เลเซอร์ กับ เลสิก ต่างกันอย่างไร

29 พ.ย. 2563 เวลา 21:44 | อ่าน 843
 
เลเซอร์ กับ เลสิก ต่างกันอย่างไร

เลเซอร์ (LASER) คือ ลำแสงที่ได้รับการกระตุ้นให้มีพลังงานเพิ่มมากขึ้นจนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาด้านต่างๆ ได้ ยกตัวเช่น ในทางจักษุวิทยาใช้แสงเลเซอร์ในการรักษาเบาหวานขึ้นตา โรคต้อหินบางชนิด ถุงหุ้มเลนส์ขุ่นหลังผ่าตัดต้อกระจก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้รักษาสายตาผิดปกติได้ การผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติโดยใช้เลเซอร์ เรารู้จักกันดีในชื่อเลสิก (LASIK) นั่นเอง


สายตาผิดปกติ ได้แก่ สายตาสั้น ซึ่งพบบ่อยที่สุด รองลงมา คือ สายตายาวและสายตาเอียง ซึ่งสาเหตุของความผิดปกตินี้ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรมทำให้มีความผิดปกติของความโค้งของกระจกตา เลนส์แก้วตาหรือความยาวของลูกตาส่งผลให้เห็นเห็นภาพไม่ชัดเจน


ความผิดปกติของสายตาสามารถแก้ไขให้เห็นชัดได้โดยการใช้แว่นสายตาหรือเลนส์สัมผัส แต่ในบางกรณีผู้ป่วยอาจไม่สามารถใส่แว่นสายตาหรือเลนส์สัมผัสได้ เช่น ค่าสายตาแตกต่างกันมากในตาทั้ง 2 ข้าง หรืออาจไม่เป็นที่พอใจของผู้ใช้บางราย การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติจึงมีประโยชน์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้


การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติมีหลายรูปแบบ ซึ่งเลสิก (LASIK) เป็นวิธีการผ่าตัดที่นิยมเนื่องจากผลการรักษาดี ทำโดยการแยกกระจกตาชั้นผิวเป็นลักษณะคล้ายบานพับ แล้วใช้แสงเลเซอร์ทำการเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาตามค่าสายตาของผู้ป่วยแต่ละรายโดยคำนวณจากคอมพิวเตอร์ แล้วจึงปิดชั้นผิวกระจกตากลับไว้ตามเดิมโดยไม่ต้องเย็บ ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นทำการหยอดยาปฏิชีวนะแล้วใส่ที่ครอบตาไว้เพื่อป้องกันการขยี้ตา ซึ่งอาจทำให้ชั้นผิวกระจกตาที่ปิดไว้มีการเคลื่อนที่ได้ ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจในวันรุ่งขึ้น และเป็นระยะ ๆ หลังจากผ่าตัด เพื่อดูผลข้างเคียง และวัดระดับสายตาที่เปลี่ยนไป


ผู้ที่เหมาะสมในการรักษาด้วยวิธีเลสิก


1. ควรมีอายุอย่างน้อย 18 ปีขึ้นไป มีค่าสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี ไม่มีโรคของกระจกตา และโรคตาอย่างอื่นที่รุนแรง เช่น ต้อหิน ประสาทตาเสื่อม ตาติดเชื้อ ตาแห้ง ผิวตาเสื่อม เป็นต้น

2. ในรายที่ใส่เลนส์สัมผัสอยู่ ควรหยุดใส่มาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ สำหรับเลนส์สัมผัสชนิดนิ่ม และอย่างน้อย 2 สัปดาห์ สำหรับเลนส์สัมผัสชนิดแข็ง


ผู้ที่ไม่เหมาะสมในการรักษาด้วยวิธีเลสิก


1. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคต้านเนื่อเยื่อของตนเอง (โรค SLE โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์) โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้นกันบกพร่อง

2. กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ก่อนการทำเลสิกผู้ป่วยจะได้รับการตรวจตาอย่างละเอียด วัดค่าสายตา ความหนาของกระจกตา สภาพความโค้งของกระจกตา ขนาดรูม่านตา และจอประสาทตา


การรักษาด้วยวิธีเลสิกได้ผลดี พบว่า 90% มีระดับการมองเห็นเท่ากับคนปกติ ในกรณีที่มีค่าสายตาเริ่มต้น (ค่าสายตาก่อนผ่าตัด) น้อยกว่า -6.00 D และประมาณ 80% มีระดับการมองเห็นเท่ากับคนปกติ ในกรณีที่มีค่าสายตาเริ่มต้นมากกว่า -6.00 D หรือสายตาเอียงมากรวมถึงสายตายาว


ผลที่เกิดตามหลังการทำเลสิก ได้แก่ อาการเคืองตาน้ำตาไหลหลังผ่าตัดในวันแรก ค่าสายตามีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ในเดือนแรก อาจเห็นแสงกระจายหรือสีรุ้งรอบดวงไฟในเวลากลางคืนซึ่งจะค่อยๆ ลดลง


ผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถทำเลสิกได้ ยังมีทางเลือกในการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การทำ PRK (Photorefractive Keratectomy) การใส่เลนส์เสริมในลูกตา เป็นต้น ขึ้นอยู่กับสภาพตาของผู้ป่วย



ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

29 พ.ย. 2563 เวลา 21:44 | อ่าน 843


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
พิเศษ! เฉพาะคนอยากมีคอนโดมิเนียม! ธอส. นำทรัพย์เด่นกว่า 700 รายการ ลดสูงสุด 50% จัดงานประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ประจำเดือนกรกฎาคม วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567
22 24 ก.ค. 2567
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โครงการเพื่อประชาชน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ววันนี้
121 24 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2567
33 22 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 14-20 กรกฎาคม 2567
630 14 ก.ค. 2567
โฆษก มท. เผย มหาดไทยเตรียมออกประกาศยกเว้นวีซ่า 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศเริ่ม 15 ก.ค. 67 พร้อมปรับปรุงแนวทางตรวจลงตราให้ยืดหยุ่น หนุนไทยแข่งดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก
76 12 ก.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถ ปี 2567
734 12 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567
171 7 ก.ค. 2567
โรคที่มากับหน้าฝน
161 4 ก.ค. 2567
การนั่งดูโทรทัศน์นาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
150 4 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567
765 30 มิ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน