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
10.2.6 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
images by free.in.th
ข้อมูลจาก http://fahstudentland.blogspot.com


9 ต.ค. 2555 เวลา 11:26 | อ่าน 19,827


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 8-14 กันยายน 2567
55 9 ก.ย. 2567
คำไทยน่ารู้ ความหมายของคำว่า เกษียณ เกษียร เกษียน ใช้อย่างไร
31 4 ก.ย. 2567
เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร อายุ 0-6 ปี จาก 800 บาท เป็น 1,000 บาท
234 1 ก.ย. 2567
ดีอี เตือน ข่าวปลอม “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อผ่านบัญชี TikTok” พบ “โจรออนไลน์” เปิด 4 บัญชีปลอม ลวงดึงข้อมูล -ดูดเงิน ปชช.
69 1 ก.ย. 2567
ลมยางควรเติมบ่อยแค่ไหน เติมเท่าไหร่ดี
47 1 ก.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 กันยายน 2567
508 1 ก.ย. 2567
บัตรทอง “ทำฟันฟรี” แค่มีบัตรประชาชนใบเดียว
88 31 ส.ค. 2567
วัยเก๋าไม่โดนลวง สื่อสุขภาพแบบดิจิตอล เข้าถึงเพียงปลายนิ้ว ต้องรู้ให้เท่าทัน
67 31 ส.ค. 2567
สัญญาณเตือนของภาวะสมองเสื่อมระยะแรก
76 31 ส.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 25-31 สิงหาคม 2567
794 25 ส.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน