สธ. สั่งการให้ทุกจังหวัดเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนจากผลกระทบฝุ่น PM 2.5 หลังสถานการณ์ค่าฝุ่นแนวโน้มเพิ่มขึ้น พร้อมเร่งสื่อสารประชาชนดูแลและป้องกันสุขภาพตนเอง

4 ก.พ. 2566 เวลา 16:00 | อ่าน 211
แชร์ไปยัง
L
 
สธ. สั่งการให้ทุกจังหวัดเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนจากผลกระทบฝุ่น PM 2.5 หลังสถานการณ์ค่าฝุ่นแนวโน้มเพิ่มขึ้น พร้อมเร่งสื่อสารประชาชนดูแลและป้องกันสุขภาพตนเอง


กระทรวงสาธารณสุข ประชุมวิดีโอทางไกลกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ ให้เตรียมพร้อมเฝ้าระวังดูแลสุขภาพผลกระทบปริมาณค่าฝุ่นละออง PM 2.5 หลังสถานการณ์ค่าฝุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พร้อมเร่งสื่อสารประชาชนปรับกิจกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เจ็บป่วย


วันนี้ (3 กุมภาพันธ์ 2566) ที่ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ ในการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณี หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก และให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับมอบหมายจาก นายแพทย์โอภาส การ์ยกวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นประธานการประชุม เพื่อชี้แจงสถานการณ์และแนวโน้มค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กในปี 2566 ซึ่งสถานการณ์ค่าฝุ่น PM2.5 ขณะนี้ของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยตั้งแต่ 1 พ.ย. 2565 – 3 ก.พ. 2566 พบว่ามีหลายจังหวัดที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานหลายวัน เช่น กทม. พบถึง 35 วัน เชียงใหม่ 20 วัน สมุทรสงคราม 17 วัน นครพนม 16 วัน และราชบุรี 14 วัน เป็นต้น


ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้มอบข้อสั่งการ 7 ข้อ ให้กับพื้นที่ได้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนี้

1. เฝ้าระวังและแจ้งเตือนสถานการณ์ รวมถึงสื่อสารข้อมูลผลกระทบ การปฏิบัติตนการดูแลสุขภาพในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พร้อมทั้งเร่งสื่อสารเชิงรุก สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ทั้งการดูแลและป้องกันสุขภาพ ผ่านทุกช่องทาง ทั้งสื่อบุคคลเสียงตามสาย ช่องทางออนไลน์โซเชียลมีเดีย และช่องทางต่าง ๆ โดยให้ กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ และกองสาธารณสุขฉุกเฉิน เป็นหน่วยงานหลักร่วมบูรณาการจัดทำชุดข้อมูลความรู้สำหรับประชาชน

2. เตรียมความพร้อมในการดูแลและป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ สำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง ติดตาม ดูแลกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษ โดยทีมหมอ 3 หมอ และลงพื้นที่ให้ความรู้คำแนะนำในการป้องกันตัว และดูแลสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะ 4 กลุ่มเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยติดเตียง พร้อมเปิดคลินิกมลพิษที่สถานพยาบาล คลินิกมลพิษออนไลน์และคลินิกมลพิษเคลื่อนที่ สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ สำรวจกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคหืดและโรคหัวใจขาดเลือด และให้การดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ

3. เฝ้าระวังการเจ็บป่วยใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบผิวหนัง และระบบตา และรายงานผู้ป่วยที่มารับการรักษาในสถานพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ตามเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด

4. เตรียมความพร้อมเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขในทุกระดับ ทั้งจังหวัด เขตสุขภาพ กรม และกระทรวง เพื่อติดตามสถานการณ์และยกระดับการปฏิบัติการ หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น

5.กรณีสถานการณ์วิกฤต (สีแดง) ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 51ขึ้นไป มคก./ลบ.ม. ติดต่อกัน 3 วัน ให้รายงานสถานการณ์ทุกสัปดาห์ ตลอดช่วงเวลาเฝ้าระวัง

6. จัดกิจกรรมองค์กรปลอดฝุ่นในสำนักงานและสถานบริการในสังกัด เพื่อเป็นต้นแบบองค์กรลดฝุ่นละออง และ7. สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการใช้ พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นเครื่องมือสนับสนุนการลดฝุ่นละอองขนาดเล็กจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่ และการจัดการเหตุรำคาญจากฝุ่นละออง

“ขอให้ทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์ และเร่งสื่อสารประชาชนในพื้นที่ในการปฏิบัติตน มาตรการและกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน อาทิ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้าน เลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อลดปัจจัยเลี่ยงที่จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากฝุ่น PM 2.5 ได้ พร้อมให้คำแนะนำการลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ เช่น การจุดธูป การเผาขยะ รวมถึงหมั่นดูแลทำความสะอาดบ้านให้ปลอดฝุ่นอยู่เสมอ โดยประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์ค่าปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 แนวทางปฏิบัติตน ค้นหาห้องปลอดฝุ่นและคลินิกมลพิษ รวมทั้งปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ได้ผ่านทาง Line Official 4Health หรือเว็ปไซต์ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย https://4health.anamai.moph.go.th/ หรือ เว็บไซต์คลินิกมลพิษออนไลน์ https://www.pollutionclinic.com/home/front/” นายแพทย์ณรงค์กล่าว


*********************************** 3 กุมภาพันธ์ 2566

4 ก.พ. 2566 เวลา 16:00 | อ่าน 211


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
100 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
152 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
175 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
335 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
345 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
650 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,364 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
744 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน