1.5 หมื่นบาทเพิ่มเหลื่อมล้ำ ข้าราชการดีกว่าลูกจ้างเอกชน

3 ก.พ. 2556 เวลา 19:53 | อ่าน 6,726
 
รายงานพิเศษ โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
images by free.in.th

การปรับฐานเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทต่อเดือน น่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพในตลาดแรงงาน ภาระเงินงบประมาณของรัฐ และระดับการบริโภคของประชาชน โครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้ค่าแรงไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน ที่มีผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ภายใต้การอุดหนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การศึกษามีส่วนนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนในภาคราชการ ทำการศึกษาโดย ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ และนายชยดล ล้อมทอง นักวิจัยทีดีอาร์ไอ เน้นพิจารณารายได้ตลอดชีวิตของลูกจ้างราชการเปรียบเทียบลูกจ้างเอกชน และภาระเงินงบประมาณของรัฐในอนาคต ซึ่งจะมีผลต่อฐานะการคลังและความมั่นคงทางการคลังในระยะยาว

การศึกษารายได้ตลอดชีวิตของข้าราชการและลูกจ้างเอกชน ซึ่งการคำนวณรายได้ตลอดชีวิตของข้าราชการและลูกจ้างเอกชน โดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรไตรมาส 3 ทั้งหมด 31 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2523-2553 เลือกติดตามดูรายได้ตลอดชีวิตข้าราชการและลูกจ้างเอกชนที่อายุ 25-34 ปี ใน พ.ศ.2523

และคำนวณรายได้เฉลี่ย (รวมโบนัส ค่าล่วงเวลา ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้าและอื่นๆ) ของคนกลุ่มนี้ จำแนกตามระดับการศึกษา 3 ระดับ คือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี และจำแนกตามการอยู่อาศัยคือ นอกเขตและในเขตกรุงเทพฯ จากนั้นได้ติดตามลูกจ้างและข้าราชการกลุ่มนี้ทุกปี และคำนวณค่าเฉลี่ยของรายได้ทุกปี จนกระทั่งคนกลุ่มนี้อายุ 55-64 ปีในปี พ.ศ.2553

images by free.in.th

ผลการศึกษาพบว่า การเป็นข้าราชการและอยู่นอกเขตกรุงเทพฯจะมีรายได้ตลอดชีวิตค่อนข้างดีกว่าเป็นลูกจ้างเอกชน โดยเฉพาะผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรี การเป็นลูกจ้างเอกชนจะมีรายได้ที่ผันผวน (เป็นความเสี่ยง) แม้ดูเหมือนว่าผู้ที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีจะมีรายได้ดีในบางช่วงก็ตาม โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี รายได้ของลูกจ้างเอกชนจะตกแรงมาก ขณะที่รายได้ของข้าราชการจะไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ

สำหรับข้าราชการที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯจะมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าลูกจ้างเอกชนโดยเฉพาะเมื่อมีการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป แต่ความผันผวนของรายได้ของข้าราชการก็มักจะต่ำกว่า

ดังนั้น โดยเฉลี่ยแล้วข้าราชการไม่ได้มีรายได้ต่ำกว่าลูกจ้างเอกชนเสมอไปตามที่เข้าใจกัน แต่จะมีข้าราชการที่มีการศึกษาสูง ซึ่งน่าจะมีโอกาสที่ดีที่จะได้รับค่าตอบแทนที่สูง ถ้าได้ทำงานในภาคเอกชน ซึ่งข้าราชการในกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ดี การศึกษานี้ไม่สามารถรวมข้อมูลเกี่ยวกับเบี้ยประชุม รายได้จากการสอนพิเศษหรือทำวิจัย หรือเบี้ยอื่นๆ ที่ข้าราชการได้รับ ซึ่งเงินรายได้จำนวนนี้อาจจะมีจำนวนไม่น้อย

นอกจากนี้ มูลค่าของสวัสดิการที่ข้าราชการได้รับมีประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่ารายได้ตลอดชีวิต ขณะที่สวัสดิการสำหรับลูกจ้างเอกชนมีมูลค่าไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบรายได้รวมสวัสดิการที่เป็นมูลค่าปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการมีรายได้ตลอดชีวิตสูงกว่าลูกจ้างเอกชนในทุกๆ ระดับการศึกษา ทั้งในเขตกรุงเทพฯและนอกกรุงเทพฯแต่เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้มูลค่า ณ ราคา ปี พ.ศ.2550 จะเห็นว่าข้าราชการที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มักได้รับรายได้ตลอดชีพสูงกว่าลูกจ้างเอกชน

ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าการทำงานในเขตกรุงเทพฯจะให้มูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีวิตสูงขึ้นกว่าการทำงานในจังหวัดอื่นๆ ในทุกๆ ระดับการศึกษา แต่ผู้มีระดับการศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรี ที่ทำงานให้แก่ภาครัฐก็ยังมีมูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีพสูงกว่าการทำงานให้ภาคเอกชน

เพราะมูลค่าของสวัสดิการนั้นสูงกว่ากันมาก รวมทั้งผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี และทำงานในบริษัทเอกชนจะมีมูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีวิต ณ เวลาที่เริ่มต้นชีวิตทำงานสูงกว่าผู้ที่มีคุณสมบัติเดียวกัน แต่ทำงานในภาครัฐ

นอกจากนี้ การเปรียบเทียบโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ สรุปได้ว่า ข้าราชการได้รับรายได้น้อยกว่าเอกชน เฉพาะกลุ่มอาชีพผู้บริหารหรือข้าราชการที่ทำงานในกรุงเทพฯเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนน้อยของข้าราชการทั่วประเทศ

สำหรับกลุ่มอาชีพอื่นๆ แล้ว ข้าราชการมีรายได้มากกว่าลูกจ้างเอกชน และความแตกต่างของรายได้เห็นได้ชัดเจนในกรณีที่ข้าราชการทำงานในภูมิภาค

ดังนั้น การขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและต่ำกว่า น่าจะยิ่งทำให้ความแตกต่างของรายได้ระหว่างภาครัฐและเอกชนในภูมิภาคต่างๆ สูงขึ้นไปอีก

สำหรับภาระเงินงบประมาณที่เกิดจากข้าราชการบรรจุใหม่จะน้อยกว่าภาระเงินงบประมาณที่จะเกิดจากการปรับฐานเงินเดือนให้แก่ข้าราชการเก่า เพราะทุกคนจะได้รับการปรับฐานเงินเดือนชดเชยขึ้น เพื่อไม่ให้น้อยกว่าข้าราชการที่เข้าใหม่ และจำนวนข้าราชการเข้าใหม่จะมีจำนวนน้อยตามนโยบาย

ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359882231&grpid=&catid=12&subcatid=1200 วันที่ 03 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เวลา 17:17:17 น.


3 ก.พ. 2556 เวลา 19:53 | อ่าน 6,726


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
 
แชร์
L
ซ่อน
แสดง
มาใหม่
พิเศษ! เฉพาะคนอยากมีคอนโดมิเนียม! ธอส. นำทรัพย์เด่นกว่า 700 รายการ ลดสูงสุด 50% จัดงานประมูลบ้านมือสองออนไลน์ ประจำเดือนกรกฎาคม วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567
22 24 ก.ค. 2567
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โครงการเพื่อประชาชน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ววันนี้
121 24 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2567
33 22 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 14-20 กรกฎาคม 2567
630 14 ก.ค. 2567
โฆษก มท. เผย มหาดไทยเตรียมออกประกาศยกเว้นวีซ่า 60 วัน สำหรับ 93 ประเทศเริ่ม 15 ก.ค. 67 พร้อมปรับปรุงแนวทางตรวจลงตราให้ยืดหยุ่น หนุนไทยแข่งดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก
76 12 ก.ค. 2567
ฤกษ์ออกรถ ปี 2567
734 12 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567
171 7 ก.ค. 2567
โรคที่มากับหน้าฝน
161 4 ก.ค. 2567
การนั่งดูโทรทัศน์นาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
150 4 ก.ค. 2567
ดวงกับดาวประจำวันที่ 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567
765 30 มิ.ย. 2567
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ไอเดียบ้านสวย
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC Online GED CU-TEP SAT
 
บทความกลุ่มเดียวกัน