การตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 ทำได้ 2 วิธี

3 พ.ย. 2564 เวลา 07:57 | อ่าน 364
แชร์ไปยัง
L
-Advertisement-
 
การตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 ทำได้ 2 วิธี


วิธีแรกใช้ชุดตรวจแบบรวดเร็ว antigen test kit หรือ ATK อ่านผลได้เร็วภายใน 15 นาที มีความไว และความจำเพาะที่ต่ำ หากตรวจได้ผลบวก ต้องยืนยันด้วยการตรวจรหัสพันธุกรรม RT-PCR
SARS-CoV-2 RT-PCR เป็นวิธีมาตรฐาน เนื่องจากมีความไวและความจำเพาะสูง อย่างไรก็ดีแม้วิธีนี้จะมีความไวสูง อาจเกิดผลลบปลอมได้ และแม้จะมีความจำเพาะสูง ก็ยังอาจเกิดการปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของการเกิดผลบวกปลอมได้



ผมจะขอพูดถึงเรื่องผลบวกปลอมของวิธีตรวจรหัสพันธุกรรม RT-PCR ความแม่นยำของวิธีตรวจรหัสพันธุกรรมขึ้นกับความไว คือตรวจคนติดเชื้อทุกคน ต้องให้ผลบวกทุกคน และความจำเพาะ ตรวจคนไม่ติดเชื้อทุกคน ต้องให้ผลลบทุกคน ต้องยอมรับว่าไม่มีการตรวจวิธีไหนให้ผล perfect ถูกต้อง 100 % ในชีวิตจริงการตรวจผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ถ้าความไวอย่างน้อย 95% และความจำเพาะอย่างน้อย 98% จะเห็นว่าผลการตรวจมีโอกาสที่จะให้ผลบวกปลอม 2% หรือมากกว่านั้น คือคนที่ไม่ติดเชื้อ ผลตรวจออกมาเป็นบวก
ผลเสียของการรายงานผลบวกปลอม ทำให้คนที่ไม่ได้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถูกกักตัว อาจถูกรับเข้ารักษาในวอร์ดผู้ป่วยโควิด ได้รับยารักษาโรคโควิดโดยไม่จำเป็น สร้างความเครียด ความวิตกกังวลให้กับผู้ป่วยและคนในครอบครัว ต้องสูญเสียรายได้ เสียทรัพยากรและเพิ่มงานให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยไม่จำเป็น เพิ่มสถิติของคนติดเชื้อและอื่นๆ

-Advertisement-

การตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 ทำได้ 2 วิธี


การป้องกันการรายงานผลบวกปลอม ต้องอาศัยทั้งห้องปฏิบัติการและแพทย์เจ้าของไข้ ถ้าคนไข้ไม่มีอาการของโรคโควิด คนในครอบครัวและที่ทำงานไม่มีใครติดเชื้อไวรัสโควิด สาเหตุที่ตรวจหารหัสพันธุกรรม ไม่ใช่เพราะสงสัยว่าติดเชื้อ แต่เพราะต้องการตรวจคัดกรอง เช่นก่อนจะเข้ารับการทำหัตถการในโรงพยาบาล และผลการตรวจ พบปริมาณเชื้อไวรัสน้อยมากโดยดูจากค่า cycle threshold ถ้าทุกอย่างเข้าข่ายนี้ แพทย์อย่าด่วนสรุปว่าติดเชื้อ ขอให้ตรวจหารหัสพันธุกรรมซ้ำใน 24 ชั่วโมง ถ้าผลออกมาลบ ขอให้ทำซ้ำอีก 1 ครั้ง ถ้าผลออกมาลบ 2 ครั้ง ยืนยันได้ว่าผลบวกครั้งแรกเป็นผลบวกปลอม



ผู้ป่วยอายุ 80 ปี เตรียมจะทำผ่าตัดตา เข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี RT-PCR ผลออกมาเป็นบวก ค่า cycle threshold 28.8 ค่าตัดว่าลบ cut off อยู่ที่ 31.5 เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีอาการ ไม่มีใครในบ้านป่วย ตรวจรหัสพันธุกรรมทุกคนในบ้านให้ผลลบ แพทย์สงสัยอาจเป็นผลบวกปลอม จึงทำการตรวจรหัสพันธุกรรมผู้ป่วยซ้ำอีก 2 ครั้งใน 24 ชั่วโมงต่อมา ผลออกมาเป็นลบ ยืนยันได้ว่าผลตรวจครั้งแรกเป็นบวกปลอม




ข้อมูลจาก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC

-Advertisement-

3 พ.ย. 2564 เวลา 07:57 | อ่าน 364


รีวิวบ้านใหม่ ไอเดียสร้างบ้าน
-Advertisement-
 
มาใหม่
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดี 4 มหาวิทยาลัยไทย จุฬาฯ-มหิดล-มช.-มข. สุดโดดเด่นในเวทีโลก ติดอันดับ Top 100 ในการจัดอันดับโลกด้านความยั่งยืนปี 2566
42 4 มิ.ย. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 4-10 มิถุนายน 2566
105 4 มิ.ย. 2566
สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566 พนักงานราชการลาไปช่วยภรรยาที่คลอดบุตร
67 3 มิ.ย. 2566
โฆษกรัฐบาลยืนยัน รัฐบาลให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 4 เดือน (พ.ค.-ส.ค. 2566) แก่ผู้ใช้ไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน คืนจริงส่วนลดค่าไฟฟ้าเดือนพ.ค. 150 บาท/ราย แก่ผู้ใช้ไม่เกิน 500 หน่วย/เดือน
98 1 มิ.ย. 2566
กรมบัญชีกลางปรับปรุงอัตราค่าบริการสาธารณสุขฯ ด้านค่าบริการรังสีรักษา เพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน
35 30 พ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 28 พฤษภาคม-3 มิถุนายน 2566
148 28 พ.ค. 2566
สพฐ. เปิดสอบครูผู้ช่วย 2566 ปฏิทินสอบรับสมัครสอบแข่งขันครูผู้ช่วย ปี 2566
218 21 พ.ค. 2566
กทม. เตรียมเปิดสอบเจ้าพนักงานธุรการทั่วไปเพิ่มกว่า 371 ตำแหน่ง
347 21 พ.ค. 2566
ดวงกับดาวประจำวันที่ 21-27 พฤษภาคม 2566
246 20 พ.ค. 2566
กรมอุทยานฯ ขอขึ้นเงินเดือนผู้พิทักษ์ป่าจาก 9,000 เป็น 11,000 บาท หลังไม่ขึ้นมาสิบปี
232 18 พ.ค. 2566
ดูเพิ่มเติม
 
หาเพื่อนไลน์
ซื้อขายรถบ้าน.com
เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
หางานราชการ
  English
TOEIC กับ การขึ้นเงินเดือน GED VS กศน ไทย (สอบเทียบไทย) แนะนำที่เรียน IELTS ยอดนิยม ของ เด็กอินเตอร์ TOEIC chulatutor จุฬาติวเตอร์
 บทความกลุ่มเดียวกัน