"รองปลัดเกษตรฯ" ลุยชุมพร เตรียมความพร้อมมาตรการควบคุมคุณภาพทุเรียนใต้

12 มิ.ย. 2566 เวลา 20:17 | อ่าน 17,426
 

นายสุรเดช สมิเปรม รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายและติดตามการบริหารจัดการทุเรียนของจังหวัดชุมพร โดยมี นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายธราพงษ์ มีมุสิทธิ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร พาณิชย์จังหวัดชุมพร นายกสมาคมชาวสวนไม้ผลชุมพร หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมเกาะพิทักษ์ ศาลากลาง จ.ชุมพร จากนั้นลงพื้นที่ตรวจติดตามมาตรการควบคุณคุณภาพทุเรียนที่จะออกสู่ตลาดตั้งแต่ สวน โรงคัดบรรจุ และตลาดส่งออก


ชุมพร เตรียมความพร้อมมาตรการควบคุมคุณภาพทุเรียนใต้

รองปลัดเกษตรฯ กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ให้ความสำคัญในการส่งออกทุเรียนไทย จึงมีนโยบายควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ พร้อมกำชับผลผลิตทุเรียนที่ส่งออกต้องได้คุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการส่งออกที่กำหนด โดย จ.ชุมพร เป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญ มีพื้นที่ปลูกมากเป็นอันดับ 1 ของภาคใต้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ขับเคลื่อนมาตรการแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพอย่างเข้มข้นตลอดปี 2566 โดยถอดบทเรียนความสำเร็จจากการดำเนินงานควบคุมคุณภาพทุเรียน ภาคตะวันออก หรือจันทบุรีโมเดล ใช้เป็นต้นแบบในภาคใต้ โดยทุกฝ่ายต้องร่วมกันกำหนดแนวทางมาตรการที่ชัดเจน มีเป้าหมายร่วมกัน ในการยกระดับคุณภาพของทุเรียน มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร เร่งอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ และสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ที่สำคัญต้องเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ผ่านทุกช่องทาง เพื่อเป็นการตอกย้ำและสร้างความมั่นใจ “ทุเรียนชุมพร ทุเรียนคุณภาพดี ปลอดภัย ได้มาตรฐาน”

รองปลัดฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ได้หารือร่วมกับนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ในประเด็นการส่งเสริมให้ จ.ชุมพร เป็นศูนย์กลางตลาดสินค้าเกษตร เนื่องจากมีระบบการคมนาคมขนส่งที่ครอบคลุมทั้ง รถ ราง เรือ อากาศ โดยกระทรวงเกษตรฯ ยินดีและพร้อมให้ความร่วมมือ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ โดย กรมชลประทาน และกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อมให้ความช่วยเหลือด้านการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับทุเรียนและผลไม้อื่น ๆ ในช่วงที่เกิดภัยแล้ง

ทั้งนี้ ในปี 2566 จ.ชุมพร มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 276,254 ไร่ (ร้อยละ 11.88 ของพื้นที่เกษตรกรรม) ผลผลิต 337,376 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 1,521 กิโลกรัม เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน 25,490 ราย มีโรงคัดบรรจุผลไม้ 439 แห่ง ขณะที่สถานการณ์ผลผลิตทุเรียนภาคใต้ ปี 2566 มีผลผลิตในฤดู 582,925 ตัน (มิ.ย. - ต.ค.66) ผลผลิตสูงที่สุดในเดือน ก.ค. 66 จำนวน 192,348 ตัน และจะสิ้นสุดฤดูกาลในเดือน ต.ค.66 โดยกำหนดวันเก็บเกี่ยวและวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูกาลทุเรียน ปี 2566 ในพื้นที่ จ.ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ พันธุ์หมอนทอง วันที่ 10 มิถุนายน 2566 ในส่วนราคารับซื้อทุเรียนหมอนทอง AB อยู่ที่ 165 บาท/กิโลกรัม, ทุเรียนหมอนทอง C อยู่ที่ 110 บาท/กิโลกรัม และทุเรียนชะนีอยู่ที่ 145 บาท/กิโลกรัม

ขณะเดียวกัน 14 จังหวัดภาคใต้ และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ดำเนินการมาตรการควบคุมคุณภาพทุเรียนเช่นเดียวกับภาคตะวันออก ได้แก่ 1) มาตรการควบคุมคุณภาพผลผลิตที่แหล่ง (สวน) : ตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน 2) การขึ้นทะเบียนนักคัด นักตัดทุเรียน 3) มาตรการควบคุมคุณภาพผลผลิตตลาดส่งออก (โรงคัดบรรจุ) : ตรวจความอ่อนแก่ ของทุเรียนก่อนปิดตู้ส่งออก 4) มาตรการควบคุมคุณภาพการผลิต การตลาดทุเรียนของ จ.ชุมพร โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนและพัฒนาทุเรียนจังหวัดชุมพร (Chumphon Durian Board) และ 5) มาตรการควบคุมผลผลิตตลาดในประเทศ (ค้าส่ง – ค้าปลีก) โดยมีคณะทำงานและชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และจุดบริการตรวจเปอร์เซ็นน้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน และ 6) การประชาสัมพันธ์เชิงรุก


สำหรับความคืบหน้าผลการดำเนินงานควบคุมคุณภาพทุเรียน จ.ชุมพร ดังนี้ 1) ขึ้นทะเบียนนักคัด นักตัดทุเรียน รวม 793 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิ.ย. 66) 2) ผลการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน ณ โรงคัดบรรจุ จำนวน 201 ตัวอย่าง (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ค. - 9 มิ.ย.66) 3) ตรวจก่อนปิดตู้ เข้าตรวจโรงคัดบรรจุ 4 โรง ตรวจสอบคุณภาพทุเรียน 5 ตัวอย่าง ผ่านการตรวจ 5 ตัวอย่าง (ข้อมูลสะสม วันที่ 1 – 30 พ.ค.66)

โอกาสนี้ รองปลัดฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงเรียนรู้ระบบน้ําอัจฉริยะในสวนทุเรียน ของนายจีระศักดิ์ เยาวเลิศ ประธานแปลงใหญ่ทุเรียน ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร จากนั้นติดตามการดําเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาดจ จ.ชุมพร ณ จุดบริการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ําหนักแห้งในเนื้อทุเรียน สํานักงานเกษตรอําเภอทุ่งตะโก ต.ทุ่งตะไคร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมการดําเนินงานรับซื้อทุเรียนของโรงคัดบรรจุทุเรียน ณ บริษัท หมิงหยาง อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง จํากัด ต.ครน อ.สวี จ.ชุมพร

12 มิ.ย. 2566 เวลา 20:17 | อ่าน 17,426
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
108 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
120 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
76 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
39 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
131 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
346 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
417 28 พ.ย. 2567
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
75 25 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567
413 24 พ.ย. 2567
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม
51 23 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...