การดูแลผู้สูงอายุในช่วง COVID-19

13 ก.ย. 2563 เวลา 09:16 | อ่าน 766
 
การดูแลผู้สูงอายุในช่วง COVID-19

อาการของโรคโควิด-19 (COVID-19)

• เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน
• ส่วนมากเริ่มมีอาการหลังการได้รับเชื้อ 2-7 วัน
• อาการ

- ไข้ (อุณหภูมิกายวัดทางปากตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ผู้สูงอายุที่เปราะบางอาจใช้เกณฑ์ 37.2 องศาเซลเซียส แต่โดยทั่วไปมักวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัลทางช่องหูใช้เกณฑ์ 38 องศาเซลเซียสหรือบริเวณหน้าผาก ใช้เกณฑ์ 37.2 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอาจไม่มีไข้ได้ครึ่งหนึ่งในคนที่ติดเชื้อในช่วงแรก)
- อาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ หอบเหนื่อย
- อ่อนเพลีย ปวดศีรษะหรือปวดเมื่อยตามตัว
- ส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 80 หายได้เอง
- ส่วนน้อยต้องรับไว้รักษาตัวในไอซียู ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร้อยละ 2-3 และเสียชีวิตร้อยละ 1-2
- ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคร่วม เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคปอด เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงกว่า
• ร้อยละ 10-30 อาจต้องรับไว้รักษาตัวในไอซียู
• อัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 4-11 ในผู้ที่อายุ 65-84 ปี และร้อยละ 10-27 ในผู้ที่อายุ 85 ปีขึ้นไป
- ผู้สูงอายุอาจมีอาการที่ไม่ตรงไปตรงมาเมื่อมีความเจ็บป่วย ข้อสังเกตคือ
1. อ่อนเพลีย
2. ซึมลง
3. สับสนเฉียบพลัน
4. เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้
5. ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว

การดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุทั่วไปในช่วงระบาดของโรคโควิด 19


1. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่ที่มีคนแออัด รักษาระยะห่าง (social distancing)
จากผู้ที่ติดเชื้อ 2 เมตร หรือราว 2 ช่วงแขน
2. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
• รับประทานยาประจำตัวให้สม่ำเสมอ
• 4 อ. คือ อาหาร ออกกำลัง เอนกายพักผ่อน ออกห่างสังคมแออัด
3. ปิดปากปิดจมูกเวลาไอจาม
4. สวมหน้ากากอนามัย ในกรณี
• มีอาการไข้หวัด ไอจาม
• อยู่ในที่ที่มีคนแออัด
• ไปโรงพยาบาลหรือสถานที่เสี่ยงหรือใกล้ชิดผู้ที่เสี่ยง
5. ไม่เอามือสัมผัสหน้า จมูก ปาก
6. ทำความสะอาดมือบ่อย ๆ โดย
• ล้างมือด้วยสบู่ อย่างน้อยฟอกให้ทั่วมือเป็นเวลา 20 วินาที โดยเฉพาะตามง่ามมือ ซอกเล็บและเส้นลายมือ
ที่มักจะฟอกไม่สะอาด และทำให้มือแห้ง 10 วินาที
• อาจใช้แอลกอฮอล์เจล ที่มีแอลกอฮอล์ 70% โดยควรสังเกตวันหมดอายุ และหากเปิดทิ้งไว้นาน แอลกอฮอล์จะระเหยทำให้เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ลดลง
7. ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านให้บ่อยขึ้น เนื่องจากเชื้อไวรัสอยู่บนพื้นผิวได้นานหลายวัน
8. ผ่อนคลายความเครียด
9. หากควบคุมโรคประจำตัวได้ดี อาจขออนุญาตแพทย์ที่ดูแล รับยาและเลื่อนนัดหมายให้นานกว่าปกติ
ลดการไปโรงพยาบาล
10. การใช้สื่อและข้อมูลข่าวสาร
• รับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้
• ไม่แชร์ โพสต์ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
• ลดการเสพข้อมูล
• ส่งความรู้สึกที่ดี ช่วยเหลือดูแลกันในสังคม มากกว่าการวิพากษ์วิจารณ์กล่าวโทษหาคนผิดในสังคมออนไลน์
11. ช่วงที่ป่วย
• รีบไปพบแพทย์ หรือโทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
• แยกตัวจากผู้อื่น
• หากมีไข้ที่เกิดจากโควิด 19 ไม่ควรใช้ยา ibuprofen (ไอบูโพรเฟ่น) ในการลดไข้ ให้ใช้พาราเซตามอล
• ระวังการหกล้ม สับสน กินได้น้อย

โควิด-19 กับผู้ป่วยสมองเสื่อม


ภาวะสมองเสื่อมไม่ได้สัมพันธ์กับโควิด-19 โดยตรง แต่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยสมองเสื่อม ดังนี้

• ผลของการจัดสภาพแวดล้อมให้แยกห่างจากผู้อื่น
o รู้สึกไม่ปลอดภัย
o เหงา เบื่อ
o นอนไม่หลับ
o วิตกกังวล
o หงุดหงิด ก้าวร้าว
• ผลจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยตรง
o กังวล
o กระสับกระส่าย
o ซึม
o ความสามารถในการประกอบกิจวัตรช่วยเหลือตนเองถดถอย
o กินไม่ได้
• ผลต่อผู้ดูแลผู้ป่วย
o เครียด วิตก กังวลทั้งต่อสุขภาพของตนเอง และของผู้ป่วย
o แพนิค
o เหนื่อยล้า หมดไฟ (burn-out) รู้สึกขาดการช่วยเหลือ
o เกิดประเด็นขัดแย้งกับผู้ป่วยมากขึ้น

การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19


1. เฝ้าระวังอาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ซึมหรือไม่นอน เพ้อสับสน เห็นภาพหลอน เป็นต้น
2. ผู้สูงอายุที่มีสมองเสื่อมอาจมีความสามารถในการดูแลความสะอาด สุขอนามัยส่วนตัวลดลง อาจจะหลงลืม
การล้างมือ แนะนำให้มีป้ายเตือนให้ล้างมือไว้ภายในบริเวณอ่างล้างมือที่บ้าน และให้ผู้ดูแลช่วยสาธิตการล้างมือไปพร้อมกัน
3. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยหยิบจับบ่อย ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่แออัด
5. หากต้องจำกัดให้อยู่ในบ้าน ควรให้ได้ทำกิจกรรม งานอดิเรกต่างๆ และออกกำลังกาย
6. วางแผนหาผู้ดูแลสำรองในกรณีผู้ดูแลเจ็บป่วย
7. หากผู้ดูแล มีอาการสงสัยโรคโควิด-19 ควรแยกจากผู้ป่วยและเปลี่ยนผู้ดูแลได้ทันที
8. หากอาการคงที่ อาจขออนุญาตแพทย์ที่ดูแล รับยาและเลื่อนนัดหมายให้นานกว่าปกติเพื่อลดการไปโรงพยาบาล


ศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุระดับชาติ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

13 ก.ย. 2563 เวลา 09:16 | อ่าน 766


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
พิเศษ! เฉพาะคนอยากมีคอนโดมิเนียม! ธอส. นำทรัพย์เด่นกว่า 700 รายการ ลดสูงสุด 50% จัดงานประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ประจำเดือนกรกฎาคม วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567
22 24 ก.ค. 2567
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โครงการเพื่อประชาชน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ววันนี้
121 24 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2567
33 22 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 14-20 กรกฎาคม 2567
630 14 ก.ค. 2567
โฆษก มท. เผย มหาดไทยเตรียมออกประกาศยกเว้นวีซ่า 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศเริ่ม 15 ก.ค. 67 พร้อมปรับปรุงแนวทางตรวจลงตราให้ยืดหยุ่น หนุนไทยแข่งดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก
76 12 ก.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถ ปี 2567
730 12 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567
171 7 ก.ค. 2567
โรคที่มากับหน้าฝน
161 4 ก.ค. 2567
การนั่งดูโทรทัศน์นาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
150 4 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567
760 30 มิ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน