เหตุใด...หัวใจจึงขาดเลือด

9 พ.ย. 2555 เวลา 09:02 | อ่าน 4,952
แชร์ไปยัง
L
 
images by free.in.th

ปัจจุบันมักได้ยินคำว่า หัวใจขาดเลือด กันบ่อยๆ ทั้งจากข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์กับการเสียชีวิตของบุคคลสำคัญ อีกทั้งจากคนรอบตัวที่บางรายอาจโชคดีรู้ตัวก่อน รักษาทัน บางรายรู้ตัวเมื่อสายหลังจบชีวิตไปแล้ว

เหตุใด หัวใจจึงขาดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือดเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจในขณะนั้น สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรือมีไขมันไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ส่งผลให้ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย จึงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตันจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที หรือไม่รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

สัญญาณเตือน!!
สำหรับอาการที่พบบ่อยได้แก่ เจ็บแน่นหน้าอก บริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เจ็บแบบจุกแน่นลักษณะคล้ายมีน้ำหนักกดทับหรือรัดแน่นที่หน้าอก มักเจ็บร้าวไปที่คอ ขากรรไกร หรือไหล่ซ้าย บางรายอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ เหมือนอาหารไม่ย่อย และบางรายอาจมีอาการใจสั่นหอบเหนื่อยร่วม บางคนอาจจะมีอาการร่วมกับหน้ามืด เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ออกแรงมากไม่ได้ หรืออาการหอบเหนื่อยก็เป็นอาการที่พบได้บ่อย อาการเหล่านี้ไม่จำเพาะต่อโรคหัวใจ แต่ถ้าหากมีอาการดังกล่าวก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีโอกาสหัวใจขาดเลือดหรือไม่
แพทย์อาจแนะนำการตรวจหลายวิธี ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลัง ตรวจภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ตรวจภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจ และกรณีที่มีอาการมากแพทย์อาจตรวจเลือดดูว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ หรืออาจทำการตรวจสวนหัวใจ เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอน ซึ่งหากผลการตรวจพบว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ก็จะแนะนำการรักษาที่แตกต่างไปแต่ละบุคคล ขึ้นกับความรุนแรงของโรคที่ตรวจพบและสุขภาพของผู้ป่วย โดยอาจแนะนำตั้งแต่ให้กินยา หรือรับการรักษาขยายหลอดเลือดหัวใจโดยการถ่างขยายด้วยลูกโป่ง หรือบอลลูนขนาดเล็ก ไปจนกระทั่งแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดต่อทางเบี่ยงเส้นเลือดหรือบายพาสหลอดเลือดหัวใจในกรณีที่จำเป็น

ในเบื้องต้น การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ ควบคู่ไปกับการรักษาทานยา ส่วนใหญ่มักได้ผลดี แต่ในกรณีที่มีภาวะรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ หรือผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือด เพื่อให้เลือดเดินทางอ้อมผ่านจุดที่อุดตันโดยใช้เส้นเลือดที่บริเวณแขนหรือขา

สิ่งที่ควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
1.รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
2.รับประทานผัก ผลไม้ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
3.รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ ½ - 1 ชั่วโมง
4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดคือ การเดิน เริ่มโดยการเดินช้าๆ ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังของตนเอง
5.ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ หรือทำกิจกรรมโลดโผน เป็นต้น
6.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด
7.งดดื่มสุรา ชา กาแฟ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
8.หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนานๆ
9.เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมนั้นๆ ทันที และอมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซ้ำได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
10.การมีเพศสัมพันธ์ไม่ควรหักโหม ควรอมยาใต้ลิ้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถ้ามีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ควรปรึกษาแพทย์

ทำอย่างไรไม่ให้หัวใจขาดเลือด
วิธีป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดคือ ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมัน กะทิ รวมทั้งไข่แดง เพราะจะทำให้ไขมันสะสมในหลอดเลือด และก่อให้เกิดแผ่นคราบไขมันตามมาได้ ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่น รำข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 20 นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาและความถี่ในการออกกำลังกายไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินและสารอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด การสูบบุหรี่ยังทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว ซึ่งเป็นการลดปริมาณเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ


ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี

ข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์ www.thairath.co.th โดย ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี
27 มิถุนายน 2555, 15:30 น.


9 พ.ย. 2555 เวลา 09:02 | อ่าน 4,952


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
140 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
263 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
285 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
367 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
379 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
706 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,382 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
75 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
93 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
772 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน