วิกฤตต้มยำกุ้ง

31 ต.ค. 2555 เวลา 08:38 | อ่าน 8,082
แชร์ไปยัง
L
 
วิกฤตต้มยำกุ้ง หมายถึงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ในยุค รัฐบาล พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ จุดแตกหักของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เกิดขึ้นตอนเช้าตรู่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เมื่อรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างทันทีทันใด จากเดิมประมาณ 25.60 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 28.75 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง และค่าเงินบาทอ่อนลงตามลำดับ ในช่วงต่ำสุดเคยตกลงถึง 55 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ

วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ นอกจากทำให้ธุรกิจเอกชน เช่น บริษัทบ้านจัดสรร อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง สถาบันการเงิน ธนาคาร ธุรกิจการพิมพ์การโฆษณา ถูกกระทบอย่างรุนแรง หลายแห่งต้องปิดกิจการ หลายแห่งมีหนี้ท่วมตัว พนักงานจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน และรัฐบาลถูกกดดันให้ลาออกแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ยังส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศมาเลย์เซีย อินโดนีเซีย เกาหลี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ มากบ้างน้อยบ้าง

ความพยายามของธนาคารแห่งประเทศไทยในการพยุงค่าเงินบาท ทำให้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศหมดคลังจนต้องขอกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพยุงฐานะทางการเงินของประเทศ และรัฐบาลไทยจำต้องยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนดขึ้น เช่น งบประมาณแผ่นดินจะต้องตั้งเกินดุล 1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ภาษี มูลค่าเพิ่มจะต้องเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ เข้าใจกันว่าเกิดจากการดำเนินนโยบายผิดพลาดที่สำคัญ 2 ประการของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่

1) การใช้เงินกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปช่วยเหลือสถาบันการเงินจนเกิดความเสียหายเกินที่จะเยียวยา และจำต้องปิดบริษัทไฟแนนซ์ 56 แห่ง

2) การสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศในการปกป้องการโจมตีค่าเงินบาท จนนำไปสู่วิกฤตเงินทุนสำรอง ทำให้เงินบาทขาดเสถียรภาพนับตั้งแต่การตัดสินใจเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตะกร้าเงินมาเป็นระบบลอยตัว

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 สาเหตุ 2 ประการข้างต้นมีที่มาจากการเร่งรัดเปิดระบบวิเทศธนกิจ หรือ BIBF (Bangkok International Banking Facility) เมื่อปี 2536-2537 ทำให้เกิดการก่อหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนจำนวนมหาศาลถึง 70,000 ล้านบาท ในขณะที่ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐถูกตรึงค่าอยู่ที่ 25.60 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่เมื่อปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐสูงถึง 45-50 บาท ต่อดอลล่าร์สหรัฐในช่วงหลังวิกฤตได้ไม่นาน ทำให้หนี้เงินกู้ของบริษัทเอกชนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และพากันล้มละลายหรือมีหนี้ท่วมตัว

ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล

ข้อมูลจาก http://www.kpi.ac.th


31 ต.ค. 2555 เวลา 08:38 | อ่าน 8,082


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
จอดรถ พวงมาลัยไม่ตรง เสียหายมากกว่าที่คิด
450 5 ธ.ค. 2566
เปิดไล่ฝ้าทิ้งไว้ อาจทำกระจกแตกทั้งบาน?
246 5 ธ.ค. 2566
ขับรถเกียร์ออโต้ อย่างไร ให้ประหยัดน้ำมัน ?
472 5 ธ.ค. 2566
รัดเกล้า ชูมาตรการแก้ปัญหาหนี้ทั้งในและนอกระบบ ย้ำไม่ใช่การลดหนี้ พักหนี้ หรือยกหนี้ แต่ช่วยไกล่เกลี่ย หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ ยืนยันรัฐบาลแก้ไขปัญหาประชาชนอย่างยั่งยืน
148 3 ธ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 3-9 ธันวาคม 2566
534 3 ธ.ค. 2566
โฆษกรัฐบาล เผย บริษัทรถ EV เตรียมลงทุนในไทยต่อเนื่อง
409 2 ธ.ค. 2566
ออมสิน ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าวาระแห่งชาติ “การแก้ไขหนี้นอกระบบ” ให้กู้ 50,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
675 1 ธ.ค. 2566
อนุทิน-พวงเพ็ชร จับมือเปิดตัวแอพ
505 29 พ.ย. 2566
​รองนายกฯ ภูมิธรรม กดปุ่ม Kick off ธ.ก.ส.โอนเงิน ช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ล็อตแรกวันนี้ จ่าย 5 รอบ
501 29 พ.ย. 2566
การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เป็นวาระแห่งชาติ
266 28 พ.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน