การเหยียบเบรกแช่ไว้ขณะรถติดเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง จริงหรือ?

6 ก.ค. 2562 เวลา 20:55 | อ่าน 1,500
แชร์ไปยัง
L
 

รถติดไม่เบรกแช่

เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเคยเจอกับปัญหารถติดนานๆ รถแน่นเป็นจำนวนมาก จนต้องคอยหวาดระแวงว่าจะมีรถคันหน้าหรือคันหลังถอยหรือพุ่งมาชนหรือเปล่า หรือถ้าเราจอดอยู่เฉยๆ แล้ว ต้องทำอย่างไรให้รถนิ่ง ไม่ไปชนรถคันอื่นจนเสียหาย ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าการเหยียบเบรกนั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง แต่คุณกำลังเข้าใจผิดครับ


เหยียบเบรกแช่ไว้ขณะรถติดเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง


พฤติกรรม การเหยียบเบรกแช่ไว้ เป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่


เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเคยเจอกับปัญหารถติดนานๆ รถแน่นเป็นจำนวนมาก จนต้องคอยหวาดระแวงว่าจะมีรถคันหน้าหรือคันหลังถอยหรือพุ่งมาชนหรือเปล่า หรือถ้าเราจอดอยู่เฉยๆ แล้ว ต้องทำอย่างไรให้รถนิ่ง ไม่ไปชนรถคันอื่นจนเสียหาย ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าการเหยียบเบรกนั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง แต่คุณกำลังเข้าใจผิดครับ


รถติดบนท้องถนนนาน ๆ ทำให้เราต้องนั่งแหงกบนรถอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งการจราจรเป็นแบบเคลื่อนไหวสลับหยุดนิ่ง การเหยียบคันเร่งสลับเหยียบเบรกก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน สถานการณ์แบบนี้จะทำให้การระบายอากาศของเครื่องยนต์รถย่ำแย่ และการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ จนเกิดของเหลือจากการเผาไหม้ ยิ่งรถติดแช่นานๆ ของเหลือจากการเผาไหม้ก็ยิ่งมีมากขึ้น ทำให้เข้าไปอุดตันหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงและขัดขวางการทำงานของห้องเผาไหม้เครื่องยนต์ โดยคุณสามารถสังเกตได้จากอาการเสียงดังครืดๆๆ ที่มาจากตัวเครื่องครับ

เหยียบเบรกแช่ไว้ขณะรถติดเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

สำหรับวิธีแก้ไข คือ พยายาหลีกเลี่ยงการขับรถในชั่วโมงรถติด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้พยายามทำความสะอาดหัวฉีดน้ำมันทุกๆ 5,000 กิโลเมตร หรือให้หันมาใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยลดเสียงดังจากเครื่องยนต์ แต่ข้อควรจำก็คือการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนมากขึ้นไม่สามารถกำจัดของเหลือจากการเผาไหม้ให้หมดได้


และที่สำคัญเวลารถติดนานๆ ไม่ควรเหยียบเบรกแช่งทิ้งไว้ เพราะจะทำให้อุณหภูมิของจานเบรกและผ้าเบรกที่สูงอยู่แล้วจากการขับขี่นั้นไม่สามารถระบายหรือลดลงได้ ทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลงหรืออาจทำให้จานเบรกหรือผ้าเบรกเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ เช่น จานเบรกบิดเบี้ยวเป็นผลทำให้เบรกสั่น ผิวหน้าของผ้าเบรกด้านเนื้อผ้าเบรกแข็ง หรือกิ๊บล็อค (ตัวรองผ้าเบรกไม่ให้ดิ้นขณะเบรก) เกิดการล้าตัวจากความร้อนสูง แนะนำว่าหากอยู่ในการจราจรที่ติดขัดต้องจอดเป็นเวลามากกว่า 1-2 นาที ให้เข้าเกียร์ในตำแหน่ง N และดึงเบรกมือ แล้วยกเท้าออกจากแป้นเบรกเพื่อให้ผ้าเบรกเลื่อนตัวออกจากจานเบรกก็สามารถระบายความร้อนได้ครับ

ข้อแนะนำสำหรับการปกป้องเครื่องยนต์และเบรกรถของคุณให้อยู่นานๆ คือ ลดความเร็วในการขับขี่ลงและเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าในระดับที่เหมาะสม ป้องกันไม่ให้เกิดการเบรกกะทันหัน แม้การเหยียบเบรกสลับกับการคันเร่งยนต์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ครับ


ข้อมูลจาก ช่างเค

6 ก.ค. 2562 เวลา 20:55 | อ่าน 1,500


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
เงินเดือนตำรวจและเงินประจำตำแหน่งตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน
68 28 ก.ย. 2566
มาตรการพักชำระหนี้ให้ลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ผู้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ ดังกล่าวภายใต้หลักการ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้
13 27 ก.ย. 2566
ครม. รับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
178 27 ก.ย. 2566
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 กันยายน 2566 เรื่อง มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566)
18 27 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 กันยายน 2566
280 24 ก.ย. 2566
485 20 ก.ย. 2566
ข่าวดี !! 15 อัตรา รับสมัครชายไทย วุฒิ ปวช./ปวส. ทำงานช่างที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)
191 20 ก.ย. 2566
ตำแหน่งครูว่าง 2566 การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคคลกรทางการศึกษาเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
98 19 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 กันยายน 2566
475 17 ก.ย. 2566
ออมสิน ยื่นมือช่วยลูกหนี้ NPL สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ถูกกระทบช่วงวิกฤติโรคร้าย ตั้งต้นผ่อนเดือนละร้อย ดึงบัญชีกลับมาเป็นปกติ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธ.ค.2566
275 16 ก.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน