ศบศ. เตรียมเสนอครม. อนุมัติ “คนละครึ่ง” เฟซ 2 เปิดลงทะเบียน 5 ล้านคน เพิ่มวงเงินเป็น 3,500 บาท ตั้งแต่มกราคม-มีนาคม พร้อมเปิด “เที่ยวไทยวัยเก๋า” ส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ

2 ธ.ค. 2563 เวลา 17:55 | อ่าน 713
แชร์ไปยัง
L
 
คนละครึ่งเฟซ 2


วันนี้ (2 ธ.ค. 63) เวลา 15.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล หลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แถลงผลการประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 6/2563 ดังนี้


ทั้งนี้ นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เผยที่ประชุม ศบศ. เห็นชอบ ว่า มาตรการคนละครึ่ง ระยะที่สอง โดยจะมีรูปแบบเช่นเดียวกับระยะแรก คือ ภาครัฐจะร่วมจ่ายร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน โดยมาตรการ ระยะที่สอง จะมีรายละเอียดเพิ่มเติม คือ 1. เปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิเพิ่มเติมจำนวน 5 ล้านคน ระยะเวลาการใช้เงินตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2564 โดยจะได้รับวงเงินคนละ 3,500 บาท และ 2. เพิ่มวงเงินผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งระยะที่หนึ่ง อีกคนละ 500 บาท และจะขยายระยะเวลาการใช้สิทธิมาตรการระยะที่หนึ่งออกไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ผู้ที่ถูกตัดสิทธิจากโครงการคนละครึ่ง ระยะที่หนึ่ง สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการระยะที่สองได้ อย่างไรก็ตาม ยังต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาการใช้จ่ายเงินกู้ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีในการพิจารณาอนุมัติหลักการเห็นชอบต่อไป ขณะเดียวกันที่ประชุมยังได้เห็นชอบมาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยการเพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน โดยมีระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2564


คนละครึ่งเฟซ 2

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยังเผยว่า ศบศ. เห็นชอบปรับปรุงโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ดังนี้ (1) ปรับปรุงขอบเขตการใช้สิทธิจำนวนการจองห้องพักจากเดิมประชาชนจองที่พักได้ไม่เกิน 10 คืน (Room night) ต่อ 1 สิทธิ เพิ่มเป็น 15 คืน (Room night) ต่อ 1 สิทธิ (2) เพิ่มจำนวนห้องพักในโครงการจากเดิม 5 ล้านคืน เป็น 6 ล้านคืน ทั้งนี้ จำนวนห้องที่เพิ่มมาจะสนับสนุนเฉพาะ E-voucher แต่ไม่อุดหนุนเรื่องค่าเครื่องบิน (3) ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิโครงการถึง 30 เมษายน 2564 (4) ขยายช่วงเวลาการจองที่พัก จากเวลา 06.00 – 21.00 น. เป็นเวลา 06.00 – 24.00 น. (5) เพิ่มโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตฯ ธุรกิจโรงแรม แต่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการและพยุงการจ้างงาน (6) อนุมัติให้ธุรกิจและบริการที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวสามารถใช้ระบบคูปองออนไลน์ (E-Voucher) ได้ ประกอบด้วย ธุรกิจสปา นวดเพื่อสุขภาพหรือธุรกิจการขนส่งภาคท่องเที่ยว (7) ปรับปรุงเกณฑ์สนับสนุนค่าบัตรโดยสารเครื่องบินจากเดิมรัฐสนับสนุนร้อยละ 40 แต่สูงสุดไม่เกิน 2,000 บาทต่อ 1 สิทธิ เป็นสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อ 1 สิทธิ เฉพาะการเดินทางไปท่องเที่ยวในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เนื่องการภาคการท่องเที่ยวต้องพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบด้วย ภูเก็ต พังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานี สงขลา เชียงใหม่ และเชียงราย และ (8) กำหนดหลักเกณฑ์การลาสำหรับข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถลาพักร้อนในวันธรรมดาเพิ่มได้ 2 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อใช้สิทธิในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน


พร้อมปรับปรุงโครงการกำลังใจ ดังนี้ (1) เปิดให้บริษัทนำเที่ยวที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้เพิ่มเติมโดยใช้หลักเกณฑ์เดิมของโครงการ (2) บริษัทนำเที่ยวที่กรอกรายการนำเที่ยวไม่ครบ 15 รายการ สามารถกรอกเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ หากกรอกครบ 15 รายการแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมได้อีก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้บริษัทนำเที่ยวลงทะเบียน และ (3) ระยะเวลาที่จะเปิดให้สมัครเข้าร่วมโครงการและกรอกรายการนำเที่ยวภายใน 15 ธันวาคม 2563


นอกจากนี้ ยังเห็นชอบโครงการ “เที่ยวไทยวัยเก๋า” ส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ เงื่อนไขโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีอายุ 55 ปีขึ้นไป และต้องเดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัดเฉพาะวันธรรมดา (เข้าพักในวันอาทิตย์ถึงวันพฤหัสบดี) ผ่านบริษัทนำเที่ยว โดยโปรแกรมการท่องเที่ยวต้องมีราคาขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 12,500 บาทต่อคน/โปรแกรม และระยะเวลาการเดินทางไม่น้อยกว่า 3 วัน 2 คืน โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายผ่านบริษัทนำเที่ยวในลักษณะร่วมจ่าย ไม่เกิน ร้อยละ 40 และไม่เกิน 5,000 บาทต่อคน ผู้ที่เข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกันสามารถใช้สิทธิในโครงการนี้ได้เช่นกัน แต่จะใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น สำหรับเงื่อนไขของบริษัทนำเที่ยวที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องจดทะเบียนดำเนินธุรกิจ ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 เนื่องจากต้องการช่วยเหลือบริษัทนำเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างแท้จริง โดยบริษัทนำเที่ยวสามารถรับนักท่องเที่ยวผ่านโครงการได้ไม่เกิน 3,000 ราย มีระยะเวลาการดำเนินการ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เป้าหมายคาดว่าจะมีกลุ่มผู้สูงอายุเดินทางท่องเที่ยวจำนวน 1 ล้านคน โดยใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณเดิมภายใต้โครงการเราเที่ยวด้วยกัน


โอกาสนี้ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังกล่าวว่า สืบเนื่องจากการลงพื้นที่ตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อรับฟังความเดือดร้อนจากภาคเอกชน นายกรัฐมนตรีมอบหมายคณะที่ปรึกษาประสานงานร่วมกับภาคเอกชน สภาหอการค้าที่จังหวัดภูเก็ต และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำมาตรการช่วยเหลือระยะสั้น อาทิ การส่งเสริมนักท่องเที่ยวชาวไทยให้เดินทางไปจังหวัดภูเก็ตมากขึ้น ดึงดูดให้มีการท่องเที่ยวในวันธรรมดา การกระตุ้นเรื่องตั๋วเครื่องบิน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้มีท่องเที่ยวทางรถยนต์ รสบัส และมาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน รวมถึงมาตรการระยะสั้นสำหรับตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะเร่งรัดดำเนินการ Ease of traveling หรือการอำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างชาติที่เดินทางมาจังหวัดภูเก็ต ภายใต้มาตรการคัดกรองโรคที่รัดกุม พร้อมขอให้ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ จัดประชุม สัมมนา ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ภูเก็ต พังงา กระบี่ และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมหารือกระบวนการขั้นตอนวีซ่าประเภทต่าง ๆ ให้อำนวยความสะดวกแก่ชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางกลับมาประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มชาวต่างชาติที่มีคู่สมรสเป็นชาวไทย หรือมีที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นต้น



ทั้งนี้ เลขา สศช. ขอความร่วมมือผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการต่างๆ ไม่ฉวยโอกาสเอาเปรียบประชาชน โดยผู้ว่า ททท. ย้ำว่า ทุกกรณีสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ หากพบส่อแววผิดปกติ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยดำเนินการอย่างเด็ดขาดด้วย


---------------------------------

กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
สำนักโฆษก


2 ธ.ค. 2563 เวลา 17:55 | อ่าน 713


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME
78 25 เม.ย. 2567
รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน
135 25 เม.ย. 2567
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค. นี้ คกก. ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ
154 25 เม.ย. 2567
เพิ่มเบี้ยหวัดบำนาญ 11,000 บาท พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2567
323 22 เม.ย. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2567
340 21 เม.ย. 2567
เงื่อนไข คุณสมบัติ ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินเดือนละ 3,000 บาท เริ่มยื่นเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป
646 19 เม.ย. 2567
ก.พ. เพิ่มอัตราเงินข้าราชการบรรจุใหม่ และข้าราชการเก่า ตรวจสอบคุณสมบัติได้ที่นี่
1,361 15 เม.ย. 2567
รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
73 13 เม.ย. 2567
นายกฯ ย้ำโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ถึงพี่น้องประชาชนระดับท้องถิ่นและชุมชน
92 12 เม.ย. 2567
สุริยะ รับข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนช่วงสงกรานต์ 2567 “สะดวก-รวดเร็ว-ปลอดภัย เผยการเดินทางวันแรก (11 เม.ย. 2567) พบการเดินทางคึกคัก อุบัติเหตุลดลง
740 12 เม.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน