คลอดแล้ว!ระเบียบส่งเสริมรัฐบาล-เอกชนร่วมลงทุน นำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

1 ส.ค. 2566 เวลา 21:48 | อ่าน 13,362
แชร์ไปยัง
L
 
ระเบียบส่งเสริมรัฐบาล-เอกชนร่วมลงทุน นำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์


วันนี้ 1 สิงหาคม 2566 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ให้ความสำคัญมุ่งส่งเสริมการให้สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในกำรแข่งขันของประเทศ เพื่อช่วยเกษตรกรและชุมชน หรือเพื่อเพิ่มมูลค่ำ ทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ระเบียบสำนักนำยกรัฐมนตรี ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์มีผลบังคับใช้แล้ว โดยระเบียบดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบมาตรการ 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันวิจัย และหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย และนวัตกรรม หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กำหนด


น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ระเบียบร่วมลงทุน ได้กำหนดวัตถุประสงค์การร่วมทุนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ 1) เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคม หรือเชิงสาธารณประโยชน์ 2) เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน และ 3) เพื่อสร้างธุรกิจฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่ ซึ่งลักษณะโครงการร่วมลงทุน ครอบคลุม โครงการที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีความพร้อมไปใช้ดำเนินการ หรือเป็นโครงการที่มีอยู่แล้วและนำไปศึกษาต่อยอด หรือนำไปขยายผลให้เกิดการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง สำหรับรูปแบบการร่วมลงทุน ระบุว่า หน่วยงานเจ้าของโครงการร่วมลงทุน สามารถร่วมลงทุนกับเอกชน 1) จัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน 2) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) หรือ 3) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนใน ‘วิสาหกิจเริ่มต้น’ หรือ สตาร์ทอัพ (Startup) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้

ทั้งนี้ การอนุมัติโครงการร่วมลงทุน ต้องพิจารณาความสอดคล้องของนโยบายร่วมลงทุน ข้อเสนอ เงื่อนไข ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ แผนธุรกิจ และแผนการจัดการความเสี่ยง รวมถึงความพร้อมของผู้ร่วมทุนและประสบการณ์ โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดทำสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนที่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมทั้งการติดตาม และประเมินผลโครงการ ซึ่งต้องกำหนดตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นความคุ้มค่าของการลงทุน และประสิทธิภาพในการบริหารการลงทุน และประเมินผลตามหลักเกณฑ์ที่หน่วนงานเจ้าของโครงการกำหนด สำหรับวิธีการคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุน 1) คัดเลือกจากเอกชนอย่างน้อย 3 ราย ที่เข้ายื่นข้อเสนอร่วมลงทุน โดยยึดหลักเกณฑ์การคัดเลือกด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม โดยอกชนที่ได้รับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติ ประสบการณ์ ความพร้อม และความสามารถในการเข้าร่วมลงทุนเหมาะสมตามเกณฑ์ (2) ใช้วิธีการเฉพาะเจาะจงโดยหน่วยงานเจ้าของโครงการเชิญชวนเฉพาะเอกชน ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ

ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าว ยังกำหนดว่าเพื่อให้การดำเนินการจัดตั้งและดำเนินงานของบริษัทร่วมทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีโอกาสประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจในอนาคต หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงำนเจ้าของโครงกำรไปวิจัยหรือสร้างนวัตกรรมในบริษัทร่วมทุน (2) ส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเจ้าของโครงการไปบริหารหรือปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุน ได้ตามความเหมาะสม (3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนในหน่วยงานเจ้าของโครงการซึ่งเป็นสถำนศึกษำไปศึกษา วิจัย สร้างนวัตกรรม หรือปฏิบัติงานอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในหลักสูตรโดยตรง (4) ให้ใช้สถานที่ โครงสร้างพื้นฐาน ห้องปฏิบัติกำร เครื่องมือหรืออุปกรณ์ หรือสิ่งอื่น ในทำนองเดียวกันของหน่วยงานเจ้าของโครงการ โดยไม่มีค่าบริการหรือมีค่าบริการอัตราพิเศษก็ได้ (5) ให้ใช้บริการของหน่วยงานเจ้าของโครงกำรโดยไม่มีค่ำบริกำรหรือมีค่ำบริกำรอัตราพิเศษก็ได้ (6) จัดซื้อหรือจัดจ้ำงสินค้ำหรือบริกำรจำกบริษัทร่วมทุนในกรณีที่สินค้ำหรือบริการนั้น มีคุณภาพ มาตรฐานที่แข่งขันได้ในท้องตลาด และมีรำคำที่เหมาะสม ทั้งนี้ ตามบัญชีนวัตกรรมไทย (7) กำรส่งเสริมอื่นที่สภานโยบายประกาศกำหนด

“ระเบียบดังกล่าว จะทำให้งานวิจัยต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก จะช่วยเพิ่มรายได้และโอกาสจากการนำผลงานวิจัยไปเป็นฐานในการผลิตและบริการ เพิ่มจำนวนบริษัทเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย กลุ่ม สตาร์ทอัพ หรือกลุ่ม สมาร์ทเอสเอ็มอี ขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม (Innovation Economy) ช่วยขับเคลื่อนการสร้าง IDE และขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพิ่มมากขึ้น ตามเป้าหมายร้อยละ 2 ต่อจีดีพี”น.ส.ทิพานัน กล่าว

1 ส.ค. 2566 เวลา 21:48 | อ่าน 13,362


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ชื่นชมมาตรการสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567
7 27 เม.ย. 2567
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
168 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
320 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
357 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
383 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
414 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
729 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,388 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
76 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
95 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน