เด็กไทยไร้หวัง เมื่อแม่พิมพ์โกงเสียเอง ?!?

16 ก.พ. 2556 เวลา 11:21 | อ่าน 3,382
แชร์ไปยัง
L
-Advertisement-
 
images by free.in.th

วงการครูสั่นสะเทือนอีกครั้ง เมื่อมีข่าวทำนองว่า มีขบวนการโกงสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว12

เป็นที่รู้กันว่าการสอบบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนักในแต่ละปี และแต่ละครั้งที่เปิดสอบ ก็มีอัตราว่างสำหรับการเรียกบรรจุเพียงแค่หยิบมือเดียวเมื่อเทียบกับดีมานด์หรือความต้องการของผู้ที่จบครู

เมื่ออุปสงค์และอุปทานสวนทางกันแบบนี้ ว่าที่แม่พิมพ์ทั้งหลายจึงพยายามทุ่มสุดตัวเพื่อสอบขึ้นบัญชีให้ได้ แม้ว่าจะมีขบวนการตกเบ็ดหรือว่าจะมีขบวนการโกงจริง ก็พร้อมยอมเสี่ยง

ล่าสุดเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีกครั้งกับกลุ่มพนักงานราชการ ที่มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย ว12 ซึ่ง สพฐ.ประกาศรับสมัครสอบบรรจุประมาณ 2,100 กว่าอัตรา ขณะที่มีจำนวนผู้มีสิทธิเข้าสอบกว่า 20,000 คน

เรื่องของเรื่องนี้ก็คือ ในวันประกาศผลสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย ว12 เมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีพนักงานราชการคนหนึ่ง สอบติดทั้ง 2 ที่ นั่นคือ สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 และ สพป.ขอนแก่น เขต 3 ซึ่ง สพฐ.เช็กแล้วพบว่าชื่อเดียวกันจริง จึงสั่งให้ทั้ง 2 เขตพื้นที่ฯ ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผลคือคนที่ไปสอบ สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 มีแนวโน้มว่าจะเป็นตัวจริง ส่วนที่ สพป.ขอนแก่น เขต 3 น่าจะเป็นไอ้โม่งที่สวมรอยมาสอบแทน

แหล่งข่าวที่เป็นผู้ให้เบาะแสเรื่องนี้เล่าว่า น่าจะมีผู้ใหญ่ใน สพฐ.รู้เห็นเป็นใจ เอาข้อสอบไปให้ติว มีการเรียกรับเงิน แล้วอาจจะส่งคนไปเข้าสอบแทน สนนราคาความเสี่ยง ว่ากันว่าอยู่ที่ 4-5 แสนเลยทีเดียว

จริงไม่จริง ยังรอการพิสูจน์ แต่ที่แน่ๆ ตอกย้ำว่าการสอบครูผู้ช่วยที่ สพฐ.ดึงกลับมาทำเอง โดยออกข้อสอบและคุมสอบเองนั้น หละหลวมและมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นแล้ว

คำถาม คือ

1.นอกเหนือจากเคสนี้แล้ว ยังมีเคสอื่นๆ อีกหรือไม่? แทนที่จะรอให้เคสต่อไปโผล่ สพฐ.ควรดับเบิลเช็กรายชื่อผู้ผ่านการสอบคัดเลือกใหม่ทั้งหมดหรือไม่ เพื่อดูว่ามีชื่อไหนซ้ำกันอีกหรือเปล่า?

2.ปัญหาของบ้านเรา คือ ไฟไหม้ฟาง มีปัญหาแล้วตื่นตูมแป๊บๆ แล้วก็หายไป อย่างกรณีสอบครูผู้ช่วยก็เหมือนกัน ตอนที่จัดสอบครูผู้ช่วยไล่ๆ กับตอนเกิดข่าวทุจริตสอบตำรวจ สพฐ.ก็แข็งขันดีในการเข้มงวดกวดขันกับการคุมสอบ กระทั่งทำให้การสอบครั้งนั้นไม่มีปัญหาทุจริตแต่อย่างใด แต่ทว่าเมื่อไฟมอดไป ความแข็งขันของ สพฐ.ก็ดูจะหายไปเหมือนกัน

การสอบครั้งนี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีช่องโหว่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตได้ตลอดทาง ทั้งการจัดส่งข้อสอบทางไปรษณีย์ การส่งคนไปรับ และเมื่อข้อสอบไปถึงห้องสอบ ทุกขั้นตอนดูจะขาดความรัดกุม ต่างจากสมัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มสด.) เป็นผู้ออกข้อสอบ โดยไปส่งข้อสอบถึงที่ แถมส่งก่อนเวลาสอบแค่ 2-3 ชั่วโมง เพื่อนำข้อสอบไปพิมพ์ และยังต้องใช้รหัสในการเปิดด้วย อีกจุดที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบมาพากลของกระบวนการจัดสอบของ สพฐ.คือ การที่ สพฐ.ส่งผลการคัดเลือกไปให้เขตพื้นที่ฯ โดยจัดส่งให้เฉพาะรายชื่อ ไม่ยอมส่งคะแนนสอบให้ด้วย กรณีคะแนนเท่ากัน ให้เขตพื้นที่ฯไปจับสลากเอง และหากผู้เข้าสอบสงสัย ถึงจะยอมให้ดูเป็นรายบุคคล

คำถาม คือ หากรายชื่อที่จัดส่งให้เขตพื้นที่ฯ มีความผิดพลาด หรือมีการสอดไส้เกิดขึ้น ใครจะรู้?

3.สพฐ.เลิกจ้างมหาวิทยาลัยออกข้อสอบ แต่มาทำเอง เรื่องนี้ไม่ว่ากัน เพราะหากทำได้ดี ก็ถือว่าประหยัดงบประมาณหลวงไปได้มาก แต่หากทำแล้วเกิดข้อผิดพลาด ก็จะเกิดคำถามว่า จะเป็นเหตุให้คนที่สอบตก เรียกร้องให้สอบใหม่ได้หรือไม่ ในเมื่อเจ้าตัวก็คงไม่มั่นใจว่ารายชื่อที่ประกาศไปว่าสอบผ่าน จะผ่านด้วยวิธีบริสุทธิ์ยุติธรรม หรือจะมีการตุกติกเหมือนอย่างรายพนักงานราชการคนดังกล่าวอีก

ดูเหมือนว่าปัญหาบ้านเรา คือ ไม่ว่าจะกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่ฯ หรือรวบอำนาจกลับมาไว้ที่ส่วนกลาง ก็ไม่อาจขจัดปัญหาทุจริตไปได้ เพราะสมัยก่อนที่มีการกระจาย อำนาจให้เขตพื้นที่ฯ เป็นผู้จัดสอบครูผู้ช่วยเองนั้น ก็เกิดการร้องเรียนเรื่องทุจริต การสอดไส้ การแก้คะแนน ตลอดจนการเรียกรับเงินรับทองวุ่นวาย กระทั่งนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ขณะนั้น ต้องดึงมาให้ส่วนกลางทำเองเป็นครั้งแรก ทว่ามาตอนนี้ปัญหาดูจะย้อนกลับไปที่เดิม สะท้อนว่าการรวบอำนาจหรือกระจายอำนาจไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาทุจริตการสอบครูผู้ช่วยได้ นั่นเป็นเพราะเรื่องพวกนี้มันอยู่ที่จิตสำนึกและศีลธรรมเฉพาะตัวบุคคลไม่ใช่อยู่ที่ระบบ ฉะนั้น หากไม่สามารถแก้ไขที่ตัวบุคคลได้แล้ว ต่อให้เราแก้ไขระบบเป็นร้อยๆ ครั้ง ก็ไม่อาจขจัดความชั่วร้ายเหล่านี้ไปได้

คำถามคือ ถ้าคนที่จะมาเป็นแม่พิมพ์ของชาติ มาด้วยวิธีการโกงแล้ว จะมีหน้าไปสอนให้นักเรียนเป็นคนดีได้อย่างไร ในเมื่อต้นแบบหรือเบ้าหลอมพิกลพิการแบบนี้แล้ว?


หน้า 16 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 16 ก.พ. 2556

ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360984912&grpid=03&catid=&subcatid= วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เวลา 10:37:37 น.
-Advertisement-

-Advertisement-

16 ก.พ. 2556 เวลา 11:21 | อ่าน 3,382


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
-Advertisement-
 
มาใหม่
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดีผลักดันกฎหมาย กยศ. สำเร็จ เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว (20 มีนาคม 2566) สร้างความเป็นธรรม ขยายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม
50 20 มี.ค. 2566
คกก.ผู้สูงอายุแห่งชาติ หนุนเงินกู้ประกอบอาชีพผู้สูงอายุ 5,500 ราย 165ล้านบาท พร้อม เห็นชอบประกาศสดุดีเกียรติคุณ “ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน” ประยงค์ รณรงค์ เป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ
49 20 มี.ค. 2566
ครม. อนุมัติสินเชื่อ
62 19 มี.ค. 2566
ทำไมต้อง ปิดแอร์ ก่อนดับเครื่อง
55 19 มี.ค. 2566
ถ้าไม่อยากให้รถ แอร์พัง อย่าทำสิ่งนี้
69 19 มี.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 19-25 มีนาคม 2566
66 19 มี.ค. 2566
ครม. เห็นชอบช่วยลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม สำหรับผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ปรับเพิ่มเป็น 100 บาท/คน/3 เดือน ช่วงเม.ย. - มิ.ย. 2566
135 14 มี.ค. 2566
ครม. ต่อเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ลงลิตรละ 5 บาท อีก 2 เดือน ถึง 20 ก.ค. นี้ บรรเทาความเดือดร้อนประชาชนและภาคธุรกิจ เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อเนื่อง
78 14 มี.ค. 2566
รมว.เฮ้ง แถลงผลกวาดล้างต่างชาติแย่งอาชีพคนไทย ปีงบ 66 ตรวจสอบแล้วกว่า 2 แสนราย พบกระทำผิด 1,550 คน เป็นความผิดแย่งอาชีพคนไทย 883 คน
86 13 มี.ค. 2566
​รองโฆษกรัฐบาลเผย สิทธิบัตรทองหาหมอฟรี ผ่านแอปฯ Clicknic ครอบคลุม 42 โรค นำร่องเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ
97 13 มี.ค. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC chulatutor จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน

SPONSORED