เงินที่สมาชิกส่งเอง และเงินที่รัฐนำส่ง มี 5 ส่วน ดังนี้
1. เงินสะสม (เงินที่สมาชิกถูกหักเข้ากองทุนตามกฏหมาย 3% เงินเดือน)
2. เงินออมเพิ่ม (เงินที่สมาชิกสมัครใจส่งเองอีก 1-12% เงินเดือน)
3. เงินสมทบ (เงินที่รัฐนำส่งให้ทุกเดือน 3%)
4. เงินชดเชย (เงินที่รัฐนำส่งให้ทุกเดือน 2% และสมาชิกจะได้รับก็ต่อเมื่อออกจากราชการแล้วเลือกรับบำนาญเท่านั้น)
5. เงินประเดิม (เงินก้อนที่รัฐนำส่งให้ข้าราชการที่บรรจุก่อน 27 มี.ค. 2540 แล้วเลือกเป็นสมาชิก กบข.)
สังเกตกันมั้ยว่า ในใบแจ้งยอดมีตารางแจกแจงเงินทั้ง 5 ส่วน* และระบุว่า เงินส่วนไหนที่เลือกแผนได้ หรือไม่ได้...
ปัจจุบัน หากสมาชิก กบข. ท่านใดไม่ได้เลือกแผนการลงทุนด้วยตัวเอง เงินออมของสมาชิกทั้งหมดจะถูกนำไปลงทุนตามนโยบายการลงทุน "แผนหลัก" ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ด้วยเงื่อนไขการลงทุนของสมาชิกแต่ละคนแตกต่างกัน เช่น ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ความคาดหวังต่อผลตอบแทนที่ลงทุน ระยะเวลาในการลงทุน ฯลฯ กบข. จึงให้สมาชิกเลือกแผนการลงทุนเองได้ ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง (หรือถ้าแผนหลักเหมาะกับคุณอยู่แล้ว ก็ยืนยันแผนตามเดิมได้)
โดยเงินส่วนที่จะถูกย้ายไปลงทุนในแผนที่สมาชิกเลือกจะมีเพียง 3 ส่วน ได้แก่ เงินสะสม เงินออมเพิ่ม และเงินสมทบเท่านั้น อีก 2 ส่วนคือ เงินประเดิมและเงินชดเชยจะยังถูกลงทุนในแผนหลักเหมือนเดิม
สมาชิกลองเข้าแอป กบข. เช็กดูว่าแผนที่เราลงทุนอยู่เราโอเคแล้วมั้ย หรือถ้าอยากรู้จักแผนการลงทุนเพิ่มขึ้น ลงทะเบียนนัดหมายปรึกษาศูนย์ข้อมูลการเงิน กบข. ฟรี ! ในเมนูนัดหมายบริการข้อมูลการเงิน หรือคลิกที่ลิงก์นี้
https://forms.gle/BXX6scQ6r5UYG45d6 ก็ได้