บล็อคเชน (blockchain) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

6 พ.ย. 2562 เวลา 21:59 | อ่าน 3,957
แชร์ไปยัง
L
 
บล็อคเชน (blockchain) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

Blockchain อาจจะเป็นคำที่เพื่อนหลายๆคนยังไม่ค่อยคุ้นหูมากนัก หรือบางคนอาจได้ยินมาบ้าง ตามงานอบรมต่างๆ หรือเคยเปิดผ่านตาตามเว็บไซต์ และเว็บบอร์ดแต่ไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร ในบทความนี้เราจะมาให้ความกระจ่างกับความหมายของ Blockchain กันค่ะ


Blockchain แท้จริงแล้วคือเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องผ่านบุคคลที่สาม หรือไม่ต้องผ่านคนกลาง ด้วยแนวคิดที่ว่าการทำธุรกรรมการเงินที่ไม่ต้องผ่านคนกลางนั้นจะมีความน่าเชื่อถือได้มากกว่า


ซึ่งการใช้ Blockchain นั้นจะทำให้การทำธุรกิจออนไลน์ต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น โดย Blockchain ก็เปรียบเสมือนการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งซึ่งสามารถแชร์ไปได้เป็นห่วงโซ่ หรือ Chain โดยที่ทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของของข้อมูลนั้นๆค่ะ ดังนั้นเมื่อข้อมูลถูกบันทึกไว้ใน Blockchain แล้วจึงยากต่อการเปลี่ยนแปลงหรือถูกแก้ไข


บล็อคเชน (blockchain) คืออะไร


เทคโนโลยี บล็อคเชน เป็นนวัตกรรมที่ฉลาด ที่รวมรวมเอา 3 เทคโนโลยีซึ่งมีมานานแล้วมาใช้งานร่วมกันอย่างแยบยล ซึ่งก่อการณ์โดยกลุ่มคนหรือบุคคลไม่ประสงค์จะเผยนามที่สร้างเหรียญบิทคอยน์ขึ้นมา เรียกว่าคนกลุ่มนี้ว่า ซาโตชิ นากาโมระ ปรากฎครั้งแรกในปี 2008 โดยใช้ เทคโนโลยี บล็อคเชน เป็นเครื่องมือบันทึกธุรกรรมของเงินดิจิตัล สกุลบิทคอยน์ จากความสำเร็จของเหรียญบิทคอยน์ ส่งผลให้ เทคโนโนโลยี บล็อคเชน เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและได้ถูกนำไปใช้ในหลายๆอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเงินและธนาคาร


เทคโนโลยี บล๊อคเชน คืออะไร ?


บล๊อคเชน เป็นบัญชีดิจิตัลทีบันทึกธุรกรรมที่ไม่อาจช่อโกงได้ และไม่ได้บันทึกได้แค่ธุรกรรมการเงินเท่านั้นแต่บันทึกได้ทุกธุรกรรมที่มีมูลค่า: Don & Alex Tapscott

อย่างที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยี บล๊อคเชน เริ่มแรกถูกใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะที่บันทึกธุรกรรมของเงินดิจิทัลสกุลบิทคอยน์ และในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในหลากหลายธุรกรรม ซึ่งจริงๆแล้ว เทคโนโลยี บล๊อคเชน เป็นบันทึกธุรกรรมต่างๆที่มีมูลค่า ด้วยหลักการใหม่ ที่นำเอา 3 เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วนำมาทำงานร่วมกัน ซึ่งแตกต่างจากวิธีดั้งเดิมที่ใช้กันอย่างหลากหลายในปัจจุบัน


บล็อคเชน

แผนภาพของบล็อกเชน (หรือโซ่บล็อก) สายโซ่หลักมีบล็อกต่อกันยาวสุดตั้งแต่บล็อกเริ่มต้น (สีเขียว) จนถึงบล็อกปัจจุบัน บล็อกกำพร้า (สีม่วง) จะอยู่นอกโซ่หลัก

เพื่อความเข้าใจการทำงานของบล็อคเชนยิ่งขึ้น จะยกตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกันอยู่ เช่น การบันทึกเอกสารของ google doc หรือ google sheet หรือ wikipedia คือเมื่อเราต้องการให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถแก้ไข และบันทึกเอกสาร และสุดท้ายเผยแพร่ต่อทุกคนที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งหมดนี้ล้วนต้องกระทำบนเซิร์ฟเวอร์กลางผู้คนถึงจะเข้าถึงเอกสารได้หลายๆคนพร้อมกัน ซึ่งมีเจ้าของเซิร์ฟเวอร์เป็นผู้กำหนดสิทธิ์ และรับรองสิทธิ์ของผู้เข้าถึงบัญชีหรือเอกสาร และอีกทั้งยังเป็นผู้รักษาความปลอดภัยของเซิฟเวอร์จากการแฮกของแฮกเกอร์ เหมือนกันกับการบันทึกทางธุรกรรมการเงินของธนาคารในปัจจุบันก็กระทำบนเซิร์ฟเวอร์กลางของธนาคารผู้เป็นเจ้าของบัญชี


แต่การบันทึกบัญชีหรือบันทึกธุรกรรมบน เทคโนโลยี บล็อคเชน มีความแตกต่างกันออกไป เมื่อเกิดการทำธุรกรรมขึ้นของสองฝ่าย คอมพิวเตอร์ที่เป็นเครือข่าย เพียร์ทูเพียร์ ( peer to peer network เป็นเครือข่ายที่ไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์กลาง) ทั้งหมดจะช่วยกันบันทึกและตรวจสอบความถูกต้อง และสุดท้ายเผยแพร่ให้กับเครือข่ายทั้งหมดรับรู้ธุรกรรมที่เกิดขึ้น ไม่มีบุคคลใดสามารถควบคุมการทำธุรกรรมนี้ได้ ไม่มีบุคคลใดสามารถทำธุรกรรมปลอมขึ้นมาได้ เพราะใครก็ตามที่ต้องการปลอมต้องเปลี่ยนทั้งหมดทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่อง ซึ่งไม่มีใครมีคอมพิวเตอร์ที่มีพลังมากมายขนาดนั้น


บล็อคเชน

เทคโนโลยี บล็อคเชน ทำงานได้อย่างไร ?


จากที่ได้กล่าวถึงว่า เทคโนโลยี บล็อคเชน ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ก่อนแล้ว 3 อย่างหลักแล้วนำมาใช้ร่วมกันกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่แสนสุดวิเศษ เทคโนโลยี 3 อย่างที่ว่านั่นคือ 1) Cryptographic keys (การเข้ารหัสลับ) 2) ระบบ เพียร์ ทู เพียร์ เนตเวิร์ค (peer to peer network หมายถึงเรื่องข่ายที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลาง) ใช้ในการบันทึก และเผยแพร่บัญชีการทำธุรกรรม 3) โปรแกรมในการให้แรงจูงใจกับเครือข่ายในการให้บริการเก็บรักษาข้อมูลและความปลอดภัย ต่อไปนี้เป็นการไล่เรียงการทำงานของระบบ เทคโนโลยี บล๊อคเชน


เทคโนโลยี การเข้ารหัส Cryptographic keys


เมื่อบุคคลหรือหน่วยงานต้องการทำธุรกรรมร่วมกัน แต่ละฝ่ายต้องมีรหัสลับ 2 ชุดด้วยกันคือ 1)รหัสลับส่วนตัว (Private Key) 2)รหัสสาธารณะ (Public key) วัตถุประสงค์ของ เทคโนโลยี บล๊อคเชน ที่นำเอาเทคโนโลยีการเข้ารหัสมาใช้เพื่อเป็นการสร้างข้อมูลประจำตัวในการอ้างอิงในระบบดิจิทัลที่มีความปลอดภัย โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในการยืนยันตัวเองว่าคุณเป็นใครมาจากไหน เพียงแค่การรวมตัวกันของรหัสลับส่วนตัวกับรหัสสาธารณะก็เกิดเป็นลายเซ็นต์ดิจิทัลขึ้นมาใช้ในการบ่งบอกเอกลักษณ์และตัวตนของผู้ที่จะทำธุรกรรมได้


ระบบเครือข่ายแบบกระจาย


ระบบเครือข่ายที่กระจายตัวแบบนี้มีความสำคัญต่อ เทคโนโลยี บล็อคเชน เมื่อเกิดการทำธุรกรรมขึ้นระหว่างสองฝ่าย แม้จะมีการยืนยันตัวตนโดยใช้รหัสส่วนตัวและรหัสสาธาณะแล้ว แต่เมื่อไม่มีใครรับรู้ว่าธุรกรรมก็เป็นที่สงสัยว่าธุรกรรมนั้นเกิดขึ้นหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องมีเครือข่ายแบบกระจายเพื่อจะได้ช่วยยืนยันการทำธุรกรรม และช่วยเผยแพร่ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องในเครือข่าย การยืนยันธุรกรรมในแบบปัจจุบันอาจจะใช้เอกสารรูปถ่ายลายเซ็นต์ แต่การยืนยันและเผยแพร่ ของเทคโนโลยีนี้ใช้ รูปแบบทางคณิตศาสตร์


ในช่วงแรกๆขนาดของเครือข่ายมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยยิ่งปริมาณของเครือข่ายมากยิ่งมีความปลอดภัยสูง ยกตัวอย่าง บล็อคเชน ของเงินดิจิทัลสกุลบิทคอยน์ มีเครือข่ายมากมาย เมื่อหลายปีที่แล้ว บิทคอยน์มีกำลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมากถึง 3,500,000 TH/s ซึ่งมากกว่าธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 10,000 แห่งรวมกันนับว่ามหาศาล ปัจจุบันนี้เครือข่ายของบิคอยน์มีกำลัง 17.6 ล้าน TH/s นับว่ามากมายมหาศาลเกินกว่าระบบคอมพิวเตอร์ใดๆจะเข้าแทรกแซงได้


การบันทึกข้อมูล


เมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้น เครือข่ายของ บล็อคเชน จะทำการรวบรวมข้อมูลใส่ไว้ในลิสต์รายการที่เรียกว่า บล็อค (ฺBlock) โดยข้อมูลในนั้นประกอบไปด้วย รหัสลับส่วนตัว รหัสสาธารณะ และข้อมูลแฮชบางส่วนของบล็อคที่ได้รับการยืนยันแล้วที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และข้อมูลหรือข้อความของบล็อคนี้ที่ต้องการส่งหรือบันทึกไว้ รวมกันแล้วแฮชเป็นบล็อคใหม่ จากนั้นจะแจ้งให้คอมพิวเตอร์ทุก Node ที่อยู่ในเครือข่ายทราบ เพื่อที่จะช่วยกันยืนยันและบันทึกธุรกรรม เมื่อได้รับการยืนยันแล้ว บล็อคหรือลิสต์ข้อมูลที่แฮชแล้วนี้ จะถูกนำไปต่อเข้ากับบล็อคก่อนหน้านี้ เมื่อข้อมูลถูกต้องระบบก็จะรวมเข้าในเครือข่ายบล็อคเชน ข้อมูลของบล็อคอื่นๆก็จะมาต่อกันเรื่อยๆเป็นลูกโซ่ ถ้ามีใครสักคนหนึ่งพยายามจะทำบล็อคธุรกรรมปลอมเข้ามาแทนที่บล็อคที่ถูกบันทึกไว้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อบล็อคอื่นๆต่อมา ซึ่งทำให้เกิดกลายเป็นบล็อคธุรกรรมปลอมด้วยกันทั้งหมด ดังนั้นบล็อคธุรกรรมปลอมนั้นจะถูกตัดทิ้ง และเข้ามาแทนที่ไม่ได้เพราะจะทำให้บล็อคธุรกรรมที่ตามมาปลอมหมด ดังนั้นการบันทึกธุรกรรมแบบบล็อคเชนจึงไม่สามาถแก้ไขและทำปลอมได้


โปรแกรมการให้แรงจูงใจในการยืนยันและบันทึกข้อมูลของเครือข่าย


แน่นอนว่าในการบันทึกธุรกรรมนี้ต้องอาศัย Node ต่างๆของเครือข่ายแบบ Peer to Peer ที่ยอมนำเอากำลังของคอมพิวเตอร์เข้ามาแชร์ในการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลธุรกรรม แน่นอนว่าต้องมีระบบตอบแทนหรือแรงจูงใจ ยกตัวอย่างเครือข่าย บล็อคเชน ของบิทคอยน์ ระบบเครือข่ายบิทคอยน์จะให้รางวัล 25 บิทคอยน์ในการแฮชแต่ละบล็อคสำเร็จ และอัพเดตไปในระบบ บล็อคเชน (บัญชีแยกประเภทถูกอัพเดต) และทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบไปพร้อมๆกัน แต่ด้วยทั้งระบบของบิทคอยน์มีเหรียญบิทคอยน์เพียง 21 ล้านเหรียญเท่านั้น ถ้าใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันทำคงใช้เวลาเพียงนิดเดียวเหรียญคงหมดเกลี้ยง ดังนั้นระบบเครือข่ายของบิทคอยน์จึงต้องสร้างให้มีความยากขึ้นไปอีกเพื่อรักษาสมดุลย์ของเหรียญบิทคอยน์โดยให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทำงานชนิดหนึ่งเพิ่มเติมในเงื่อนไขที่ยาก เรียกว่างานนี้ว่า “Proof of Work” เมื่อทำสำเร็จจึงจะยอมรับว่า บล็อคที่สร้างมานั้นถูกต้องและนำไปต่อกันกับบล็อคก่อนหน้านี้ได้ ใครทำสำเร็จก็จะได้รับรางวัล เงื่อนไขนี้จะถูกปรับให้ยากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะว่าบิทคอยน์เป็นรางวัลที่มีค่าสูงจึงทำให้มีเครือข่ายในระบบมาก เครือข่ายบล็อคเชนของบิทคอยน์จึงมีความปลอดภัยสูง


ชนิด จำนวน วิธีการตรวจสอบบันทึก จะมีวิธีแตกต่างกันไปในแต่ละเครือข่ายของบล็อคเชนนั้นๆ โดยขึ้นกับโปรโตคอลของบล็อคเชนที่ผู้สร้างเขียนขึ้นมาว่า คอมพิวเตอร์ของเนตเวิร์คต้องดำเนินการยืนยันด้วยวิธีอย่างไร และจะให้แรงจูงใจเป็นอะไรแบบไหนเท่าไร เพื่อให้เครือข่ายประสบความสำเร็จและมีผู้คนสละกำลังของคอมพิวเตอร์มาร่วมกันบันทึกและยืนยันธุรกรรมของเครือข่าย


เทคโนโลยี บล็อคเชน ใช้ทำอะไรได้บ้าง


เทคโนโลยี บล็อคเชน ไม่ได้มีใช้แต่เฉพาะในเรื่องของเหรียญดิจทัลเท่านั้น แต่ยังถูกประยุกต์ในทั้งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องการเงิน และอุตสหกรรมที่อยู่นอกวงการการเงิน ซึ่งต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยของการนำเทคโนโลยี บล็อคเชน มาประยุกต์ใช้





ข้อมูลจาก siambc.com และ khundee.com รูป th.wikipedia.org

6 พ.ย. 2562 เวลา 21:59 | อ่าน 3,957


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
รองนายกฯสมศักดิ์-กฤษฎา-อนุชา ถก คณะทำงานโครงการโคแสนล้าน ได้ข้อยุติ ธ.ก.ส.ให้อัตราดอกเบี้ย 4.5% ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ชี้ วัวเป็นหลักประกันได้ เตรียมนำข้อสรุปชงคณะรัฐมนตรี
100 27 มี.ค. 2567
ครม.เห็นชอบ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่เกิน 90 วัน เป็นไม่เกิน 98 วัน
124 27 มี.ค. 2567
สมศักดิ์ เผย ยกเลิกประกาศ-คำสั่ง คสช. คืบหน้าแล้ว ล็อตแรกนำร่อง 20 ฉบับ จ่อชงคณะรัฐมนตรี เคาะ เม.ย.นี้ ย้ำ หากหน่วยงานมีความเห็นให้ยกเลิกเพิ่ม ก็จะตามไปในล็อตสอง
15 26 มี.ค. 2567
โฆษกรัฐบาลเชื่อมั่นรายได้ชาวนาปีนี้เพิ่มแน่ เป็นไปตามความตั้งใจรัฐบาลสร้างรอยยิ้มให้ชาวนา
10 26 มี.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 มีนาคม 2567
332 24 มี.ค. 2567
สธ.จ่อหารือ ก.พ.เพิ่มความก้าวหน้า “เภสัชกร” เลื่อนไหลเป็น “ชำนาญการพิเศษ” ได้ทุกตำแหน่ง
657 23 มี.ค. 2567
“คารม” เผย ขั้นตอนแก้ไข หากโทรศัพท์มือถือโดนรีโมตควบคุมจากระยะไกล แนะห้ามกดลิงก์หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ไม่ได้อยู่ใน APP Store หรือ Play Store
759 23 มี.ค. 2567
“คารม” เผย สำนักงานสลากฯ เพิ่มช่องทางจำหน่ายสลาก อำนวยความสะดวกผู้ขายและผู้ซื้อ ผ่านเว็บไซต์
472 23 มี.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 มีนาคม 2567
896 17 มี.ค. 2567
โฆษกรัฐบาล เผย ผลงานนายกฯ ดันราคายางสูงขึ้นทะลุ 90 บาท สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 7 ปี
47 13 มี.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน