สธ.ศึกษาการลดจำนวนวันกักตัวผู้เดินทาง เตรียมเสนอ ศบค. ประเทศต้องปลอดภัย

17 ต.ค. 2563 เวลา 18:17 | อ่าน 446
แชร์ไปยัง
L
 
ผลการศึกษาการลดวันกักตัวจาก 14 วันเหลือ 10 วัน

กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการศึกษาการลดวันกักตัวจาก 14 วันเหลือ 10 วัน ความเสี่ยงไม่แตกต่างกันวางแผนดำเนินการในกลุ่มประเทศที่มีอัตราติดโควิด 19 ต่ำ และเพิ่มมาตรการความปลอดภัย ทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระบบติดตามตัว และการประเมินผล ยืนยันดำเนินการเป็นขั้นตอน คำนึงความปลอดภัยประชาชนเป็นหลัก ขณะนี้ยังไม่มีการลดจำนวนวันกักตัว เตรียมเสนอ ศบค.พิจารณา พบบางประเทศมีการกักตัวเหลือ 7 วัน


วันนี้ (16 ตุลาคม 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป แถลงข่าวเรื่องการลดระยะเวลากักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศไทย


นายแพทย์โอภาสกล่าวว่า ประเทศไทยเตรียมเปิดรับนักเดินทางต่างชาติ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้การกักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศจำนวน 14 วัน อาจไม่จูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา เนื่องจากต้องพำนักอยู่ในประเทศไทยนานหลายวัน ส่งผลทำให้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงมอบหมายให้กรมควบคุมโรคดำเนินการศึกษาข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการลดระยะเวลากักตัว แต่คงมาตรการความปลอดภัยสำหรับประชาชน โดยผลการศึกษาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์เปรียบเทียบจำนวนวันที่กักกันกับร้อยละของการติดเชื้อที่ป้องกันจากจำนวนวันที่กักกัน พบว่า เมื่อจำนวนวันกักกันเพิ่มขึ้นจะป้องกันการแพร่เชื้อได้สูงขึ้น แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง คือช่วงวันที่ 10 จนถึงวันที่ 14 ของการกักตัว ร้อยละของการป้องกันการติดเชื้อไม่เพิ่มขึ้น ทำให้ความเสี่ยงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และจากการหารือกับคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ให้ข้อเสนอว่า มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างรอบคอบ


ผลการศึกษาการลดวันกักตัวจาก 14 วันเหลือ 10 วัน

นายแพทย์โอภาสกล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังคงมาตรการกักตัวที่ 14 วัน หากจะลดจำนวนวันกักตัวลง จะมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นได้จากการลดวันกักตัว คือ การนำร่องในประเทศที่ควบคุมโควิดได้ดี เช่น ไม่มีผู้ป่วยโควิด 19 รายใหม่ในประเทศหรือมีน้อย อัตราการติดเชื้อต่ำใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย เป็นต้น ก่อนเดินทางมีการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT PCR ภายใน 72 ชั่วโมง เมื่อเดินทางถึงไทยตรวจหาเชื้ออีก 2 ครั้ง และตรวจทางห้องปฏิบัติการมากขึ้น เช่น ตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันเมื่อกักตัวครบ 10 วัน แนะนำให้สวมหน้ากาก หลีกเลี่ยงสถานที่มีคนจำนวนมากให้ครบ 14 วัน ระบบติดตามอาการผู้ผ่านการกักตัว 10 วัน หากมีการติดเชื้อขึ้นภายในประเทศต้องสอบสวนว่าเกี่ยวข้องกับผู้ที่ผ่านการกักตัว 10 วันหรือไม่ รวมถึงต้องมีการประเมินว่าการกักตัว 10 วันมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ คาดว่าต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน โดยจะเสนอศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) พิจารณาต่อไป


ด้านนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า การเลือกประเทศต้นทางที่จะลดวันกักตัวนั้น จะเลือกจากประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อต่ำ ซึ่งหากพิจารณาการติดเชื้อของผู้เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ พบว่า ปัจจุบันมีคนเดินทางเข้าประเทศไทยจาก 71 ประเทศ กักกันคนจำนวน 116,219 ราย ตรวจพบการติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 49 ประเทศ จำนวน 728 ราย อัตราการติดเชื้อในกลุ่มผู้กักกันอยู่ที่ร้อยละ 0.63 อย่างไรก็ตาม มีถึง 22 ประเทศที่ไม่พบการติดเชื้อในผู้เดินทางมาประเทศไทย บางประเทศมีอัตราการติดเชื้อต่ำ เช่น จีน เดินทางเข้ามา 2,426 ราย ติดเชื้อ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.04 ฮ่องกงเดินทางเข้ามา 1,883 ราย ติดเชื้อ 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.48 ไต้หวันเดินทางเข้ามา 5,581 ราย ติดเชื้อ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.04 ออสเตรเลีย เดินทางเข้ามา 3,906 ราย ติดเชื้อ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.1 และนิวซีแลนด์เดินทางเข้ามา 827 ราย ไม่พบการติดเชื้อ


นายแพทย์โสภณกล่าวต่อว่า หลายประเทศได้ใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยาและการศึกษาใหม่ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายลดจำนวนวันกักตัวในระยะ 3-4 เดือนที่ผ่านมา โดยประเทศที่ลดวันกักตัวลงเหลือ 10 วัน ได้แก่ ฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ สโลวีเนีย และลัตเวีย ประเทศที่ลดวันกักตัวเหลือ 7 วัน ได้แก่ เบลเยียม และฝรั่งเศส แต่นโยบายที่หลากหลายนี้ขึ้นกับการประเมินสถานการณ์ของแต่ละประเทศและความจำเป็นในการดูแลผู้เดินทางมาจากต่างประเทศให้อยู่ในสถานที่ป้องกันการแพร่เชื้อได้ดี ซึ่งมาตรการเหล่านี้อาศัยข้อมูลทางวิชาการของแต่ละประเทศที่เปลี่ยนตามสถานการณ์ความเสี่ยงและกำหนดเป็นนโยบายใหม่


************************************ 16 ตุลาคม 2563

17 ต.ค. 2563 เวลา 18:17 | อ่าน 446


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
57 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
100 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
99 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
312 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
320 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
639 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,353 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
714 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน