ถาม-ตอบ การได้รับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ และทายาท การลาของข้าราชการได้รับเงินเดือน

8 ก.ย. 2562 เวลา 12:04 | อ่าน 44,894
 
การได้รับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ

การปรับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) จะเป็นการปรับผู้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญประเภทใดบ้าง


ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม
ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวม ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ให้ไดรับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาท หักด้วยเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ



การปรับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) มีหลักเกณฑ์การปรับอย่างไร


การปรับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) มี 2 กรณี


1.ผู้รับบำนาญที่ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ที่เคยได้รับการปรับ ช.ค.บ. มาก่อน ไม่ต้องรายงานตัวที่ส่วนราชการผู้เบิก กรมบัญชีกลางจะปรับ ช.ค.บ. และโอนเงิน ช.ค.บ. ให้ผู้รับบำนาญจึงจะได้รับเบี้ยหวัดบำนาญและ ช.ค.บ. รวมกันเป็นเดือนละ 10,000 บาท


2.ผู้รับบำนาญที่ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท และยังไม่เคยได้รับ ช.ค.บ. มาก่อน จะยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ผู้รับบำนาญไปแสดงตนเพื่อยืนยันว่าไม่ได้กลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานในสังกัดราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อยื่นคำขอเบิกเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญก่อน เพื่อให้ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญแจ้งกรมบัญชีกลางให้โอนเงิน ช.ค.บ. ดังกล่าว ผู้รับบำนาญจึงจะได้รับเบี้ยหวัดบำนาญและ ช.ค.บ. รวมกันเป็นเดือนละ 10,000 บาท



เมื่อได้แจ้งการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้ผู้มีสิทธิทราบแล้ว หากปรากฎว่าผลการคำนวณบำเหน็จบำนาญดังกล่าวไม่ถูกต้อง ผู้มีสิทธิต้องโต้แย้งภายในอายุความเท่าใด


สิทธิในการโต้แย้งผลการคำนวณบำเหน็จบำนาญไม่ถูกต้อง ผู้มีสิทธิต้องโต้แย้งภายในสองปีนับแต่ได้รับแจ้งผลการคำนวณ



มารดาต้องการขอบำเหน็จตกทอดให้บุตรของผู้เสียชีวิต แต่ผู้เสียชีวิตไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของบุตร และไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร และบุตรได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายของผู้ตายแต่เป็นการยื่นคำร้องต่อศาลเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ผ


บุตรไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด เนื่องจากไม่ถือเป็นบุตรโดยชอบของผู้เสียชีวิต



ผู้รับบำนาญได้กลับเข้ารับราชการใหม่ต่างกรม ซึ่งไม่ประสงค์ขอนับเวลาราชการต่อเนื่อง ต่อมาออกจากราชการเพราะเกษียณอายุ โดยการออกจากราชการในครั้งหลังนี้มีสิทธิได้รับบำนาญด้วย การจ่ายบำนาญครั้งก่อนกับครั้งหลังมีหลักเกณฑ์การจ่ายอย่างไร


การจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญในกรณีผู้เคยรับบำนาญอยู่แล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ แล้วออกจากราชการครั้งหลังโดยมีสิทธิได้รับบำนาญในครั้งหลังด้วย ถ้าการรับราชการในครั้งก่อนกับครั้งหลังต่างกระทรวง กรมกัน ให้รวมจ่ายบำนาญทางส่วนราชการที่ออกจากราชการครั้งหลัง



ข้าราชการได้รับอันตรายจนพิการ สูญเสียอวัยวะ ซึ่งแพทย์ได้ตรวจและแสดงความเห็นทางการแพทย์ว่าไม่สามารถจะรับราชการต่อไปได้ เพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่ มีเวลาราชการไม่ถึงสิบปีจะสามารถรับบำนาญได้หรือไม่ ประการใด


พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 40 ได้กำหนดไว้โดยสรุปว่า ผู้ได้รับอันตรายถึงทุพพลภาพพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่ แม้จะยังไม่มีสิทธิได้รับบำนาญปกติ ก็ให้ได้รับบำนาญปกติได้ ดังนั้น กรณีนี้ข้าราชผู้ได้รับอันตรายเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่แม้จะมีเวลาราชการไม่ถึงสิบปีก็จะสามารถได้รับบำนาญปกติ ซึ่งบวกกับบำนาญพิเศษด้วย



ข้าราชการรับราชการครั้งแรก 8 ปี ถูกไล่ออก ต่อมาได้ล้างมลทิน แล้วกลับเข้ารับราชการอีก เวลาช่วงแรกนำมานับต่อกันได้หรือไม่


ไม่สามารถนำเวลาราชการมานับต่อได้ เนื่องจากกรณีดังนี้


1. การถูกไล่ออกจากราชการไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญตามที่กฎหมายบัญญัติ และ

2. การล้างมลทิน ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสต่าง ๆ กฎหมายจะบัญญัติว่าการล้างมลทินตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น



ผู้รับบำนาญ นำหนังสือรับรองสิทธิไปยื่นขอกู้เงินกับสถาบันการเงินไม่เต็มจำนวนแต่ต่อมาภายหลังต้องการกู้เงินส่วนที่เหลือเพิ่มเติมจะทำได้หรือไม่


สามารถกู้เพิ่มเติมได้ เนื่องจากเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้รับบำนาญและบรรเทาความเดือดร้อนในการครองชีพ จึงได้ดำเนินการให้ผู้รับบำนาญสามารถกู้เงินเพิ่มในส่วนที่เหลือกับสถาบันการเงินโดยใช้หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้ฉบับเดิมได้ แต่จำนวนเงินที่กู้เดิมกับจำนวนเงินที่กู้เพิ่มรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรองสิทธิ


ข้าราชการที่จะครบกำหนดเกษียณอายุจะสามารถยื่นเรื่องขอรับบำเหน็จ บำนาญล่วงหน้าได้หรือไม่


ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2527 ข้อ 6 กำหนดให้ข้าราชการที่พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุให้ยื่นคำขอรับบำเหน็จ บำนาญล่วงหน้าได้เป็นเวลา 8 เดือนก่อนวันครบเกษียณอายุ



ข้าราชการที่ลาติดตามคู่สมรส กรณีไปปฎิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ มีสิทธินำเวลาราชการมาคิดคำนวณบำเหน็จบำนาญได้หรือไม่


ไม่ได้ เนื่องจาก การลาติดตามคู่สมรส ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา จึงไม่สามารถนำเวลาราชการดังกล่าวมาคิดคำนวณเป็นเงินบำเหน็จบำนาญได้



ลูกจ้างประจำที่รับบำเหน็จรายเดือนหากถึงแก่ความตายจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดหรือไม่ หากมีสิทธิได้รับจะได้รับเป็นจำนวนเท่าใดและจ่ายให้แก่ผู้ใด


ผู้รับบำเหน็จรายเดือนเมื่อถึงแก่ความตายให้จ่ายบำเหน็จตกทอด เป็นจำนวนสิบห้าเท่าของบำเหน็จรายเดือนให้แก่ทายาทหรือบุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนาไว้



ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร โดยได้รับเงินเดือนได้หรือไม่ และจะมีสิทธิลาได้กี่วัน


ข้าราชการชายสามารถลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรได้ แต่ต้องลาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร จึงจะมีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างที่ลาได้ไม่เกินสิบห้าวันทำการ และลาครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ



กรณีมีประกาศใช้กฎอัยการศึกข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งประจำปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่ได้มีประกาศใช้กฎอัยการศึกนั้น สามารถนับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นเป็นทวีคูณได้หรือไม่อย่างไร


พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 24 วรรคสอง กำหนดไว้โดยสรุปว่า ในกรณีที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในเขตพื้นที่ใดให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจพิจารณาให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งประจำปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่ได้มีประกาศใช้กฎอัยการศึกนั้น ได้รับการนับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นเป็นทวีคูณได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ดังนั้น เมื่อมีประกาศใช้กฎอัยการศึกจะไม่มาสามารถนับเวลาราชการเป็นทวีคูณได้ทันที แต่ต้องให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณากำหนด จึงจะมีสิทธิได้นับเวลาราชการเป็นทวีคูณได้



ผู้รับบำเหน็จรายเดือนสอบถามเรื่องการขอหนังสือรับรองบำเหน็จตกทอดค้ำประกันกู้เงินกับธนาคาร โดยธนาคารแจ้งว่าให้มาเอาเอกสารกับกรมบัญชีกลาง จึงอยากทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อรับเอกสารดังกล่าว


การขอหนังสือรับรองบำเหน็จตกทอดค้ำประกันการกู้เงิน ผู้รับบำเหน็จรายเดือนต้องติดต่อยื่นคำร้องที่ส่วนราชการผู้เบิกของผู้รับบำเหน็จรายเดือน และดำเนินการตรวจสอบสิทธิในการขอรับหนังรับรองดังกล่าวของผู้รับบำหน็จรายเดือน พบว่าผู้รับบำเหน็จรายเดือนคุณสมบัติในการขอรับหนังสือรับรองดังกล่าวยังไม่ครบถ้วน เพราะไม่มีข้อมูลการแสดงเจตนาบุคคลอื่นในการรับเงินบำเหน็จตกทอด จึงแนะนำให้ติดต่อส่วนราชการผู้เบิกเพื่อแสดงเจตนาบุคคลอื่นและยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองที่ส่วนราชการเบิก



ผู้รับบำเหน็จรายเดือนสอบถามเรื่องการนำบำเหน็จรายเดือนไปค้ำประกันการกู้เงินกับธนาคารว่าจะขอเอกสารได้อย่างไร


กรณีที่ผู้รับบำเหน็จรายเดือนจะขอหนังสือรับรองค้ำประกู้เงินได้นั้นจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิก่อน ซึ่งจะมีสิทธิขอหนังสือรับรองได้นั้นสำหรับผู้รับบำเหน็จรายเดือนซึ่งมีทายาทตามกฏหมายอยู่แล้วต้องมีการแสดงเจตนาให้มีบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ทายาทตามกฏหมายสำรองการรับเงินบำเหน็จตกทอดด้วย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าข้อมูลการแสดงเจตนาเพื่อมีสิทธิขอหนังสือรับรับรงอยังไม่ได้ดำเนินการแนะนำให้ติดต่อส่วนราชการผู้เบิกดำเนินการเพิ่มข้อมูลบุคคลแสดงเจตนาและยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองผ่านส่วนราชการผู้เบิก เมื่อกรมบัญชีกลางรับรื่องเรียบร้อยจะมีการอนุมัติหนังสือดังกล่าวและจัดส่งให้ผู้รับบำเหน็จรายเดือนตามลำดับ



ผู้รับบำนาญมีความประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่จะต้องดำเนินการอย่างไร


ผู้รับบำนาญติดต่อส่วนราชการต้นสังกัดโดยทำเป็นหนังสือพร้อมแนบหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านแจ้งส่วนราชการเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป



ข้าราชการถึงแก่ความตายจะขอรับเงินช่วยพิเศษได้ เมื่อใด


กรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย ให้ขอรับเงินช่วยพิเศษได้ภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ข้าราชการ ผู้ซึ่งมีสิทธิรับเงินเดือนตาย



ข้าราชการลาออกจากราชการ ไปทำงานต่างประเทศแล้ว 2 ปี ยังไม่ได้ขอรับบำนาญ จะมีสิทธิขอรับบำนาญได้หรือไม่


มีสิทธิขอรับบำนาญได้ เนื่องจากยังไม่ขาด อายุความ เพราะระเบียบมีอายุความ 3 ปี



ผู้รับบำนาญต้องการเปลี่ยนจากขอรับบำนาญเป็นขอรับบำเหน็จได้หรือไม่ อย่างไร


เมื่อผู้มีสิทธิรับบำนาญได้รับบำนาญจากส่วนราชการผู้เบิกแล้วจะขอเปลี่ยนแปลงความประสงค์ในการขอรับบำเหน็จอีกไม่ได้



การตกเบิกบำนาญค้างจ่ายของผู้รับบำนาญสามารถตกเบิกได้กี่ปี


หากผู้รับบำนาญไม่มาแสดงตนหรือส่งใบรับรองการมีชีวิตให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเกินกว่า 5 ปี สามารถตกเบิกเงินบำนาญ ค้างจ่ายได้ไม่เกิน 5 ปี



ข้าราชการลาออกและขอรับบำนาญและบำเหน็จดำรงชีพไปแล้วต่อมาได้บรรจุกลับเข้ารับราชการใหม่ในตำแหน่งเดิมต้องคืนเงินบำนาญและบำเหน็จดำรงชีพที่รับไปแล้วหรือไม่


ข้าราชการซึ่งลาออกและรับบำนาญแล้วหากกลับเข้ารับราชการใหม่และขอนับเวลาราชการต่อเนื่องต้องงดรับบำนาญตั้งแต่วันกลับเข้ารับราชการหากเป็นสมาชิก กบข.ตอนก่อนออกจากราชการและได้รับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทน จะต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่ กบข.ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด สำหรับบำนาญที่ได้รับไปแล้วไม่ต้องคืนคลังและบำเหน็จดำรงชีพที่รับไปแล้วก็ไม่ต้องส่งคืนคลังเช่นเดียวกันและจะมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพเพิ่ม(รวมครั้งแรกไม่เกินสี่แสนบาท) ได้ต่อเมื่อพ้นจากราชการภายหลังและขอรับบำนาญ เมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าการออกครั้งหลังได้นับเวลาต่อเนื่องและขอรับเป็นบำเหน็จ จะถูกหักบำเหน็จดำรงชีพที่รับไปแล้วจากบำเหน็จปกติที่ได้รับเพื่อส่งคืนคลัง



นาย ก. เป็นผู้รับบำนาญได้ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก ต่อมานาย ก. ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งคดีถึงที่สุดวันที่ 30 มิถุนายน 2551 จึงขอทราบว่านาย ก. จะมีสิทธิได้รับบำนาญปกติต่อไปหรือไม่อย่างใด


พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่25) พ.ศ.2551มาตรา 8 ได้ยกเลิกมาตรา52แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2474ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14กุมภาพันธ์ 2551ทำให้ผู้รับบำนาญซึ่งได้กระทำความผิดทางอาญาจนถูกพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือตกเป็นบุคคลล้มละลายโดยคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล ตั้งแต่วันที่14 กุมภาพันธ์2551 ยังคงมีสิทธิรับบำนาญปกติได้ต่อไป ดังนั้น กรณีของนาย ก. ถูกศาลพิพากษาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเมื่อวันที่30มิถุนายน 2551 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว นาย ก. จึงยังคงมีสิทธิได้รับบำนาญปกติต่อไป



ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก กบข. มีอายุราชการ 23 ปี 9 เดือน 6 วัน มีอายุตัว 47 ปี 7 เดือน 26 วัน หากขอลาออกจากราชการ จะได้รับบำนาญหรือไม่ และหากได้รับบำนาญจะได้รับบำนาญเหตุใด


หากข้าราชการที่มีอายุราชการ 23 ปี 9 เดือน 6 วัน อายุตัว 47 ปี 7 เดือน 26 วัน และมิได้ออกจากราชการด้วยเหตุทุพพลภาพ หรือเหตุทดแทน ก็จะไม่มีสิทธิได้รับบำนาญแต่จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จ




ข้อมูลจาก กรมบัญชีกลาง https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/P_FAQs_pension.html?page_locale=th_TH

8 ก.ย. 2562 เวลา 12:04 | อ่าน 44,894
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวใต้ เลื่อนเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 1 ปี และไม่คิดดอกเบี้ยปรับเกษตรกรแจ้งความประสงค์ได้ที่ ธ.ก.ส ในพื้นที่ ถึง 31 มกราคม 2568
382 5 ธ.ค. 2567
แจ้งข่าวดีชาวไร่อ้อย เริ่ม 6 ธ.ค. นี้ ภาคตะวันออกและภาคอีสานเปิดหีบอ้อยน้ำตาลทรายที่แรก ก่อนทยอยเปิดภาคเหนือภาคกลาง คาดจำนวนอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.40%
375 5 ธ.ค. 2567
ทุนสำหรับบุคคลทั่วไประดับปริญญา ประจำปี 2568 (ทุน ก.พ.)
105 2 ธ.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 1-7 ธันวาคม
60 1 ธ.ค. 2567
การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
168 1 ธ.ค. 2567
รัฐบาลเดินหน้าสร้างโอกาสทำงานวัยเกษียณ จับมือ 16 ธุรกิจเอกชน เปิดตำแหน่งงานกว่า 4 พันอัตราทั่วประเทศ สมัครได้ที่เว็บไซต์
491 28 พ.ย. 2567
รองโฆษกรัฐบาล เผยค่าไฟ 4.15 บาท ต่ำกว่าข้อเสนอของ กกพ. ถึง 1.34 บาท ย้ำ “พีระพันธุ์” ต่อรองเต็มที่ เพื่อเป็นของขวัญจากรัฐบาลและ ก.พลังงาน
618 28 พ.ย. 2567
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
90 25 พ.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567
505 24 พ.ย. 2567
รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ เปิดตัวนวัตกรรม
65 23 พ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...