แนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้

22 ต.ค. 2563 เวลา 22:31 | อ่าน 524
แชร์ไปยัง
L
 

สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการชะลอการชำระหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft Loan)


แนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ที่ได้รับการชะลอการชำระหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft Loan) รวมทั้งมีแนวทางที่ชัดเจนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และลูกหนี้รายย่อยที่อยู่ระหว่างได้รับการพักชำระหนี้ตามมาตรการของแต่ละสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้


1. แนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการชะลอการชำระหนี้ตาม พ.ร.ก. Soft Loan
กระทรวงการคลังมอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเร่งติดต่อและหารือกับลูกหนี้แต่ละรายเพื่อกำหนดการช่วยเหลือที่สอดรับกับสถานการณ์ของลูกหนี้แต่ละราย (tailor-made) ตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีกรอบการดำเนินงานสำหรับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มต่าง ๆ ดังนี้

1.1 ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังได้รับผลกระทบสูงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) และยังไม่สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้หรือมีรายได้ไม่แน่นอน สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถขยายระยะเวลาการชะลอการชำระหนี้ทั้งเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 6 เดือนนับจากสิ้นปี 2563 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวมีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลาย

1.2 ผู้ประกอบการ SMEs ที่เริ่มกลับมาดำเนินธุรกิจได้แต่ธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวเนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเร่งปรับโครงสร้างหนี้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 เพื่อให้เงื่อนไขการจ่ายหนี้เหมาะสมกับสถานการณ์ของลูกหนี้และลดภาระของลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวในระยะยาว

1.3 ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีความพร้อมและสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะรับชำระหนี้ตามปกติ เพื่อลดภาระของลูกหนี้ตลอดระยะเวลาสัญญาเนื่องจากลูกหนี้ยังต้องรับภาระดอกเบี้ยในช่วงที่ได้รับการพักชำระหนี้

2. แนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับการพักหนี้ตามมาตรการอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
กระทรวงการคลังมีนโยบายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการพักชำระหนี้ภายใต้มาตรการอื่น ๆ ตามสถานการณ์ของลูกหนี้แต่ละรายและบริบทของระบบเศรษฐกิจ ดังนี้

2.1 การขยายระยะเวลาพักชำระหนี้ให้กลุ่มลูกหนี้ที่ยังไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้หรือมีรายได้ไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น พักชำระหนี้เงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยในระยะเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ลูกหนี้แต่ละราย เป็นต้น แต่ไม่ควรเกิน 6 เดือนนับจากสิ้นปี 2563 เพื่อบรรเทาภาระในการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจติดตามเพื่อดูแลลูกหนี้แต่ละรายอย่างใกล้ชิดและคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกหนี้ในระยะยาวด้วย

2.2 การปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้เงื่อนไขการชำระหนี้สะท้อนความสามารถในการชำระหนี้ในช่วงเวลานี้และให้ลูกหนี้ดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเร่งปรับโครงสร้างหนี้ ให้แก่ลูกหนี้ ทั้งผู้ประกอบการ SMEs และรายย่อย โดยให้คำปรึกษาทางการเงินแก่ลูกหนี้ที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ และเสนอแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น การลดค่างวด การขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เป็นต้น และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเข้าร่วมโครงการ DR BIZ สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ธุรกิจ พร้อมทั้งให้ความรู้และทักษะในการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับบริบทของระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

2.3 การให้สินเชื่อเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจให้เหมาะสมกับพัฒนาการของแต่ละอุตสาหกรรม และเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ประชาชนรายย่อยเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพหรือใช้จ่ายในการดำรงชีพ เช่น การเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการที่เริ่มกลับมาดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่หรืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูง การเพิ่มแหล่งทุนให้องค์กรการเงินชุมชนและวิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การเพิ่มแหล่งทุนให้แก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต้องการผันตัวเองเป็นผู้ประกอบการ การเป็นแหล่งทุนให้ผู้ประกอบการในการปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เป็นต้น

2.4 การให้แรงจูงใจแก่ลูกหนี้ที่มีศักยภาพกลับมาชำระหนี้ตามปกติเพื่อลดภาระหนี้ของลูกหนี้ตลอดระยะเวลาสัญญาและป้องกันปัญหาวินัยทางการเงิน (Moral Hazard) เช่น การลดดอกเบี้ย การคืนเงินบางส่วนเพื่อเป็นรางวัลให้ลูกหนี้ที่กลับมาชำระหนี้เป็นปกติหรือมีประวัติการชำระหนี้ดี เป็นต้น เพื่อช่วยลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้อีกด้วย

ทั้งนี้ ความร่วมมือของลูกหนี้และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้การดำเนินการตามแนวทางข้างต้นมีประสิทธิภาพสูงสุดและบรรลุวัตถุประสงค์ กระทรวงการคลังมอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือเป็นภารกิจสำคัญในการติดตามช่วยเหลือลูกหนี้ทุกรายอย่างใกล้ชิด และขอความร่วมมือให้ลูกหนี้ติดต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที


กระทรวงการคลังมีความมุ่งหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวอย่างเต็มกำลังความสามารถและคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกหนี้ ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และลูกหนี้รายย่อยได้อย่างตรงจุดและตอบสนองความต้องการของลูกหนี้ได้อย่างแท้จริง และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกหนี้เปลี่ยนสถานะเป็น NPLs ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs มีเวลาเพียงพอในการปรับตัว ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลังและการปรับโครงสร้างธุรกิจของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม • ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร 1213 หรือ https://www.1213.or.th/App/DebtCase • ธนาคารออมสิน โทร 1115
• ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร 0-2555-0555
• ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร 0-2202-2000
• ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร 0-2271-2929
• ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร 1357
• ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร 1302
• บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร 0-2890-9999

22 ต.ค. 2563 เวลา 22:31 | อ่าน 524


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
116 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
175 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
207 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
348 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
353 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
672 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,378 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
74 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
93 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
750 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน