สธ. เตือนประชาชนระวังอาหารเป็นพิษ จากกินไข่แมงดาถ้วยช่วงหน้าร้อน

29 มี.ค. 2561 เวลา 20:38 | อ่าน 8,379
แชร์ไปยัง
L
 
กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนระวังการกินไข่แมงดาถ้วยหรือเห-ราช่วงหน้าร้อน มีพิษรุนแรงเหมือนพิษปลาปักเป้า ความร้อนทำลายพิษไม่ได้ ปีนี้พบผู้ป่วยแล้ว 7 ราย แนะหากมีอาการลิ้นชา ชารอบปาก อาเจียน หน้ามืด ให้รีบพบแพทย์

สธ. เตือนประชาชนระวังอาหารเป็นพิษ จากกินไข่แมงดาถ้วยช่วงหน้าร้อนสธ. เตือนประชาชนระวังอาหารเป็นพิษ จากกินไข่แมงดาถ้วยช่วงหน้าร้อน
กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนระวังการกินไข่แมงดาถ้วยหรือเห-ราช่วงหน้าร้อน มีพิษรุนแรงเหมือนพิษปลาปักเป้า ความร้อนทำลายพิษไม่ได้ ปีนี้พบผู้ป่วยแล้ว 7 ราย แนะหากมีอาการลิ้นชา ชารอบปาก อาเจียน หน้ามืด ให้รีบพบแพทย์

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงานพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากการรับประทานไข่แมงดาทะเล จำนวน 33 ราย เสียชีวิต 3 ราย ล่าสุดกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ พบผู้ป่วย 7 ราย จากการนำไข่แมงดาทะเลเผาที่ซื้อจากตลาดมาปรุงอาหารรับประทานด้วยกัน หลังจากนั้นทุกรายมีอาการชามือ ชาเท้า ชาปลายลิ้น อาเจียน บางรายมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่นร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากพิษของไข่แมงดาถ้วยหรือเห-รา ที่นำมารับประทานเพราะคิดว่าเป็นแมงดาจานซึ่งรับประทานได้ สารพิษนี้ทนทานความร้อนสูงมาก การต้ม ทอด ปิ้ง หรือย่าง ไม่สามารถทำลายพิษได้



นายแพทย์โอภาสกล่าวต่อว่า แมงดาทะเลมี 2 ชนิดคือ แมงดาจาน หรือแมงดาทะเลหางเหลี่ยม ไม่มีพิษ รับประทานได้ มีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล วางไข่ตามริมชายฝั่งที่เป็นดินทราย และแมงดาถ้วย ซึ่งมีชื่อเรียกหลายชื่อได้แก่ แมงดาทะเลหางกลม หรือเห-รา หรือแมงดาไฟ จะมีพิษ รับประทานไม่ได้ ตัวมีสีส้มหรือน้ำตาลเข้ม ขนาดเล็กกว่าแมงดาจาน อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนและตามคลองในป่าชายเลน ซึ่งแมงดาถ้วยมีพิษที่ชื่อ เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) และเซซิทอกซิน (Sasitoxin) ชนิดเดียวกับปลาปักเป้า เป็นพิษที่เกิดจากแบคทีเรียในลำไส้ของแมงดาถ้วย หรือเกิดจากการกินตัวแพลงก์ตอนที่มีพิษหรือกินหอยหรือหนอนที่มีแพลงตอนพิษ ทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ จึงขอย้ำเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการกินไข่แมงดาในช่วงกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน ซึ่งมักพบการแพร่พันธุ์ของแพลงก์ตอนพิษจำนวนมาก ทำให้อาจเกิดอาการป่วยรุนแรงและรวดเร็ว ภายใน 10-45 นาทีหลังรับประทานไข่แมงดาเข้าไป


สำหรับผู้ที่รับประทานไข่แมงดาทะเล หากพบว่ามีอาการชาที่ปากและลิ้น วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่ออก ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด และแจ้งแพทย์ว่ารับประทานไข่แมงดาทะเล จะช่วยให้การรักษาเร็วขึ้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษจากแมงดาทะเล ประชาชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง


29 มี.ค. 2561 เวลา 20:38 | อ่าน 8,379


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
จอดรถ พวงมาลัยไม่ตรง เสียหายมากกว่าที่คิด
450 5 ธ.ค. 2566
เปิดไล่ฝ้าทิ้งไว้ อาจทำกระจกแตกทั้งบาน?
246 5 ธ.ค. 2566
ขับรถเกียร์ออโต้ อย่างไร ให้ประหยัดน้ำมัน ?
472 5 ธ.ค. 2566
รัดเกล้า ชูมาตรการแก้ปัญหาหนี้ทั้งในและนอกระบบ ย้ำไม่ใช่การลดหนี้ พักหนี้ หรือยกหนี้ แต่ช่วยไกล่เกลี่ย หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ ยืนยันรัฐบาลแก้ไขปัญหาประชาชนอย่างยั่งยืน
148 3 ธ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 3-9 ธันวาคม 2566
534 3 ธ.ค. 2566
โฆษกรัฐบาล เผย บริษัทรถ EV เตรียมลงทุนในไทยต่อเนื่อง
409 2 ธ.ค. 2566
ออมสิน ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าวาระแห่งชาติ “การแก้ไขหนี้นอกระบบ” ให้กู้ 50,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
675 1 ธ.ค. 2566
อนุทิน-พวงเพ็ชร จับมือเปิดตัวแอพ
505 29 พ.ย. 2566
​รองนายกฯ ภูมิธรรม กดปุ่ม Kick off ธ.ก.ส.โอนเงิน ช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ล็อตแรกวันนี้ จ่าย 5 รอบ
501 29 พ.ย. 2566
การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เป็นวาระแห่งชาติ
266 28 พ.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน