การเลือกสารหล่อลื่น สารหล่อลื่นเปลี่ยนต่างยี่ห่อได้ไหม?

2 พ.ค. 2563 เวลา 13:07 | อ่าน 1,023
แชร์ไปยัง
L
 
การเลือกสารหล่อลื่น

เลือกแบบไหนดี

รถยนต์กับสารหล่อลื่นนั้นเป็นสิ่งที่คู่กันและสำคัญมากที่สุด ในการทำงานของรถยนต์นั้นจะต้องมีอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้องครับ ดังนั้นสารหล่อลื่นจะเป็นตัวหล่อลื่นชิ้นส่วนและระบายความร้อนภายในชิ้นส่วนของรถยนต์ครับ สารหล่อลื่นจะมีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของชิ้นส่วนรถยนต์ ทั้งนี้รถยนต์จะมีหลายระบบการทำงานเช่น ระบบเครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า ระบบช่วงล่างและส่งกำลัง เป็นต้น

การเลือกสารหล่อลื่น

สารหล่อลื่นจริงๆ ไม่แนะนำให้ใช้ต่างยี่ห้อ… เพราะเนื่องจากสารหล่อลื่นที่ใช้ในรถแต่ละรุ่นก็จะมีสเปกว่าใช้เบอร์อะไร สะสารที่อยู่ในสารหล่อลื่นก็อาจจะต่างกันด้วย บางทีก็อาจจะมีผลต่อระบบการทำงานของรถยนต์ เครรื่องนยต์ทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ แถมยังทำให้รถยนต์เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรได้ครับ



การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและ สารหล่อลื่น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ให้ทำงานได้ดี เราจึงควรใส่ใจกับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นอย่างยิ่งครับ



การเลือก สารหล่อลื่น รถยนต์
สารหล่อลื่น หรือเรียกอีกอย่างคือน้ำมันหล่อลื่นมีให้เลือกหลากหลายกันไปครับ ตามหลักการจริงๆ การใช้สารหล่อลื่นต้องยึดตามที่ผู้ผลิตรถยนต์นั้นกำหนดประเภทและชนิดสารหล่อลื่น (น้ำมัน) ปกติแล้วการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหรือ สารหล่อลื่น ต่างๆ ส่วนมากจะมีอยู่ในคู่มือการรับประกันจากศูนย์บริการ ในกรณีที่คุณออกรถยนต์ป้ายแดงจากศูนย์บริการครับ แต่ถ้าคุณไปซื้อรถยนต์มือ 2 มาก็ควรหาเล่มการรับประกันที่มีอยู่เดิมแล้วเปิดเช็กดูว่าเจ้าของเก่าเขาทำอะไรไปบ้าง ถ้าไม่มี ทางที่ดีและง่ายที่สุดคือเปลี่ยนน้ำมันและสารหล่อลื่นต่างๆ ทั้งหมด โดยเริ่มนับ 1ที่เราและง่ายต้องการเช็กระยะการเปลี่ยนในครั้งต่อไปครับ

สารหล่อลื่น

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและ สารหล่อลื่น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ให้ทำงานได้ดี เราจึงควรใส่ใจกับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นอย่างยิ่งครับ



การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เพื่อให้ช่วยยืดอายุการใช้งานของรถปกตินิยมเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เมื่อรถวิ่งถึงระยะ 8,000 – 10,000 กิโลเมตร หรือทุกๆ 6 เดือน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่อง แบบกึ่งสังเคราะห์ หรือ แบบสังเคราะห์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของรถเราด้วยครับ ถ้ารถใช้งานบ่อยก็อาจเปลี่ยนทุกๆ 5,000 กิโลเมตร หรือทุก 3 เดือน ดังนั้นจึงควรพิจารณาระยะทางที่ขับขี่ควบคู่ไปกับระยะเวลาที่เปลี่ยนถ่าย อีกอย่างรถจอดทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเหมือนกัน เพราะน้ำมันเครื่องจะทำปฏิกิริยากับอากาศทำให้เสื่อมลงเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของแต่ละภูมิประเทศด้วย เช่น ถ้าอากาศหนาวทำให้รถสตาร์ทติดยากในช่วงที่เราค่อยๆ สตาร์ทรถการเผาไหม้จะยังไม่สมบูรณ์ดีพอ ทำให้คราบน้ำมันที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่หมด อาจตกลงปนกับน้ำมันเครื่องซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ที่สำคัญเวลาถ่ายเปลี่ยนน้ำมันเครื่องควรเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องพร้อมกับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เพื่อช่วยให้น้ำมันเครื่องที่เปลี่ยนใหม่ได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพครับ



สารหล่อลื่น

น้ำมันเกียร์


ระบบเกียร์ คือชิ้นส่วนรถยนต์ที่สำคัญมากควรบำรุงรักษาให้ดี เพราะถ้ามันเกิดปัญหาขึ้นมาราคาเปลี่ยนเกียร์ลูกใหม่ก็จะแพง เพราะฉะนั้นเราควรดูแลมันให้ดี การเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะกำหนดทำให้เกียร์ของรถยนต์มีอายุยืนยาวขึ้น ผู้ใช้รถยนต์ส่วนมากจะมองข้ามมันไป และอย่าลืมเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางที่กำหนด ไม่งั้นเกียร์อาจพังเร็วกว่ากำหนดได้ เพราะน้ำมันกียร์มีหน้าที่ช่วยลดแรงเสียดทาน ลดการสึกหรอของเกียร์ช่วยลดเสียงดัง และการสั่นสะเทือนในเกียร์ ช่วยชะล้างเศษโลหะจากหน้าฟันเกียร์ที่เกิดจากการสะเทือนและเสียดสีภายในช่วยป้องกันสนิมการกัดกร่อนจากชิ้นส่วนภายในเกียร์ครับ



สำหรับรถเกียร์ธรรมดา


รอบการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ค่อนข้างนานการตรวจเช็กสภาพหรือเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ธรรมดาทุกๆ 40,000 กิโลเมตร แต่ถ้าต้องขับรถลุยฝนหรือบริเวณที่น้ำท่วมขังบ่อยๆ อาจเปลี่ยนเร็วกว่านั้นก็ได้ครับ เพราะในหน้าฝนอาจมีความชื้นจากน้ำเล็ดลอดเข้าไปในห้องเกียร์ ทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนดได้



สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติ


ในคู่มือรถส่วนใหญ่จะบอกว่าให้ทำการตรวจเช็คสภาพหรือเปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติทุกๆ 40,000 กิโลเมตร แต่ถ้าเป็นรถที่วิ่งมากๆก็สามารถเปลี่ยนน้ำมันเกียร์บ่อยๆ เพราะการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์แต่ละครั้งการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์จะช่วยให้น้ำมันเกียร์สะอาดมีประสิทธิภาพดีขึ้นและยังจะช่วยลดความเสี่ยงของระบบเกียร์ไม่ให้พังไวได้เป็นอย่างดี



การตรวจสภาพน้ำมันเกียร์


สีแดงคือสีที่บ่งบอกว่าน้ำมันเกียร์ยังอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานอยู่ แต่ถ้าน้ำมันเกียร์เป็นเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำขึ้นมาเมื่อไร เป็นสัญญาณบอกว่าถึงเวลาเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ได้แล้ว ที่สำคัญควรเปลี่ยนกับศูนย์บริการมาตรฐาน และเลือกใช้น้ำมันเกียร์ให้เหมาะสมกับรุ่นรถด้วย เพื่อความปลอดภัยของเกียร์ (รถยนต์ในแต่ละยี่ห้อและรุ่นรถนั้นควรเลือกใช้ชนิดและประเภทน้ำมันเกียร์ให้ถูกต้อง)


น้ำยาหล่อเย็น (Coolant) ส่วนประกอบหลักของมันจะมีน้ำ, สารหล่อเย็น , หัวเชื้อป้องกันสนิม และสีต่างๆ ฯลฯ ซึ่งถ้าพูดถึงคุณสมบัติจริงๆ แล้ว น้ำยาหล่อเย็นไม่ได้มีหน้าที่ระบายความร้อน แต่จะช่วยทำให้จุดเดือดของน้ำที่ผสมน้ำยาหล่อเย็นสูงขึ้น ทำให้น้ำที่อยู่ในหม้อน้ำเดือดช้าลงแถมยังป้องกันการเกิดสนิมตะกรันตะกอน เพราะเมื่อมีสนิมมันก็จะผุกร่อนมีตะกอนน้ำยาจึงช่วยไม่ให้มีการอุดตันในรังผึ้งของหม้อน้ำได้ครับ



น้ำมันเบรก ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปจะต้องได้รับรองมาตรฐาน แบ่งตามจุดเดือดและจุดชื้นซึ่งมีชนิด DOT 3 , DOT 4 , และ DOT 5 การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกควรเปลี่ยนถ่ายทุก ๆ 1 ปี (ถ้ารถใช้น้อย) หรือ เปลี่ยนทุก ๆ 80,000 กิโลเมตร ระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหม้อน้ำครั้งต่อไปอยู่ที่ 180,000 กม. เพื่อไล่ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรกออกจากระบบ ช่วยป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมที่เกิดจากความชื้น ซึ่งจะทำให้ลูกยางเบรกบวมหรือฉีกขาดจนทำให้น้ำมันเบรกรั่วซึมและเบรกไม่อยู่ โดยมากน้ำมันเบรกจะมีอายุได้ถึง 80,000 กิโลเมตร/ประมาณ 3 ปี แล้วแต่ว่าอะไรถึงก่อน (ควรเปลี่ยนทันทีเนื่องจากน้ำมันเบรกอาจจะเสื่อมคุณภาพในการใช้งาน)


น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ ปัจจุบันอาจจะไม่มีในรถบางรุ่นแล้ว เพราะรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาจะใช้ระบบพวงมาลัยไฟฟ้าแทน แต่ถ้ารถยนต์ยังเป็นระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ไฮดรอลิค ระดับน้ำมันภายในกระปุกได้ แต่ในกรณีที่กระปุกน้ำมันทำจากโลหะหรือเป็นพลาสติกที่ไม่ใสพอให้มองเห็นด้านใน คุณสามารถใช้ก้านวัดน้ำมันเพื่อตรวจสอบระดับน้ำมันที่เหลืออยู่ โดยก้านวัดมักจะติดอยู่กับฝาปิดถ้าน้ำมันมันลดลงก็เติมเข้าไปให้พอดีครับ การเติมน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ ถ้ารถของคุณมีแถบวัดอยู่บนกระปุกน้ำมัน คุณสามารถเติมน้ำมันลงไปเรื่อยๆ จนถึงระดับ “ร้อน” หรือ “เย็น” ที่ถูกต้อง แต่ในกรณีที่ใช้ก้านวัดในการตรวจสอบระดับน้ำมัน ให้ค่อยๆ เติมลงไปเพื่อป้องกันไม่ให้เติมมากไปจนล้นกระปุก


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรจะเลือกชนิดและประเภทของสารหล่อลื่น นั้นมีอยู่ในค่ามาตราฐานตรงตามที่ผู้ผลิตรถยนต์นั้นกำหนดมา การที่เลือกใช้สารหล่อลื่น ที่ถูกต้องจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของรถยนต์เพิ่มขึ้น แต่กลับกันเลือกสารหล่อลื่นที่ไม่ตรงกันรถยนต์จะมีการทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพที่ควรจะเป็น ซ้ำร้ายจะทำให้รถยนต์เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรอีกด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นรถทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่าควรจะเลือกผลิตภัณฑ์สารหล่อลื่นที่ตรงกับรถยนต์รุ่นนั้นจะดีที่สุดครับ เพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมาครับ




ข้อมูลจาก ช่างเค มอเตอร์

2 พ.ค. 2563 เวลา 13:07 | อ่าน 1,023


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
909 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
57 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
55 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
450 12 เม.ย. 2567
แจ้งข่าวดี กองทุนหมู่บ้าน จับมือ ทิพยประกันภัย แจกประกันภัยอุบัติเหตุฟรีช่วงสงกรานต์ ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท
572 12 เม.ย. 2567
ธอส. ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.105% ต่อปี มอบเป็นของขวัญวันปีใหม่ไทย​ เริ่ม 14 เมษายนนี้
406 12 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 เมษายน 2567
500 8 เม.ย. 2567
สธ.จัดทีม SEhRT เฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพ-คุณภาพ แม่น้ำโขง หลังเกิดเหตุ กรดซัลฟิวริก รั่วไหลที่ลาว
80 6 เม.ย. 2567
​โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ สั่งการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ หลังคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณเที่ยวบินช่วงเทศกาลสงกรานต์ 11 – 17 เมษายน 2567 เพิ่มขึ้น 20%
84 6 เม.ย. 2567
โฆษกฯ เผย รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหา กยศ. ปรับโครงสร้างลูกหนี้ กว่า 3.5 ล้านราย เก็บดอกเบี้ยไม่เกิน 1% ต่อปี ลดเบี้ยปรับไม่เกินร้อยละ 0.5% ต่อปี ไม่ต้องมีผู้ค้ำทุกกรณี
989 31 มี.ค. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน