ฝาหม้อน้ำ ไม่ใช่แค่ฝาสำหรับปิดหม้อน้ำเท่านั้น…เรื่องเล็กๆ แต่อันตรายมหาศาล ไม่ควรมองข้าม!!

3 เม.ย. 2562 เวลา 19:58 | อ่าน 2,380
 
ฝาหม้อน้ำ

ฝาหม้อน้ำสำคัญ “ฝาหม้อน้ำ คือ เป็นส่วนประกอบของรถยนต์ ราคาหลักร้อย ถือเป็นส่วนเล็กๆ ที่หลายคนมองข้าม กว่าจะรู้ตัว เครื่องยนต์ก็ “ร้อน” จนต้องเสียตังค์ค่าซ่อมหลักหมื่นกันแล้ว”

หน้าที่อันสำคัญของฝาหม้อน้ำ คือ เป็นอุปกรณ์ควบคุมแรงดันภายในหม้อน้ำให้มีความคงที่ โดยวาล์วที่ประกอบด้วยสปริงแรงดันและแผ่นยางทนความร้อนสูง ซึ่งสปริงมีทั้งหมด 2 ชุด ได้แก่ ตัวใหญ่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจะอยู่ภายนอกและทำหน้าที่ควบคุมแรงดัน หากแรงดันภายในหม้อน้ำสูงขึ้นจนเกินต้านทานตามตัวเลขแรงดันที่ระบุเอาไว้บนฉลากที่ติดอยู่กับฝาหม้อน้ำ เช่น 0.9 บาร์ หรือเท่ากับ 13.22 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว น้ำจะถูกดันออกไปยังหม้อพักน้ำ เมื่อน้ำในระบบเย็นลง จะทำให้แรงดันในหม้อน้ำลดลงตามไปด้วย และสปริงในแกนฝาหม้อน้ำจะทำหน้าที่เป็นวาล์วสุญญากาศ ดูดน้ำจากหม้อน้ำกลับไปยังหม้อน้ำ การที่ทำให้ภายในหม้อน้ำมีแรงดันเพิ่มมากขึ้นนั้น ก็เพื่อที่จะเพิ่มจุดเดือดของน้ำในระบบหล่อเย็นให้สูงขึ้นนั่นเองครับ



ในทางตรงกันข้ามหากฝาหม้อน้ำเกิดการชำรุด ทั้งมองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น ยางทนความร้อนหมดอายุ แข็ง ฉีกขาด และแบบที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น สปริงแรงดันเสื่อมคุณภาพ จะทำให้การควบคุมแรงดันผิดปกติส่งผลให้เกิดอาการน้ำในระบบหล่อเย็นหายไปในที่สุด



การใช้งานฝาหม้อน้ำที่เหมาะสม ควรเปลี่ยนฝาหม้อน้ำทุกๆ 3-4 ปี หรือทุก 40,000 – 50,000 กิโลเมตร เพราะฝาหม้อน้ำจะมียางกันรั่วตรงขอบบ่ารองด้านในที่จะเสื่อมสภาพไม่สามารถกันน้ำรั่วออกจากหม้อน้ำได้ รวมถึงสปริงแรงดันสูงและสปริงสุญญากาศเมื่ออยู่กับความร้อนนานๆ ค่าความแข็งก็จะเสียไป อาจจะทำให้น้ำไหลออกจากหม้อน้ำมากเกินไปหรือไม่ดูดกลับเข้ามาในหม้อน้ำได้ครับ

ฝาหม้อน้ำ

ข้อความควรระวัง และการตรวจเช็ค !!

เมื่อทำการเปิดฝาเพื่อตรวจเช็คฝาหม้อน้ำหรือทำการเติมน้ำ ในการเปิดฝา ห้ามทำในขระที่มีความร้อนอยู่ เพราะแรงดันน้ำอาจส่งผลให้ได้รับอันตราย วิธีที่ถูกต้องคือ ให้ตรวจเช็คและเติมน้ำที่หม้อพักน้ำแทน

ฝาหม้อน้ำ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูงจนถึงขั้นเดือดได้ เช่น แผ่นยางเล็กๆ ที่อยู่ด้านล่างฝาหม้อน้ำหมดสภาพการใช้งาน มีการแข็งตัว เปราะบาง หรือฉีกขาด รวมไปถึงหม้อน้ำสกปรก ทำให้วาล์วและสปริงเป็นสนิม และจะส่งผลให้เครื่องยนต์เกิดการเสียหายตามมาได้ จึงควรหมั่นตรวจเช็คสภาพของฝาหม้อน้ำเป็นประจำ ในขณะที่เครื่องยนต์เย็นครับ



เคล็ดลับน่ารู้…

– การตรวจเช็คชุดสปริงวาล์ว สุญญากาศ ในขณะเครื่องเย็นให้เปิดฝาหม้อน้ำออก ใช้มือดึงแกนกลางด้านล่างที่ประกบอยู่กับแผ่นยางทนความร้อน หากมีอาการแข็งหรือดึงไม่ออก หมายความว่าควรเปลี่ยนสปริงวาล์ว สุญญากาศทันที
–ควรเติมน้ำยาหล่อเย็นที่มีคุณภาพและทำการเปลี่ยนถ่ายปีละครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดตระกรัน ที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ยางทนร้อนและสปริงแรงดันได้



วิธีการเลือกซื้อฝาหม้อน้ำ

–ควรเลือกซื้อฝาหม้อน้ำที่ได้คุณภาพมาตรฐานจากศูนย์บริการ ซึ่งราคาไม่แพงนัก
–การเลือกใช้ฝาหม้อน้ำเทียม อาจนำมาซึ่งความเสียหายอันมหาศาล
–การซื้อฝาหม้อน้ำ ให้ซื้อฝาที่มีค่าแรงดันเท่ากับฝาหม้อน้ำเดิมที่ระบุตัวเลขไว้ อาทิ 0.9 บาร์ 1.1 บาร์


ข้อมูลจาก ช่างเค

3 เม.ย. 2562 เวลา 19:58 | อ่าน 2,380
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 4-10 พฤษภาคม 2568
49 4 พ.ค. 2568
ความคืบหน้าการจ่ายเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ รอบการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568
34 29 เม.ย. 2568
ครม. เห็นชอบโครงการสลากการกุศล เพื่อสนับสนุนโครงการที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการพิจารณาโครงการสลากการกุศลฯ
32 29 เม.ย. 2568
ออมสินร่วมฉลอง 150 ปี ก.คลัง จัดโปรแรง เงินฝาก 150 วัน ดอกเบี้ยพิเศษเฉลี่ย 2.55% ต่อปี
35 28 เม.ย. 2568
ดวงกับดาวประจำวันที่ 27 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2568
51 27 เม.ย. 2568
สัปดาห์นี้รับมืออากาศร้อนจัด แนะกลุ่มเสี่ยง - ผู้ใช้แรงงาน เลี่ยงการทำงานกลางแจ้งต่อเนื่อง พักผ่อนและดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
47 27 เม.ย. 2568
ยูเนสโกยกย่อง 3 มรดกไทย สมุดไทยคำหลวง – พระเจ้าช้างเผือก – เอกสารอาเซียน
35 26 เม.ย. 2568
รัฐบาลนำสื่อสัญจรติดตามโครงการ นาหว้าโมเดล
36 26 เม.ย. 2568
ด่วน..!!ผลตอบแทนดี.. รัฐบาลเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ปี 68
101 24 เม.ย. 2568
รัฐบาลย้ำเด็กทุกคนต้องมีที่เรียน!....สพฐ. ยืนยันโรงเรียนยังรับ นร. ม.1 - ม.4 ได้อีก 3 แสนคน
57 24 เม.ย. 2568
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...