แนวข้อสอบที่เคยออกสอบ ภาค ก ที่เคยออกสอบ 7 ชุด 82 ข้อ พร้อมเฉลย

9 ก.พ. 2562 เวลา 09:25 | อ่าน 24,121
แชร์ไปยัง
L
 
แนวข้อสอบที่เคยออกสอบ ภาค ก ก.พ.

ตัวอย่างข้อสอบ แนวข้อสอบ กพ ภาค ก สำนักงาน กพ ปี 2556 ชุดที่ 1


1. หมูกับไก่ ถ้านับขาหมูมากกว่าขาไก่ อยู่ 8 ขา แต่ถ้านับหัวไก่มากกว่าหัวหมู อยู่ 8 หัว อยากทราบว่ามีหมูกี่ตัว

1) 10 2) 12
3) 14 4) 16

วิธีทำ เขียนสมการ หัว กับ สมการขา ก่อน จากนั้น ใช้ตัวเลือกพิจารณาแทนค่าหาคำตอบ
หัว ; 1 ไก่ - 1 หมู = 8
ขา ; 4 หมู - 2 ไก่ = 8
พิจารณา( สมการหัว = จำนวนตัว ) ตัวเลือก ไก่- หมู = 8
1) 18 - 10 = 8
2) 20 - 12 = 8
3) 22 - 14 = 8
4) 24 - 16 = 8
จากตัวเลือก ที่ 2 นำมาแทนในสมการ ขา จะได้
ขา ; 4 (12) - 2 (20) = 8
ขา ; 48 - 40 = 8
ขา ; 8 = 8 ( ค่าทางซ้าย = ค่าทางขวา )
ดังนั้น มีหมู 12 ตัว

2. ชวด : เถาะ > ? : ?

ก. มกราคม : มีนาคม ข. เมษายน : มิถุนายน
ค. มะเมีย : มะแม ง. จันทร์ : พุธ

ตอบ ค. มะเมีย : มะแม
แนวคิด ชวด และ เถาะ เป็นปีนนักษัตรเหมือนกัน
เช่นเดียวกับ มะเมีย และมะแม

3. ราก : ยอด > ? : ?
ก. เล็บ : ขนตา ข. กันชน : ล้อ
ค. เสาเข็ม : หลังคา ง. เท้า : ผม

ตอบ ค. เสาเข็ม : หลังคา
แนวคิด รากอยู่ใต้พื้นดิน ส่วนยอดอยู่บนพื้นดิน
เช่นเดียวกับ เสาเข็มอยู่ใต้พื้นดิน และหลังคาอยู่บนพื้นดิน

4. นก : เสือ > ? : ?
ก. กบ : เขียด ข. งู : จงอาง
ค. ไก่ : สิงโต ง. พญาอินทรีย์ : ปลา

ตอบ ค. ไก่ : สิงโต
แนวคิด นกเป็นสัตว์ปีกเช่นเดียวกับไก่
ส่วนเสือเป็นสัตว์บกเช่นเดียวกับสิงโต

5. จมูก : คน > ? : ?
ก. หนวด : กุ้ง ข. ผิวหนัง : แมว
ค. ครีบ : ปลา ง. เหงือก : ปลา

ตอบ ง. เหงือก : ปลา
แนวคิด คนมีจมูกไว้หายใจ

6. มรณภาพ : มลพิษ > ? : ?

ก. พราหมณ์ : พลกาย ข. พลขับ : พลโลก
ค. ภาวนา : มรณกรรม ง. มหาตมะ : พัฒนา

ตอบ ง. มหาตมะ : พัฒนา
แนวคิด มรณภาพ มีอักษร 6 ตัว เช่นเดียวกับ มหาตมะ
ส่วน มลพิษ มีอักษร 4 ตัว เช่นเดียวกับ พัฒนา

7. ข้อความต่อไปนี้ควรจัดเรียงลำดับตามข้อใดจึงจะได้ความสมบูรณ์

(1) ดอกแตงโมอ่อนรวมกับผักอื่นๆ นำมาแกงเลียง
(2) ยอดแตงโมอ่อนคนมักเก็บมาต้มกับกะทิจิ้มน้ำพริกกิน
(3) ผลอ่อนเขาก็เอามาแกงส้มใช้เนื้อทั้งเมล็ดอร่อยมาก
(4) ผลแก่นั้นใช้รับประทาน เนื้อหวานเย็น ชุ่มคอชื่นใจดี
1. (1) – (2) – (3) – (4)
2. (1) – (3) – (4) – (2)
3. (2) – (1) – (3) – (4)
4. (2) – (3) – (4) – (1)

8. ข้อใดเรียงลำดับข้อความได้เหมาะสม
(1) ดังหลักฐานภาพแกะสลักบนแผ่นหินที่ปราสาทนครธมกัมพูชา
(2) การนำวัวควายมาใช้แรงงานเกิดขึ้นไม่น้อยกว่าห้าพันปีมาแล้ว
(3) หากไม่มีวัวควายมาลากไถ ก็คงจะไม่มีใครคิดถึงการใช้แรงงานอื่นๆ
(4) การใช้แรงงานวัวควายจึงเป็นจุดเปลี่ยนของพัฒนาการด้านแรงงาน
1. (4) – (3) – (2) – (1)
2. (1) – (2) – (4) – (3)
3. (2) – (1) – (3) – (4)
4. (3) – (2) – (1) – (4)

9. ข้อใดเรียงลำดับข้อความได้เหมาะสม
(1) ผู้ป่วยเป็นต้อหินจะมีอาการตามัว สูญเสียลานสายตา
(2) การรักษาต้อหินอาจใช้ยาหยอดตาและยารับประทาน
(3) ต้อหินเกิดจากความดันในสายตาเพิ่มสูงขึ้นจนทำลายประสาทตา
(4) ถ้าเป็นต้อหินชนิดรุนแรงจะปวดตา ปวดศีรษะมากและคลื่นไส้อาเจียน
(5) ผู้ที่เป็นต้อหินบางรายอาจจำเป็นต้องรักษาโดยแสงเลเซอร์หรือโดยการผ่าตัด
1. (3) – (1) – (2) – (4) – (5)
2. (1) – (2) – (5) – (3) – (4)
3. (3) – (1) – (4) – (2) – (5)
4. (1) – (3) – (4) – (2) – (5)

10. ข้อใดเรียงลำดับข้อความได้เหมาะสม
(1) อินเดียมีสิ่งมหัศจรรย์ถึงสองสิ่งคือปราสาททัชมาฮาลและมหาตมะคานธี
(2) บางคนบอกว่าอินเดียมิได้มีสิ่งมหัศจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น
(3) ทั้งสองสิ่งนี้นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกตามที่เขาว่าจริงๆ
(4) อินเดียมีสิ่งมหัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่งคือปราสาททัชมาฮาล
1. (4) – (2) – (1) – (3)
2. (2) – (1) – (3) – (4)
3. (3) – (1) – (4) – (2)
4. (1) – (3) – (2) – (4)

11. นอกจากการเจรจาระหว่างรัฐทั้งสองรัฐ ซึ่งเป็นการติดต่อระหว่างรัฐเป็นส่วนใหญ่แล้วการติดต่อกันแบบหลายฝ่ายพร้อมกันก็มีมากขึ้น ในรูปแบบของการประชุมนานาชาติเพื่อตกลงกัน ในปัญหาเฉพาะอย่าง
ข้อความนี้ตีความอย่างไร
ก. ปัจจุบันการติดต่อระหว่างรัฐมีมากขึ้น
ข. การเจรจาแบบหลายฝ่ายนั้นปัญหาต้องเกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย
ค. การแก้ปัญหาโดยการเจรจาแบบหลายฝ่ายได้รับความนิยมมากขึ้น
ง. วัตถุประสงค์ของการเจรจาแบบรับแบบหลายฝ่ายต่างกัน

12. ความสับสนหรือไม่เข้าใจความหมายของคำ ทำให้เลือกใช้คำผิดความหมายสื่อกันไม่เข้าใจ เช่นคำว่าประชากร ประชาชน ประชาคม แม้จะมีความใกล้เคียงกันแต่หากใช้ผิดที่ก็ผิดความ
ข้อความข้างต้นสรุปได้อย่างไร
ก. คำว่าประชากร ประชาชน ประชาคม มีความหมายเหมือนกัน
ข. คำที่มีความหมายเหมือนกันมักทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจความหมายไม่ตรงกัน
ค. การใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันต้องใช้ในที่เดียวกัน จึงไม่สับสน
ง. การใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันหากไม่เข้าใจความหมายของคำทำให้สื่อกันไม่เข้าใจ

13. การเก็บภาษีอากรนั้นเป็นมาตรการสำคัญของรัฐบาลในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของคนจนและคนรวย
ข้อความนี้ตีความว่าอย่างไร
ก. ความเหลื่อมล้ำของคนจนและคนรวยสามารถขจัดได้ด้วยวิธีการเก็บภาษีอากร
ข. มาตรการสำคัญที่สุดของการเก็บภาษีอากรคือลดช่องว่างของฐานะในชนชั้นที่แตกต่างกัน
ค. การลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวยเป็นมาตรการสำคัญของรัฐบาล
ง. การเก็บภาษีอากรช่วยให้ช่องว่างระหว่างชนชั้นที่ต่างกันลดน้อยลง

14. “มันเป็นคืนวันเพ็ญเดือนหงายพระจันทร์เต็มดวง” ข้อความนี้ใช้คำอย่างไร
ก. ฟุ่มเฟือย ข. ไม่ถูกต้อง
ค. ไม่เหมาะสม ง. ไม่สละสลวย

ตอบ ก. ฟุ่มเฟือย
การใช้คำฟุ่มเฟือยหรือการใช้คำที่ไม่จำเป็นจะทำให้คำโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความก็จะขาดความหนักแน่น
เพราะคำฟุ่มเฟือยเป็นคำที่ไม่มีความหมายอะไรแม้ตัดออกไปก็ไม่ได้ทำให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับดูรุงรังยิงขึ้น ซึ่งข้อความในข้อนี้นั้น คำว่า “คืนวันเพ็ญ” มีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า เป็นคืนเดือนหงายที่มีพระจันทร์เต็มดวงดังนั้นจึงควรใช้เพียง “มันเป็นคืนวันเพ็ญ”

15. คำทับศัพท์ตามข้อใดที่อาจใช้ในการเขียนได้

ก. โรเนียว ข. โอเค
ค. โควตา ง. ทุกข้อ

ตอบ ค. โควตา
คำทับศัพท์ คือ คำภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในภาษาไทยโดยการถ่ายเสียงและถอดอักษรให้ใกล้เคียงกับภาษาเดิม แต่เป็นไปตามหลักการเขียนภาษาไทยเช่น
โควตา โอลิมปิก รีสอร์ต ฯลฯ แต่คำทับศัพท์บางคำก็ควรใช้เฉพาะในภาษาพูดเท่านั้นไม่ควรนำมาใช้ในภาษาเขียน เพราะเป็นคำที่มีคำแปลในภาษาไทย เช่น โอเค โรเนียว ฯลฯ ก็ควรใช้ว่า ตกลง อัดสำเนา เป็นต้น




ตัวอย่างข้อสอบ แนวข้อสอบ ภาค ก สำนักงาน กพ ข้อสอบเก่า กพ ปี 2556 ชุดที่ 2


1. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
ก. ศาสนาและจริยธรรมเป็นปัจจัยแวดล้อมชีวิตและสังคม
ข. น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิต
ค. เพราะว่าขาดน้ำวันเดียวคนก็แทบจะตาย
ง. ยิ่งถ้าขาดอากาศด้วยแล้วสักอึดใจสองอึดใจก็อาจจะตาย

เฉลย ข. น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิต เป็นประโยคความซ้อน
อธิบาย ก. เป็นประโยคความเดียว ( มีกริยาตัวเดียว )
ค. เป็นประโยคความรวม ( เพราะ ... ก็ )
ง. เป็นประโยคความรวม ( ถ้า ... ก็ )

2. คำในข้อใดมีความหมายแฝงว่า “ อยู่นิ่งไม่ได้ ”
ก. ลิง ข. หยุกหยิก ค. ฟูเฟื่อง ง. ข้อ ก. และ ข.

เฉลย ก. ลิง มีความหมายแฝงว่า อยู่นิ่งไม่ได้
อธิบาย ข. หยุกหยิก - ความหมายตรง
ค. ฟูเฟื่อง - ความหมายตรง

3. ข้อใดมีความหมายเชิงอุปมา
ก. เจ้าเนื้อ ข. เจ้านาย ค. เจ้าขา ง. เจ้าไม่มีศาล

เฉลย ก. เจ้าเนื้อ หมายความว่า อ้วน เป็นความหมายเชิงอุปมา
อธิบาย ข. เจ้านาย - ผู้บังคับบัญชา
ค. เจ้าขา - เป็นคำขานรับผู้ใหญ่อย่างสุภาพ
ง. เจ้าไม่มีศาล - ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งเป็นสำนวนไทย

3. คำที่พิมพ์ตัวหนาคำใดเป็นคำซ้ำ

ก. น้องน้องคนนี้ทำไมชื่อน้อง ข. เด็กคนนั้นน้องน้องเอง
ค. มาเถอะน้องน้องทั้งนั้น ง. เอะอะก็น้องน้องพูดซ้ำซากอยู่ได้

เฉลย ง. เอะอะก็น้องน้องพูดซ้ำซากอยู่ได้ น้องน้อง ใช้ยมกแทนได้เป็นคำซ้ำ
อธิบาย ก. น้อง น้องคนนี้ทำไมชื่อน้อง
ข. เด็กคนนั้น น้องของน้องเอง
ค. มาเถอะน้องของน้องทั้งนั้น

4. คำสรรพนาม “ ที่ ” ซึ่งใช้เชื่อมประโยค เมื่อใช้กับคำบางคำทำหน้าที่เป็นคำนามได้ ข้อใดใช่เป็นคำนาม

ก. เป็นที่น่าสลดใจ ข. เป็นที่ถูกอกถูกใจ ค. เป็นที่โปรดปราน ง. เป็นที่รัก

เฉลย ง. เป็นที่รัก “ ที่รัก ” เป็นคำนาม
อธิบาย ก. เป็นที่น่าสลดใจ เป็นคำวิเศษณ์ ข. เป็นที่ถูกอกถูกใจ เป็นคำวิเศษณ์
ค. เป็นที่โปรดปราน เป็นคำวิเศษณ์

5. ข้อใดหมายความว่า ทำกริยา 2 อย่างพร้อมกัน
ก. ร้องไปพูดไป ข. กินพลางพูดพลาง ค. ร้องบ้างพูดบ้าง ง. กินด้วยพูดด้วย

เฉลย ข. กินพลางพูดพลาง ทำ 2 อย่างพร้อมกัน
อธิบาย ก. ร้องไปพูดไป ทำกริยาทีละอย่าง
ค. ร้องบ้างพูดบ้าง ทำกริยาทีละอย่าง
ง. กินด้วยพูดด้วย ทำกริยาทีละอย่าง

6. ประโยคใดทำให้ผู้ฟังอยากทำตามมากที่สุด

ก. เปิดประตูที ข. เปิดประตูหน่อยเถอะ
ค. กรุณาเปิดประตูหน่อยค่ะ ง. เปิดประตูหน่อยได้ไหม

เฉลย ค. กรุณาเปิดประตูหน่อยค่ะ เป็นคำที่สุภาพในการขอความช่วยเหลือ
อธิบาย ก. เปิดประตูที - คำสั่ง
ข. เปิดประตูหน่อยเถอะ - ขอร้องแบบกระด้าง
ง. เปิดประตูหน่อยได้ไหม - คำสั่งแบบไม่พอใจ

7. การตอบข้อสอบแบบอัตนัยควรใช้กลวิธีการเขียนอย่างใดมากที่สุด

ก. ให้มีใจความเพียงเรื่องเดียว ข. ให้มีความสละสลวย
ค. ให้มีการเน้นใจความสำคัญ ง. ให้แต่ละประโยคสัมพันธ์กัน

เฉลย ค. ให้มีการเน้นใจความสำคัญ

8. “ เราอย่าไม่ดีจะดีกว่า เราอย่าไม่ดีจะดีกว่า เราอย่าไม่ดีจะดีกว่า ” ผู้เขียนใช้การซ้ำประโยคเพื่อประโยชน์ในข้อใด
ก. ย้ำให้เกิดความเข้าใจ ข. บอกให้ทำ
ค. เกิดความงามของภาษา ง. เล่นสำนวน


9. ข้อใดคือสาระสำคัญของข้อความนี้

ก. เป็นผู้ฆ่าย่อมดีกว่าเป็นผู้ถูกฆ่า
ข. เป็นผู้ถูกขโมยย่อมดีกว่าเป็นผู้ขโมย เพราะไม่ได้สร้างความเดือดร้อน
ค. อย่าเป็นคนไม่ดีเหมือนคนอื่น จงเป็นคนดี
ง. การทำกรรมต่อผู้อื่นเป็นความผิดอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นกายกรรมหรือวจีกรรม


10. ข้อใดคือเจตนาของผู้เขียน
ก. เตือนให้รู้จักระงับอารมณ์ ข. ปรามมิให้กระทำความชั่ว
ค. โน้มน้าวให้ทำความดี ง. สอนไม่ให้ผูกพยาบาท

11. คำขวัญในข้อใดมีการแสดงเหตุผล
ก. น้ำประปาได้ใสสะอาดปราศจากเชื้อโรค
ข. ขับรถระวังคน ข้ามถนนระวังรถ
ค. ล้อมรั้วด้วยรัก ให้ประจักษ์ไออุ่น จึงจะเป็นทุนเกื้อหนุนเด็กไทย
ง. ถ้าทิ้งขยะไม่ลงถัง ก็อย่าหวังเรื่องความสะอาด

12. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
ก. ศาสนาและจริยธรรมเป็นปัจจัยแวดล้อมชีวิตและสังคม
ข. น้ำและอากาศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิต
ค. เพราะว่าขาดน้ำวันเดียวคนก็แทบจะตาย
ง. ยิ่งถ้าขาดอากาศด้วยแล้วสักอึดใจสองอึดใจก็อาจจะตาย

13. “ การขาดแคลนอาหารสำหรับบริโภค ซึ่งอาจเป็นเพราะอาหารมีไม่เพียงพอหรือเพราะขาดเงินที่จะซื้ออาหารมาบริโภค ” ข้อความนี้เป็นการอธิบายแบบใด
ก. การอธิบายจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ
ข. การอธิบายจากสาเหตุไปสู่ผลลัพธ์
ค. การอธิบายด้วยการกล่าวซ้ำด้วยถ้อยคำแปลกออกไป
ง. การอธิบายตามลำดับขั้นและการให้ตัวอย่าง

14. จากข้อความในข้อ 13. ข้อใดเป็นคำเชื่อม
ก. สำหรับ หรือ ที่จะ ข. ซึ่ง เพราะ หรือ ที่
ค. สำหรับ อาจ หรือ ที่จะ ง. เพราะ หรือ จะ มา

15. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาความคิดคืออะไร
ก. ภาษา ข. ความรู้ความสามารถ
ค. การเรียนรู้ ง. แหล่งความรู้




ตัวอย่างข้อสอบ แนวข้อสอบ ภาค ก สำนักงาน กพ ข้อสอบเก่า กพ ปี 2556 ชุดที่ 3




คู่มือเตรียมสอบ กพ,คู่มือสอบภาค ก กพ,แนวข้อสอบสำนักงาน กพ,ข้อสอบสำนักงาน กพ,คู่มือสอบ ภาค ก กพ,ข้อสอบภาค ก กพ,แนวข้อสอบกพ,ข้อสอบ กพ 56,ความรู้ความสามารถทั่วไป,ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป,ข้อสอบภาค ก กพ,ข้อสอบ กพ ภาค ก,แนวข้อสอบ กพ 2556 พร้อมเฉลย,ข้อสอบ ก พ พร้อมเฉลย,แนวข้อสอบ ก พ ฟรี,แนวข้อสอบ ก พ 2556



1. คำในข้อใดแสดงลักษณะของภาษาไทยที่อาจจะไม่ตรงกับลักษณะของภาษาคำโดด
ก. คลอง ข. ปู่ ค. หนาว ง. ยืน
สอบ กพ 2556,สอบ กพ 2556,ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป,ความรู้ความารถทั่วไป,แนวข้อสอบ กพ
ตอบ ก. คลอง
ลักษณะทั่วไปของภาษาคำโดดประการหนึ่งคือ คำแต่ละคำมีพยางค์เดียวและไม่มีเสียงควบกล้ำ แต่บางทีภาษาไทยก็ไม่เป็นเช่นนี้เสียทีเดียว
ทั้งนี้เพราะคำในภาษาไทยเป็นอันมากที่มีมากพยางค์
และมีเสียงควบกล้ำ เช่น คลอง คราด ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงฯลฯ

2. ข้อใดมิได้เรียงคำตามแบบภาษาไทย
ก. บาร์เบียร์ ข.เบียร์บาร์ ค. เบียร์ไทย ง. ฝาเบียร์

ตอบ ข. เบียร์บาร์
การเรียงคำตามแบบภาษาไทยนั้นจะต้องเรียงคำตามตำแหน่งหน้าที่คำใดทำหน้าที่ใด หมายความว่าอย่างไร ก็อยู่ที่การเรียงลำดับคำ การเรียงคำผิดที่ผิดตำแหน่งความหมายจะเปลี่ยนไปด้วย
เช่น คำขยายจะต้องอยู่หลังคำที่ถูกขยาย ฯลฯ

3. คำในข้อใดมิได้แสดงเพศตามแบบไทย
ก. เจ้าบ่าว ข. เจ้าสาว ค. บุรุษพยาบาล ง. อาจารย์หญิง

ตอบ ง. อาจารย์หญิง
ในภาษาคำโดด เมื่อต้องการแสดงเพศของคำนามจะใช้คำแสดงเพศมาประกอบข้างหน้า ข้างหลัง หรือประสมกันตามแบบคำประสม เช่นเจ้าบ่าว – เจ้าสาว, พระเอก – นางเอก, บุรุษพยาบาล – นางพยาบาล ฯลฯ


4. ข้อใดมีแต่จุดกักลมทั้งหมด

ก. ลิ้นไก่ เพดานอ่อน เพดานแข็ง โคนฟัน
ข. เพดานอ่อน เพดานแข็ง โคนฟัน โคนลิ้น
ค. เพดานอ่อน เพดานแข็ง โคนฟัน ริมฝีปากล่าง
ง. เพดานอ่อน เพดานแข็ง ริมฝีปากบน ปลายลิ้น

ตอบ ค. เพดานอ่อน เพดานแข็ง โคนฟัน ริมฝีปากล่าง
จุดกักลม คือ จุดที่ลมหายใจถูกกักหรือถูกขัดขวางอันเป็นที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง เรียกว่า ฐานกรณ์
แบ่งออกได้ดังนี้ 1. ฐานคอ 2. ฐานเพดานอ่อน 3. ฐานเพดานแข็ง 4. ฐานฟัน (โคนฟัน) 5. ฐานริมฝีปาก (ริมฝีปากล่างกับบนมาประกบกันและริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน)

5. เสียงหนักหายไปในข้อใด
ก. ทหาร ข. ทวยหาร ค. คูณหาร ง. ตะหาน

ตอบ ก. ทหาร
การลงเสียงเน้นหนักจะสัมพันธ์กับเสียงสั้นยาวและเสียงสูงต่ำตลอดจนความหมาย โดยเสียงที่ไม่ได้เน้นนี้บางทีอาจจะออกเสียงสั้นและเบาจนแทบไม่ได้ยินและในไม่ช้าเสียงนั้นก็จะหายไปเลย
เช่น ทหาร จะไม่เน้นที่ ทะ ฯลฯ

6. เมื่อพูดจากัน คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเน้นเสียงไม่เหมือนข้ออื่น
ก.ยืนอยู่ที่ชะง่อนผา ข. ไปสืบชะตา
ค. เขาชอบกินทุเรียนชะนี ง. พยาบาลช่วยชะล้างแผลให้

ตอบ ง. พยาบาลช่วยชะล้างแผลให้
โดยคำว่า ชะล้าง จะเน้นเสียงหนักที่ ชะ มากกว่าคำว่า ชะง่อนชะตา และชะนี เพราะคำว่า ชะ ในชะล้าง เป็นคำกริยา

7. คำที่มีความหมายแฝงบอกทิศทางประกอบอยู่ปรากฏในข้อใด
ก. ที่นี่มีน้ำใส ข. ที่นี่มีน้ำแข็ง ค. ที่นี่มีน้ำสะอาด ง. ที่นี่มีน้ำตก

ตอบ ง. ที่นี่มีน้ำตก
ความหมายแฝง คือ ความหมายย่อยที่แฝงอยู่ในความหมายใหญ่ซึ่งแนะรายละเอียดบางอย่างไว้ในความหมายนั้น ๆ เช่น ความหมายแฝงที่บอกทิศทาง ได้แก่ ฟู พอง เขย่ง ดิ่ง หล่น ตก ร่วง อัด ยัด ถ่ม บ้วน รุน ดัน ผลัก เฉียด ประชิด เตลิด ฯลฯ

8. การใช้คำในเชิงอุปมาอยู่ในข้อใด
ก. เขาเป็นเจว็ดอยู่ในที่ประชุม ข. เจว็ดวางอยู่ในศาลพระภูมิ
ค. เจว็ดทำด้วยแผ่นไม้รูปคล้ายเสมา ง. ฉันไม่เคยเห็นเจว็ด

ตอบ ก. เขาเป็นเจว็ดอยู่ในที่ประชุม
คำอุปมา คือ คำที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นถนัดชัดเจนขึ้น ส่วนมากเป็นคำนามที่ใช้อยู่ใกล้ตัว แต่บางทีหาคำที่ใช้อยู่มาเปรียบให้เห็นไม่ได้ก็ต้องสร้างคำขึ้นใหม่ที่ส่วนมากจะเป็นคำประสมที่ใช้คำเดิมที่มีอยู่เป็นคำตั้งทำให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง เช่น เจว็ด (ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่แต่ไม่มีอำนาจ) ฯลฯ

9. ข้อใดมีคำซึ่งอาจจะเป็นคำประสมหรือคำเดี่ยวเรียงกันก็ได้
ก. ผ้าเช็ดหน้าแห้งแล้ว ข. เอาผ้าเช็ดหน้าให้แห้ง
ค. ขอผ้าเช็ดหน้าคนป่วย ง. ขอผ้าเช็ดหน้าผืนใหม่

ตอบ ก. ผ้าเช็ดหน้าแห้งแล้ว
คำประสมบางคำมีลักษณะเหมือนคำเดี่ยวมาเรียงกันเข้าทำให้พิจารณายากว่าคำใดเป็นคำประสม คำใดไม่ใช่ ทั้งนี้เราไม่มีเครื่องหมายบอกได้ในภาษาเขียนแต่ในภาษาพูดเราใช้วิธีลงเสียงเน้น เช่น ผ้าเช็ดหน้าแห้งแล้ว เราไม่ทราบว่าประโยคนี้จะเป็นผ้า/เช็ด/หน้า/แห้งแล้ว (เป็นคำเดี่ยวเรียงกัน) หรือจะเป็น ผ้าเช็ดหน้า/แห้งแล้ว (ผ้าเช็ดหน้าเป็นคำประสม) เป็นต้น

10. ข้อใดมีอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคำผิด
ก. ตะขาบ มะนาว สะใภ้ ข. กะจาบ กะสุน กะดุม
ค. กะด้ง กะดูก กะบุง ง. ระคน ปะปน สะสวย

ตอบ ข. กะจาบ กะสุน กะดุม
อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคำผิด เกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน มีอยู่คำเดียวคือ กะ เป็นการเพิ่มเสียง กะ (ปัจจุบันใช้ กระ) หน้าคำที่เป็นชื่อนก (เช่น นกจาบ นกจอก เป็น กะจาบ กะจอก), ชื่อผัก (เช่น ผักเฉด ผักโฉม เป็น กะเฉด กะโฉม)และชื่อสิ่งที่มีลักษณะนามว่าลูก (เชน ลูกสุน ลูกดุม เป็น กะสุน กะดุม)

11. ข้อใดมีอุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด
ก. ตะขาบ มะนาว สะใภ้ ข. กะจาบ กะสุน กะดุม
ค. กะด้ง กะดูก กะบุง ง. ระคน ปะปน สะสวย

12. ข้อใดคือมีอุปสรรคเทียมที่ลงอุปสรรคเลียนแบบภาษาเขมร
ก. ตะขาบ มะนาว สะใภ้ ข. กะจาบ กะสุน กะดุม
ค. กะด้ง กะดูก กะบุง ง. ระคน ปะปน สะสวย



ตัวอย่างข้อสอบ แนวข้อสอบ ภาค ก สำนักงาน กพ ข้อสอบเก่า กพ ปี 2556 ชุดที่ 4



1. ข้อใดมีจำนวนพยางค์น้อยที่สุด
1.คณะรัฐบุรุษ 2.ประชาธิปไตย 3.ผลิตภัณฑ์ชุมชน 4. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

คำตอบที่ถูกต้องคือ 2 คำอธิบาย ตัวเลือกข้อ 2 ประชาธิปไตย (ประ - ชา - ทิ - ปะ - ตัย) มีจำนวนพยางค์น้อยที่สุด คือ มีอยู่ 5 พยางค์ตัวเลือกข้อ 1 คณะรัฐบุรุษ (คะ - นะ - รัด - ถะ - บุ - หรุด) มีจำนวนพยางค์ 6 พยางค์ตัวเลือกข้อ 3 ผลิตภัณฑ์ชุมชน (ผะ - หลิด - ตะ - พัน - ชุม -ชน) มีจำนวนพยางค์ 6 พยางค์ตัวเลือกข้อ 4 ปรากฏการณ์ธรรมชาติ (ปรา - กด - ตะ - กาน - ทำ - มะ - ชาด) มีจำนวนพยางค์ 7 พยางค์

2. ข้อใดมีคำตายมากที่สุด
1. ริมโบสถ์ระเบียงเคียงฐานบาตร ดื่นดาษผู้คนอยู่จนสาย
2. เห็นน้ำรักพร่ำออกทั้งดอกผล ไม่มีคนรักรักมาหักสอย
3. ถือขันตีทีนั้นจะขันแตก ทั้งศีลแทรกสูดออกกระบอกหู
4. ถึงมาดแม้นตกยากต้องถากหญ้า จะอาสาแทนน้องอย่าหมองศรี

คำตอบที่ถูกต้องคือ 3 คำอธิบาย ตัวเลือกข้อ 3 มีคำตายมากที่สุด คือ 7 คำ ได้แก่ จะ, แตก, แทรก, สูด, ออก, กระ, บอกตัวเลือกข้อ 1 มีคำตาย 4 คำ ได้แก่ โบสถ์, ระ (เบียง), บาตร, ดาษ ตัวเลือกข้อ 2 มีคำตาย 6 คำ ได้แก่ รัก, ออก, ดอก, รัก, รัก, หัก ตัวเลือกข้อ 4 มีคำตาย 5 คำ ได้แก่ มาด, ตก, ยาก, ถาก, จะ

3. ข้อใดแสดงความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด
1.ตักบาตรร่วมขัน 2.ตายประชดป่าช้า 3.ทำบุญเอาหน้า 4.สวรรค์ในอกนรกในใจ

คำตอบที่ถูกต้องคือ 1 คำอธิบาย ตัวเลือกข้อ 1 คำว่า ตักบาตรร่วมขัน หมายถึง เคยทำบุญร่วมกันมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดว่า เมื่อชาติที่แล้วเคยทำบุญร่วมกัน ดังนั้น มาชาตินี้จึงได้มาพบกันตัวเลือกข้อ 2 คำว่า ตายประชดป่าช้า หมายถึง แกล้งทำเป็นพูดแดกดันประชดฝ่ายหนึ่ง แต่ตนเองกลับเป็นฝ่ายเสียหายจากการทำหรือการพูดนั้นเอง ตัวเลือกข้อ 3 คำว่า ทำบุญเอาหน้า หมายถึง ทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ตัวเลือกข้อ 4 คำว่า สวรรค์ในอกนรกในใจ หมายถึง ความสุขหรือความทุกข์ที่อยู่ในใจของผู้ทำ

4. ข้อใดวางส่วนขยายถูกต้อง
1.อาจารย์อนุญาตให้นักเรียนทำรายงานทางวิชาการตามโครงร่างที่เสนอมา
2.พ่อแม่คงต้องสนับสนุนเพื่อให้ลูกประสบความสำเร็จอย่างถูกทาง
3.การพูดโน้มน้าว แม้ไม่มีหลักฐานมาประกอบที่มีเหตุผลก็พอจะเชื่อถือได้
4.ยุวมัคคุเทศก์สามารถอธิบายเรื่องพันธุ์พืชสมุนไพรอย่างน่าสนใจตามรายทาง

คำตอบที่ถูกต้องคือ 1 คำ อธิบาย ตัวเลือกข้อ 1 วางส่วนขยายได้ถูกต้องแล้ว ตัวเลือกข้อ 2 ควรเขียนว่า "พ่อแม่คงต้องสนับสนุนลูกเพื่อให้ประสบความสำเร็จ" ตัวเลือกข้อ 3 ควรเขียนว่า "แม้ไม่มีหลักฐานมาประกอบ การพูดโน้มน้าวก็พอจะเชื่อถือได้" ตัวเลือกข้อ 4 ควรเขียนว่า "ตามรายทางยุวมัคคุเทศก์สามารถอธิบายเรื่องพันธุ์พืชสมุนไพรตามรายทางอย่าง น่าสนใจ"

5. ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถาม
"(1) เป้าหมายของโครงการบ้านมั่นคง คือ การแก้ปัญหาชุมชนแออัดอย่างยั่งยืน/ (2) โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการแก้ปัญหากันเอง/ (3) การแก้ปัญหาไม่ใช่แค่การสร้างบ้านให้เท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวใหม่ที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดและรับผลแห่งการ พัฒนาอย่างครบวงจร เช่น สร้างบ้านตามแบบที่ชุมชนกำหนดเอง มีระบบกองทุนภายในกลุ่มออมทรัพย์/ (4) โครงการแล้วเสร็จเมื่อใด ชุมชนก็จะมีแต่ความสะดวก ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ดี"
ผู้กล่าวข้อความใช้กลวิธีใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
1.แสดงให้ประจักษ์ถึงข้อเท็จจริง 2.แสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือ
3.แสดงให้ประจักษ์ถึงข้อดีเพียงด้านเดียว 4.แสดงให้ประจักษ์ตามกระบวนการเหตุและผล

คำตอบที่ถูกต้องคือ 4 คำ อธิบาย ตัวเลือกข้อ 4 แสดงให้ประจักษ์ตามกระบวนการเหตุและผล เช่น จากข้อความ "การแก้ปัญหาไม่ใช่การสร้างบ้านให้เท่านั้น และรับผลแห่งการพัฒนาอย่างครบวงจร" จะเห็นว่าข้อความเป็นเหตุและเป็นผลกัน

6. จงเรียงลำดับข้อความต่อไปนี้ตามระดับของภาษา โดยเริ่มจากภาษาระดับทางการ กึ่งทางการ ไม่เป็นทางการและกันเอง
ก. ทำไมผู้หญิงที่มีลูกแล้วถึงอ้วน สาเหตุที่คนมักนึกไม่ถึงคือแม่เสียดายของที่ลูกกินเหลือ
ข. ผู้หญิงที่ปล่อยให้พุงพลุ้ยเป็นพะโล้อย่างนี้ นอกจากจะดูไม่ได้แล้วยังจะตายไวเสียด้วย
ค. การประชุมวิชาการเรื่องโรคอ้วนครั้งนี้จัดขึ้น เนื่องจากโรคอ้วนเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังประสบอยู่
ง. การลดน้ำหนักด้วยวิธีง่ายๆ นั้น เราจะต้องควบคุมอาหารและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง

1.ง., ก., ค. และ ข 2.ค., ก., ข. และ ง. 3.ค., ง., ก. และ ข. 4.ง., ก., ข. และ ค.

คำตอบที่ถูกต้องคือ 3 คำอธิบาย คำตอบที่ 3 ค. ภาษาทางการ (ภาษาเขียน) ง. ภาษากึ่งทางการ มีคำว่า “วิธีง่ายๆ” เป็นภาษาพูด ก. ภาษาไม่เป็นทางการ มีคำว่า “มักนึกไม่ถึง ลูกกินเหลือ” ข. ภาษากันเอง มีคำว่า “พุงพลุ้ย พะโล้”

7. ข้อใดใช้ภาษากระชับ
1. เคล็ดลับในการทำแกงส้มไม่ให้มีกลิ่นคาวคือต้องใส่ปลาในแกงขณะที่น้ำแกงกำลังเดือด
2. นำพริกใส่ครก โขลกเบาๆ พอให้เม็ดพริกแตกไม่ต้องให้ละเอียดมาก
3. มีผู้กล่าวว่าคนที่กินผักกินปลาเป็นประจำจะไม่ค่อยเป็นโรคหัวใจ
4. นำเนื้อหมูสับใส่ครกตำคลุกรวมให้เป็นเนื้อเดียวกัน

คำตอบที่ถูกต้องคือ 3 คำ อธิบาย คำตอบที่ 3 ใช้ภาษากระชับ อ่านแล้วรู้เรื่องไม่มีคำฟุ่มเฟือย คือ มีผู้กล่าวว่าคนที่กินผักกินปลาเป็นประจำจะไม่ค่อยเป็นโรคหัวใจ เป็นการเน้นคำว่า “ กิน” คำตอบที่ 1 มีคำว่า แกง ถึง 3 แห่ง แกงส้ม ใส่ปลาในแกง น้ำแกง ใช้ว่า ใส่ปลาในน้ำแกงเลยจะดีกว่า คำตอบที่ 2 โขลกเบาๆ กับ ไม่ต้องให้ละเอียดมาก ความหมายเดียวกัน คำตอบที่ 4 ใส่ครก ตำคลุกรวม ใช้คำฟุ่มเฟือย

8. ข้อใดเป็นเจตนาของผู้เขียนข้อความต่อไปนี้
"การอยู่ใกล้คนฉลาดนั้น แม้จะอยู่ในนรกก็ยังดีกว่าอยู่ร่วมกับคนโง่บนสวรรค์ เพราะคนฉลาดย่อม
แสวงหาความสุขได้ แม้ในเรื่องหรือเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นทุกข์ มองในมุมกลับ คนโง่ย่อมประสบความทุกข์ แม้ในเรื่องที่น่าจะสุข"
1. เสนอให้เปลี่ยนมุมมอง 2. สอนให้เลือกคบคน 3. แนะให้หาความสุข 4. เตือนให้รู้จักปรับตัว

คำตอบที่ถูกต้องคือ 2 คำอธิบาย คำตอบที่ 2 สอนให้เลือกคบคน สังเกตจากคำว่า "อยู่ใกล้คนฉลาด, อยู่ร่วมกับคนโง่" เป็นเจตนาของผู้เขียนว่าควรเลือกคบคน

9. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคำประพันธ์ต่อไปนี้
"ฉับฉวยชกฉกช้ำ ฉุบฉับ"
1. ชกอย่างฉวยโอกาส
2. ชกอย่างรวดเร็ว
3. ชกอย่างคล่องแคล่ว
4. ชกอย่างเมามัน

คำตอบที่ถูกต้องคือ 4 คำอธิบาย คำตอบที่ 4 ชกอย่างเมามัน ไม่ใช่ความหมายนี้คำตอบที่ 1 ชกฉวยโอกาส มีคำว่า “ฉับฉวยชก”คำตอบที่ 2 ชกอย่างรวดเร็ว มีคำว่า “ชกฉกช้ำ” คำตอบที่ 3 ชกอย่างคล่องแคล่ว มีคำว่า “ฉุบฉับ”
กลอนแปดธรรมดา


ตัวอย่างข้อสอบ แนวข้อสอบ ภาค ก สำนักงาน กพ ข้อสอบเก่า กพ ปี 2556 ชุดที่ 5



ข้อ 1 ถึง ข้อ 7 จงหาจำนวนเลขที่จะเติมในช่องว่างเพื่อให้เข้าอันดับกับชุดของตัวเลขที่กำหนดให้
1. 1 3 5 7 …
ก. 9 ข. 10 ค. 11 ง. 12

เฉลยข้อ ก. แนวคิด เลขที่โจทย์กำหนดให้จะเพิ่มขึ้นที่ละ 2
จาก 1 3 คือ 3-1 =2 , 3 5 คือ 5-3 = 2 5 7 คือ 7-5 = 2
7... ตัวต่อไป คือ 9-7 = 2 ดังนั้น ตัวต่อไป เป็น 9

2. 3 5 8 12 ...
ก. 15 ข. 16 ค. 17 ง. 18

เฉลยข้อ ค. แนวคิด เลขที่โจทย์กำหนดให้จะเพิ่มขึ้นเป็นชุดตามลำดับดังนี้
จาก 3 5 เพิ่ม 2 , 5 8 เพิ่ม 3 , 8 12 เพิ่ม 4
ดังนั้น จาก 12 ต้องเพิ่ม 5 คือ 12+5=17

3. 17 13 10 8 …
ก. 4 ข. 5 ค. 6 ง. 7

เฉลยข้อ ง. แนวคิด เลขที่โจทย์กำหนดให้จะลดเป็นชุดตามลำดับดังนี้
จาก 17 13 ลด 4 , 13 10 ลด 3 , 10 8 ลด 2
ดังนั้น จาก 8 ต้องลด 1 คือ 8-1 = 7

4. 1 3 7 15 ….
ก. 28 ข. 31 ค. 34 ง. 39

เฉลยข้อ ข. แนวคิด เลขที่โจทย์กำหนดให้จะเพิ่มขึ้นตามลำดับดังนี้
จาก 1 3 เพิ่ม 2 , 3 7 เพิ่ม 4 , 7 15 เพิ่ม 8
ดังนั้น จาก 15 .....เพิ่ม 16 (2 , 4 , 8 , 16) ตัวต่อจาก 15 คือ 15+16=31

5. 75 66 57 48 ….
ก. 39 ข. 28 ค. 26 ง.16

เฉลยข้อ ก. แนวคิด เลขที่โจทย์กำหนดให้หลักหน่วยจะเพิ่มขึ้นทีละ 1 คือ 5 6 7 8
ดังนั้นตัวต่อไป คือ 9 หลักสิบลดลงทีละ 1 คือ 7 6 5 4
ดังนั้นตัวต่อไปคือ 3 จะได้เลขที่ต้องการคือ 39

6. 98 77 56 35 …
ก. 23 ข. 21 ค. 19 ง. 14

เฉลยข้อ ง. แนวคิด เลขที่โจทย์กำหนดให้โดยมีเงื่อนไขดังนี้
หลักสิบลดลงทีละ 2 จาก 9 7 5 3....1
หลักหน่วยลดทีละ 1 จาก 8 7 6 5....4
ดังนั้นเลขที่ถัดจาก 35 คือ 14

7. 14 17 23 32 ...
ก. 42 ข. 43 ค. 44 ง. 45

เฉลยข้อ ค. แนวคิด เลขที่โจทย์กำหนดให้เพิ่มขึ้นตามลำดับดังนี้
จาก 14 17 เพิ่มขึ้น 3
จาก 17 23 เพิ่มขึ้น 6
จาก 23 32 เพิ่มขึ้น 9
จาก 32 .... เพิ่มขึ้น 12 ดังนั้น 32+12=44

8. กาแฟดำ : โอเลี้ยง → ชาร้อน : ?
ก.ชาขม ข. ชาเย็น ค. ชาดำเย็น ง. ชาใส่น้ำร้อน จ. น้ำแข็งใส่ชา

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด กาแฟดำ (โอยัวะ ) ถ้าใส่น้ำแข็งลงไปกลายเป็นโอเลี้ยง เช่นเดียวกับชาร้อน(ชาใส่นม) ถ้าใส่น้ำแข็งลงไปก็จะเป็นชาเย็น

9. แม่น้ำ : ลำคลอง → ต้นไม้ : ?
ก. ใบ ข. ผล ค. ราก ง. กิ่งก้าน จ. ดอกตูม

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ลำคลองแยกจากแม่น้ำ เช่นเดียวกิ่งก้านแยกจากแม่น้ำ

10. ยุง : กัด → แมลงป่อง : ?
ก. จี้ ข. ขบ ค. กัด ง. ต่อย จ. เหล็กใน

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด ยุงใช้กัด เช่นเดียวกับแมลงป่องใช้ต่อย(ด้วยเหล็กใน)




ตัวอย่าง ข้อสอบเก่า กพ ข้อสอบภาค ก แนวข้อสอบ กพ ข้อสอบ กพ 56 ชุดที่ 6


1 . 5 10 20 35 ……
ก. 45 ข. 50 ค. 55 ง. 80
ข้อสอบภาค ก อนุกรม,ข้อสอบ กพ อนุกรม
เฉลย ข้อ ค. แนวคิด เลขชุดนี้เพิ่มขึ้นตามลำดับดังนี้ 5 10 15 20 ..ดังนั้น เลขที่ถัดจาก 35 คือ 35+20 = 55

2 . 14 23 32 41 ……
ก. 45 ข. 47 ค. 48 ง. 50

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด เลขชุดนี้เพิ่มขึ้น 9 ดังนั้น เลขที่ถัดจาก 41 คือ 41+9 = 50

3 . 4.25 3.75 3.25 2.75 ….
ก. 2.25 ข. 2.05 ค. 1.75 ง. 1.5

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด เลขชุดนี้ลดลงครั้งละ 0.50 ดังนั้น เลขที่ถัดจาก 2.75 คือ 2.75-0.50 = 2.25

4 . 1 2 4 7 ……
ก. 8 ข. 9 ค. 10 ง. 11

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด เลขชุดนี้ลำดับการเพิ่มเป็น 1 2 3 ... ดังนั้น เลขที่ถัดจาก 7 คือ 7+4 = 11

5 . 3 4 7 4 5 9 ……
ก. 4 ข. 5 ค. 6 ง. 7

เฉลย ข้อ ง. แนวคิด เลขชุดนี้มีเงื่อนไขดังนี้ 3+4 = 7 และ 4+6 = 9 ดังนั้น เลขที่ถัดจาก 9 คือ 5 (เพราะว่าต่อไปจะได้เลขเป็น 5+6 = 11 )

6 . 7 3 8 4 9 ……
ก. 4 ข. 5 ค. 6 ง. 7

เฉลย ข้อ ข . แนวคิด เลขชุดนี้เพิ่มและลดสลับกันดังนี้ 4 5 4 5 ... ดังนั้น เลขที่ถัดจาก 9 คือ 9-4 = 5

7 . 3 9 4 16 5 …..
ก. 23 ข. 24 ค. 25 ง. 26

เฉลย ข้อ ค . แนวคิด เลขชุดนี้มีเงื่อนไขดังนี้ 9 = 32 16 = 4 2 ดังนั้น ต่อจาก 5 คือ 52

8 . 1 3 9 27 …..
ก. 81 ข. 86 ค. 90 ง. 96

เฉลย ข้อ ก . แนวคิด เลขชุดนี้มีเงื่อนไขชุดนี้เป็นดังนี้ ตัวหลังเกิดจากตัวหน้าคูณด้วย 3
ดังนั้น ตัวถัดจาก 27 คือ 27 x 3 = 81

9 . 640 160 40 10 …..
ก. 5 ข. 4 ค. 3 ง. 2.5

เฉลย ข้อ ง . แนวคิด เลขชุดนี้มีเงื่อนไขดังนี้ ตัวหลังเกิดจากตัวหน้าหารด้วย 4
ดังนั้น เลขตัวถัด จาก 10 คือ = 2.5

10. นายก.แบ่งเงิน 500 บาท ให้นาย ข. นาย ค. นาย ง. โดยให้นาย ข.ได้เป็นสองเท่าของนาย ค. และนาย ค. ได้เป็นครึ่งหนึ่งของนาย ง. อยากทราบว่า นาย ค. จะได้รับเงินส่วนแบ่งเท่าไร

ก. 100 บาท ข. 150 บาท ค. 200 บาท ง. 250 บาท

เฉลย ข้อ ก . แนวคิด จะเห็นว่า นาย ข. ได้สองส่วน
แต่ นาย ค. ได้เพียงหนึ่ง ส่วน รวมเป็น 5 ส่วน 500 บาท
ดังนั้น 1 ส่วน ของ นาย ค. จึงเท่ากับ 100 บาท

11. ชาวนาเกี่ยวข้าวในฤดูหนาว คดีอาญาเกิดมากในฤดูหนาว ฉะนั้น
ก.การเกี่ยวข้าวทำให้เกิดคดีอาญา ข.ฤดูหนาวมีคดีอาญา
ค.คดีอาญาเกิดในไร่นา ง.ชาวนามีคดีอาญา

เฉลย ข้อ ข . แนวคิด ฤดูหนาวมีคดีอาญา

12. สมชายเป็นหัวหน้ารัฐบาล สมพงษ์เป็นรองหัวหน้ารัฐบาล ฉะนั้นสมพงษ์เป็นเช่นไร
ก.เป็นหัวหน้าและรองหัวหน้า ข.ทำงานร่วมกับสมชาย ค.อยู่รัฐบาลเดียวกับสมชาย ง.ทำงานรัฐบาล

เฉลย ข้อ ข. แนวคิด ทำงานร่วมกับสมชาย



ตัวอย่าง ข้อสอบเก่า ความรู้ความสามารถทั่วไป กพ แนวข้อสอบ กพ ข้อสอบ กพ 56 ชุดที่ 7



จงหาจำนวนเลขที่จะเติมในช่องว่างเพื่อให้เข้าอันดับกับชุดของตัวเลขที่กำหนดให้

1. 75 66 57 48 ….
ก. 39 ข. 28 ค. 26 ง.16

เฉลยข้อ ก. แนวคิด เลขที่โจทย์กำหนดให้หลักหน่วยจะเพิ่มขึ้นทีละ 1 คือ 5 6 7 8
ดังนั้นตัวต่อไป คือ 9 หลักสิบลดลงทีละ 1 คือ 7 6 5 4
ดังนั้นตัวต่อไปคือ 3 จะได้เลขที่ต้องการคือ 39

2. 17 13 10 8 …
ก. 4 ข. 5 ค. 6 ง. 7

เฉลยข้อ ง. แนวคิด เลขที่โจทย์กำหนดให้จะลดเป็นชุดตามลำดับดังนี้
จาก 17 13 ลด 4 , 13 10 ลด 3 , 10 8 ลด 2
ดังนั้น จาก 8 ต้องลด 1 คือ 8-1 = 7

3. สินค้าราคา 800 บาท ยอมลดให้ 8 % แต่มีข้อแม้ว่าต้องเสียค่าห่อ 8 บาท อีกต่างหาก ถ้าต้องการซื้อของนี้ จะต้องจ่ายเงินเท่าไร
ก. 644 บาท ข. 744 บาท ค. 844 บาท ง. 944 บาท

เฉลย ข้อ ข . แนวคิด เงิน 100 บาท ลดให้ = 8 บาท
เงิน 800 บาท ลดให้ = = 64 บาท
ดังนั้นซี้อได้ในราคา 800-64 = 736 บาท รวมกับค่าห่ออีก 8 บาท = 744 บาท

4. ถ้าครอบครัวนี้ประมาณการใช้จ่ายเดือนละ 4,200 บาท จะใช้จ่ายในการเดินทางทั้งสิ้นเท่าไร
ก. 336 บาท ข. 235 บาท ค. 525 บาท ง. 430 บาท

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด จากแผนภูมิค่าเดินทาง 8%
แสดงค่าใช้จ่าย 100 บาท เป็นค่าเดินทาง 8 บาท
ถ้าค่าใช้จ่าย 4,200 บาท เป็นค่าเดินทาง = 336 บาท

5. ค่าใช้จ่ายการซื้อเสื้อผ้า ภาษี และค่าเดินทาง มีสัดส่วนเป็นกี่องศา
ก. 100 องศา ข. 80 องศา ค. 75 องศา ง.110 องศา

เฉลย ข้อ ก. แนวคิด จากแผนภูมิค่าใช้จ่ายเสื้อผ้า+ภาษี+เดินทาง
= 15%+12%+8% =35%

วิชาภาษาไทย จำนวน 515 ข้อ (อธิบายคำตอบชัดเจนต่างจากตำราเล่มอื่นๆ)

(1) ความเข้าใจภาษา
ทดสอบความสามารถในการอ่านและการทำความเข้าใจกับบทความหรือข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความ หรือข้อความ ทั้งนี้ รวมไปถึงการสรุปความ และตีความด้วย
(2) การใช้ภาษา
ทดสอบความสามารถในการเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การเขียน ประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษาและการเรียงข้อความ

ตัวอย่าง ข้อสอบเช่น

1. ข้อใดมีจำนวนพยางค์น้อยที่สุด
1.คณะรัฐบุรุษ 2.ประชาธิปไตย 3.ผลิตภัณฑ์ชุมชน 4. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

คำตอบที่ถูกต้องคือ 2 คำอธิบาย ตัวเลือกข้อ 2 ประชาธิปไตย (ประ - ชา - ทิ - ปะ - ตัย) มีจำนวนพยางค์น้อยที่สุด คือ มีอยู่ 5 พยางค์ตัวเลือกข้อ 1 คณะรัฐบุรุษ (คะ - นะ - รัด - ถะ - บุ - หรุด) มีจำนวนพยางค์ 6 พยางค์ตัวเลือกข้อ 3 ผลิตภัณฑ์ชุมชน (ผะ - หลิด - ตะ - พัน - ชุม -ชน) มีจำนวนพยางค์ 6 พยางค์ตัวเลือกข้อ 4 ปรากฏการณ์ธรรมชาติ (ปรา - กด - ตะ - กาน - ทำ - มะ - ชาด) มีจำนวนพยางค์ 7 พยางค์

2. ข้อใดมีคำตายมากที่สุด
1.ริมโบสถ์ระเบียงเคียงฐานบาตร ดื่นดาษผู้คนอยู่จนสาย
2.เห็นน้ำรักพร่ำออกทั้งดอกผล ไม่มีคนรักรักมาหักสอย
3.ถือขันตีทีนั้นจะขันแตก ทั้งศีลแทรกสูดออกกระบอกหู
4.ถึงมาดแม้นตกยากต้องถากหญ้า จะอาสาแทนน้องอย่าหมองศรี

คำตอบที่ถูกต้องคือ 3 คำอธิบาย ตัวเลือกข้อ 3 มีคำตายมากที่สุด คือ 7 คำ ได้แก่ จะ, แตก, แทรก, สูด, ออก, กระ, บอกตัวเลือกข้อ 1 มีคำตาย 4 คำ ได้แก่ โบสถ์, ระ (เบียง), บาตร, ดาษ ตัวเลือกข้อ 2 มีคำตาย 6 คำ ได้แก่ รัก, ออก, ดอก, รัก, รัก, หัก ตัวเลือกข้อ 4 มีคำตาย 5 คำ ได้แก่ มาด, ตก, ยาก, ถาก, จะ 3. ข้อใดแสดงความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด
1.ตักบาตรร่วมขัน 2.ตายประชดป่าช้า 3.ทำบุญเอาหน้า 4.สวรรค์ในอกนรกในใจ

คำตอบที่ถูกต้องคือ 1 คำอธิบาย ตัวเลือกข้อ 1 คำว่า ตักบาตรร่วมขัน หมายถึง เคยทำบุญร่วมกันมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดว่า เมื่อชาติที่แล้วเคยทำบุญร่วมกัน ดังนั้น มาชาตินี้จึงได้มาพบกันตัวเลือกข้อ 2 คำว่า ตายประชดป่าช้า หมายถึง แกล้งทำเป็นพูดแดกดันประชดฝ่ายหนึ่ง แต่ตนเองกลับเป็นฝ่ายเสียหายจากการทำหรือการพูดนั้นเอง ตัวเลือกข้อ 3 คำว่า ทำบุญเอาหน้า หมายถึง ทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ตัวเลือกข้อ 4 คำว่า สวรรค์ในอกนรกในใจ หมายถึง ความสุขหรือความทุกข์ที่อยู่ในใจของผู้ทำ

4. ข้อใดวางส่วนขยายถูกต้อง
1.อาจารย์อนุญาตให้นักเรียนทำรายงานทางวิชาการตามโครงร่างที่เสนอมา
2.พ่อแม่คงต้องสนับสนุนเพื่อให้ลูกประสบความสำเร็จอย่างถูกทาง
3.การพูดโน้มน้าว แม้ไม่มีหลักฐานมาประกอบที่มีเหตุผลก็พอจะเชื่อถือได้
4.ยุวมัคคุเทศก์สามารถอธิบายเรื่องพันธุ์พืชสมุนไพรอย่างน่าสนใจตามรายทาง

คำตอบที่ถูกต้องคือ 1 คำอธิบาย ตัวเลือกข้อ 1 วางส่วนขยายได้ถูกต้องแล้ว ตัวเลือกข้อ 2 ควรเขียนว่า "พ่อแม่คงต้องสนับสนุนลูกเพื่อให้ประสบความสำเร็จ" ตัวเลือกข้อ 3 ควรเขียนว่า "แม้ไม่มีหลักฐานมาประกอบ การพูดโน้มน้าวก็พอจะเชื่อถือได้" ตัวเลือกข้อ 4 ควรเขียนว่า "ตามรายทางยุวมัคคุเทศก์สามารถอธิบายเรื่องพันธุ์พืชสมุนไพรตามรายทางอย่างน่าสนใจ"

5. ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถาม
"(1) เป้าหมายของโครงการบ้านมั่นคง คือ การแก้ปัญหาชุมชนแออัดอย่างยั่งยืน/ (2) โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการแก้ปัญหากันเอง/ (3) การแก้ปัญหาไม่ใช่แค่การสร้างบ้านให้เท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวใหม่ที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดและรับผลแห่งการพัฒนาอย่างครบวงจร เช่น สร้างบ้านตามแบบที่ชุมชนกำหนดเอง มีระบบกองทุนภายในกลุ่มออมทรัพย์/ (4) โครงการแล้วเสร็จเมื่อใด ชุมชนก็จะมีแต่ความสะดวก ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ดี"
ผู้กล่าวข้อความใช้กลวิธีใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
1.แสดงให้ประจักษ์ถึงข้อเท็จจริง 2.แสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือ
3.แสดงให้ประจักษ์ถึงข้อดีเพียงด้านเดียว 4.แสดงให้ประจักษ์ตามกระบวนการเหตุและผล

คำตอบที่ถูกต้องคือ 4 คำอธิบาย ตัวเลือกข้อ 4 แสดงให้ประจักษ์ตามกระบวนการเหตุและผล เช่น จากข้อความ "การแก้ปัญหาไม่ใช่การสร้างบ้านให้เท่านั้น และรับผลแห่งการพัฒนาอย่างครบวงจร" จะเห็นว่าข้อความเป็นเหตุและเป็นผลกัน

6. จงเรียงลำดับข้อความต่อไปนี้ตามระดับของภาษา โดยเริ่มจากภาษาระดับทางการ กึ่งทางการ ไม่เป็นทางการและกันเอง
ก. ทำไมผู้หญิงที่มีลูกแล้วถึงอ้วน สาเหตุที่คนมักนึกไม่ถึงคือแม่เสียดายของที่ลูกกินเหลือ
ข. ผู้หญิงที่ปล่อยให้พุงพลุ้ยเป็นพะโล้อย่างนี้ นอกจากจะดูไม่ได้แล้วยังจะตายไวเสียด้วย
ค. การประชุมวิชาการเรื่องโรคอ้วนครั้งนี้จัดขึ้น เนื่องจากโรคอ้วนเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังประสบอยู่
ง. การลดน้ำหนักด้วยวิธีง่ายๆ นั้น เราจะต้องควบคุมอาหารและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
1.ง., ก., ค. และ ข 2.ค., ก., ข. และ ง. 3.ค., ง., ก. และ ข. 4.ง., ก., ข. และ ค.

คำตอบที่ถูกต้องคือ 3 คำอธิบาย คำตอบที่ 3 ค. ภาษาทางการ (ภาษาเขียน) ง. ภาษากึ่งทางการ มีคำว่า “วิธีง่ายๆ” เป็นภาษาพูด ก. ภาษาไม่เป็นทางการ มีคำว่า “มักนึกไม่ถึง ลูกกินเหลือ” ข. ภาษากันเอง มีคำว่า “พุงพลุ้ย พะโล้”

7. ข้อใดใช้ภาษากระชับ
1.เคล็ดลับในการทำแกงส้มไม่ให้มีกลิ่นคาวคือต้องใส่ปลาในแกงขณะที่น้ำแกงกำลังเดือด
2.นำพริกใส่ครก โขลกเบาๆ พอให้เม็ดพริกแตกไม่ต้องให้ละเอียดมาก
3.มีผู้กล่าวว่าคนที่กินผักกินปลาเป็นประจำจะไม่ค่อยเป็นโรคหัวใจ
4.นำเนื้อหมูสับใส่ครกตำคลุกรวมให้เป็นเนื้อเดียวกัน

คำตอบที่ถูกต้องคือ 3 คำอธิบาย คำตอบที่ 3 ใช้ภาษากระชับ อ่านแล้วรู้เรื่องไม่มีคำฟุ่มเฟือย คือ มีผู้กล่าวว่าคนที่กินผักกินปลาเป็นประจำจะไม่ค่อยเป็นโรคหัวใจ เป็นการเน้นคำว่า “ กิน” คำตอบที่ 1 มีคำว่า แกง ถึง 3 แห่ง แกงส้ม ใส่ปลาในแกง น้ำแกง ใช้ว่า ใส่ปลาในน้ำแกงเลยจะดีกว่า คำตอบที่ 2 โขลกเบาๆ กับ ไม่ต้องให้ละเอียดมาก ความหมายเดียวกัน คำตอบที่ 4 ใส่ครก ตำคลุกรวม ใช้คำฟุ่มเฟือย

8. ข้อใดเป็นเจตนาของผู้เขียนข้อความต่อไปนี้
"การอยู่ใกล้คนฉลาดนั้น แม้จะอยู่ในนรกก็ยังดีกว่าอยู่ร่วมกับคนโง่บนสวรรค์ เพราะคนฉลาดย่อม
แสวงหาความสุขได้ แม้ในเรื่องหรือเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นทุกข์ มองในมุมกลับ คนโง่ย่อมประสบความทุกข์ แม้ในเรื่องที่น่าจะสุข"
1.เสนอให้เปลี่ยนมุมมอง 2.สอนให้เลือกคบคน 3. แนะให้หาความสุข 4. เตือนให้รู้จักปรับตัว
คำตอบที่ถูกต้องคือ 2 คำอธิบาย คำตอบที่ 2 สอนให้เลือกคบคน สังเกตจากคำว่า "อยู่ใกล้คนฉลาด, อยู่ร่วมกับคนโง่" เป็นเจตนาของผู้เขียนว่าควรเลือกคบคน

9. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคำประพันธ์ต่อไปนี้
"ฉับฉวยชกฉกช้ำ ฉุบฉับ"
1.ชกอย่างฉวยโอกาส 2.ชกอย่างรวดเร็ว 3.ชกอย่างคล่องแคล่ว 4.ชกอย่างเมามัน

คำตอบที่ถูกต้องคือ 4 คำอธิบาย คำตอบที่ 4 ชกอย่างเมามัน ไม่ใช่ความหมายนี้คำตอบที่ 1 ชกฉวยโอกาส มีคำว่า “ฉับฉวยชก”คำตอบที่ 2 ชกอย่างรวดเร็ว มีคำว่า “ชกฉกช้ำ” คำตอบที่ 3 ชกอย่างคล่องแคล่ว มีคำว่า “ฉุบฉับ”
กลอนแปดธรรมดา เคล็ดลับการทำข้อสอบอนุกรม,เฉลยข้อสอบ



ซื้อหนังสือหรือแนวข้อสอบได้ที่ http://www.sheetram.com


9 ก.พ. 2562 เวลา 09:25 | อ่าน 24,121


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
258 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
269 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
584 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,300 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
69 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
88 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
675 12 เม.ย. 2567
แจ้งข่าวดี กองทุนหมู่บ้าน จับมือ ทิพยประกันภัย แจกประกันภัยอุบัติเหตุฟรีช่วงสงกรานต์ ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท
851 12 เม.ย. 2567
ธอส. ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.105% ต่อปี มอบเป็นของขวัญวันปีใหม่ไทย​ เริ่ม 14 เมษายนนี้
421 12 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 เมษายน 2567
551 8 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน