ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

25 เม.ย. 2559 เวลา 17:23 | อ่าน 9,018
 
ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความอับอาย แยกตัวจากสังคม ไม่อยากออกจากบ้าน เพราะ ผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกปวดอยากปัสสาวะอย่างรุนแรงขึ้นอย่างฉับพลัน และไม่สามารถกลั้นไว้ได้ จึงอาจจะมีปัสสาวะเล็ด/ราด ปัสสาวะบ่อย (ในช่วงกลางวันมากกว่า 7 ครั้งต่อวัน) และต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืนหลังจากหลับ (มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้ง) แต่ไม่มีการติดเชื้อหรือพยาธิสภาพอื่น ภาวะดังกล่าวนี้ในทางการแพทย์ เรียกว่า ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยและเร็วกว่าปกติ โดยสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทซึ่งควบคุมการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวบ่อยและบีบตัวไวกว่า ปกติ โดยที่ยังมีปริมาณปัสสาวะไม่มากพอที่จะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสเกิดได้มากขึ้น และพบบ่อยกว่าในสตรีเพศ นอกจากนี้ ภาวะต่อมลูกหมากโต หรือ การมีเลือดไปเลี้ยงที่กระเพาะปัสสาวะไม่เพียงพอจนเกิดภาวะขาดเลือดและนำไปสู่ความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหรือการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะบกพร่อง การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะบ่อยๆก็เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวผิดปกติได้ และมีข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยทางจิตเวช เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวิตกกังวล สมาธิสั้น สมองเสื่อม มีอัตราการเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน สูงกว่าคนปกติซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นผลจากความบกพร่องในการทำงานของสารสื่อประสาท

เมื่อเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน แพทย์จะทำการซักประวัติและวินิจฉัยเพื่อให้แน่ใจว่า ภาวะดังกล่าวมิได้มีสาเหตุจากโรคหรือความผิดปกติอื่น และแพทย์จะให้ผู้ป่วยจดบันทึกการปัสสาวะ เช่นถ่ายปัสสาวะเวลาใด เกิดปัสสาวะเล็ดหรือไม่ ดื่มน้ำ/ของเหลวเวลาใดและปริมาตรเท่าไร เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการ

ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

แนวทางในการรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
เริ่มจาก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการค่อยๆลดปริมาณนํ้า/ของเหลวที่ดื่ม และ รับประทานผักผลไม้ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบแทน และงดการรับประทานสารที่กระตุ้นให้ปัสสาวะ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ด้วย

การฝึกกลั้นปัสสาวะ การฝึกกลั้นปัสสาวะ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ให้ฝึกเพิ่มช่วงเวลาของการไปถ่ายปัสสาวะ โดยค่อยๆยืดระยะเวลาระหว่างการไปถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้ง ร่วมกับการให้ยาที่ควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ คือ ยากลุ่ม Antimuscarinic เช่น darifenacin, hyoscyamine, oxybutynin, tolterodine, solifenacin, trospium, fesoterodine ซึ่งควรให้ยาเม็ดชนิดค่อยๆปลดปล่อยตัวยา เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในปัจจุบันนี้ยา oxybutynin ยังมีรูปแบบพลาสเตอร์ปิดบนผิวหนังหรือรูปแบบเจลทาผิว เพื่อให้ยาค่อยๆถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ยากลุ่มนี้บรรเทาอาการด้วยการไปต้านผลของระบบประสาทอัตโนมัติชนิดพาราซิมพาเตติก เพราะเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินนั้น เป็นผลจากการที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะตอบสนองต่อสารสื่อจากระบบประสาทพาราซิมพาเตติกมากเกินไป ผลของการใช้ ยากลุ่ม Antimuscarinic คือ ยาจะไปลดการบีบตัวที่ไวเกินปกติของกระเพาะปัสสาวะ แต่จะก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก นอกจากนี้ยังมี ยากลุ่ม ß3-adrenoceptor agonist เช่น Mirabegron ซึ่งลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ลดความดันภายในกระเพาะปัสสาวะ แต่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง คือ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปวดศีรษะ ท้องผูก


อย่างไรก็ดี ยาบรรเทาอาการของภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินมีประสิทธิผลปานกลาง ช่วยลดจำนวนครั้งของการปวดปัสสาวะลงบ้าง แต่ไม่สามารถหยุดยั้งอาการทั้งหมด

การบริหารกล้ามเนื้อหูรูดให้แข็งแรง เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายๆ และให้ผลดีในการบรรเทาอาการปัสสาวะเล็ดได้ เพียงขมิบกล้ามเนื้อหูรูดอย่างแรงเหมือนกำลังกลั้นปัสสาวะ และขมิบทำเช่นนั้นนานประมาณ 5 วินาที หยุดขมิบ 10 วินาที แล้วทำซ้ำ ให้ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง ในตอนเช้า กลางวัน และเย็น ทุกวัน ค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งของการขมิบเป็น 15 ทีวันละ3 ครั้ง 20 ทีวันละ3 ครั้ง 20 ทีวันละ4 ครั้ง และทำเพิ่มอีก 20 ที บริหารกล้ามเนื้อหูรูดอย่างสม่ำเสมอ ต่อมาเมื่อเข้าห้องน้ำถ่ายปัสสาวะลองถ่ายเพียงครึ่งหนึ่งแล้วหยุดด้วยการขมิบอย่างแรงลองดูว่าสามารถกลั้นปัสสาวะได้หรือยังที่สำคัญคือ ต้องบริหารกล้ามเนื้อหูรูดอย่างสม่ำเสมอ และสามารถบริหารได้ทุกที่ เช่น ขณะนั่งทำงาน ขณะนั่งรถ ฟังเพลง ดูรายงานข่าว และใช้ผลการบริหารนี้เมื่อจำเป็นต้องกลั้นมิให้ปัสสาวะเล็ด/ราด เช่น ไอ จาม หัวเราะ

ที่สำคัญคือ ต้องบริหารกล้ามเนื้อหูรูดอย่างสม่ำเสมอ และสามารถบริหารได้ทุกที่ เช่น ขณะนั่งทำงาน ขณะนั่งรถ ฟังเพลง ดูรายงานข่าว และใช้ผลการบริหารนี้เมื่อจำเป็นต้องกลั้นมิให้ปัสสาวะเล็ด/ราด เช่น ไอ จาม หัวเราะ

ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยยาที่กล่าวข้างต้น หรือการรักษาด้วยยาไม่บรรลุเป้าหมายในการรักษา แพทย์อาจพิจารณาเลือกใช้วิธีการรักษาแบบอื่น เช่น การฉีดสาร Botulinum toxin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยสารสื่อจากระบบประสาทพาราซิมพาเตติก ทำการการกระตุ้นเส้นประสาท Sacral หรือ tibial ด้วย ไฟฟ้า และทำการผ่าตัด เป็นต้น




ข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดย
รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ข้อมูลรูปจาก
www.health2click.com www.4life4good.com


25 เม.ย. 2559 เวลา 17:23 | อ่าน 9,018
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 20-26 ตุลาคม 2567
127 20 ต.ค. 2567
มาตรการช่วยน้ำท่วม ลดภาษี - ลดค่าใช้จ่าย – เพิ่มสินเชื่อฟื้นฟูบ้านเรือน
34 16 ต.ค. 2567
คำเกี่ยวกับเทคโนโลยีทับศัพท์คำไทย ยุคดิจิทัล
39 15 ต.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถตามวันเกิด ปี 2568
346 14 ต.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 13-19 ตุลาคม 2567
455 13 ต.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 6-12 ตุลาคม 2567
261 7 ต.ค. 2567
4 วิธีคลายเครียดในชีวิตประจำวัน
750 5 ต.ค. 2567
วิธีดูผลการประเมินเงินเดือนที่เร็วกว่าในระบบ ก.พ.7 โดยดูจากข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญ
1,029 5 ต.ค. 2567
“สินบน” ภัยร้ายอันตรายกว่าที่คิด สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
1,108 1 ต.ค. 2567
แนะศึกษากฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้ลึก ช่วง4เดือนนี้ ก่อนบังคับใช้เหตุเกี่ยวพันทั้งอาญา และแพ่ง
132 1 ต.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...