มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 3 ฉบับ

22 ก.พ. 2566 เวลา 20:59 | อ่าน 220
แชร์ไปยัง
L
 
ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการ

1. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..)
2. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ และค่าทดแทนกรณีการตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน
3. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19) จำนวน 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ ร่างประกาศ รวม 3 ฉบับ ที่ รง. เสนอ เป็นการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้กับแรงงานภาคเอกชน โดยได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องต่าง ๆ เช่น กำหนดเพิ่มจำนวนสิทธิวันลาเพื่อคลอดบุตรจาก 90 วัน เป็น 98 วัน กำหนดเพิ่มให้ลูกจ้างมีสิทธิในวันหยุดพิเศษตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด กำหนดเพิ่มให้ลูกจ้างที่ถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานในปีที่จะเกษียณอายุ มีสิทธิได้รับค่าทดแทนกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เป็นต้น รวมทั้งเป็นการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 มีนาคม 2565)


รง. ได้นำร่างประกาศในเรื่องนี้ รวม 3 ฉบับ ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว โดยผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างประกาศรวม 3 ฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ รง. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยประมาณการว่าการแก้ไขเพิ่มเติมตามร่างประกาศในเรื่องนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้สำหรับปี พ.ศ. 2566 ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรประมาณ 206,643,504.30 ล้านบาท และค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีประมาณ 38,211,206.81 ล้านบาท



สาระสำคัญของร่างประกาศ


1. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในเรื่องดังต่อไปนี้
21 กุมภาพันธ์ 2566 ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 3 ฉบับ

2. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ และค่าทดแทนกรณีการตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ในเรื่องดังต่อไปนี้

2.1 กำหนดเพิ่มเติมให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไปและถึงความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานในปีที่จะเกษียณอายุ มีสิทธิได้รับค่าทดแทนกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดยค่าทดแทนดังกล่าวมีอัตราเดียวกันกับอัตราการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานซึ่งลูกจ้างจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ

2.2 กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานตามข้อ 2.1 เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(2) ลูกจ้างกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา
(3) ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่น
(4) ลูกจ้างฆ่าตัวตาย

3. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19) มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ในเรื่องดังต่อไปนี้
21 กุมภาพันธ์ 2566 ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 3 ฉบับ

22 ก.พ. 2566 เวลา 20:59 | อ่าน 220


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
รัดเกล้า ชูมาตรการแก้ปัญหาหนี้ทั้งในและนอกระบบ ย้ำไม่ใช่การลดหนี้ พักหนี้ หรือยกหนี้ แต่ช่วยไกล่เกลี่ย หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ ยืนยันรัฐบาลแก้ไขปัญหาประชาชนอย่างยั่งยืน
9 3 ธ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 3-9 ธันวาคม 2566
80 3 ธ.ค. 2566
โฆษกรัฐบาล เผย บริษัทรถ EV เตรียมลงทุนในไทยต่อเนื่อง
62 2 ธ.ค. 2566
ออมสิน ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าวาระแห่งชาติ “การแก้ไขหนี้นอกระบบ” ให้กู้ 50,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
236 1 ธ.ค. 2566
อนุทิน-พวงเพ็ชร จับมือเปิดตัวแอพ
233 29 พ.ย. 2566
​รองนายกฯ ภูมิธรรม กดปุ่ม Kick off ธ.ก.ส.โอนเงิน ช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ล็อตแรกวันนี้ จ่าย 5 รอบ
205 29 พ.ย. 2566
การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เป็นวาระแห่งชาติ
118 28 พ.ย. 2566
มติคณะรัฐมนตรี ขึ้นเงินเดือน ป.ตรี เรื่อง รายงานผลการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 (เรื่อง การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
433 28 พ.ย. 2566
สธ.รับลูกรัฐบาลแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เปิดคลินิกสุขภาพการเงิน 8 ธ.ค. ช่วยบุคลากร สธ. กว่า 5 แสนคน
24 28 พ.ย. 2566
แก้ปัญหาหนี้ รัฐบาล เตรียมแถลงแก้หนี้ 28 พ.ย.นี้ รองโฆษกฯรัฐบาล “รัดเกล้า” ยืนยันรัฐบาลเอาจริงในการแก้ไขปัญหา ยกเป็นวาระแห่งชาติ
450 27 พ.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน