โรคลมหลับ (Narcolepsy) เป็นโรคความผิดปกติของการนอนหลับชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตลอดชีวิต

25 ส.ค. 2563 เวลา 07:26 | อ่าน 710
แชร์ไปยัง
L
 

มีผู้ที่เป็นโรคนี้ประมาณ 1 ใน 2,000 คน ผมพบด้วยตัวเอง 4 คน สาเหตุยังไม่ทราบ โรคลมหลับ อันตรายถ้าไม่ได้รับการรักษา


โรคลมหลับ (Narcolepsy)

ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 19 ปีเพิ่งประสบอุบัติเหตุจากหลับในครั้งแรกเมื่อ 5 เดือนก่อน วันนั้นกำลังขับรถกลับบ้าน อยู่ๆง่วงมาก เผลอหลับ รถวิ่งข้ามเกาะกลาง ชนกับรถเเท็กชี่ก่อน แล้วเสียหลักชนร้านก๋วยเตี๋ยวอย่างแรง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย แต่เคราะห์ดีที่ไม่มีใครเสียชีวิต และผู้ป่วยไม่เป็นอะไร (ดูรูป)
ผู้ป่วยมีประวัติง่วงมากผิดปกติ เริ่มตั้งแต่เด็กอายุ 7-8 ขวบ ตอนเรียนชั้นประถม คุณครูเคยถามคุณพ่อคุณแม่ว่า อดนอนหรือเปล่า ทำไมนั่งงีบหลับในห้องเรียนทุกชั่วโมง ผู้ป่วยนอนหลับเพียงพอ นอนเต็มอิ่ม แต่ตื่นขึ้นมาก็ไม่สดชื่นยังง่วง ต้องเผลอหลับทุกวัน ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่กินยาประจำ ตรวจร่างกายปกติ ไม่อ้วน ทำคอมพิวเตอร์สมองปกติ เข้ารับการตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการการนอนหลับในโรงพยาบาล ไม่พบโรคนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ พบคลื่นสมองเปลี่ยนเป็นหลับฝัน (REM sleep) 1 นาทีหลังจากเริ่มหลับ คนปกติคลื่นสมองจะเปลี่ยนเป็นหลับฝันต้องใช้เวลาประมาณ 90 นาที
หลังจากที่ผู้ป่วยนอนหลับเต็มอิ่มแล้วเช้าวันรุ่งขึ้นทำการตรวจการนอนหลับตอนกลางวันเป็นช่วงๆในห้องปฏิบัติการ (Multiple sleep latency test)โดยให้ผู้ป่วยพยายามงีบหลับทุก 2 ชั่วโมง 5 รอบตั้งแต่เช้าถึงบ่าย ถ้าหลับจะอนุญาตให้งีบหลับได้เพียง 15 นาทีแล้วถูกปลุกให้ตื่น ขณะงีบหลับมีการตรวจคลื่นสมอง คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ และการกลอกตา ผู้ป่วยหลับง่ายได้ทั้ง 5 รอบ ใช้เวลาไม่ถึง 4 นาทีจากดับไฟจนกระทั่งเริ่มหลับ และคลื่นสมองเปลี่ยนเป็นหลับฝัน (REM sleep) 3 รอบในเวลาไม่ถึง 3 นาที ซึ่งถือว่าผิดปกติ เข้าได้กับโรคลมหลับ


โรคลมหลับ (Narcolepsy)

โรคลมหลับไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การใช้ยาบางชนิดสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ ยารักษาโรคลมหลับที่ใช้ทั่วไป ได้แก่ ยากระตุ้นให้ตื่น เช่น โมดาฟินิล (Modafinil) มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมหลับตื่นในเวลากลางวัน หลังกินยากระตุ้นให้ตื่นทุกวันตอนเช้า อาการง่วงนอนจะดีขึ้น ไม่หลับง่ายเหมือนแต่ก่อน เน้นห้ามขับขี่ กรมการขนส่งทางบกต้องบรรจุโรคลมหลับเป็นอีก 1 โรคที่ห้ามขับขี่ถ้ายังไม่ได้รับการรักษา เพราะอันตรายต่อทั้งคนขับและผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน


หลับในเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคนอเมริกันจากอุบัติเหตุทางถนนถึงร้อยละ 21 สำหรับคนไทยผมเชื่อว่าหลับในเป็นสาเหตุการตายมากถึงร้อยละ 30 ของอุบัติเหตุจราจร หรือกว่า 6 พันคนต่อปี แต่ถูกมองข้าม สาเหตุหลักของหลับในเกิดจากนอนหลับไม่เพียงพอ สาเหตุรองเกิดจากกินยาที่ทำให้ง่วงเช่นยาแก้แพ้ แก้หวัด รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ แต่ถ้านอนพอเพียงแล้วยังง่วง ส่วนใหญ่เกิดจากโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ ส่วนน้อยเกิดจากโรคลมหลับ
ช่วยกันเตือนคนที่เรารัก ง่วงรีบจอด ฝืนขับ อาจหลับใน



ข้อมูลจาก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC

25 ส.ค. 2563 เวลา 07:26 | อ่าน 710


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
207 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
197 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
467 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,263 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
66 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
78 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
590 12 เม.ย. 2567
แจ้งข่าวดี กองทุนหมู่บ้าน จับมือ ทิพยประกันภัย แจกประกันภัยอุบัติเหตุฟรีช่วงสงกรานต์ ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท
773 12 เม.ย. 2567
ธอส. ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.105% ต่อปี มอบเป็นของขวัญวันปีใหม่ไทย​ เริ่ม 14 เมษายนนี้
417 12 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 เมษายน 2567
532 8 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน