ร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. ....

11 ก.ย. 2561 เวลา 21:54 | อ่าน 3,240
 
เนื่องจากการทำธุรกรรมหรือการทำนิติกรรมสัญญาหลายประเภทในระบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการพิสูจน์ตัวตน การให้ความยินยอม การลงลายมือชื่อ หรือการแสดงเจตนาของผู้ทำธุรกรรมดังกล่าวและในอดีตที่ผ่านมา การพิสูจน์ตัวตนมักจะให้ผู้ใช้บริการ (ผู้ทำธุรกรรม) ต้องไปแสดงตน

ร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เนื่องจากการทำธุรกรรมหรือการทำนิติกรรมสัญญาหลายประเภทในระบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการพิสูจน์ตัวตน การให้ความยินยอม การลงลายมือชื่อ หรือการแสดงเจตนาของผู้ทำธุรกรรมดังกล่าวและในอดีตที่ผ่านมา การพิสูจน์ตัวตนมักจะให้ผู้ใช้บริการ (ผู้ทำธุรกรรม) ต้องไปแสดงตนต่อผู้ให้บริการ เช่น หน่วยงานราชการ ธนาคารพาณิชย์ โรงพยาบาล เป็นต้น พร้อมส่งเอกสารหลักฐานในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน จึงก่อให้เกิดความไม่สะดวก และเป็นภาระต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบกับประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์โดยที่มีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย ดังนั้น หากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสามารถกระทำในรูปแบบดิจิทัลได้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ซึ่งจะเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเสนอร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. Digital ID) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่

(1) พัฒนาโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (โครงข่ายฯ) ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ
(2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมทั้งกำกับดูแลผู้ให้บริการ และ
(3) ยกระดับการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ โดยหน่วยงานของรัฐสามารถใช้ประโยชน์จากโครงข่ายฯ ได้ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ. Digital ID แล้ว เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561
ร่าง พ.ร.บ. Digital ID เป็นกฎหมายเชิงกำกับดูแล โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลโครงข่ายฯ เพื่อให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วน และผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ อำนาจการกำกับดูแลของคณะกรรมการสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้

1) ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Platform) ซึ่งให้บริการโดยบริษัทผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยคณะกรรมการมีอำนาจกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัท อีกทั้งการจัดตั้งบริษัทยังต้องได้รับความเห็นชอบ รวมถึงใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

2) ระบบทำการแทน (Proxy Server) ซึ่งเป็นการให้บริการระบบทำการแทนแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้าสู่ Platform ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ไม่มีมาตรฐานทางเทคโนโลยีเพียงพอ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับ Platform ผ่าน Proxy Server ได้ โดยคณะกรรมการมีอำนาจกำกับดูแลผู้ให้บริการ Proxy Server รวมถึงอำนาจในการพิจารณาอนุญาตการเชื่อมต่อระหว่าง Platform และ Proxy Server หรือสั่งให้หยุดการเชื่อมต่อดังกล่าว

3) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยคณะกรรมการมีอำนาจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล หลักเกณฑ์การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Platform และ Proxy Server รวมถึงอำนาจในการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลหรือพิจารณาคำอุทธรณ์ของผู้ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล นอกจากนี้ ยังมีอำนาจกำหนดมาตรฐานในการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานในโครงข่ายฯ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมให้ส่งข้อมูลในโครงข่ายฯ

นอกจากบทบัญญัติในเชิงการกำกับดูแลแล้ว ร่าง พ.ร.บ. Digital ID ยังกำหนดกรอบขั้นตอนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลไว้อย่างยืดหยุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ. Digital ID ยังเปิดให้หน่วยงานของรัฐเข้าสู่ระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อเข้า Platform โดยตรง หรือผ่านการใช้บริการ Proxy Server ซึ่งหากหน่วยงานของรัฐประสงค์จะให้บริการ Platform ก็สามารถกระทำได้ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ออกโดยพระราชกฤษฎีกา

นางสาวกุลยาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพิสูจน์และยืนยันตัวในรูปแบบดิจิทัลจะลดภาระของประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในฐานะผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่ต้องมีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนก่อนการใช้บริการ เช่น ประชาชนจะสามารถเปิดบัญชีธนาคารหรือขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องไปแสดงตนที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ เมื่อได้ดำเนินการพิสูจน์และยืนยันตัวตนและแสดงความจำนงที่จะทำธุรกรรมดังกล่าว
กับผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะ เป็นต้น”



สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3219
โทรสาร 0 2618 3366


11 ก.ย. 2561 เวลา 21:54 | อ่าน 3,240
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
บทวิเคราะห์เรื่อง อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. 68 อยู่ที่ -0.22% คาดผลจากราคาพลังงาน อุปสงค์ในประเทศและสงครามการค้าทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำในปีนี้
18 9 พ.ค. 2568
รัฐบาลเตือน นายจ้าง! อย่าลืมขึ้นทะเบียนหรือแจ้งออกลูกจ้าง ตามกฎหมาย ระวังถูกปรับ แถมลูกจ้างเสียสิทธิ
42 6 พ.ค. 2568
ดวงกับดาวประจำวันที่ 4-10 พฤษภาคม 2568
151 4 พ.ค. 2568
ความคืบหน้าการจ่ายเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ รอบการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568
57 29 เม.ย. 2568
ครม. เห็นชอบโครงการสลากการกุศล เพื่อสนับสนุนโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศลฯ
58 29 เม.ย. 2568
ออมสินร่วมฉลอง 150 ปี ก.คลัง จัดโปรแรง เงินฝาก 150 วัน ดอกเบี้ยพิเศษเฉลี่ย 2.55% ต่อปี
68 28 เม.ย. 2568
ดวงกับดาวประจำวันที่ 27 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2568
74 27 เม.ย. 2568
สัปดาห์นี้รับมืออากาศร้อนจัด แนะกลุ่มเสี่ยง - ผู้ใช้แรงงาน เลี่ยงการทำงานกลางแจ้งต่อเนื่อง พักผ่อนและดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
71 27 เม.ย. 2568
ยูเนสโกยกย่อง 3 มรดกไทย สมุดไทยคำหลวง – พระเจ้าช้างเผือก – เอกสารอาเซียน
54 26 เม.ย. 2568
รัฐบาลนำสื่อสัญจรติดตามโครงการ นาหว้าโมเดล
53 26 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...