ส่วนประกอบและสรรพคุณยาอมแก้ไอ ยาอมแก้เจ็บคอ

22 มิ.ย. 2558 เวลา 13:46 | อ่าน 9,812
 
เมื่อมีอาการเจ็บคอ หรือมีอาการไอ หลายคนเดินเข้ามาร้านยาเพื่อที่จะหาซื้อยาอมบรรเทาอาการดังกล่าว ซึ่งร้านยาบางร้านมักวางไว้บนชั้นรวมกับสินค้าอื่นๆที่สามารถเลือกหยิบได้ง่ายตามใจชอบ เช่น วางใกล้กับลูกอม เป็นต้น แต่ก่อนที่จะหยิบซื้อยาอมแต่ละครั้ง ท่านเคยอ่านฉลากยาบนซองยาอมเหล่านั้นบ้างหรือไม่? บางคนต้องการซื้อครั้งละหลายแผง เพื่อจะเก็บไว้ให้คนในบ้านใช้ด้วย หรือซื้อไปฝากคนอื่นที่มีอาการคล้ายกับตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น บางคนเล่าว่าจะซื้อไปอมเล่น เพราะรสชาติอร่อย เป็นต้น แต่จริงๆแล้ว ยาอมเหล่านี้ สามารถใช้ได้ตามความต้องการหรือไม่? เรามาดูกันว่ายาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ เป็นยาประเภทใด และต้องคำนึงถึงอะไรบ้างเมื่อใช้ยาเหล่านี้ ทั้งนี้ ในบทความนี้ไม่ได้หมายรวมถึงยาอมสมุนไพร

1. ส่วนประกอบในยาอมแก้เจ็บคอ มีอะไรบ้าง
ยาอมแก้เจ็บคอ ส่วนใหญ่จะมียาผสมกันอยู่หลายชนิด (ดังแสดงในตาราง) ซึ่งแบ่งออกเป็น
ยาอมแก้เจ็บคอ

● ยาบรรเทาความรู้สึกเจ็บในลำคอ เช่น ยาชาเฉพาะที่ หรือยาแก้ปวด ลดการอักเสบ

● สารฆ่าเชื้อ/ทำให้ปราศจากเชื้อ เพื่อรักษาความสะอาดในช่องปากและลำคอ

● ยาปฏิชีวนะ (หรือเรียกง่ายๆว่า ยาฆ่าเชื้อ) การผสมยาปฏิชีวนะในยาอมมีข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาน้อยมาก อีกทั้ง อาการเจ็บคอสามารถเกิดได้จากทั้งการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ โดยกรณีติดเชื้อส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัส เช่น เจ็บคอจากโรคหวัด เป็นต้น ซึ่งสามารถหายได้เอง (ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ) แต่หากสาเหตุของการเจ็บคอมาจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น คอหอยอักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส กรุ๊ปเอ ซึ่งมักมีไข้สูงร่วมกับอาการเจ็บคอมาก เป็นต้น ยาหลักในการรักษาที่มีงานวิจัยสนับสนุนชัดเจน ได้แก่ ยาปฏิชีวนะแบบรับประทานบางชนิด เท่านั้น

● อื่นๆ เช่น วิตามินซี เป็นต้น

2. ส่วนประกอบในยาอมแก้ไอ มีอะไรบ้าง
ปัจจุบันมียา 2 ชนิด ที่ผลิตเป็นยาอมแก้ไอ ได้แก่ ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (dextromethorphan) สำหรับอาการไอแห้ง และยาแอมบรอกซอล (ambroxol) สำหรับไอมีเสมหะ แต่ปริมาณยาในยาอม 1 เม็ดจะมีน้อยกว่ายาเม็ดสำหรับรับประทาน

3. ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ ใช้อย่างไร
ยาอมเป็นเพียงอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ หรืออาการไอ โดยยาบางชนิดถูกจัดเป็นยาอันตราย ซึ่งต้องจ่ายและให้คำแนะนำการใช้จากแพทย์หรือเภสัชกร ขณะที่บางชนิดจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งผู้ป่วยสามารถหยิบเลือกซื้อได้เอง (ดังแสดงในรูปภาพ)
ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ

นอกจากนี้ บนฉลากยายังระบุสรรพคุณ ชื่อยา ปริมาณ และวิธีใช้ไว้อย่างชัดเจน ไม่ใช่อมเท่าไหร่ก็ได้ตามต้องการ เพราะอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ เช่น

● ยาเฟอร์บิโพรเฟน (flurbiprofen) ซึ่งเป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หากใช้ขนาดสูงเกินไป อาจทำให้เกิดแผลและมีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหารอยู่แล้ว

● การใช้ยาแก้ไอเดกซ์โทรเมทอร์แฟนขนาดสูง อาจทำให้ง่วงซึม ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากยานยนต์หรือจากการใช้เครื่องจักรกลต่างๆ

● พบรายงานการเกิดภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด จากการใช้ยาอมที่มีส่วนประกอบของยาชาเฉพาะที่ คือ เบนโซเคน (benzocaine) ซึ่งส่งผลให้เม็ดเลือดแดงขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้น้อยลง เป็นต้น
นอกจากนี้ หากใช้ยาอมติดต่อกัน 2-3 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

4. มีอะไรที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการใช้ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ อีกบ้าง
นอกจากวิธีใช้ยาที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีคำเตือนต่างๆ ที่ระบุไว้บนฉลากยา เช่น การแพ้ยา การใช้ยาในเด็กเล็กซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักเข้าทางเดินหายใจ หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมลูก หรือผู้ที่มีโรคบางชนิดที่ไม่ควรใช้ยา เป็นต้น

5. มีวิธีบรรเทาอาการเจ็บคอ อาการไอ ที่สามารถทำได้เองที่บ้านหรือไม่
วิธีการง่ายๆ คือ เมื่อมีอาการดังกล่าว ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอ เลี่ยงอาหารรสจัด ดื่มน้ำอุ่นเยอะๆ หากไม่มีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ หรือกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ (ทำได้บ่อยๆ) ซึ่งสามารถเตรียมได้เอง โดยนำเกลือ 1 ช้อนชา ละลายในน้ำอุ่น 1 แก้ว (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) หรือหาซื้อน้ำเกลือที่เตรียมสำเร็จได้ตามร้านยา เป็นตัน

จากข้อมูลทั้งหมด ผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่า แม้แต่ยาอมก็ควรใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สำหรับบางคนที่คิดว่าเคยใช้ยานี้มาตลอด ไม่เห็นเป็นอะไร แต่อย่าลืมว่า ร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา อาจมีโรคหรือปัจจัยบางอย่างเกิดขึ้นมาภายหลัง โดยที่เราคิดไม่ถึงว่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายจากยาได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรอ่านฉลากยาให้ละเอียด และสอบถามเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยาเหล่านี้


บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดย
เภสัชกร สุรศักดิ์ วิชัยโย
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


22 มิ.ย. 2558 เวลา 13:46 | อ่าน 9,812
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
วันจ่ายเงินเดือนข้าราชการบํานาญ 2568 เงินเดือนบำนาญ 2568
52 15 ก.ย. 2567
วันจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2568 เงินเดือนราชการ 2568
42 15 ก.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 15-21 กันยายน 2567
75 15 ก.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 8-14 กันยายน 2567
366 9 ก.ย. 2567
คำไทยน่ารู้ ความหมายของคำว่า เกษียณ เกษียร เกษียน ใช้อย่างไร
43 4 ก.ย. 2567
เคาะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร อายุ 0-6 ปี จาก 800 บาท เป็น 1,000 บาท
357 1 ก.ย. 2567
ดีอี เตือน ข่าวปลอม “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อผ่านบัญชี TikTok” พบ “โจรออนไลน์” เปิด 4 บัญชีปลอม ลวงดึงข้อมูล -ดูดเงิน ปชช.
92 1 ก.ย. 2567
ลมยางควรเติมบ่อยแค่ไหน เติมเท่าไหร่ดี
75 1 ก.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 กันยายน 2567
837 1 ก.ย. 2567
บัตรทอง “ทำฟันฟรี” แค่มีบัตรประชาชนใบเดียว
425 31 ส.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...