วัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่

28 ก.ย. 2562 เวลา 15:39 | อ่าน 1,264
แชร์ไปยัง
L
 

วัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่

เรามักคุ้นเคยกับการรับวัคซีนหลายๆ ชนิดในวัยเด็ก เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคที่มีความอันตราย เสี่ยงต่อพัฒนาการ และคุณภาพชีวิต

วัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่

แม้ในวัยผู้ใหญ่การฉีดวัคซีนก็ยังมีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากภูมิคุ้มกันบางโรคที่เคยได้รับในวัยเด็กอาจ “เสื่อม” ไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บสมัยนี้ยังมีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมมาก จึงมีการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนออกมารับมือกับเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ


การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ (อายุ 65 ปีขึ้นไป) และผู้ที่เดินทางบ่อย ซึ่งควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ


วัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง


1.วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก (Tetanus vaccine) และคอตีบ (Diphtheria vaccine)
โรคบาดทะยัก

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani เข้าสู่ร่างกายได้ทางบาด แผลเปิด จากนั้นจะสร้างสารที่มีพิษต่อเส้นประสาททำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งทีละน้อยเริ่มจากแผล กล้ามเนื้อรอบๆ และทั่วทั้งตัว จนเกิดอาการชักเกร็ง ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด


โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ ทุกเพศ และแม้จะเคยได้รับวัคซีนครบ 3 ครั้งแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันโรคจะลดลงในช่วงอายุ 15-30 ปี จึงต้องฉีดกระตุ้น

คำแนะนำ : หญิงตั้งครรภ์ ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีบาดแผล หรือผู้ที่ทำงานเสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยัก โดยฉีด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่สอง 6-12 เดือน และฉีดกระตุ้นทุกๆ 10 ปี

โรคคอตีบ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Chorynebacterium diphtheriae ติดต่อได้ง่ายผ่านลมหายใจ น้ำมูก การไอและจาม หลังได้รับเชื้อจะมีไข้ เจ็บคอมากขึ้นเรื่อยๆ คอบวม หายใจลำบาก เสียงแหบขึ้นๆ อาการอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้


โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ ทุกเพศ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันและอยุู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัด

คำแนะนำ : หญิงตั้งครรภ์ ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และแนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี

(หมายเหตุ : ในทางเวชปฏิบัติจึงมีการให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักและโรคคอตีบ (tetanus diphtheria toxoid :Td) ทุก 10 ปี แทนการให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ( tetanus toxoids: TT) เพียงชนิดเดียว)
2.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine)

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Influenza มี 2 สายพันธุ์สำคัญคือ A และ B ติดต่อผ่านน้ำลาย น้ำมูก การหายใจ และการสัมผัสผ่านเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส หลังได้รับเชื้อจะมีไข้ ไอ เจ็บคอ มำน้ำมูก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศีรษะ หนาวสั่น บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิตได้


โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ ทุกเพศ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน

คำแนะนำ : ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ รวมทัังผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น หัวใจ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ควรแนะนำฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี

3.วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine)

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ติดต่อได้ทั้งทางเลือด (การได้รับเลือด และจากมารดาสู่ทารก) การสัก การเจาะหู และการฝังเข็ม และสารคัดหลั่งในการมีเพศสัมพันธ์ หลังได้รับเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะเข้ม ตาเหลือง บางรายอาจมีอาการตักเสบร่วมด้วยหากรุนแรงอาจทำให้เซลล์ตับตาย ตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับได้


พบได้ในทุกช่วงอายุ ทุกเพศโดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน

คำแนะนำ : ผู้ใหญ่ (โดยเฉพาะผู้ที่ตรวจเลือดแล้วไม่พบการติดเชื้อมาก่อน) ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น หัวใจ โรคหอบหืดโรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต ผู้ที่รับเลือดบ่อย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่รับเลือดบ่อย ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ โดยฉีด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างครั้งแรก 1-2 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างครั้งแรก 6 เดือน

4.วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine)

โดยมากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย S.pneumoniae ติดต่อได้ทางการหายใจ การสำลักเชื้อที่สะสมอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบนลงสู่ปอด การติดเชื้อในกระแสเลือด การใส่สายสวนปัสสาวะ ยาเคมีบำบัด หากติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้


คำแนะนำ : ผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น

หัวใจ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับแข็ง ผู้ที่ตัดม้าม ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน รวมถึงผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ

5.วัคซีนป้องกันงูสวัด(Zoster vaccine)

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Varicella Virus ชนิดเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส ติดต่อได้ทางการหายใจ การสัมผัสตุ่มน้ำอีสุกอีใสโดยตรงทำให้เป็นโรคอีสุกอีใสก่อน


แม้จะหายจากอีสุกอีใสแล้วแต่เชื้อไวรัสจะยังซ่อนตัวอยู่ในปมประสาท ไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เชื้อไวรัสจึงแบ่งตัวทำให้เส้นประสาทอักเสบ มีอาการปวดแสบปวดร้อนตามแนวเส้นประสาท มีผื่นแดงขึ้นตามแนวและแตกเป็นแผล สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดมักมีอาการแทรกซ้อนได้มาก เช่น ปวดแนวเส้นประสาทหลายปี ติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ ตาอักเสบ ภาวะแทรกซ้อนทางหู รวมทั้งสมองและปอดอักเสบได้


คำแนะนำ : ผู้ใหญ่อายุ 60 ปีขึ้นไป เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงสูง และอาการของโรคจะรุนแรงมาก สำหรับผู้มีอายุ 50-59 ปี ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากวัคซีนนี้สามารถป้องกันโรคงูสวัดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในช่วง 5 ปีแรก แนะนำฉีดเพียงครั้งเดียวไม่ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำ นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดยังควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันด้วย

ตารางสรุปช่วงอายุและชนิดวัคซีนที่ควรฉีด
อายุและชนิดวัคซีนที่ควรฉีด


“การป้องกันโรค” มีความสำคัญมากกว่าการรักษา เพราะเมื่อไม่ป่วยก็ไม่เสียสุขภาพ ไม่เสียเวลา และไม่เสียกำลังทรัพย์ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคจึงเป็นหนึ่งในการดูแลสุขภาพที่คุณไม่ควรมองข้าม



ข้อมูลจาก https://www.honestdocs.co/adults-vaccine-58005279

28 ก.ย. 2562 เวลา 15:39 | อ่าน 1,264


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
0 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
63 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
65 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
298 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
315 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
633 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,342 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
705 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน