ประวัติไวรัส อีโบลา

8 ส.ค. 2557 เวลา 10:19 | อ่าน 7,054
 
ขณะนี้มีรายงานข่าวการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola Virus) อย่างรุนแรงในภูมิภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา ได้แก่ประเทศ กินี, ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน รวมถึงไนจีเรีย หลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อไวรัสอีโบลามาก่อน แต่ยังไม่รู้จักเชื้อไวรัสอีโบลานี้ดีนัก บทความนี้จะขอกล่าวถึงความรู้พื้นฐานของเชื้อชนิดนี้ ได้แก่ ลักษณะทั่วไป การก่อโรค อาการแสดง การติดต่อ และสุดท้ายจะกล่าวถึงสถาณการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในปัจจุบัน

เชื้อไวรัสอีโบลาจัดอยู่ในตระกูล Filoviridae เชื้อไวรัสในตระกูลนี้มีรูปร่างหลายแบบ อาจมองเห็นเป็นแท่งยาว (รูปที่1) เป็นกิ่งก้านสาขา หรือบางครั้งเป็นแท่งสั้นๆ มีรูปร่างคล้ายเลข 6 หรือตัวอักษณ U หรือเป็นวงกลม สารพันธุกรรมเป็น RNA ชั้นนอกสุดมีชั้นไขมันห่อหุ้มอยู่ เชื้อไวรัสในตระกูลนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ Marburg virus และ Ebola virus มีรายงานการระบาดของเชื้อตระกูล Filo virus (Marburg virus) ครั้งแรกเมื่อปี 1967 โดยเจ้าหน้าทีห้องปฏิบัติการในประเทศเยอรมันนีและยูโกสลาเวียที่ทำงานเกี่ยวกับเนื้อเยื่อของลิงที่นำมาจากทวีปแอฟริกามีอาการแสดงของไข้เลือดออก มีผู้ติดเชื้อ 31 รายและเสียชีวิต 7 ราย

ไวรัสอีโบลา

ไวรัสอีโบลาถูกค้นพบเมื่อปีค.ศ. 1976 เมื่อมีการพบผู้ป่วยไข้เลือดออกที่ประเทศ Zaire (ปัจจุบันคือประเทศ Democratic Republic of Congo) และซูดานใต้ และได้ตั้งชื่อสายพันธุ์ก่อโรคตามประเทศที่พบคือสายพันธุ์ Zairian และ Sudanese ซึ่งมีอัตราการตายสูงทั้ง 2 สายพันธุ์ หลังจากนั้นเชื้อไวรัสอีโบลาได้เกิดการระบาดเป็นระยะในทวีปแอฟริกา เช่น ในปีค.ศ. 1995 ที่ประเทศ Democratic Republic of Congo ปีค.ศ. 2000 และ 2008 ที่ประเทศยูกานดา ล่าสุดในปีค.ศ. 2012 ที่ประเทศ Democratic Republic of Congo

ผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาจะมีอาการแสดงคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดหัว ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ อ่อนเพลีย ท้องเสีย อาเจียน ปวดบริเวณท้อง เบื่ออาหาร ในบางรายอาจพบผื่น ตาแดง ไอ ปวดหน้าอก หายใจลำบาก กลืนลำบาก มีเลือดออกและเสียชีวิตในที่สุด อาการจะปรากฏในช่วง 2 – 21 วันหลังจากได้รับเชื้อโดยปกติจะพบอาการในช่วง 8 – 10 วัน ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันหรือยาที่ใช้รักษาโรคนี้

การรักษาทำได้โดยรักษาตามอาการ ได้แก่ การรักษาสมดุลย์ของของเหลวและอิเล็กโตรลัยต์ในร่างกาย รักษาระดับออกซิเจนและความดันเลือด รวมถึงรักษาการติดเชื้อเทรกซ้อนต่างๆ

เชื้อนี้สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ ในช่วงที่เกิดเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในสถาณพยาบาล การติดเชื้อสามารถเกิดได้กับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ไม่มีการป้องกันอย่างเหมาะสม เช่นไม่ใส่หน้ากากหรือถุงมือ เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อนี้ การป้องกันที่ทำได้คือแยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้ไม่ติดเชื้อ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อ

สำหรับไวรัสอีโบลาที่ระบาดอยู่ในปัจจุบันได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ.2014 เมื่อองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) และกระทรวงสาธารณสุขของประเทศ Guinea พบการระบาดของเชื้อไวรัสนี้ที่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ โดยสาเหตุคาดว่าเกิดจากการรับประทานค้างคาวที่มีเชื้อไวรัสอีโบลาอยู่ จากนั้นเกิดการระบาดไปยัง ประเทศเพื่อนบ้านอีก 2 ประเทศ คือ Liberia และ Sierra Leone โดยที่ประเทศกินีมีรายงานผู้ติดเชื้อ 86 ราย เสียชีวิต 59 ราย (ร้อยละ 68.5) ณ วันที่ 24 มีนาคม 2014 ข้อมูลเบื้องต้นจาก Pasteur Institute in Lyon ประเทศฝรั่งเศส พบว่าเชื้อไวรัสอีโบลาสายพันธุ์ Zaire เป็นสาเหตุของการระบาดครั้งนี้ ปัจจุบันเชื้อไวรัสอีโบลายังคงแพร่ระบาดอยู่ในสามประเทศ (รูปที่ 2) และมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น จากรายงานของ Center for Disease Control (CDC) เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2557 พบว่าที่ประเทศกินีมีผู้ที่คาดว่าติดเชื้อ 460 ราย เสียชีวิต 339 ราย ยืนยันการติดเชื้อ 336 ราย ประเทศไลบีเรียสงสัยว่าติดเชื้อ 329 ราย เสียชีวิต 156 ราย ยืนยันการติดเชื้อ 100 รายและเซียร์ราลีโอนสงสัยว่าติดเชื้อ 533 ราย เสียชีวิต 233 ราย ยืนยันการติดเชื้อ 473 ราย ล่าสุดได้มีรายงานผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสอีโบลาที่ประเทศไนจีเรีย 1 รายและเสียชีวิต แต่ยังไม่มีการยืนยันจากห้องปฏิบัติการว่าติดเชื้อไวรัสนี้จริง รวมทั้งสิ้นมีผู้ติดเชื้อ 1323 ราย เลียชีวิต 729 ราย

บริเวณที่มีการระบาดของไวรัสอีโบลา

เอกสารอ้างอิง Knipe DM, Howley PM. Fields Virology, 5th Edition. Philadelphia : Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, c2007.
http://www.cdc.gov/vhf/ebola/outbreaks/guinea/index.html Access August1, 2014
http://www.who.int/csr/don/2014_07_31_ebola/en/ Accessed August 1, 2014

ข้อมูลจาก
อาจารย์ ดร.กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

8 ส.ค. 2557 เวลา 10:19 | อ่าน 7,054
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
เช็กเลย.. 30 บาทรักษาทุกที่ยุคใหม่..เข้าถึงการรักษาง่ายกว่าที่คิด..ทั้งประเทศ แค่ใช้บัตรประชาชน ใบเดียวสังเกตสัญลักษณ์ 30 บาทรักษาทุกที่
43 6 ม.ค. 2568
ดวงกับดาวประจำวันที่ 5-11มกราคม 2568
52 5 ม.ค. 2568
สอบภาค ก พิเศษ 2568 สำหรับส่วนราชการต่าง ๆ ประจำปี 2568
459 3 ม.ค. 2568
ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2567 ยื่นได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 68 - 8 เม.ย. 68
197 2 ม.ค. 2568
ปีใหม่แล้ว..วัยรุ่น.. รัฐบาลชวนเปลี่ยนเงินซื้อบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเงินออม สร้างรากฐานที่มั่นคงของครอบครัวในอนาคต
33 2 ม.ค. 2568
ประกาศสำนักงาน ก.พ. เรื่อง รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2568 (e-Exam)
276 25 ธ.ค. 2567
ช้อปดีมีคืน กรมสรรพากรเดินหน้าต่อ Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น เริ่ม 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
361 24 ธ.ค. 2567
ครม.เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 1,000 บาท เริ่ม 1 ม.ค.2568
103 17 ธ.ค. 2567
สอบภาค ก. ปี 2568 กำลังจะมาแล้วว เตรียมตัวกันให้พร้อม
273 17 ธ.ค. 2567
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
881 5 ธ.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...