สรรพากรกาง8สูตรรีดภาษีปี"56 รายได้วูบ7หมื่นล.เร่งปั๊มเพิ่ม15%

28 ต.ค. 2555 เวลา 19:59 | อ่าน 5,489
แชร์ไปยัง
L
 
images by free.in.th
สรรพากรกาง 8 มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพรีดภาษีเต็มสูบปี 2556 เผยต้องเร่งสปีดปั๊มรายได้เพิ่มขึ้น 15% ผลพวงนโยบายลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% ทำรายได้สูญกว่า 7 หมื่น ล. ฟาก "พีดับเบิลยูซี" จี้รัฐปรับภาษีบุคคลธรรมดาต่ำกว่า 37% ไม่ให้เหลื่อมล้ำกับประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมแนะขจัดอุปสรรคทางภาษีที่ทำให้เอกชนไม่กล้าออกไปลงทุนต่างประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเวทีสัมมนาภาษีและกฎหมายประจำปี ครั้งที่ 14 "ประเทศไทยและการผงาดของเอเชีย" จัดโดย "ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PWC) ประเทศไทย" โดยนายศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหารและหุ้นส่วน พีดับเบิลยูซี กล่าวว่า เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ประเทศไทยต้องเร่งปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างภาษีของกรมสรรพากร ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินปันผล ภาษีเงินได้นิติบุคคล ควรมีการจัดการให้น่าดึงดูดและแข่งขันได้มากขึ้น

ขณะที่นายถาวร รุจิวนารมย์ หัวหน้าหุ้นส่วนกรรมการอาวุโส และกรรมการบริหาร สายงานภาษีและกฎหมายพีดับเบิลยูซี กล่าวว่า หากภาครัฐจะส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น รัฐบาลต้องหามาตรการจูงใจ และแนวทางในการจัดการที่จะทำให้นักลงทุนสามารถเก็บผลกำไรไว้ในเมืองไทยให้ได้ หากประเทศไทยยังมีอัตราภาษีสูงกว่าประเทศอื่น ๆ จะทำให้เงินลงทุนไหลไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่าหรือไม่มีภาษี เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์

แม้ว่ารัฐจะมีการลดภาษีนิติบุคคลแล้ว แต่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนในระยะยาวด้วย นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ปัจจุบันอัตราสูงสุดอยู่ที่ 37% เพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างกันมากด้วย

นอกจากนี้ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการขจัดอุปสรรคที่ทำให้เอกชนไม่กล้าออกไปลงทุนต่างประเทศ ยกตัวอย่าง มาตรา 70 ตรี ที่บัญญัติไว้ว่า การส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ ถือเป็นการขาย ไม่เว้นแม้แต่กรณีจะเป็นการส่งสินค้าวัตถุดิบไปสต๊อกไว้ในต่างประเทศ แต่ยังไม่ได้ขายก็ตาม ผู้ประกอบการต้องประเมินกำไรแล้วเสียภาษีทันที

ขณะที่นายมานิต นิธิประทีป รองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงภาษีหลายรายการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รองรับการเปิดเออีซี โดยดำเนินการต่อเนื่องจากการลดภาษีนิติบุคคลในวันที่ 1 ม.ค. 2556 จะเหลือ 20% ซึ่งได้เสนอแก้กฎหมายให้เป็นมาตรการถาวรแล้ว ซึ่งขณะนี้นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขปรับปรุงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้มีความเหมาะสมขึ้น

"การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันที่ทำไปแล้วคือ ลดภาษีนิติบุคคล ตอนนี้กำลังดูเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ ทุกคนจะบอกว่าอัตราของเราค่อนข้างสูง ซึ่งก็กำลังดูอยู่ว่าจะปรับยังไง แต่การปรับอะไรแต่ละตัวกระทบงบประมาณค่อนข้างสูงมาก" นายมานิตกล่าว

ขณะเดียวกันกรมก็มีแผนเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีหลายด้าน โดยจะเริ่มเห็นการดำเนินการในปี 2556 ได้แก่ 1.การกำกับดูแลอย่างเป็นระบบทั้งซัพพลายเชน โดยให้หน่วยภาษีขนาดใหญ่ (แอลทีโอ) ส่งรายชื่อบริษัทที่ซื้อขายระหว่างกัน ตั้งแต้ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้สรรพากรภาค/พื้นที่ตรวจสอบ ซึ่งดำเนินการไปหลายธุรกิจแล้ว เช่น ปุ๋ย กระดาษ แอร์ เป็นต้น

2.การสำรวจและติดตามธุรกรรมใหม่ ๆ เช่น อีคอมเมิร์ซ มีการตั้งหน่วยฮันต์ (ล่า) บนอินเทอร์เน็ต ที่จะมีระบบติดตามอย่างใกล้ชิด และกำลังสร้างระบบภาษี โดยมีแนวคิดว่าจะให้ผู้ซื้อสินค้าจากต่างประเทศผ่านระบบอีคอมเมิร์ซต้องยื่นแบบเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) 3.ติดตามธุรกิจที่มีศักยภาพ แต่มีแนวโน้มเสียภาษีไม่ถูกต้อง 4.การเร่งคืนภาษี เพราะเมื่อคืนภาษีเร็ว บริษัทก็จะเอาเงินภาษีไปลงทุนต่อ ก็จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามา

5.การยื่นแบบ ภ.พ.30 พร้อมแนบซอฟต์ไฟล์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ และต่อไปจะให้มีการยื่นสรุปรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายเป็นรายเดือน ว่ามีการซื้อ-ขายกับใครบ้าง เพื่อที่กรมสรรพากรจะได้นำข้อมูลมาลงในระบบ 6.บูรณาการฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษี โดยเชื่อมโยง 3 กรมภาษี

7.การขยายเวลาการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตจะได้ขยายอีก 8 วัน และ 8.เพิ่มช่องทางการชำระภาษีผ่านบัตรเครดิต เคาน์เตอร์เซอร์วิส และสมาร์ทการ์ด

นายมานิตกล่าวอีกว่า ยังมีมาตรการภาษีระหว่างประเทศโดยเจรจาภาษีซ้อนอย่างต่อเนื่อง ที่่กำลังดำเนินการคือ การเจรจาข้อตกลงเกี่ยวกับการกำหนดราคาเป็นการล่วงหน้า โดยเจรจากับหน่วยงานภาษีของประเทศที่มีบริษัทมาตั้งบริษัทลูกในไทย ให้ประเมินผลกำไรของบริษัทล่วงหน้า เพื่อกำหนดการชำระภาษีและดำเนินมาตรการ ปิดช่องโหว่กรณีที่มี

การมาตั้งบริษัทลูกในเมืองไทยด้วยทุนต่ำ แต่มีการกู้เงินจำนวนมากซึ่งทำให้เสียภาษีต่ำกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้วยังนำมาหักค่าใช้จ่ายได้อีก ถือเป็นการเลี่ยงภาษีรูปแบบหนึ่ง โดยจะกำหนดสัดส่วนหนี้สินต่อทุนให้ชัดเจน

"เป้าหมายจัดเก็บรายได้รวมของกรมสรรพากรปีงบประมาณ 2556 อยู่ที่ 1.774 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีก่อนกว่า 9% ขณะที่ประเมินว่าจะมีการสูญเสียรายได้จากการลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% จาก 23% อีกกว่า 7 หมื่นล้านบาท คิดเป็นภาษีที่จะต้องเก็บให้ได้เพิ่มขึ้น 15% จึงจะเป็นไปตามเป้า" รองอธิบดีกรมสรรพากรกล่าว

ข้อมูลจาก http://www.prachachat.net www.matichon.co.th วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 19:12:37 น.


28 ต.ค. 2555 เวลา 19:59 | อ่าน 5,489


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
จอดรถ พวงมาลัยไม่ตรง เสียหายมากกว่าที่คิด
450 5 ธ.ค. 2566
เปิดไล่ฝ้าทิ้งไว้ อาจทำกระจกแตกทั้งบาน?
246 5 ธ.ค. 2566
ขับรถเกียร์ออโต้ อย่างไร ให้ประหยัดน้ำมัน ?
472 5 ธ.ค. 2566
รัดเกล้า ชูมาตรการแก้ปัญหาหนี้ทั้งในและนอกระบบ ย้ำไม่ใช่การลดหนี้ พักหนี้ หรือยกหนี้ แต่ช่วยไกล่เกลี่ย หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ ยืนยันรัฐบาลแก้ไขปัญหาประชาชนอย่างยั่งยืน
148 3 ธ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 3-9 ธันวาคม 2566
534 3 ธ.ค. 2566
โฆษกรัฐบาล เผย บริษัทรถ EV เตรียมลงทุนในไทยต่อเนื่อง
409 2 ธ.ค. 2566
ออมสิน ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าวาระแห่งชาติ “การแก้ไขหนี้นอกระบบ” ให้กู้ 50,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
675 1 ธ.ค. 2566
อนุทิน-พวงเพ็ชร จับมือเปิดตัวแอพ
505 29 พ.ย. 2566
​รองนายกฯ ภูมิธรรม กดปุ่ม Kick off ธ.ก.ส.โอนเงิน ช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ล็อตแรกวันนี้ จ่าย 5 รอบ
501 29 พ.ย. 2566
การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เป็นวาระแห่งชาติ
266 28 พ.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน