กระดูกพรุน เกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร ?

3 ธ.ค. 2563 เวลา 22:22 | อ่าน 694
แชร์ไปยัง
L
 
กระดูกพรุน เกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร


คนที่ร่างกายปกติ แต่พอนานวันเข้าความสูงของร่างกายกลับลดลงได้เอง ลักษณะแบบนี้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้จริงหรือไม่ มาหาคำตอบกับเรื่องนี้กัน



โรคกระดูกพรุน เกิดจากการลดลงของปริมาณกระดูกในร่างกาย ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูก เป็นผลให้ความแข็งแรงของกระดูกโดยรวมลดลง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้หลายตำแหน่ง เช่น กระดูกข้อสะโพก กระดูกข้อมือ หรือกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักจะไม่มีอาการใด ๆ



โดยทั่วไปในผู้สูงอายุที่มีความสูงลดลง อาจจะต้องวินิจฉัยหาสาเหตุ เพราะว่าอาจจะมีความสูงลดลงจากภาวะกระดูกสันหลังหักยุบจากโรคกระดูกพรุนได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม และทำให้กระดูกสันหลังโก่ง โค้งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ความสูงของผู้ป่วยลดลงได้เช่นกัน ซึ่งเราควรจะต้องสงสัยภาวะกระดูกสันหลังหักยุบจากโรคกระดูกพรุน หากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุมีความสูงลดลง 2 เซนติเมตรต่อปี หรือส่วนสูงลดลง 4 เซนติเมตรเมื่อเทียบกับความสูงในช่วงวัยหนุ่มสาว หากมีลักษณะแบบนี้ควรต้องสงสัยและมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยต่อไป


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ในผู้หญิงที่มีภาวะหมดประจําเดือนก่อนวัยอันควร เช่น ถูกตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ก่อนอายุ 45 ปี ในกรณีของผู้ชาย เราใช้เกณฑ์อายุประมาณ 70 ปี นอกจากนี้ การกินยาบางชนิดก็เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนได้ เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาเคมีบำบัดรักษา และได้รับการฉายรังสีรักษา รวมถึงผู้ป่วยที่มีพฤติกรรม เช่น การดื่มชา กาแฟที่มากเกินไป ขาดสารอาหารแคลเซียมหรือวิตามินดี ไม่ค่อยถูกแสงแดด เหล่านี้ก็จะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน



สำหรับการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน แนะนำให้รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะและครบ 5 หมู่ โดยเน้นสารอาหารประเภทแคลเซียม และที่มีวิตามินดีร่วมด้วย ซึ่งวิตามินดีก็อาจจะได้จากแสงแดด ฉะนั้นจึงขอแนะนำให้ออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ที่เหมาะสม อาจเป็นการเดินธรรมดา การวิ่งเหยาะ ๆ และการรำไทเก๊ก เป็นต้น หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนจากการกินยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน ๆ กรณีนี้แนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาโรคกระดูกพรุน โดยอาจจะทำการวัดมวลกระดูก หากมีข้อบ่งชี้อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุน



ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ และกายภาพบำบัด
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

3 ธ.ค. 2563 เวลา 22:22 | อ่าน 694


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
เงินเดือนตำรวจและเงินประจำตำแหน่งตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน
74 28 ก.ย. 2566
มาตรการพักชำระหนี้ให้ลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ผู้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ ดังกล่าวภายใต้หลักการ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้
13 27 ก.ย. 2566
ครม. รับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
183 27 ก.ย. 2566
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 กันยายน 2566 เรื่อง มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566)
18 27 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 24-30 กันยายน 2566
281 24 ก.ย. 2566
489 20 ก.ย. 2566
ข่าวดี !! 15 อัตรา รับสมัครชายไทย วุฒิ ปวช./ปวส. ทำงานช่างที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE)
193 20 ก.ย. 2566
ตำแหน่งครูว่าง 2566 การจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคคลกรทางการศึกษาเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
98 19 ก.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 17-23 กันยายน 2566
478 17 ก.ย. 2566
ออมสิน ยื่นมือช่วยลูกหนี้ NPL สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ถูกกระทบช่วงวิกฤติโรคร้าย ตั้งต้นผ่อนเดือนละร้อย ดึงบัญชีกลับมาเป็นปกติ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธ.ค.2566
275 16 ก.ย. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC CU-AAT คืออะไร จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน