รองเท้าติดใต้เบรก หายนะถึงชีวิต

6 พ.ย. 2562 เวลา 22:42 | อ่าน 1,086
แชร์ไปยัง
L
-Advertisement-
 
รองเท้าติดใต้เบรก

จากกระแสข่าว “กระบะซิ่งหลุดโค้งในม.เกษตร เหตุรองเท้าขัดเบรกจนเบรกไม่อยู่!!” เหตุการณ์นี้ถือเป็นอุทาหรณ์ย้อนเตือนคนใช้รถทุกคนครับ…ว่า พยายามอย่าใส่รองเท้าแตะหรือส้นสูงขับรถ หรือนำสิ่งของและถอดรองเท้าไว้ใต้ที่นั่งคนขับโดยเด็ดขาด เพราะหากรองเท้าเข้าไปอยู่ใต้เบรก จะทำให้เราเหยียบเบรกไม่ลง หยุดรถไม่ได้ อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงต่อตนเองและผู้อื่นอย่างที่เป็นข่าวได้



หากเกิดสถานการณ์เช่นนี้ ควรรีบตั้งสติ บังคับพวงมาลัยให้ตรง และดึงเบรกมือเป็นระยะ อย่าดึงเบรกมือค้าง เพราะจะทำให้รถหมุน จนเสียการควบคุม และห้ามใส่เกียร์ว่างเด็ดขาด เพราะรถจะไม่มีแรงดึง ไม่มีแรงเฉื่อย ทำให้รถไหลไปข้างหน้าตามความเร็วของรถ


ข้อห้ามเด็ดขาด คือ เรื่องถอดรองเท้าขับรถ เพราะเมื่อเหยียบคันเร่ง หรือเหยียบเบรก เท้าที่สัมผัสเบรกหรือคันเร่ง อาจจะลื่นจนเหยียบพลาด ทำให้ควบคุมรถไม่ได้ อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ในที่สุด แนะนำว่าควรที่จะใส่รองเท้าขับรถ หากจำเป็นต้องวางสิ่งของ หรือจะถอดรองเท้า ก็ควรวางไว้ด้านหลังจะปลอดภัยที่สุด


รองเท้าติดใต้เบรก

นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) เคยวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์อุบัติเหตุรถยนต์ ที่เกิดจากรองเท้าหรือวัสดุอื่นๆ เช่น ขวดน้ำ แผ่นยางรองพื้น ไปขัดใต้เบรกหรือคันเร่ง ไว้เมื่อปี 2561 ว่า อุบัติเหตุในลักษณะนี้แม้จะไม่บ่อย แต่ก็ส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้

-Advertisement-

กรณีลักษณะนี้ เกิดได้จาก


1. คนขับ โดยเฉพาะคุณสุภาพสตรี ที่ถอดรองเท้าทิ้งไว้ใกล้กับเบรกหรือคันเร่ง เป็นความเสี่ยงที่จะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ รองเท้าที่ขัดรถ โดยเฉพาะรองเท้าส้นสูง ส้นตึก
นอกจากนี้ การถอดรองเท้าขับรถ ก็มีความเสี่ยงร่วมได้ เนื่องจากเท้าที่สัมผัสเบรก อาจจะมีเหงื่อหรือทำให้ลื่นจนเหยียบเบรกหรือคันเร่งผิดพลาด จนควบคุมรถในช่วงจังหวะสำคัญไม่ได้ และเกิดอุบัติเหตุได้


2. นอกจากรองเท้า สิ่งของหรือวัสดุอื่นๆ ก็มีโอกาสเข้าไปขัดหรือติดใต้เบรกได้ เช่น ขวดน้ำ แผ่นยางรองพื้น โดยแผ่นยางรองพื้น หากนำไปทำความสะอาด แล้วนำมาวางไว้ควรตรวจสอบว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อยดีแล้วหรือยัง




ลดความเสี่ยงป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ


(1) พยายามอย่าวางรองเท้าหรือวัสดุอื่นๆ ไว้ที่พื้นระหว่างเบรกและคันเร่ง เช่น ขวดน้ำ แผ่นยางรองพื้น


(2) ตรวจสอบบริเวณพื้นรถ ว่าไม่มีรองเท้า หรือวัสดุอื่นๆ อยู่ใต้เบรกหรือคันเร่ง ที่สำคัญคือให้เก็บขวดน้ำให้เรียบร้อย เพราะขวดน้ำที่อยู่ด้านหลังหรือด้านข้าง เมื่อขับไปอาจไหลกลิ้งมาอยู่ใต้เบรกได้ ในกรณีพื้นรถด้านข้างไม่มีกั้น


(3) ไม่ควร “ถอดรองเท้าขับรถ” เด็ดขาด!!! เพราะเมื่อเหยียบคันเร่ง หรือเหยียบเบรก เท้าที่สัมผัสเบรกหรือคันเร่ง อาจเกิดการลื่นจนเหยียบพลาด ทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้นั่นเอง


ซึ่งทางที่ดีควรเช็กความพร้อมของร่างกาย ขับรถโดยไม่ประมาทเป็นดีที่สุดครับ

ข้อมูลจาก kmotors.co.th ช่างเค

-Advertisement-

6 พ.ย. 2562 เวลา 22:42 | อ่าน 1,086


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
-Advertisement-
 
มาใหม่
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดี 4 มหาวิทยาลัยไทย จุฬาฯ-มหิดล-มช.-มข. สุดโดดเด่นในเวทีโลก ติดอันดับ Top 100 ในการจัดอันดับโลกด้านความยั่งยืนปี 2566
31 4 มิ.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 4-10 มิถุนายน 2566
88 4 มิ.ย. 2566
สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 พนักงานราชการลาไปช่วยภรรยาที่คลอดบุตร
65 3 มิ.ย. 2566
โฆษกรัฐบาลยืนยัน รัฐบาลให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 4 เดือน (พ.ค.-ส.ค. 2566) แก่ผู้ใช้ไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน คืนจริงส่วนลดค่าไฟฟ้าเดือนพ.ค. 150 บาท/ราย แก่ผู้ใช้ไม่เกิน 500 หน่วย/เดือน
97 1 มิ.ย. 2566
กรมบัญชีกลางปรับปรุงอัตราค่าบริการสาธารณสุขฯ ด้านค่าบริการรังสีรักษา เพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน
35 30 พ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 28 พฤษภาคม-3 มิถุนายน 2566
143 28 พ.ค. 2566
สพฐ. เปิดสอบครูผู้ช่วย 2566 ปฏิทินสอบรับสมัครสอบแข่งขันครูผู้ช่วย ปี 2566
214 21 พ.ค. 2566
กทม. เตรียมเปิดสอบเจ้าพนักงานธุรการทั่วไปเพิ่มกว่า 371 ตำแหน่ง
340 21 พ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 พฤษภาคม 2566
237 20 พ.ค. 2566
กรมอุทยานฯ ขอขึ้นเงินเดือนผู้พิทักษ์ป่าจาก 9,000 เป็น 11,000 บาท หลังไม่ขึ้นมาสิบปี
231 18 พ.ค. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC chulatutor จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน