อาการพวงมาลัยสั่น เหยียบเบรกแล้วพวงมาลัยสั่นเกิดจากอะไร

11 เม.ย. 2563 เวลา 10:56 | อ่าน 1,232
 
เบรก พวงมาลัย

เบรกแล้วสั่น


รถยนต์คือปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงชีพของมนุษย์ในเรื่องการเดินทาง ดังนั้นสภาพรถยนต์ต้องมีความพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ คราวนี้เรามาคุยถึงอาการเบรกพวงมาลัยว่าต้นเหตุหรือสาเหตุจริงๆ นั้น มันมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ทำให้เกิดขึ้น ช่วงขณะเวลาที่ขับรถแล้วพวงมาลัยสั่นที่ความเร็วคงที่ทั้งความเร็วต่ำ, ความเร็วสูง แม้กระทั่งเวลาเบรกก็ตาม



ก่อนอื่นต้องมาแยกอาการกันก่อนว่าที่ พวงมาลัย สั่นนั้น… อาการจะมีตอนไหนในเวลาที่ขับรถหรือชะลอเบรกครับ

อาการพวงมาลัยสั่นสะท้านขณะที่ขับขี่


ตอนที่ทำการออกตัวก็ปกติยังไม่มีออกอาการใดๆ แต่พอรถใช้ความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ พวงมาลัย เริ่มสั่นมากขึ้นจนเห็นได้ชัด สาเหตุนั้นมาจากระบบช่วงล่างของรถยนต์ที่จะมาจากชุดชิ้นส่วนที่เกิดการเคลื่อนที่ เช่น ล้อหรือยาง เป็นต้น ยางบวมเนื่องยางจากหมดอายุการใช้งาน ตกหลุมกระแทกอย่างหนักส่งผลให้โครงสร้างภายในของยางเสียหายเปลี่ยนรูปใช้งานไม่ได้เหมือนเดิม ถ้ายางมีอาการบวมก็ควรที่จะรีบเปลี่ยนเส้นใหม่โดยเร็วไม่ควรฝืนใช้ต่อไป เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ ล้อคดหรือล้อเบี้ยวก็สามารถทำให้พวงมาลัยสั่นได้เหมือนกัน เกิดจากการขับขี่ที่สมบุกสมบันเกินไป เวลาตกหลุมแรงๆ อาจทำให้ตัวล้อไม่กลม 100% เหมือนเดิม แก้ไขได้โดยการถอดล้อมาเช็กความสม่ำเสมอของตัวล้อ (HUB RING) สำหรับรถบางคันที่เปลี่ยนล้อแม็กมาใหม่ปกติแล้วล้อกับดุมที่มาจากโรงงานจะมีขนาดที่เข้ากันได้พอดี แต่เมื่อคุณเปลี่ยนเป็นล้อแม็กหรือล้อรุ่นอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำมาเฉพาะกับรถของคุณ ขนาดของล้อกับดุมล้อจึงไม่เท่ากันพอดี ทำให้น็อตล้อต้องมารับน้ำหนักที่ตัวรถแทนดุมล้อ วิธีแก้คือหาปอกกันสั่นมาใส่ล้อกับดุมล้อให้เข้ากันพอดีจะลดอาการสั่นได้


เบรก พวงมาลัย


ถ้าคุณเปลี่ยนยางหรือเปลี่ยนล้อแม็ก แล้วร้านที่คุณทำถ่วงล้อให้ไม่ดีหรือไม่ได้ถ่วงล้อให้ก็จะทำให้เกิดอาการพวงมาลัย สั่นได้เช่นกัน การถ่วงล้อเป็นการหาตำแหน่งจุดสมดุลของล้อแต่ลวง ด้วยการวางตะกั่วถ่วงน้ำหนักไว้ในล้อ อาการพวงมาลัยสั่นขณะขับขี่ก็อาจจะหายไป ลูกปืนล้อคือส่วนสำคัญในการรับน้ำหนักและจุดหมุนของล้อถ้าลูกปืนเสียหลวมหรือแตกจะทำให้เกิดอาการแกว่งเสียงดังหอนที่ล้อหน้าและพวงมาลัยสั่น วิธีแก้ไขเปลี่ยนลูกปืนล้อใหม่สถานเดียวครับ



อาการพวงมาลัยสั่นตอนเหยียบเบรก


อาการพวงมาลัยสั่นเวลาที่ขับรถมาในความเร็วระดับหนึ่งแล้วพอเหยียบ เบรก พวงมาลัยก็สั่นจนน่ากลัวแต่ในเวลาขับปกติธรรมดากลับไม่สั่น สาเหตุนั้นมาจากจานเบรกของรถคุณมีปัญหาไม่เรียบ หรือจานเบรกคดผ้าเบรกจับจานเบรกได้ไม่สนิททั้งแผ่น วิธีแก้ไขต้องเจียรจานเบรกแต่ควรเป็นการเจียรจานเบรกแบบประชิดล้อจะดีที่สุด ไม่ต้องถอดจานเบรกไปเจียร ถ้าจานเบรกคดอาจต้องเปลี่ยนจานเบรกก็จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า ส่วนวิธีสังเกตอาการเบื้องต้นเพื่อให้แน่ชัดว่าปัญหาพวงมาลัยสั่นมาจากจานเบรกไม่เรียบทำได้โดยการลองเหยียบเบรกเบาๆ และปล่อยให้รถชะลอหยุดเองจะรู้สึกว่าเบรกจับเป็นช่วงๆ เป็นจังหวะตามล้อหมุน สิ่งหนึงสิ่งใดที่สำคัญอีกอย่างคือการเลือกใช้ชนิดผ้าเบรกแท้ ที่มีจำหน่ายตามศูนย์บริการจะดีที่สุดครับ เพราะเนื้อผ้าเบรกจะมีคุณภาพและประสิทธิภาพเวลาที่หน้าสัมผัสจานดิสเบรกที่มีการเจียรจานประชิดแล้วหน้าสัมผัสผ้าเบรกต้องมีความเรียบไม่เป็นรอยคลื่นครับ ถ้าทั้งจานดิสเบรกกับผ้าเบรกไม่ดี ลักษณะอาการก็ยังเกิดขึ้นอยู่ดีครับ



ข้อมูลจาก ช่างเค มอเตอร์

11 เม.ย. 2563 เวลา 10:56 | อ่าน 1,232
กำลังโหลด ...


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ดวงกับดาวประจำวันที่ 6-12 ตุลาคม 2567
18 7 ต.ค. 2567
4 วิธีคลายเครียดในชีวิตประจำวัน
186 5 ต.ค. 2567
วิธีดูผลการประเมินเงินเดือนที่เร็วกว่าในระบบ ก.พ.7 โดยดูจากข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญ
283 5 ต.ค. 2567
“สินบน” ภัยร้ายอันตรายกว่าที่คิด สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
476 1 ต.ค. 2567
แนะศึกษากฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้ลึก ช่วง4เดือนนี้ ก่อนบังคับใช้เหตุเกี่ยวพันทั้งอาญา และแพ่ง
60 1 ต.ค. 2567
ธอส. ขานรับนโยบายรัฐช่วยเหลือลูกหนี้ ซึ่งที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย พักชำระหนี้นาน 3 เดือน พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 0% ต่อปี 3 เดือนแรก
46 1 ต.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 29 กันยายน-5 ตุลาคม 2567
60 29 ก.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 22-28 กันยายน 2567
816 22 ก.ย. 2567
ทำอย่างไรไม่เป็นอัมพาต
134 21 ก.ย. 2567
เดินเร็ว การออกกำลังกายง่าย ๆ ใครก็ทำได้
64 21 ก.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน
กำลังโหลด ...