ความเป็นมา
ในสมัยก่อนระบบราชการของไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ ( Patronage System) ซง David E.Hussey กล่าวไว้ในหนังสอชื่อ Corporate Planning
Theory and Practice หน้า 124 ว่า ระบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นในประเทศจีนโบราณ มีวิธีปฏิบัติกัน 3 แบบ คือ
1. สืบสายโลหิต-บิดา-บุตร
2. แลกเปลียนสิ่งของแลกตําแหน่ง
3. สนับสนุนผู้รับใช้ใกล้ชิด ให้ได้ตําแหน่งโดยที่ไทยได้มีความสัมพันธ์กับจีนมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 1825 กุบไลข่านจักรพรรดิ์ของจีนได้สงทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับพ่อขุนรามคําแหงมหาราช และพระองค์เองก็ได้เสด็จ
ประพาสเมืองจีนถึง 2 ครั้ง คือใน ปี พ.ศ. 1837 และพ.ศ. 1843 จึงน่าจะได้รับวัฒนธรรมระบบราชการมาจากจีน เพราะมีรูปแบบแห่งการปฏิบัติที่คล้ายคลึง
กัน ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา (ตอนต้น) ได้ทรงปรับปรุงการปกครองเป็นแบบจัตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ก็ได้ใชระบบอุปถัมภ์ในราชการมาโดยตลอดเชนเดียวกัน และระบบนี้ได้หยั่งรากลึกลงในสังคมไทยจนกระทังถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสนทร์ จึงได้ทรงวางรากฐานการเข้ารับราชการตามระบบคุณธรรมคือมีการสอบแข่งขันตามหลักสูตรที่กําหนดไว้ระบบอุปถัมภ์ ไม่มีระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่แน่นอน จะรับใครเข ้าทํางานถือเอาความใกล้ชิด หรือพรรคพวกเป็นหลัก จึงมีชื่อเรียกระบบนี้อีกอย่างหนึ่งว่า “ระบบพรรคพวก” ซึ่งเป็นผลให้การบริหารราชการไม่มีประสทธิภาพ เพราะว่าการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการคํานึงถึงความเป็นพรรคพวกเป็นสําคัญ มิได้คํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคลสวนราชการต่างๆ จึงเต็มไปด้วยข้าราชการที่ไม่มีความรู้ความสามารถ เพื่อแก ้ปัญหานี้จึงได้มีการนํา “ระบบคุณธรรม” (Merit System) มาใช ้ระบบคุณธรรมจึงเข้ามามีบทบาทในการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ เพราะระบบนี้ถือหลักความเสมอภาคแห่งโอกาส หลักความสามารถ หลักความมั่นคง และหลักความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสงคม ระบบคุณธรรมยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
องค์การกลางบริหารงานบุคคล
องค์การกลางบริหารงานบุคคล คือ คณะกรรมการบริหาร (ไม่ใชนิติบุคคล) จํานวนหนึ่งซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามวาระที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยองค์การ
นั้น ๆ โดยเฉาะ คณะกรรมการดังกล่าวมักจะประกอบด้วยบุคคล 3 ประเภท คือ กรรมการโดยตําแหน่งกรรมการที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจระดับบริหาร และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ เชน ด้านระบบราชการและการจัดส่วนราชการ ด้านการพัฒนาองค์การ ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านกฎหมาย โดยมีสัดสวนและจํานวนอันเหมาะสม มีประธาน คณะกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่น ๆ ทั่ง สามประเภทดังกล่าว องค์การกลางบริหารงานบุคคลเหล่านี้จะจัดตั้งขึ้นได้ก็โดยกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวง/ทบวง รองรับเท่านั้น และกําหนดอํานาจหน้าที่ขององค์การนั้นไว้เป็นการเฉพาะ หรือมีกําหนดไว้ในกฎหมายอื่น ๆ ก็ได้ อํานาจหน้าที่ขององค์การแต่ละองค์การจะคล้ายคลึงกันในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี คือ
1. เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีที่กําหนดไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารการจัดการ มาตรฐานการบริหาร การปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้านการผลิต การบริหาร การพัฒนา การป้องกันรักษาและสงเสริม ฯลฯ
2. กําหนดนโยบายด้านกําลังคน การสรรหา รักษา พัฒนา และเกษียณอายุจากหน้าที่การ
งาน ออกกฎข ้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติตามกฎหมาย (หลัก) เพื่อแก ้ปัญหาต่าง ๆ
3. ตีความ วินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใชกฎหมายนั้น ๆ
4. กํากับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนํา ชี้แจง ให้แนวทาง เพื่อให้หน่วยงานภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายเดียวกันปฏิบัติให้ถูกต้อง
5. รายงานรัฐบาล หรือนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจเมื่อหน่วยงานใดไม่ปฏิบัติ
ตาม เพื่อให้ผู้ที่มีอํานาจสูงสุดสงการให้ปฏิบัติตาม
รายชื่อองค์การกลางบริหารงานบุคคลในประเทศไทย
(ยกเว้นข้าราชการการเมืองและข้าราชการทหาร) เรียงตามลําดับการจัดตั้งก่อนหลัง
(chronological order) มีดังนี้
1. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เรียกชื่อย่อว่า ก.พ. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการรักษาพระราชบัญญัติ พ.ศ.2472 เดิมเรียกว่า ก.ร.พ. เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการข ้าราชการพลเรือน พ.ศ.2476
2. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
เรียกชื่อย่อว่า ก.พ.ร. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545
3. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
เรียกชื่อย่อว่า ก.พ.ค. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติระเบียบข ้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
4. คณะกรรมการตุลาการ
เรียกชื่อย่อว่า ก.ต. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ.2477 แก ้ไขปรับปรุงโดยพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงเรื่องข้าราชการฝ่ายตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม พ.ศ.2497
5. คณะกรรมการอัยการ
เรียกชื่อย่อว่า ก.อ. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503 และ กฎกระทรวง พ.ศ.2521
6. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
เรียกชื่อย่าว่า ก.ม. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติระเบียบ มหาวิทยาลัย ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 และกฎทบวง
7. คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
เรียกชอย่อว่า ก.ก. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518
8. คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรียกชื่อย่อว่า ก.ร. จัดตั้งขึEนโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 และกฎ ก.ร.
9. คณะกรรมการข้าราชการตํารวจ
เรียกชื่อย่อว่า ก.ตร. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตํารวจ พ.ศ. 2521 และกฎกระทรวง
10. คณะกรรมการข้าราชการครู
เรียกชื่อย่อว่า ก.ค. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523
11. คณะกรรมการบริหารเมืองพัทยา
จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 ซงองค์การบริหารประกอบด้วยสภาเมืองพัทยาและปลัดเมืองพัทยา
12. คณะกรรมการข้าราชการสวนจังหวัด
เรียกชื่อย่อว่า ก.จ. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 และพระราชกฤษฎีการะเบียบข ้าราชการครูสวนจังหวัด พ.ศ. 2521
13. คณะกรรมการพนักงานสุขาภิบาล
เรียกชื่อย่อว่า ก.ส. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ
สุขาภิบาล พ.ศ.2495 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบพนักงานสุขาภิบาล พ.ศ.2520
14. คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
เรียกชื่อย่อว่า ก.ท. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชกฤษฎีการะเบียบพนักงานเทศบาล พ.ศ. 2519
---------------------------------
ข้อมูลจาก ก.พ.