สรุป มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562 มีอะไรบ้าง?

20 ส.ค. 2562 เวลา 19:34 | อ่าน 1,936
 
กระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรรายย่อยให้สามารถดำรงชีพได้ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20พฤษภาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรรายย่อยให้สามารถดำรงชีพได้ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2562 :ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1. มาตรการบรรเทาค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกองทุนหมู่บ้าน 2. มาตรการเพื่อบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2562 และเกษตรกรรายย่อย 3. มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ และ 4. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. มาตรการบรรเทาค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกองทุนหมู่บ้านประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้


มาตรการบรรเทาค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกองทุนหมู่บ้านประกอบด้วย 4 โครงการ

1.1 มาตรการพยุงการบริโภคของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคนจะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีกจำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน


1.2 มาตรการมอบเงินช่วยเหลือสำหรับผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน


1.3 มาตรการช่วยเหลือการเลี้ยงดูบุตรแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้รับสิทธิภายใต้โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้รับสิทธิภายใต้โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของ พม. ที่ดูแลบุตรและเด็กเล็กที่มีอายุ 0 ถึง6 ปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีกจำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน


ทั้งนี้ การบรรเทาค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้ง 3 มาตรการข้างต้น เป็นการช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นระยะเวลา 2 เดือน ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2562 โดยเติมเงินเข้าช่องกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) เพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้าและบริการที่จำเป็น ผ่านเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture: EDC) แอปพลิเคชั่นถุงเงินประชารัฐ หรือถอนเงินสดจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ได้

มาตรการเพื่อบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง

1.4 มาตรการพักชำระหนี้เงินต้นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่คงค้างกับสถาบันการเงิน
เพื่อลดภาระในการชำระหนี้และเพิ่มสภาพคล่องให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กองทุนหมู่บ้านฯ) จำนวน 50,732 แห่ง โดยเป็นกองทุนหมู่บ้านฯ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)จำนวน 27,249 แห่ง และอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารออมสิน จำนวน 23,483 แห่งทั้งนี้ การพักชำระหนี้จะพักชำระเฉพาะเงินต้นเท่านั้น และยังคงต้องชำระดอกเบี้ยตามปกติ โดยมีรายละเอียดในการดำเนินงานดังนี้

1) ธ.ก.ส. เปิดลงทะเบียนกองทุนหมู่บ้านฯ ที่สมัครใจเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้เงินต้นกองทุนหมู่บ้านฯ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562และจะเริ่มดำเนินการพักชำระหนี้เงินต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563 (1 รอบปีบัญชีของธนาคาร)

2) ธนาคารออมสินเปิดลงทะเบียนกองทุนหมู่บ้านฯ ที่สมัครใจเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้เงินต้นกองทุนหมู่บ้านฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 และจะเริ่มดำเนินการพักชำระหนี้เงินต้นตั้งแต่วันที่
1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563(1 รอบปีบัญชีของธนาคาร)


2.มาตรการเพื่อบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2562 และเกษตรกรรายย่อย

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระหนี้สินของผู้ประสบภาวะวิกฤติภัยแล้งและลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรรายย่อย ประกอบด้วย 3 โครงการ ดังนี้

มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยวและส่งเสริมการลงทุนของ SMEs และภาคเอกชนผ่านมาตรการทางการเงินและมาตรการทางภาษี

- 2.1 โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ โดยลดดอกเบี้ยให้แก่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
ในพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) (ประกาศเขตฯ ภัยแล้ง)ให้ได้รับสิทธิ์จ่ายดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0.1 ต่อปี สำหรับต้นเงินกู้ที่ไม่เกิน 300,000 บาท เป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2562 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563

- 2.2 โครงการขยายเวลาชำระหนี้เงินกู้ โดยขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.
ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดที่มีการประกาศเขตฯ ภัยแล้ง ให้ได้รับสิทธิ์ขยายเวลาชำระหนี้เดิมเป็นระยะเวลา 2 ปีนับจากงวดชำระเดิม แต่ไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 นอกจากนี้ ธ.ก.ส. มีมาตรการสินเชื่อผ่อนปรนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ให้มีเงินทุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าลงทุนเพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพ และเป็นค่าสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหรือโรงเรือนการเกษตร รวมถึงฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ วงเงินรวม 55,000 ล้านบาท

- 2.3 โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์ต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 (รอบที่ 1) กับกรมส่งเสริมการเกษตร

3. มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยวและส่งเสริมการลงทุนของ SMEs และภาคเอกชนผ่านมาตรการทางการเงินและมาตรการทางภาษี โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้


- 3.1 มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช้อปใช้”เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ และสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) โดยผู้สนใจเข้าร่วมมาตรการจะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันลงทะเบียน และมีบัตรประจำตัวประชาชน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการผ่านเว็บไซต์ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการลงทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 1) รัฐบาลสนับสนุนวงเงินจำนวน 1,000 บาท
ต่อคนเพื่อเป็นสิทธิในการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ โดยไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และ 2) หากผู้ลงทะเบียนเติมเงินเพิ่มเติมเพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พัก หรือค่าสินค้าท้องถิ่น จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ รัฐบาลจะสนับสนุนวงเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 15 ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน (วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน) เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน ทั้งนี้ ในการซื้อสินค้าและบริการดังกล่าวจะต้องเป็นการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการ
ที่รับชำระเงินด้วยแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”

ชิมช้อปใช้
- 3.2 โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
โดยกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินการร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โดยมีวงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อสนับสนุน SMEs ทั่วไปให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เสริมสภาพคล่องหรือลงทุนขยายกิจการ และสนับสนุน SMEs ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว
และบริการเพื่อปรับปรุงซ่อมแซม ขยายกิจการ และยกระดับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการ

โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- 3.3 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 8 (PGS8)วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 150,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ต้องการสินเชื่อจากสถาบันการเงินแต่มีหลักประกันไม่เพียงพอ ระยะเวลาค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ค่าธรรมเนียมค้ำประกันเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปี โดย บสย.จ่ายค่าประกันชดเชยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 30 และรัฐบาลจ่ายค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี หรือร้อยละ 3.5 ของวงเงินค้ำประกัน

- 3.4 มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่าย
เพื่อการลงทุนในเครื่องจักรได้ 1.5 เท่าของที่จ่ายจริง (หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา 1 เท่าตามปกติ และทยอยหักรายจ่ายส่วนเพิ่มอีก 0.5 เท่า โดยเฉลี่ยเท่ากันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี) สำหรับการลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 นอกเหนือจากโครงการ/มาตรการสนับสนุนการลงทุนของ SMEs และการลงทุนของภาคเอกชนผ่านมาตรการด้านสินเชื่อ การค้ำประกันสินเชื่อ และมาตรการภาษีดังกล่าวข้างต้นแล้ว สถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสินธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ยังมีมาตรการสินเชื่อผ่อนปรนเพื่อสนับสนุน SMEs และที่อยู่อาศัยเพื่อสนับสนุน SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพิ่มขึ้น เพื่อเสริมสภาพคล่องหรือลงทุนขยายกิจการ และสนับสนุนให้ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อ SMEs และวงเงิน 52,000 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย

4. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เพื่อติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและงบลงทุนของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งเร่งรัดติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ มีกรรมการประกอบด้วย ส่วนราชการที่ได้รับการจัดสรรงบลงทุนอยู่ในระดับสูง รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ โดยมีที่ปรึกษาหรือรองอธิบดีที่อธิบดีกรมบัญชีกลางมอบหมาย และที่ปรึกษาหรือรองผู้อำนวยการที่ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม และให้มีการติดตามและประชุมหารือเป็นประจำทุกไตรมาส หรือแล้วแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควร

กระทรวงการคลังคาดว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562 จะช่วยบรรเทาค่าครองชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย
และเกษตรกรรายย่อย ช่วยรักษากำลังซื้อของเศรษฐกิจฐานราก กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยที่จะช่วยให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง รวมถึงส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว และผู้ประกอบการทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นและสร้างแรงส่ง (Momentum) ให้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2562 และปี 2563 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น



ข้อมูลจาก เพจกระทรวงการคลัง 20 ส.ค. 2562

20 ส.ค. 2562 เวลา 19:34 | อ่าน 1,936


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ สั่งการก.คลัง ดีเดย์ด่านOne stop service หนองคายทดลอง1ก.ย.นี้ลดขั้นตอนส่งสินค้าไปลาวและจีนพร้อมสั่งกรมโรงงานเร่งพิจารณาออกใบอนุญาต รง.4
12 8 พ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 5 – 11 พฤษภาคม 2567)
134 5 พ.ค. 2567
จอดพักรถ เปิดฝากระโปรงหน้า ไว้ ดีจริงเหรอ?
30 4 พ.ค. 2567
​พรุ่งนี้ดีเดย์!! 1 พฤษภาคม วันขึ้นเงินเดือนข้าราชการและ ขึ้นเงินบำนาญขั้นต่ำ
922 30 เม.ย. 2567
นายกฯ ชื่นชมมาตรการสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายประกาศลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567
167 27 เม.ย. 2567
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
374 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
1,074 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
1,283 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
818 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
975 21 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน