สิว เชื้อรา สาเหตุเกิดจากอะไร และจะรักษาอย่างไร

20 ก.ค. 2558 เวลา 09:09 | อ่าน 18,633
แชร์ไปยัง
L
 
สิว อาจเป็นปัญหากวนใจวัยรุ่นหลายๆคน หรือแม้แต่วัยผู้ใหญ่เองก็พบได้เช่นกัน โดยเฉพาะสิวบนใบหน้าที่อาจทำให้สูญเสียความมั่นใจได้ ด้วยเหตุนี้ บางคนตัดสินใจไปพบแพทย์ผิวหนัง ขณะที่บางคนเลือกที่จะค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตซึ่งมักมีผู้มาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับสิว แล้วทดลองรักษาด้วยตัวเอง แต่หากผื่นที่เราเห็นว่าคล้ายสิวนั้นแท้จริงแล้วไม่ใช่สิวทั่วๆไปที่เราคุ้นเคย ยารักษาสิวแบบเดิมที่เราใช้อยู่อาจไม่ช่วยให้หายเป็นปกติ ซึ่งปัจจุบันในเว็บไซต์ต่างๆ มีการกล่าวถึงสิวชนิดหนึ่งเรียกว่า “สิวเชื้อรา” ทั้งในแง่ของการให้ความรู้และการตั้งกระทู้ข้อสงสัย เช่น เป็นสิวทำไมหมอจ่ายยาฆ่าเชื้อรา เป็นต้น เรามาดูกันว่า สิวแบบนี้มีจริงหรือไม่ แล้วจะรักษาอย่างไร

เป็นสิว

สิวเชื้อราคืออะไร
“สิวเชื้อรา” หรือ “สิวยีสต์” อาจเป็นคำที่สื่อความหมายให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ง่าย เนื่องจากผื่นที่พบบนผิวหนังนั้นมีลักษณะคล้ายสิว และยังบ่งบอกถึงสาเหตุว่าเกิดจากเชื้อรา แต่แท้จริงแล้ว ในทางการแพทย์เรียกโรคนี้ว่า “รูขุมขนอักเสบจากเชื้อรา (Malassezia folliculitis เดิมเรียกว่า Pityrosporum folliculitis)” โดยอาจพบเดี่ยวๆ หรือพบร่วมกับสิวทั่วๆไปที่มีสาเหตุจากทั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย (Propionibacterium acnes หรือ P. acnes) เป็นต้น

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดสิวเชื้อรา
เชื้อที่มักเป็นสาเหตุของโรคนี้ ได้แก่ เชื้อราประเภทยีสต์ในกลุ่ม “มาลาสซีเซีย (Malassezia species)” โดยทั่วไปจะพบเชื้อชนิดนี้ที่ผิวหนังของทุกคน แต่หากเชื้อมีการเจริญเติบโตมากผิดปกติ จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคผิวหนังหลายชนิด เช่น เกลื้อน โรครังแคอักเสบ (seborrheic dermatitis) รวมทั้งโรครูขุมขนอักเสบ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีผิวมัน เหงื่อออกง่าย ผู้ที่อาศัยในสภาพอากาศร้อนและอับชื้น หรือผู้ที่มีรูขุมขนอุดตันจากการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ถือว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดรูขุมขนอักเสบจากเชื้อราได้ นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน (ทั้งชนิดรับประทานและทา) โดยเฉพาะยากลุ่มเตตร้าซัยคลิน (tetracyclines) หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น รับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจส่งเสริมให้เกิดรูขุมขนอักเสบจากเชื้อราได้ง่ายเช่นกัน

ลักษณะและอาการของสิวเชื้อรา
โรครูขุมขนอักเสบจากเชื้อรา หรือสิวเชื้อรา ส่วนใหญ่มักเกิดที่ผิวหนังบริเวณหน้าอก แผ่นหลัง แต่สามารถพบได้ที่ไหล่ คอ และใบหน้า เป็นต้น ซึ่งจะมีลักษณะเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ (papules) มีขนาดใกล้เคียงกัน (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 มิลลิเมตร) และจากการที่เชื้อรา มาลาสซีเซีย เจริญเติบโตมากผิดปกติบริเวณรูขุมขน (hair follicle) จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเป็นตุ่มแดงและอาจมีตุ่มหนอง (pustules) ร่วมด้วย ดังแสดงในรูปภาพ แต่ไม่มีลักษณะของสิวอุดตัน (comedones) และผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการคันบริเวณที่เป็นผื่น โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อนชื้น หรือช่วงที่ต้องทำกิจกรรมมากขึ้น เช่น ออกกำลังกาย ซึ่งแตกต่างจากสิวทั่วไปที่ไม่ค่อยมีอาการคัน

ลักษณะสิวและเชื้อรา


ยาที่ใช้รักษาสิวเชื้อรา

เนื่องจากสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา ดังนั้น ยาที่เหมาะสมในการรักษาจึงเป็นยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งมีทั้งรูปแบบยาทาผิวหนัง และยารับประทาน โดยหากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรครูขุมขนอักเสบจากเชื้อรา หรือสิวเชื้อรา การรักษามักเริ่มด้วยยารับประทาน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงกว่ายาทา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะยาสามารถแพร่กระจายไปยังรูขุมขนซึ่งอยู่ลึกลงไปในชั้นหนังแท้ได้ดี ขณะที่ยาทามักใช้เป็นยาเสริมร่วมกับยารับประทาน หรือใช้หลังจากที่ผื่นหายแล้ว เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ตัวอย่างยาที่มีการใช้รักษาโรครูขุมขนอักเสบจากเชื้อรา แสดงดังตาราง โดยทั่วไปจะใช้เวลารักษาประมาณ 1-2 เดือน แต่บางกรณีอาจใช้เวลารักษานานกว่านั้น เช่น กรณีที่เป็นซ้ำบ่อยๆ

ยาต้านเชื้อรา

อาการข้างเคียงและข้อควรระวังของยาฆ่าเชื้อรา มีอะไรบ้าง
กรณียาทาผิวหนังมักไม่ค่อยพบอาการข้างเคียงที่รุนแรง แต่อาจพบอาการระคายเคืองบริเวณที่ทายา เช่น ซีลีเนียม ซัลไฟด์ มีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังลอก (keratolytic activity) ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือผิวหนังถลอกได้ จึงควรทาทิ้งไว้เพียง 5-10 นาที แล้วล้างออก เป็นต้น ส่วนยาคีโตโคนาโซลชนิดรับประทาน ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาอันดับแรก (first-line drug) สำหรับรักษาโรคติดเชื้อรา เนื่องจาก 1) พบรายงานว่ายามีผลทำลายตับ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
2) ยากดต่อมหมวกไต ทำให้การสร้างฮอร์โมน คอร์ติโค-สเตียรอยด์ (corticosteroids) ลดลง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย และ
3) ยามีผลรบกวนการออกฤทธิ์ของยาอื่นหลายชนิด (หรือยาตีกัน) ดังนั้น หากใช้ยานี้ ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามเฝ้าระวังเหตุการณ์ข้างต้นจากแพทย์ผู้ทำการรักษา

สำหรับยาฟลูโคนาโซล และไอทราโคนาโซล อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แต่ไม่พบในผู้ป่วยทุกคน นอกจากนี้ ยาทั้งสองชนิดอาจทำให้เกิดตับอักเสบได้เช่นกัน แต่พบน้อย อีกทั้งต้องระวังเรื่องยาตีกัน เช่น

(1) เพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างเพียงพอ ควรรับประทานยาไอทราโคนาโซล (แคปซูล) หลังอาหารทันที และห้ามใช้ร่วมกับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

(2) ทั้งยาฟลูโคนาโซล และไอทราโคนาโซล มีผลรบกวนการออกฤทธิ์ของยาอื่นหลายชนิดที่อาจมีการใช้ร่วมกัน เป็นต้น

จากข้อมูลที่นำเสนอมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าโรครูขุมขนอักเสบจากเชื้อรามีลักษณะคล้ายสิวมาก ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผิวหนัง ซึ่งจะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และบางกรณีอาจต้องนำเนื้อเยื่อหรือหนองจากบริเวณที่เป็นผื่นไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันว่าผื่นที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากเชื้อราชนิดดังกล่าวจริง นอกจากนี้ การใช้ยาแต่ละชนิด ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร ผู้ป่วยไม่ควรวินิจฉัยโรคหรือทดลองใช้ยาด้วยตัวเอง เพราะหากใช้ยาไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากยาได้




บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดย
เภสัชกร สุรศักดิ์ วิชัยโย
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

20 ก.ค. 2558 เวลา 09:09 | อ่าน 18,633


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
78 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
944 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
57 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
55 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
454 12 เม.ย. 2567
แจ้งข่าวดี กองทุนหมู่บ้าน จับมือ ทิพยประกันภัย แจกประกันภัยอุบัติเหตุฟรีช่วงสงกรานต์ ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท
581 12 เม.ย. 2567
ธอส. ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.105% ต่อปี มอบเป็นของขวัญวันปีใหม่ไทย​ เริ่ม 14 เมษายนนี้
406 12 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 เมษายน 2567
507 8 เม.ย. 2567
สธ.จัดทีม SEhRT เฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพ-คุณภาพ แม่น้ำโขง หลังเกิดเหตุ กรดซัลฟิวริก รั่วไหลที่ลาว
80 6 เม.ย. 2567
​โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ สั่งการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ หลังคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณเที่ยวบินช่วงเทศกาลสงกรานต์ 11 – 17 เมษายน 2567 เพิ่มขึ้น 20%
84 6 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน